Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

MRI คืออะไร? ตรวจร่างกายส่วนไหน วินิจฉัยโรคอะไรได้บ้าง?

พญ.สลิษา ประดิษฐบาทุกา

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 23 เมษายน 2025
MRI คือ

หลาย ๆ คนอาจจะกำลังเผชิญกับอาการปวดศีรษะเรื้อรัง เวียนศีรษะ อ่อนแรงหรือชาตามร่างกาย สิ่งที่จะช่วยให้การรักษาดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องอาศัยการวินิจฉัยที่มีความแม่นยำสูง เพราะยิ่งรู้สาเหตุของการเกิดโรคได้ชัดเจนมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งช่วยให้รักษาได้ตรงจุด ช่วยให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูจนกลับสู่สภาวะปกติได้เร็วขึ้น

ในบางโรคที่ค่อนข้างมีความซับซ้อน จึงต้องใช้หลายวิธีในการวินิจฉัยร่วมกัน รวมถึงการทำ MRI scan เพื่อใช้เป็นตัวยืนยันผลวินิจฉัยให้มีความชัดเจนเพียงพอ สำหรับคนที่สงสัยว่า MRI คืออะไร? MRI มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร หรือ MRI ตรวจอะไรได้บ้าง สามารถหาคำตอบได้ในบทความนี้ 

Key Takeaways

  • MRI คือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ให้ภาพละเอียดสูง สามารถสร้างภาพ 3 มิติ โดยไม่ใช้รังสีที่เป็นอันตราย
  • MRI ใช้ตรวจได้เกือบทุกส่วนของร่างกาย ทั้งสมอง เส้นเลือด อวัยวะภายใน กระดูก และข้อต่อ ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้แม่นยำ
  • การเตรียมตัวก่อนตรวจ MRI จำเป็นต้องถอดโลหะทุกชนิดออก และในบางกรณีต้องงดน้ำและอาหาร 4-6 ชั่วโมง
  • MRI ต่างจาก CT Scan ตรงที่ใช้เวลานานกว่าประมาณ 30-90 นาที แต่ปลอดภัยกว่า เพราะไม่ใช้รังสีเอกซเรย์และไม่ต้องฉีดสารทึบรังสี

สารบัญบทความ

  • MRI คืออะไร? เครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง
  • MRI ใช้ตรวจส่วนไหนของร่างกายได้บ้าง?
  • ข้อดีของ MRI ปลอดภัย และแม่นยำ
  • วิธีเตรียมตัวก่อนทำ MRI เพื่อให้ผลตรวจถูกต้อง
  • หลังทำ MRI จะต้องดูแลตัวเองอย่างไร?
  • MRI ต่างจาก CT Scan อย่างไร?
  • MRI เครื่องวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มีประสิทธิภาพและแม่นยำ
  • คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ MRI

MRI คืออะไร? เครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง 

MRI คือ

Magnetic Resonance Imaging หรือ MRI คือ การใช้เครื่องมือทางการแพทย์ตรวจหาความผิดปกติตามอวัยวะต่าง ๆ โดยเครื่อง MRI จะมีลักษณะเป็นอุโมงค์ขนาดใหญ่ประมาณ 60 เซนติเมตร ที่ถูกล้อมรอบด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อผู้ป่วยเข้าไปอยู่ภายใต้สนามแม่เหล็ก เครื่องจะส่งคลื่นความถี่วิทยุ (Radiofrequency) ไปกระตุ้นยังอวัยวะ ทำให้เกิดกระบวนการทางฟิสิกส์ที่เรียกว่า การกำทอน (Resonance) ขึ้น 

หลังจากเครื่องหยุดกระตุ้น ไฮโดรเจนอะตอมในร่างกายจะคายพลังงานเข้าสู่อุปกรณ์รับสัญญาณ แล้วไปแสดงผลบนหน้าจอที่ควบคุมโดยนักรังสีเทคนิค ภาพที่ได้จากเครื่อง MRI จะเป็นภาพเสมือนจริงที่มีความละเอียดสูง เนื่องจากสามารถทำภาพได้หลายระนาบ ไม่ว่าจะเป็นแนวขวาง แนวยาว หรือแนวเฉียง เป็นภาพ 3 มิติ ช่วยให้มองเห็นความแตกต่างของเนื้อเยื่อได้ดี ดังนั้น การตรวจ MRI จึงช่วยในการวินิจฉัยรอยโรคได้แม่นยำกว่าวิธีอื่น ๆ ทั้งยังไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด และอันตรายใด ๆ แก่ผู้ป่วยอีกด้วย 

MRI ใช้ตรวจส่วนไหนของร่างกายได้บ้าง? 

MRI ตรวจอะไรได้บ้าง

เทคโนโลยี MRI คือเครื่องมือที่สามารถใช้ตรวจได้เกือบทุกส่วนของร่างกาย ที่มีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบ ซึ่งส่วนที่มักทำการสแกน MRI มีดังนี้

  • MRI สมอง หรือ MRI brain คือ การตรวจหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับสมองและเส้นประสาทในสมอง วิธีนี้จะช่วยวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ได้แก่ เส้นเลือดสมองตีบ (Ischemic Stroke), เส้นเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke) รวมถึงคัดกรองเนื้องอกในสมอง (Brain tumor) และวินิจฉัยโรคสมองเสื่อม (Dementia)ได้อีกด้วย 
  • MRI เส้นเลือด (MRA หรือ Magnetic resonance angiography) เป็นวิธีที่ช่วยให้ตรวจประเมินสภาพหลอดเลือดของอวัยวะต่าง ๆ ได้ดี เช่น หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง หรือหลอดเลือดไต โดยไม่ต้องใส่สายสวนเข้าหลอดเลือดแดง (บางโรคต้องฉีดสารทึบรังสี)
  • MRI อวัยวะภายในช่องท้อง (MRI Abdomen) เป็นการตรวจหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในช่องท้อง ไม่ว่าจะเป็น ตับ ถุงน้ำดี ไต กระเพาะปัสสาวะ เหมาะสำหรับการตรวจหาโรค เช่น เนื้องอกในช่องท้อง มะเร็งตับ มะเร็งในท่อน้ำดี นิ่วในทางเดินน้ำดี หรือใช้เพื่อตรวจมดลูกกับรังไข่ของผู้หญิง และต่อมลูกหมากในผู้ชาย
  • MRI กระดูกสันหลัง (MRI spine) ช่วยในการตรวจหาต้นตอความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากบางสภาวะ เช่น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการแขนขาอ่อนแรง ปวดหลังเรื้อรังจนร้าวไปยังส่วนอื่น ๆ รวมถึงการตรวจหาสภาวะโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ กระดูกสันหลังเสื่อม เนื้องอก เป็นต้น 
  • MRI กระดูกและข้อ (MRI Musculoskeletal system) เหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องข้ออักเสบ เกิดการฉีกขาดของเส้นเอ็น มีเนื้องอกที่กระดูก กระดูกอ่อน ข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ ข้อเข่าเสื่อม หรือได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา 

ข้อดีของ MRI ปลอดภัย และแม่นยำ 

ข้อดีของ MRI ปลอดภัย และแม่นยำ

MRI คือ เครื่องมือที่มีความทันสมัย และมีข้อดีอยู่หลายประการ ดังนี้ 

  • การทำ MRI scan จะใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากับคลื่นวิทยุความเข้มข้นสูงในการสร้างภาพเหมือนจริงของอวัยวะขึ้นมา จึงไม่มีรังสีเอกซเรย์ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ 
  • ภาพที่ได้จากการทำ MRI จะมีความละเอียดมากกว่าวิธีอื่น ๆ เช่น CT Scan, Ultrasound หรือ X-ray ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำ พร้อมวางแผนการรักษาได้ตรงจุดยิ่งขึ้น 
  • MRI สามารถให้ภาพที่แยกความแตกต่างของเนื้อเยื่อได้ชัดเจน ทำให้พบความผิดปกติในร่างกายได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น 
  • มีความปลอดภัยสูง สะดวกสบาย สามารถตรวจได้ครบทุกระนาบ โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
  • การตรวจหลอดเลือดด้วย MRI อาจไม่จำเป็นต้องฉีดสารทึบรังสี ผู้ป่วยโรคไต หรือผู้ป่วยที่แพ้สารทึบรังสีบางชนิดสามารถทำได้ 
  • MRI ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดต่อร่างกาย จึงไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวมากนัก และหลังทำสามารถกลับบ้านได้ทันที 

วิธีเตรียมตัวก่อนทำ MRI เพื่อให้ผลตรวจถูกต้อง 

MRI คือ การตรวจโดยอาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า อาจไม่จำเป็นต้องฉีดสารทึบแสง หรือมีรังสีที่เป็นอันตราย จึงไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวเป็นพิเศษ สามารถทำตามข้อแนะนำได้ดังนี้

  • ก่อนตรวจไม่จำเป็นต้องอดอาหาร ยกเว้นกรณีใช้ยานอนหลับ ยาสลบ หรือเข้ารับการตรวจอวัยวะภายในช่องท้อง ตรวจทางเดินน้ำดี ต้องงดน้ำและอาหารเป็นเวลา 4-6 ชั่วโมง 
  • งดการแต่งหน้า หรือใช้เครื่องสำอางที่อาจมีส่วนผสมของโลหะ เช่น มาสคาร่า อายแชโดว์ เป็นต้น
  • พยายามผ่อนคลายจิตใจให้สงบ เข้าห้องน้ำก่อนตรวจ MRI ให้เรียบร้อย เพราะจำเป็นต้องนอนนิ่ง ๆ เป็นเวลานาน เพื่อให้ภาพออกมาชัดเจน 
  • ก่อนสแกน MRI ต้องถอดอุปกรณ์ที่เป็นโลหะทุกชิ้นไว้ภายนอก รวมถึงเคสจัดฟันต้องถอดเหล็กดัดฟันออกก่อนด้วยเช่นกัน
  • บุคคลบางกลุ่ม เช่น ผู้ที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) เคยผ่าตัดใส่ Clips หรือมีโลหะแปลกปลอมในร่างกาย ต้องแจ้งแพทย์ก่อน เพราะอาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย ไม่สามารถเข้าตรวจได้

หลังทำ MRI จะต้องดูแลตัวเองอย่างไร?

หลังทำ MRI scan

หลังเข้ารับการตรวจ MRI เสร็จสิ้น สามารถกลับบ้านและใช้ชีวิตตามปกติได้ทันที โดยไม่มีผลข้างเคียงอื่น ๆ ยกเว้นในรายที่มีการใช้ยาคลายเครียดหรือยาสลบ ที่อาจรู้สึกไม่ตื่นตัวดี จึงควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ การทำงานกับเครื่องจักร เพราะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ดังนั้น ในวันที่เข้ารับการตรวจ ควรมีญาติคอยติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ป่วยเอง ทั้งนี้สามารถติดตามผลตรวจกับแพทย์เจ้าของคนไข้ได้โดยตรงภายใน 1-2 สัปดาห์ 

MRI ต่างจาก CT Scan อย่างไร?

MRI กับ CT scan ต่างกันอย่างไร? โดยเครื่อง MRI คือการนำคนไข้เข้าไปในสนามแม่เหล็ก แล้วกระตุ้นร่างกายด้วยคลื่นความถี่วิทยุ จากนั้นคอมพิวเตอร์จะประมวลผลออกมาเป็นภาพที่มีความละเอียดสูง ที่มองเห็นความต่างของเนื้อเยื่อได้ชัดเจน จึงเหมาะกับการตรวจเนื้อเยื่อต่าง ๆ 

แต่ CT scan คือ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ที่จะปล่อยรังสีเอกซเรย์ ผ่านไปยังตัวผู้เข้ารับการตรวจ ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพได้หากมีรังสีตกค้าง วิธีการนี้เหมาะกับการตรวจกระดูกอย่างยิ่ง โดยระยะเวลาทำ CT scan จะอยู่ที่ 10-15 นาที รวดเร็วกว่า MRI ซึ่งต้องใช้เวลาราว 30-90 นาทีขึ้นไป 

นอกจากนี้ CT Scan ยังต่างจาก MRI ตรงที่สามารถใช้ตรวจคนที่มีโลหะอยู่ในร่างกายได้ ทว่าในขั้นตอนการทำต้องฉีดสารทึบรังสี ซึ่งเป็นพิษต่อไต จึงไม่เหมาะกับผู้เป็นโรคไต และยังก่อให้เกิดอาการแพ้ได้มากกว่า MRI ที่ต้องใช้การฉีดสารทึบรังสีในบางกรณีเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามการเลือก MRI หรือ CT Scan ล้วนขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ทั้งสิ้น 

MRI เครื่องวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มีประสิทธิภาพและแม่นยำ

MRI คือ เครื่องมือทางการแพทย์ที่ไม่ใช้ค้นหาสาเหตุของความผิดปกติในร่างกาย เพื่อนำไปใช้ในการวินิจฉัยโรค พร้อมวางแผนการรักษาที่เหมาะสมแก่คนไข้ หากคุณกำลังมีอาการผิดปกติเรื้อรังที่รักษาไม่หาย หรือเข้าตรวจสุขภาพเบื้องต้นแล้ว แต่ยังวินิจฉัยได้ไม่ชัดเจน สามารถปรึกษาแพทย์ เพื่อเข้ารับโปรแกรมตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) อย่างปลอดภัย และมีความแม่นยำสูงได้ที่โรงพยาบาลพระรามเก้า 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

  • Facebook : Praram 9 hospital  
  • Line : @Praram9Hospital
  • โทร. 1270

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ MRI

1. โรคกลัวที่แคบ ตรวจ MRI ได้ไหม?

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการกลัวที่แคบ ควรแจ้งแพทย์ก่อนตรวจ MRI เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถรับมือได้อย่างเหมาะสม โดยอาจมีการพูดคุยเพื่อสร้างความผ่อนคลาย หรือให้ญาติเข้ามาเฝ้า เพื่อลดความกังวลของคนไข้ แต่ในบางกรณีแพทย์จะพิจารณาสั่งจ่ายยาคลายเครียดหรือยานอนหลับให้ ขึ้นอยู่กับระดับความกลัวของผู้ป่วย 

References 

MRI scan. (2022, July 26).  NHS. https://www.nhs.uk/conditions/mri-scan/

Magnetic Resonance Imaging (MRI). (n.d.). NIH. https://www.nibib.nih.gov/science-education/science-topics/magnetic-resonance-imaging-mri

Lam, P. (2023, June 8). What to know about MRI scans. MedicalNewsToday. https://www.medicalnewstoday.com/articles/146309

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.สลิษา ประดิษฐบาทุกา

พญ.สลิษา ประดิษฐบาทุกา

ศูนย์สมองและระบบประสาท

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์สมองและระบบประสาท

ศูนย์สมองและระบบประสาท

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา