Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

“กระดูกข้อมือหัก” ตำแหน่งที่พบได้บ่อยที่สุดเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

ผศ.นพ.อรรถกร กาญจนพิบูลวงศ์

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 14 ตุลาคม 2023

การหกล้ม หนึ่งในอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้ทุกที่ทุกเวลา เมื่อเราหกล้มเรามักใช้มือในการป้องกันการกระแทกส่วนต่างๆของร่างกาย ดังนั้น กระดูกข้อมือหัก จึงกลายเป็นตำแหน่งที่พบได้บ่อยอันดับต้นๆ ไม่ว่าจะในคนอายุเท่าใดก็ตาม และมือก็เป็นอวัยวะสำคัญที่เราต้องใช้เป็นประจำทุกวัน กระดูกข้อมือหักจึงส่งผลกระทบต่อการใช้งานในชีวิตประจำวันอย่างมาก  การดูและรักษาที่เหมาะสมเมื่อเกิดกระดูกข้อมือหักจึงเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยไปกว่าส่วนอื่น เพื่อให้เราสามารถกลับมาใช้งานมือได้ใกล้เคียงเดิมมากที่สุด

การรักษากระดูกข้อมือหัก จะเป็นการใส่เฝือกหรือการผ่าตัดดามโลหะ ต้องพิจารณาร่วมกันหลายปัจจัย เช่น ลักษณะการแตกหักเข้าไปในผิวข้อหรือนอกข้อ แตกน้อยหรือแตกละเอียด การเคลื่อนผิดรูปของส่วนที่หัก สภาวะกระดูกของผู้ป่วย ข้างที่หัก อาชีพ อายุ หรือความต้องการใช้งานของผู้ป่วย เป็นต้น

การรักษาเบื้องต้นในผู้ป่วยทุกราย ควรใส่เฝือกดามส่วนที่หักไว้ให้มั่นคงก่อน เพื่อลดปวดให้แก่ผู้ป่วย รวมถึงลดการบาดเจ็บเพิ่มเติมของเนื้อเยื่อ กระดูกที่หักโดยเฉลี่ยจะเริ่มเชื่อมติดกันใช้เวลาอย่างน้อย 4-6 สัปดาห์ ดังนั้นกรณีที่รักษาโดยการใส่เฝือกจึงต้องใส่ไว้อย่างน้อย 4-6 สัปดาห์เช่นกัน โดยต้องระวังไม่ให้เฝือกถูกน้ำหรือเสียหาย เพราะอาจทำให้กระดูกที่หักเคลื่อนผิดรูปมากขึ้น

กรณีผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดรักษา การผ่าตัดรักษากระดูกข้อมือหักอาจทำภายใต้การระงับความรู้สึกของเส้นประสาทที่แขน หรือดมยาสลบ และเปิดแผลผ่าตัดขนาด 4-5 เซนติเมตร เข้าไปจัดเรียงกระดูกให้เข้าที่ แล้วใช้แผ่นโลหะและสกรูในการยึดตรึงกระดูกให้มั่นคงแข็งแรงใกล้เคียงก่อนแตกหักมากที่สุด ใช้เวลาผ่าตัดประมาณหนึ่งชั่วโมง หลังการผ่าตัดดามกระดูกเรียบร้อยจึงเสมือนว่ากระดูกเชื่อมติดกัน ดังนั้นผู้ป่วยจะสามารถฟื้นตัวขยับใช้งานข้อมือและนิ้วมือเบาๆได้ทันที (บางกรณีอาจมีการใส่เฝือกอ่อนดามข้อมือไว้ชั่วคราว 1-2 สัปดาห์หลังผ่าตัด)

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

นพ.อรรถกร กาญจนพิบูลวงศ์

ผศ.นพ.อรรถกร กาญจนพิบูลวงศ์

ศูนย์กระดูกและข้อ

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

1200-กระดูกและข้อ

ศูนย์กระดูกและข้อ

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา