Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

CT Scan คืออะไร ต่างจาก MRI ไหม วินิจฉัยอะไรได้บ้าง?

พญ.สลิษา ประดิษฐบาทุกา

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 21 มีนาคม 2025
CT Scan คือ

การตรวจวินิจฉัยโรคในบางครั้งก็มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องมือการแพทย์ช่วยวินิจฉัย เพื่อความแม่นยำในการวินิจฉัยมากขึ้น หนึ่งในเทคโนโลยีที่นิยมนำมาใช้ก็คือ CT Scan เครื่องมือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่สามารถแสดงภาพอวัยวะภายในด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้แพทย์สามารถเห็นถึงความผิดปกติได้ชัดเจน 

ทำความรู้จัก CT Scan คืออะไร? ทำไมถึงต้องใช้เพื่อตรวจวินิจฉัยโรค? ต่างจากการทำ MRI อย่างไร? สรุปให้แล้วในบทความนี้

Key Takeaways

  • CT Scan คือเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ให้ภาพอวัยวะภายในลักษณะตัดขวางและ 3 มิติ ทำให้แพทย์สามารถเห็นความผิดปกติและวินิจฉัยโรคได้แม่นยำขึ้น
  • ภาพจาก CT Scan สามารถระบุตำแหน่งของรอยโรคได้ จึงสามารถใช้เพื่อวางแผนในการผ่าตัด หรือทำหัตถการอื่น ๆ เพื่อลดภาระต่อผู้ป่วยที่เกิดจากหลังการผ่าตัด
  • ปริมาณรังสีที่ได้รับจากการทำ CT Scan มากกว่าการเอกซเรย์ทั่วไป อีกทั้งสารทึบสีอาจเป็นพิษต่อไต ดังนั้นก่อนเข้ารับการตรวจควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
  • MRI กับ CT Scan ต่างกันอย่างไร? CT Scan จะใช้รังสีเอกซ์ในการตรวจ แต่ MRI จะใช้สนามแม่เหล็กและคลื่นวิทยุ ผลที่ได้ทำให้ MRI แสดงผลได้ละเอียดแม่นยำมากกว่า

สารบัญบทความ

  • CT Scan คืออะไร?
  • CT Scan มีข้อดีอย่างไร? ทำไมจึงกลายเป็นเครื่องมือวินิจฉัยพื้นฐาน?
  • ก่อนทำ CT Scan จะต้องเตรียมตัวอย่างไรเพื่อให้ผลการวินิจฉัยแม่นยำที่สุด?
  • การดูแลตัวเองหลังทำ CT Scan
  • หมดข้อสงสัย CT Scan ต่างจาก MRI อย่างไร?
  • CT Scan คือผู้ช่วยสำคัญ เพื่อการวินิจฉัยและรักษาโรคอย่างแม่นยำ
  • คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ CT Scan

CT Scan คืออะไร? 

CT Scan คืออะไร

Computerized Tomography Scan หรือ CT Scan คือเครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้รังสีเอกซ์ในการเก็บภาพ จากนั้นทำการประมวลภาพด้วยระบบคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างภาพตัดขวาง ก่อนจะนำมาสร้างภาพในรูปแบบ 3 มิติ ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นอวัยวะภายในได้ชัดเจนกว่าการเอกซเรย์ทั่วไป และยังสามารถใช้ตรวจหาโรคได้หลายระบบ ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้แม่นยำยิ่งขึ้น

ลักษณะของเครื่อง CT Scan นั้นจะเป็นอุโมงค์ขนาดใหญ่ และมีเตียงอยู่กลางอุโมงค์ เมื่อเครื่องทำงาน เตียงจะเลื่อนนำตัวผู้ป่วยเข้าสู่อุโมงค์ จากนั้นหลอดรังสีเอกซ์จะหมุนรอบ ๆ ตัวผู้ป่วย ซึ่งรังสีเอกซ์ที่ทะลุผ่านออกจากร่างกายจะถูกจับโดยตัวรับสัญญาณที่อยู่ตรงข้าม 

เอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบภาพตัดขวางพื้นฐาน (Conventional CT Scan)

เครื่อง CT Scan ประเภทนี้จะทำงานโดยการให้หลอดรังสีเอกซ์หมุนรอบตัวผู้ป่วย ซึ่ง 1 รอบจะได้ 1 ภาพ จากนั้นเตียงจะเลื่อนเพื่อเปลี่ยนตำแหน่งก่อนที่จะทำการหมุนหลอดรังสีเอกซ์ซ้ำอีกครั้ง ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนได้ภาพตัดขวางของอวัยวะที่ต้องการตรวจวินิจฉัย ซึ่ง Conventional CT Scan เป็นเทคโนโลยีเก่า ใช้เวลาในการตรวจค่อนข้างนาน และมีโอกาสที่จะเกิดภาพเบลอได้มากเพราะผู้ป่วยจำเป็นต้องนิ่งอยู่เป็นเวลานาน

เอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบเกลียว (Spiral / Helical CT Scan)

เครื่อง CT Scan ประเภทนี้จะทำงานโดยการให้หลอดรังสีเอกซ์หมุนรอบตัวผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ทำให้ได้ภาพเป็นจำนวนมากเพื่อสร้างภาพตัดขวางและภาพ 3 มิติที่คมชัดและรวดเร็วกว่า Conventional CT Scan 

CT Scan มีข้อดีอย่างไร? ทำไมจึงกลายเป็นเครื่องมือวินิจฉัยพื้นฐาน?

ข้อดีของการทำ CT Scan

ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการแพทย์ที่ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคและวางแผนการรักษาได้อย่างแม่นยำ โดย CT Scan คือหนึ่งในเครื่องมือที่แพทย์นิยมเลือกใช้ ด้วยข้อดีดังต่อไปนี้

  • แพทย์สามารถเห็นถึงความผิดปกติของอวัยวะภายในอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะในรูปแบบภาพตัดขวาง หรือการสร้างภาพ 3 มิติเพื่อให้เห็นถึงตำแหน่งที่แน่นอน โดยที่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดแก่ผู้ป่วย
  • CT Scan ตรวจอะไรได้บ้าง? เครื่อง CT Scan สามารถตรวจวินิจฉัยได้เกือบทุกระบบของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบหัวใจและหลอดเลือด, ระบบทางเดินอาหาร, ระบบสมอง, ระบบกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อต่อ เป็นต้น
  • แพทย์นิยมใช้เครื่อง CT Scan ในการตรวจโรคประเภทเนื้องอกและมะเร็ง ยกตัวอย่างเช่น เนื้องอกในสมอง, มะเร็งปอด นอกจากนี้ยังสามารถนำมาตรวจหาภาวะเลือดออกในอวัยวะภายใน เช่น หลอดเลือดหัวใจ เลือดออกในสมอง เป็นต้น
  • สามารถใช้ผลจาก CT Scan เพื่อการวางแผนผ่าตัดรักษาโรค หรือทำหัตถการอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เครื่อง CT Scan สามารถให้ผลการตรวจวินิจฉัยที่รวดเร็ว ใช้เวลาตรวจเพียงประมาณ 10-15 นาทีเท่านั้น
  • แพทย์สามารถส่งตัวผู้ป่วยเข้ารับการตรวจ CT Scan ได้วินิจฉัยได้ทันทีโดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องเตรียมตัวล่วงหน้า

ก่อนทำ CT Scan จะต้องเตรียมตัวอย่างไรเพื่อให้ผลการวินิจฉัยแม่นยำที่สุด?

หากแพทย์พิจารณาแล้วว่าผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการวินิจฉัยด้วยเครื่อง CT Scan ก่อนเข้ารับการตรวจ แพทย์จะมีการสอบถามข้อมูลเบื้องต้นและเตรียมตัวผู้ป่วยให้พร้อมก่อนตรวจ ดังนี้

  • ซักประวัติผู้ป่วยว่ามีโรคประจำตัวหรือไม่ หากมีโรคประจำตัวเช่น โรคไต, โรคหัวใจ, โรคเบาหวาน, โรคระบบทางเดินหายใจ หรืออยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ จะต้องแจ้งแพทย์และเจ้าหน้าที่ให้ทราบทันที
  • ผู้ป่วยเซ็นเอกสารยินยอมรับการฉีดสารทึบสีและตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่อง CT Scan
  • กรณีผู้ป่วยที่ตรวจช่องท้อง อาจจะต้องงดอาหารอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง หรือทำการสวนทวารก่อนเข้ารับการตรวจ เพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจน ไม่มีสิ่งรบกวนในภาพ
  • กรณีที่แพทย์ต้องการภาพที่ชัดเจน หรือสามารถมองเห็นเนื้อเยื่อ หลอดเลือด อวัยวะภายใน เพื่อประเมินพยาธิสภาพของโรคได้แม่นยำ เจ้าหน้าที่จะให้สารทึบรังสี ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบการดื่ม การฉีด หรือการเหน็บผ่านทวารหนัก
  • กรณีผู้ป่วยเด็ก ผู้ที่มีความกังวล หรือกลัวที่แคบ แพทย์อาจต้องให้ยาระงับประสาทเพื่อให้สามารถเข้ารับการตรวจได้อย่างราบรื่นและแสดงผลการตรวจที่แม่นยำ 
  • เปลี่ยนเสื้อผ้าที่ทางเจ้าหน้าที่จัดเตรียมไว้ให้ และถอดเครื่องประดับออกทั้งหมดก่อนตรวจ  
  • ควรมีผู้ติดตามมาด้วยอย่างน้อย 1 คน

การดูแลตัวเองหลังทำ CT Scan

ทํา CT Scan นานไหม

หลังเข้ารับการตรวจด้วยเครื่อง CT Scan เจ้าหน้าที่จะให้นั่งพักสังเกตอาการหลังได้รับสารทึบสีเป็นเวลา 15 นาที หากไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ ผู้ป่วยก็สามารถกลับใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ทั้งนี้แพทย์จะแนะนำให้ดื่มน้ำให้มากอย่างน้อย 1-2 ลิตรในช่วง 24 ชั่วโมงหลังฉีดสี CT Scan เพื่อให้ร่างกายขับสารทึบสีออกมาโดยเร็ว

หมดข้อสงสัย CT Scan ต่างจาก MRI อย่างไร?

CT Scan และ MRI ต่างก็เป็นเครื่องมือทางการแพทย์สำหรับวินิจฉัยค้นหารอยโรคจากอวัยวะภายใน แต่ทั้งสองเครื่องมือนี้มีรูปแบบการทำงานและผลลัพธ์ที่ให้แตกต่างกัน ดังนี้

  • CT Scan
    • ใช้รังสีเอกซ์ในการเก็บภาพ และประมวลผลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ให้ภาพตัดขวางและภาพ 3 มิติ
    • เหมาะกับการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติหรือโรคกระดูก ให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าวิธีอื่น และสามารถวินิจฉัยอาการบาดเจ็บของอวัยวะภายในหรือความผิดปกติอื่น ๆ เช่น มะเร็ง เนื้องอก หลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น
    • ใช้เวลาตรวจสั้น เพียงแค่ 10-15 นาทีเท่านั้น
    • ผู้ป่วยจำเป็นต้องฉีดสารทึบสีเพื่อให้เห็นหลอดเลือดและเนื้อเยื่อชัดเจนขึ้น ซึ่งผลข้างเคียงของการฉีดสี CT Scan นั้นมีโอกาสเป็นพิษต่อไต เนื่องจากสารทึบสีนี้มีส่วนประกอบของไอโอดีน 
    • ผู้ที่มีอุปกรณ์แม่เหล็กหรือโลหะฝังในร่างกายสามารถเข้ารับการตรวจ CT Scan ได้ 
  • MRI
    • ใช้สนามแม่เหล็กและคลื่นวิทยุ จากนั้นประมวลภาพด้วยคอมพิวเตอร์ ให้ภาพ 3 มิติเสมือนจริงที่มีความคมชัดและมีความละเอียดสูงกว่าการทำ CT Scan
    • เหมาะกับการตรวจวินิจฉัยอาการป่วยที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อ, หลอดเลือด, เส้นประสาท, ไขสันหลัง, สมอง และอวัยวะภายในอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ความละเอียดสูง
    • ใช้เวลาตรวจนาน ประมาณ 30-90 นาที หรืออาจนานกว่านั้นขึ้นกับบริเวณที่ตรวจ
    • ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องฉีดสารทึบสี ใช้ในกรณีจำเป็นเท่านั้น อีกทั้งสารทึบสีสำหรับ MRI ยังไม่มีไอโอดีนเป็นส่วนประกอบ จึงไม่เป็นพิษต่อไต
    • ไม่เหมาะกับผู้ที่มีอุปกรณ์แม่เหล็กหรือโลหะฝังในร่างกาย

ทำความรู้จักเครื่อง MRI คืออะไร ทำไมจึงเป็นอีกเครื่องมือที่แพทย์นิยมใช้วินิจฉัยโรค อ่านต่อได้ที่ : MRI คือ

CT Scan คือผู้ช่วยสำคัญ เพื่อการวินิจฉัยและรักษาโรคอย่างแม่นยำ

CT Scan คือเครื่องมือทางการแพทย์ที่สามารถบอกรายละเอียดของอวัยวะภายในของผู้ป่วยในรูปแบบภาพตัดขวางและภาพ 3 มิติ แพทย์จึงสามารถวินิจฉัยและวางแผนการรักษาได้แม่นยำโดยที่ไม่สร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ป่วยขณะตรวจ อีกทั้งยังไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจมากนัก จึงกลายเป็นเครื่องมือที่แพทย์นิยมใช้ตรวจวินิจฉัยโรค 

ศูนย์สมองและระบบประสาท และ ศูนย์รังสีวิทยา โรงพยาบาลพระรามเก้า เรามุ่งมั่นที่จะค้นหาสาเหตุของโรคด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างแม่นยำ และกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

  • Facebook : Praram 9 hospital  
  • Line : @Praram9Hospital
  • โทร. 1270

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ CT Scan

1. CT Scan มีข้อจำกัดไหม?

การตรวจด้วยเครื่อง CT Scan ก็ยังมีข้อเสียอยู่บ้าง เนื่องจากมีการใช้รังสีเอกซ์จำนวนมาก และอาจมีขั้นตอนที่ต้องให้ความร่วมมือจากผู้ป่วย ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับเด็ก, (note: เทียบแล้ว MRI แคบกว่ามากค่ะ) , ผู้ที่มีปัญหาทางระบบหายใจที่ไม่สามารถกลั้นหายใจได้, สตรีมีครรภ์ เป็นต้น

นอกจากนี้ ผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพบางประการจำเป็นจะต้องแจ้งแพทย์ก่อนทำ CT Scan ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่มีปัญหาทางไต, ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ, ผู้ที่มีประวัติแพ้สารทึบสี เนื่องจากมีโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนจากสารทึบสีได้มากกว่าบุคคลทั่วไป  

2. CT scan มีความแม่นยำแค่ไหน?

การตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่อง CT Scan สามารถให้ภาพที่มีความละเอียดสูงกว่าการเอกซเรย์ทั่วไป โดยภาพที่ได้จะสามารถเห็นในรูปแบบ 3 มิติ และภาพตัดขวาง ทำให้แพทย์สามารถเห็นตำแหน่งที่ผิดปกติได้แม่นยำ ทั้งนี้ การตรวจด้วย CT Scan จะแม่นยำแค่ไหนยังขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ตรวจ โรคที่ต้องการตรวจ รวมถึงการเตรียมตัวก่อนตรวจ 

References 

Computed Tomography (CT). (2022). National Institutes of Health. https://www.nibib.nih.gov/science-education/science-topics/computed-tomography-ct

The American Cancer Society medical and editorial content team. (2015, November 30). CT Scan for Cancer. The American Cancer Society. https://www.cancer.org/cancer/diagnosis-staging/tests/imaging-tests/ct-scan-for-cancer.html

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.สลิษา ประดิษฐบาทุกา

พญ.สลิษา ประดิษฐบาทุกา

ศูนย์สมองและระบบประสาท

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์สมองและระบบประสาท

ศูนย์สมองและระบบประสาท

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา