Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

เข้าใจโรคกระดูกพรุน สาเหตุ อาการ และการป้องกัน

นพ.พีรพงษ์ สวัสดิพงษ์

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 26 สิงหาคม 2024
กระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากกระดูกที่อ่อนแอจะทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการแตกหักของกระดูกได้ง่าย การหกล้มหรือการทำกิจกรรมเล็กน้อยอาจทำให้เกิดกระดูกหักได้ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ปัญหาความพิการ การเคลื่อนไหวที่จำกัด หรือต้องการพึ่งพาผู้อื่นในการดำเนินชีวิต ดังนั้นการป้องกันและดูแลรักษาสุขภาพของกระดูกจึงเป็นสิ่งสำคัญ

สนใจนัดหมายแพทย์

สารบัญ

  • กระดูกพรุนคืออะไร?
  • อาการของโรคกระดูกพรุน
  • สาเหตุของโรคกระดูกพรุน
  • อันตรายของโรคกระดูกพรุน
  • การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน
  • การรักษาโรคกระดูกพรุน
  • การป้องกันโรคกระดูกพรุน
  • สรุป

กระดูกพรุนคืออะไร?

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) เป็นภาวะที่กระดูกมีความหนาแน่นและมวลกระดูกลดลง ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดน้อยลง กระดูกในร่างกายของเราประกอบด้วยเนื้อเยื่อกระดูกที่มีแร่ธาตุหลายชนิด โดยเฉพาะแคลเซียมที่ทำให้กระดูกแข็งแรง เมื่อเรามีอายุมากขึ้น หรือมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ กระบวนการสร้างกระดูกใหม่จะช้าลง ขณะที่กระบวนการสลายกระดูกเก่าเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดช่องว่างในเนื้อเยื่อกระดูกและเนื้อกระดูกจะเริ่มบางลง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักได้ง่าย 

โรคกระดูกพรุนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. Primary Osteoporosis: เป็นโรคกระดูกพรุนที่เกิดจากการเสื่อมของกระดูกตามอายุที่เพิ่มขึ้น เช่น การเข้าสู่วัยทองของผู้หญิง หรือการเข้าสู่วัยสูงอายุ
  2. Secondary Osteoporosis: เกิดจากโรคหรือปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อมวลและความหนาแน่นของกระดูก เช่น การใช้ยาบางชนิดเป็นเวลานาน หรือโรคที่ทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง

> กลับสู่สารบัญ

อาการของโรคกระดูกพรุน

ในระยะแรก โรคกระดูกพรุนมักไม่แสดงอาการที่ชัดเจน ผู้ป่วยอาจไม่ทราบว่าตนเองมีภาวะกระดูกพรุน จนเมื่อเกิดกระดูกหัก แต่มีอาการบางอย่างที่อาจบ่งชี้ว่าเกิดความผิดปกติของกระดูกที่เข้าได้กับโรคกระดูกพรุน เช่น

  1. กระดูกหักง่ายจากการกระแทกเบา ๆ: กระดูกที่มักหักบ่อยมักจะเป็น กระดูกข้อมือ กระดูกสะโพก และกระดูกสันหลัง กระดูกหักนี้อาจเกิดขึ้นจากการกระแทกเบา ๆ เช่น การล้มที่ไม่รุนแรง หรือแม้แต่การยกของที่ไม่หนักมาก
  2. มีอาการปวดหลัง: หากมีภาวะกระดูกพรุน กระดูกสันหลังอาจมีการแตกหักหรือยุบตัว จะทำให้เกิดอาการปวดหลัง อาการปวดอาจเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันหรือเป็นเรื้อรัง ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของกระดูกที่แตกหรือยุบตัว
  3. ส่วนสูงลดลง: หากมีภาวะกระดูกพรุน กระดูกสันหลังอาจจะยุบตัวจากการเสื่อมของกระดูก จนทำให้ผู้ป่วยมีส่วนสูงลดลง
  4. หลังค่อม หรือมีรูปร่างของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป: เมื่อกระดูกสันหลังยุบตัวจะทำให้เกิดอาการหลังค่อม หรือลำตัวมีลักษณะโค้งงอผิดปกติ

และเนื่องจากโรคกระดูกพรุนมักไม่แสดงอาการในระยะแรก ดังนั้นการหมั่นสังเกตการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และการตรวจเช็กมวลกระดูกจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะจะสามารถช่วยป้องกันการเกิดภาวะกระดูกพรุนได้

> กลับสู่สารบัญ

สาเหตุของโรคกระดูกพรุน

การเกิดโรคกระดูกพรุนมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ซึ่งสามารถแบ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้และปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ดังนี้

1. ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้

  • อายุ: เมื่ออายุมากขึ้น การสร้างมวลกระดูกจะลดลง ในขณะที่จะมีการสลายกระดูกเพิ่มขึ้น  กระดูกใหม่ที่เกิดขึ้นไม่เพียงพอที่จะทดแทนกระดูกเก่าที่สลายไป ทำให้กระดูกสูญเสียความแข็งแรงไป
  • เพศ: ผู้หญิงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนในหญิงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งฮอร์โมนเอสโตรเจนนี้มีบทบาทสำคัญในการรักษามวลกระดูก เมื่อระดับฮอร์โมนนี้ลดลง การสลายกระดูกจึงเกิดเร็วขึ้น
  • ประวัติครอบครัว: ถ้ามีบุคคลในครอบครัว เช่น พ่อแม่หรือปู่ย่าตายาย เป็นโรคกระดูกพรุน ความเสี่ยงที่บุคคลในครอบครัวรุ่นถัดไปจะเป็นโรคนี้ก็จะสูงขึ้นด้วย

2. ปัจจัยที่ควบคุมได้

  • การขาดแคลเซียมและวิตามินดี: การขาดสารอาหารและแร่ธาตุที่สำคัญต่อกระดูก เช่น แคลเซียมและวิตามินดี จะทำให้กระดูกอ่อนแอ การได้รับแคลเซียมจากอาหารไม่เพียงพอหรือการดูดซึมแคลเซียมไม่ดีทำให้มวลกระดูกลดลงได้
  • การขาดการออกกำลังกาย: การขาดการออกกำลังกายเป็นประจำทำให้มวลกระดูกลดลง เพราะการออกกำลังกายจะช่วยกระตุ้นกระบวนการสร้างกระดูก 
  • การสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์: การสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปทำให้กระดูกอ่อนแอลงได้
  • การใช้ยาบางชนิด: เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ หรือยารักษาโรคที่ส่งผลกระทบต่อการดูดซึมแคลเซียมอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนได้

> กลับสู่สารบัญ

อันตรายของโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนเป็นภาวะที่อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย เพราะอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจรุนแรงได้ เช่น

  1. กระดูกสะโพกหัก: เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่มีโรคกระดูกพรุน การหกล้มหรือการกระแทกเพียงเบา ๆ อาจทำให้กระดูกสะโพกหักได้ การรักษามักต้องใช้การผ่าตัดและทำกายภาพเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย ซึ่งอาจใช้เวลาหลายเดือน ผู้ป่วยบางรายอาจไม่สามารถกลับมาเคลื่อนไหวได้เหมือนเดิม และในบางกรณีอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
  2. กระดูกสันหลังหัก: กระดูกสันหลังที่หักหรือยุบตัวอาจทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง ซึ่งส่งผลต่อการเคลื่อนไหวและการทำกิจวัตรประจำวัน นอกจากนี้การยุบตัวของกระดูกสันหลังยังอาจทำให้เกิดอาการหลังค่อม ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาของทางเดินหายใจหรือการทำงานของระบบอื่น ๆ ของร่างกายได้
  3. เสี่ยงต่อความพิการ: เมื่อเกิดกระดูกหักซ้ำ ๆ หรือมีการหักในบริเวณที่สำคัญ เช่น สะโพกหรือสันหลัง อาจนำไปสู่ความพิการที่ทำให้ผู้ป่วยต้องพึ่งพาผู้อื่นในการดำเนินชีวิตประจำวัน บางคนอาจต้องนั่งรถเข็นหรือไม่สามารถเดินได้เอง

> กลับสู่สารบัญ

การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน

แม้ว่าโรคกระดูกพรุนจะไม่แสดงอาการชัดเจนในระยะแรก แต่เทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถตรวจหาความหนาแน่นของกระดูกได้ และแพทย์อาจพิจารณาการตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อเป็นข้อมูลในการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน โดยการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนทำได้โดย

  • การตรวจความหนาแน่นของกระดูก (Bone Mineral Density – BMD): เป็นวิธีที่แพทย์นิยมใช้ในการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน เป็นการวัดปริมาณแร่ธาตุในกระดูกของผู้ป่วย การตรวจนี้ใช้เวลาสั้น ๆ และไม่เจ็บปวด สามารถวัดได้ทั้งที่กระดูกสันหลัง สะโพก และข้อมือ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการแตกหักมากที่สุด ค่า BMD ที่ต่ำกว่าค่าปกติจะบ่งบอกถึงความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน 
  • การตรวจสุขภาพ: แพทย์อาจซักประวัติเกี่ยวกับ ประวัติครอบครัว ประวัติการใช้ยาหรือฮอร์โมน รวมถึงประวัติการออกกำลังกายและการรับประทานอาหาร เพื่อตรวจสอบปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจนำไปสู่โรคกระดูกพรุนได้
  • การตรวจเลือดและปัสสาวะ: การตรวจเลือดและปัสสาวะสามารถช่วยประเมินการทำงานของต่อมไทรอยด์ ระดับวิตามินดี และฮอร์โมนอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อมวลกระดูก นอกจากนี้ยังช่วยวินิจฉัยโรคอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อกระดูก เช่น โรคไต หรือภาวะการขาดแคลเซียม

> กลับสู่สารบัญ

การรักษาโรคกระดูกพรุน

การรักษาโรคกระดูกพรุนมักเน้นที่การป้องกันภาวะกระดูกแตกหรือหัก ลดอาการปวด และเพิ่มความแข็งแรงของกระดูก วิธีการรักษาอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้แพทย์จะพิจารณาโดยขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรคและสุขภาพทั่วไปของผู้ป่วย

  • การรักษาด้วยยา: แพทย์อาจพิจารณาให้ยากลุ่มที่ช่วยยับยั้งกระบวนการสลายกระดูกและช่วยเพิ่มมวลกระดูก หรือให้รับประทานวิตามินดีและแคลเซียมเสริม
  • การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ: เช่น การเดินเร็ว การยกน้ำหนัก หรือการทำโยคะ จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อ ลดความเสี่ยงต่อการล้มและกระดูกหัก
  • การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีให้เพียงพอ: การปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารให้มีแคลเซียมและวิตามินดีเพียงพอจะช่วยลดการเกิดภาวะกระดูกพรุน รวมไปถึงการหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดการขับแคลเซียมออกจากร่างกาย เช่น เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีนในปริมาณมากเกินไป
  • การเลิกบุหรี่และลดการดื่มแอลกอฮอล์: บุหรี่และแอลกอฮอล์มีผลกระทบต่อการดูดซึมแคลเซียมและสุขภาพกระดูก การเลิกบุหรี่และการลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์จะช่วยรักษาสุขภาพกระดูกให้ดีขึ้นได้

> กลับสู่สารบัญ

การป้องกันโรคกระดูกพรุน

การป้องกันโรคกระดูกพรุนควรเริ่มต้นตั้งแต่วัยเด็กและทำต่อเนื่องไปตลอดชีวิต ซึ่งการดูแลกระดูกให้แข็งแรงตั้งแต่อายุน้อยจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนในอนาคต โดยวิธีการป้องกันภาวะกระดูกพรุนสามารถทำได้ดังนี้ 

  • การรับประทานอาหารที่เหมาะสม: การบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีอย่างเพียงพอ โดยอาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์จากนม เช่น โยเกิร์ตและชีส และอาหารที่มีวิตามินดี เช่น ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน และผักใบเขียวเข้ม นอกจากนี้การรับประทานวิตามินดีและแคลเซียมเสริมอาจมีความจำเป็นในบางช่วงวัย ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อการรับประทานอย่างเหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • การออกกำลังกาย: การออกกำลังกายที่เน้นการสร้างมวลกระดูกเป็นประจำอย่างน้อย 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ เช่น การวิ่ง การยกน้ำหนัก หรือการเดิน จะช่วยกระตุ้นการสร้างกระดูกใหม่
    อ่านเพิ่มเติม : การออกกำลังกายกับโรคกระดูกพรุน
  • การรับแสงแดด: แสงแดดเป็นแหล่งวิตามินดีที่สำคัญ การออกไปรับแสงแดดในช่วงเช้าวันละ 10-15 นาที จะช่วยให้ร่างกายสร้างวิตามินดีได้มากขึ้น
  • การเลิกบุหรี่และลดการดื่มแอลกอฮอล์: บุหรี่และแอลกอฮอล์มีผลเสียต่อการดูดซึมแคลเซียม การลดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และการเลิกบุหรี่จะช่วยรักษามวลกระดูกและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน
  • การตรวจสุขภาพประจำปี: การตรวจสุขภาพประจำปีเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูง เช่น ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนหรือผู้สูงอายุ การตรวจความหนาแน่นของกระดูกเป็นประจำจะช่วยตรวจพบโรคกระดูกพรุนได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และช่วยในการวางแผนป้องกันการแตกหักของกระดูกได้

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

โรคกระดูกพรุนเป็นภาวะที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดกระดูกหัก หรืออาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยผู้สูงอายุ การป้องกัน การเข้ารับการตรวจสุขภาพของกระดูก หรือหากตรวจพบภาวะกระดูกพรุน การรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงและชะลอการเสื่อมสภาพของกระดูกได้ การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีอย่างเพียงพอ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เป็นปัจจัยที่สำคัญในการดูแลสุขภาพกระดูกและลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนได้

สนใจนัดหมายแพทย์

แนะนำแพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

แพ็กเกจตรวจความหนาแน่นมวลกระดูก Bone Mineral Density

รายละเอียด

โปรแกรมผ่าตัดข้อสะโพก

รายละเอียด

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

นพ.พีรพงษ์ สวัสดิพงษ์

นพ.พีรพงษ์ สวัสดิพงษ์

ศูนย์กระดูกและข้อ

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

1200-กระดูกและข้อ

ศูนย์กระดูกและข้อ

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา