Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

จิตเวช: ยาบ้า ยาอี ยาม้า เหมือนกันหรือต่างกันตรงไหนคะ

-

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 8 พฤษภาคม 2019

ตเวช: ยาบ้า ยาอี ยาม้า เหมือนกันหรือต่างกันตรงไหนคะ
คำถาม ยาบ้า ยาอี ยาม้า เหมือนกันหรือต่างกันตรงไหนคะ ยาพวกนี้มามีส่วนทำอะไรในร่างกายหรือจิตใจเราคะจึงทำให้เราติดมัน

คำตอบ โดย นายแพทย์ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง

ยาบ้า หรือ ยาม้า เป็นชื่อสารเสพติดชนิดเดียวกัน คือ สารแอมเฟตามีน (Amphetamine) จัดเป็นสารกระตุ้นประสาท โดยออกฤทธิ์กระตุ้นสมองชั้นในหรือสมองส่วนอยาก (Limbic system) ซึ่งประกอบด้วยศูนย์พึงพอใจ ศูนย์ควบคุมอารมณ์ & พฤติกรรม ศูนย์ความอิ่ม ทำให้ผู้เสพมีความสุข สนุกสนาน ขยันขันแข็ง มีกำลังวังชา ไม่อยากอาหารแบบอิ่มทิพย์ นอนไม่หลับ หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ถ้าเสพมากหรือติดต่อกันจะมีพฤติกรรมก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย มีอาการทางจิต หวาดระแวง หูแว่ว ประสาทหลอน และอาจมีอารมณ์ซึมเศร้าฆ่าตัวตายได้ เดิมยาบ้าตั้งแต่สังเคราะห์ โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน เมื่อ คศ.1887 เป็นต้นมา ได้ถูกผลิตเป็นยาดม ยาเม็ดกิน จนมีการใช้ฉีดเข้าเส้น และล่าสุดทำเป็นก้อนผลึก จุดไฟอบสูบควัน ยาบ้าเคยใช้เป็นยารักษาโรคดอ้วน โรคหลับผิดปกติ และโรคซนในเด็ก แต่ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว

ส่วนยาอี มาจากคำว่า Ecstasy ซึ่งแปลว่าสนุกสนานเบิกบานใจอย่างยิ่ง เป็นน้องของยาบ้าอีกที เพราะสังเคราะห์หลังยาบ้า 1 ปี โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น มีสูตรโครงสร้างใกล้เคียงกัน คือ เมทแอมเฟตามีน (Mathamphetamine) แต่มีฤทธิ์ร้ายแรงกว่า คือ นอกจากมีฤทธิ์กระตุ้นประสาทแล้วยังมีฤทธิ์หลอนประสาทด้วย (psychedelic) กล่าวคือ ทำให้กล้ามเนื้ออยู่ไม่สุก ต้องเคลื่อนไหว เต้นรำ รู้สึกรักใคร่กลมเกลียวเหมือนพี่เหมือนน้อง รู้สึกอบอุ่นในอย่างประหลาด ต้องการเปิดเผยความในใจ มีส่วนรับรู้ความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่น เป็นยาแห่งความรัก และการรับรู้ทางอายตนะสัมผัสพิศดาร จึงมักใช้ในงานปาร์ตี้ต่างๆ

ทั้งยาบ้าและยาอีจะไปจับกับตัวรับ (receptors) ของสมองชั้นในหรือสมองส่วนนอก จนในที่สุดจะครอบงำสมองชั้นนอกหรือสมองส่วนเหตุผล (cerebral cortex) ทำให้ไม่สามารถยับยั้งชั่งใจได้ เข้าสู่กระบวนการเสพติดยา กล่าวคือ ตัวกระตุ้น –> ความคิด –> ความอยากยา –> การเสพยา ส่วนกระบวนการเสพติดยานั้นอธิบายด้วยทฤษฎีการเรียนรู้ กล่าวคือ

ยา —–> อาการทางร่างกาย&จิตใจ (อยากยา)

ยา + สิ่งที่เกี่ยวข้องกับยา (ตัวกระตุ้น) —> อยากยา

ตัวกระตุ้น —> อยากยา

และ เมื่อเสพติดยาแล้ว พอหยุดเสพจะเกิดอาการอยากยา ทนทุกข์ทรมานคล้ายลงแดง จึงหายามาเสพอีก วนเวียนไม่รู้จบ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา