Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

ต้อหิน รู้เร็ว รักษาก่อน

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 6 มีนาคม 2020

โรคต้อหิน คือโรคที่มีความเสื่อมของขั้วประสาทตาอย่างช้าๆ ทำให้สูญเสียการมองเห็น ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตัวเองป่วยโรคนี้

เนื่องจากส่วนมากไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า เป็นสาเหตุหลักของภาวะตาบอดถาวร และหากเป็นแล้ว แม้ได้รับการรักษาก็ไม่สามารถกลับมามองเห็นได้ดังเดิม แต่สามารถควบคุมโรคไม่ให้ขั้วประสาทตาถูกทำลายไปเรื่อยๆได้

สำหรับกลไกการเกิดต้อหิน เกิดจาดความผิดปกติของน้ำหล่อเลี้ยงภายในลูกตา ซึ่งปกติจะถูกสร้างและมีทางระบายออก ในโรคต้อหินชนิดความดันตาสูง มีความผิดปกติของการระบายน้ำออก ทำให้ความดันตาสูงขึ้น (ปกติ คาความดันตาไม่ควรเกิน 21 มม.ปรอท) และไปกดทับเส้นประสาทตา ส่วนในโรคต้อหินชนิดความดันตาไม่สูง เชื่อว่า เส้นประสาทตามีการเสื่อมตัวลงอย่างช้าๆจากภาวะการไหลเวียนของเลือดไม่สมบูรณ์ มักพบในผู้ป่วยกลุ่มโรคเบาหวาน ความดัน ไมเกรน

ปัจจัยเสี่ยงโรคต้อหิน

  • ตรวจพบภาวะความดันตาสูง
  • อายุมากกว่า 40 ปี
  • มีประวิติครอบครัวเป็นโรคต้อหิน
  • การใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ต่อเนื่อง ทั้งชนิดทานหรือหยด
  • เชื้อชาติ คนเชื้อชาติแอฟริกันอเมริกัน เสื่ยงต่อต้อหินชนิดมุมเปิด ส่วนเชื้อชาติเอเชีย จะเสี่ยงต่อต้อหินชนิดมุมปิด
  • มีประวัติอุบัติเหตุเกี่ยวกับตา
  • มีโรคทางตา เช่น ม่านตาอักเสบ จอประสาทตาอักเสบ สายตาสั้นหรือยาวมากๆ
  • โรคประจำตัวบางชนิด เช่น เบาหวาน ความดัน ไมเกรน

ชนิดของต้อหิน มีกี่ชนิด

1. ต้อหินมุมปิด

   – มีอาการปวดตาเฉียบพลัน ตาแดง ตามัว คลื่นไส้อาเจียน

   – มีโอกาสรักษาหายขาดได้ หากรักษาเร็ว

2. ต้อหินมุมเปิด

   – พบบ่อยกว่า การดำเนินโรคช้า ใช้เวลานานหลายปีกว่าตาจะบอด

   -เส้นประสาทตาค่อยๆถูกทำลาย โดยผู้ป่วยไม่รู้ตัว

   – ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด

   – พบได้ทั้งชนิดความดันตาสูง และความดันตาต่ำ

   – ผู้ป่วนจะมีลานสายตาค่อยๆแคบลงเรื่อยๆ อาจมีการเดินชนสิ่งของรอบข้าง จนถึงระยะท้ายของโรค ตาจึงจะมัวทั้งหมด

การรักษาโรคต้อหิน

การใช้ยาหยอดควบคุมความดันตา ปัจจุบันมียาหลายชนิดและได้ผลค่อยข้างดี เป็นวิธีที่จักษุแพทย์ส่วนใหญ่เลือดใช้

เลเซอร์ สามารถใช้รักษาต้อหินบางชนิดได้

การผ่าตัด เป็นการผ่าตัดเพื่อควบคุมความดันลูกตาเท่านั้น แต่ภาวะต้อหินไม่หายขาด จะใช้เมื่อผู้ป่วยรักษาด้วยยาและเลเซอร์ไม่ได้ผล

นอกจากนี้ จักษุแพทย์ ยังให้คำแนะนำว่า หากมีปัจจัยเสี่ยง หรือสงสัยจะเป็นต้อหิน ควรได้รับการตรวจสุขภาพตาโดยเร็ว บุคคลทั่วไป แนะนำให้ตรวจสุขภาพตาเมื่ออายุมากว่า 40 ปี ซึ่งการตรวจวินิจฉัยต้อหินในปัจจุบัน สามารถตรวจอย่างละเอียดโยเครื่องสแกนวิเคราะห์ขั้วประสาทตา (Optical Coherence Tomography) เครื่องถ่ายภาพจอประสาทตา (Fundus Photography) และเครื่องตรวจลานสายตา (Visual field test) สามารถตรวจพบต้อหินได้เร็วยิ่งขึ้น

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์จักษุ_1-1

ศูนย์จักษุ

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา