Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

มะเร็งเต้านม มฤตยูเงียบ

รศ.นพ.ประกาศิต จิรัปปภา

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 6 เมษายน 2020

จากข้อมูลระบาดวิทยาของมะเร็งเต้านม พบอุบัติการณ์มากอันดับแรกในหญิงไทยและหญิงทั่วโลก และสามารถพบได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย 

ผู้ป่วยส่วนมากมักพบโรคในช่วงอายุ 50-60 ปี โดยแตกต่างกันตามเชื้อชาติ สำหรับข้อมูลในประเทศไทยพบมากในช่วงอายุ 45-50 ปี ซึ่งพบว่าร้อยละ 80 เป็นมะเร็งในระยะแรก (ระยะที่ 1-3) ร้อยละ 10 เป็นมะเร็งในระยะกระจาย (ระยะที่ 4) และจากการตรวจคัดกรองที่มากขึ้นในปัจจุบันจึงทำให้พบมะเร็งเต้านมระยะแรกมากขึ้นในประเทศไทย

มะเร็งเต้านมในระยะแรกเริ่มไม่มีอาการ และการตรวจร่างกายอาจไม่พบเนื่องจากรอยโรคเล็กมากเปรียบเสมือน “มฤตยูเงียบ” การตรวจคัดกรองด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมและอัลตราซาวนด์จึงมีความสำคัญ ส่วนการเปลี่ยนแปลงลักษณะของเต้านมก็เป็นสิ่งที่ต้องหมั่นสังเกต เนื่องจากว่ามะเร็งเต้านมในช่วงแรกอาจไม่ได้ทำให้รู้สึกเจ็บปวดอย่างชัดเจน แต่จะเห็นได้จากความผิดปรกติของลักษณะเต้านมมากกว่า เช่น เต้านมคัดตึงและแข็งเกินปรกติ เนื้อเต้านมยุบ ผิวไม่เรียบเนียนเสมอกัน หรือเต้านมมีรอยแดงเป็นจ้ำปรากฏตลอดเวลา และมีอาการร้อนตรงจุดแดงนั้น เป็นต้น ซึ่งโดยปรกติผู้ป่วยสามารถเช็กความผิดปรกติเหล่านี้ได้ด้วยตนเอง และหากพบอาการดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจกรองอีกครั้งด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมและการวินิจฉัยจากแพทย์ร่วมด้วย

แนะนำให้ผู้หญิงทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมและอัลตราซาวนด์ พร้อมตรวจร่างกายโดยแพทย์เฉพาะทางปีละ 1 ครั้ง หากมีอาการน่าสงสัยควรตรวจทุกๆ 6 เดือน ในกรณีที่มีความผิดปรกติแพทย์จะทำการตรวจชิ้นเนื้อโดยการเจาะตรวจชิ้นเนื้อด้วยเข็ม (Needle biopsy) โดยไม่จำเป็นต้องทำการผ่าตัด สามารถทำได้ง่าย ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล เจ็บตัวน้อย และได้ผลการวินิจฉัยที่ตรงจุด หากพบว่าเป็นมะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะแรกๆก็สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด ซึ่งในปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีช่วยให้ไม่จำเป็นต้องตัดเต้านมออกหมดทุกราย หรือในบางรายที่จำเป็นต้องผ่าตัดเต้านมออกหมดก็สามารถทำการผ่าตัดสร้างเสริมเต้านมได้ทันที ด้วยการใช้เต้านมเทียมหรือการใช้เนื้อเยื่อของผู้ป่วยเอง เนื้อเยื่อที่นิยมใช้ ได้แก่ กล้ามเนื้อและชั้นไขมันบริเวณหน้าท้อง กล้ามเนื้อและไขมันบริเวณหลัง ซึ่งการใช้กล้ามเนื้อบริเวณหลังทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วกว่าการใช้กล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้อง เป็นวิธีการที่ปลอดภัย มีผลแทรกซ้อนน้อย

โดยการรักษานี้ช่วยให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจมากขึ้น เนื่องจากเต้านมที่สร้างขึ้นใหม่เหมือนเต้านมจริงทั้งด้านรูปร่างและลักษณะเนื้อเต้านมจากการสัมผัส สร้างความรู้สึกว่ายังมีเต้านมอยู่ การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ภายหลังตัดเต้านมออกทั้งเต้าสามารถทำในคราวเดียวกัน โดยใช้ระยะเวลาในการผ่าตัดไม่เกิน 4-6 ชั่วโมง ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถลุกนั่งบนเตียงและลุกเดินได้ ใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาล 5-7 วัน ผู้ป่วยก็สามารถกลับบ้านได้

ทั้งนี้ ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ สามารถช่วยรักษาชีวิตและช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปรกติ มีความมั่นใจในการดำเนินชีวิตมากขึ้น มะเร็งเต้านมรักษาได้หากตรวจพบแต่เนิ่นๆ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

รศ.นพ.ประกาศิต จิรัปปภา

รศ.นพ.ประกาศิต จิรัปปภา

ศูนย์เต้านม

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์เต้านม_1-1

ศูนย์เต้านม

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา