Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

เตรียมตัวฉีดวัคซีนโควิด ต้องทำอย่างไรบ้าง

นพ.อนุวัตร สุขสมานพาณิชย์

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 12 พฤษภาคม 2021
เตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีนโควิด

ยอดผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ในระลอกที่ 3 นี้ยังพุ่งไม่หยุด ถึงแม้ว่าตอนนี้จะมีวัคซีนให้กับบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนในพื้นที่สีแดงที่เกิดการระบาดได้รับวัคซีนเพื่อป้องกันความรุนแรงของโรคไปบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีข่าวอาการไม่พึงประสงค์ตามมาในภายหลังการได้รับวัคซีน ส่งผลให้เกิดความกังวลใจได้ไม่เว้นแต่ละวัน

ทีนี้ ถ้าเรายังกังวลใจกับการฉีดวัคซีนโควิด 19…
เราควรทำอย่างไรได้บ้าง…
ต้องเตรียมความพร้อมอย่างไร?
จะไปตรวจสุขภาพเพื่อเช็คความพร้อมก่อนฉีดวัคซีนได้หรือเปล่า?
บทความนี้ มีเฉลย สามารถเลือกหัวข้อที่สงสัยจากสารบัญได้เลย

สารบัญ

  • บทความนี้ เหมาะสำหรับใคร
  • Q1: ก่อนฉีดวัคซีนโควิด 19 ควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?
  • Q2: ควรเว้นระยะเวลาฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ กับการฉีดวัคซีนโควิด 19 นานเท่าไหร่?
  • Q3: ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มที่ 1 กับเข็มที่ 2 คนละยี่ห้อกันได้มั้ย ?
  • Q4: หากฉีดวัคซีนโควิด 19 ไปแล้ว จะต้องฉีดซ้ำอีกทีเมื่อไหร่?
  • Q5: สามารถตรวจสุขภาพเพื่อเช็คความพร้อมก่อนฉีดวัคซีนได้หรือเปล่า?
  • Q6: การตรวจสุขภาพก่อนฉีดวัคซีนดียังไง?
  • Q7: ถ้าไปตรวจสุขภาพ จะทราบได้ไหมว่าเรามีโอกาสแพ้วัคซีนหรือไม่?
  • สรุป

 

บทความนี้ เหมาะสำหรับใคร

นับจากวันนี้ไปอีกเพียงไม่ถึงเดือน กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และกลุ่มผู้มีโรคประจำตัว 7 โรคเรื้อรัง จัดเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีสิทธิ์จะเริ่มฉีดวัคซีนโควิด 19 ล็อตแรกในวันที่ 7 มิถุนายน 2564 นี้

นอกจากเรื่องลงทะเบียนผ่านระบบหมอพร้อมจะเป็นที่สนใจกันส่วนใหญ่แล้ว อีกคำถามถัดมาที่แพทย์มักจะถูกถามบ่อยเหลือเกินในช่วงนี้ คือ

“ต้องเตรียมตัวอย่างไรก่อนไปฉีดวัคซีน ”

“จะลดความเสี่ยงจากผลข้างเคียงตามข่าว
ที่ได้ยินกันอย่างหนาหูในช่วงนี้ได้อย่างไรบ้าง? ”

“จะตรวจสุขภาพเพื่อเช็คความพร้อมก่อนฉีดวัคซีนได้หรือเปล่า? ”

เราเข้าใจถึงความกังวลจากคำถามทั้งหลายนี้ เพื่อตอบคำถามผู้ที่มีข้อสงสัยและความกังวล เราจึงได้สรุปประเด็นคำถามและคำตอบได้ ดังนี้

>กลับสู่สารบัญ

Q1: ก่อนฉีดวัคซีนโควิด 19 ควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

คำตอบ ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข มีคำแนะนำก่อนฉีดวัคซีน ดังนี้

  1. สองวันก่อนและหลังการฉีดวัคซีน ให้งดออกกำลังกายหนัก หรือยกน้ำหนัก และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  2. วันที่ฉีดควรดื่มน้ำอย่างน้อย 500-1,000 ซีซี (ประมาณ 3-5 แก้ว) งดชา กาแฟ หรือของที่มีคาเฟอีน รวมถึงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  3. สำหรับผู้ป่วยจิตเวช ไม่ควรลดยา เพิ่มยา หรือปรับยาจิตเวชเองก่อนการฉีดวัคซีนโควิด 19 เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการข้างเคียงหรือถอนยาได้ และยาจิตเวชส่วนใหญ่ปลอดภัยต่อการฉีดวัคซีน (ข้อมูลอัปเดตวันที่ 28 พฤษภาคม) โดยผู้ป่วยควรรับประทานยาอย่างต่อเนื่องและดูแลสุขภาพจิตของตัวเองให้คงที่ โดยเฉพาะในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนและหลังการฉีดวัคซีน หากผู้ป่วยรู้สึกวิตกกังวลใจเกี่ยวกับการรักษา การรับประทานยา และการฉีดวัคซีนโควิด 19 ควรปรึกษาจิตแพทย์ผู้ดูแลรักษา
  4. กรณีรับประทานยาละลายลิ่มเลือดอยู่ ก็ให้รับประทานยาได้ตามปกติ แต่เมื่อฉีดวัคซีนแล้วให้กดนิ่งตรงตำแหน่งที่ฉีดต่ออีก 1 นาที
  5. ฉีดแขนข้างที่ไม่ค่อยถนัด และหลังฉีดสองวันอย่าใช้แขนนั้น อย่าเกร็งยกของหนัก หรืออย่าบีบนวดบริเวณที่ฉีดวัคซีน
  6. หลังฉีดแล้วเจ้าหน้าที่จะให้รอสังเกตอาการในบริเวณสถานที่ฉีดอีก 30 นาที
  7. ถ้ามีไข้ หรือปวดเมื่อยมากจนทนไม่ไหว สามารถกินยาพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัม ครั้งละหนึ่งเม็ด (กินซ้ำได้ถ้าจำเป็น) แต่ให้ห่างกัน 6 ชั่วโมง ห้ามกินยาจำพวก Brufen, Arcoxia, Celebrex เด็ดขาด

>กลับสู่สารบัญ

Q2: ควรเว้นระยะเวลาฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ กับการฉีดวัคซีนโควิด 19 นานเท่าไหร่?

คำตอบ เมื่อเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 แล้ว  ควรเว้นระยะห่างกับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ เป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน หรือถ้าตรวจสอบคิวนัดหมายที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ต้องรอนานมากกว่า 1 เดือน สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ก่อนได้เลย

สำหรับเรื่องลำดับในการฉีด ว่าจะฉีดตัวไหนก่อน กรณีประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่พึ่งได้รับวัคซีนโควิด 19 เข็มที่ 1 ไปแล้วนั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีนโควิด 19 ที่ฉีด 

  • หากเป็นวัคซีนซิโนแวค (Sinovac) ให้ฉีดให้ครบ 2 เข็มก่อน จากนั้นเว้นระยะ 1 เดือน แล้วจึงเข้ารับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลต่อไป
  • หากเป็นวัคซีนแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) จะมีอยู่สองทางเลือก ตามความสะดวก
    • ต้องการรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่คั่นระหว่างกลางก็ได้ แต่ต้องเว้นระยะ 1 เดือนหลังฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มที่ 1
    • ต้องการฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้ครบ 2 เข็มก่อน แล้วค่อยฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่ต้องเว้นระยะ 1 เดือน หลังฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มที่ 2
อ่านข้อมูลการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพิ่มเติม

>กลับสู่สารบัญ

Q3: ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มที่ 1 กับเข็มที่ 2 คนละยี่ห้อกันได้มั้ย ?

คำตอบ สามารถฉีดได้ แต่ไม่แนะนำ ยกเว้นกรณีแพทย์เห็นว่าจำเป็นจะต้องเปลี่ยนยี่ห้อในการฉีด เนื่องจากเมื่อท่านได้รับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 ระบบจะทำการจองวัน เวลา และสถานที่สำหรับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ให้ทันที หากท่านมีการเปลี่ยนแปลงยี่ห้อวัคซีนที่จะฉีด จะส่งผลให้ได้รับการฉีดวัคซีนที่ล่าช้าออกไป

>กลับสู่สารบัญ

Q4: หากฉีดวัคซีนโควิด 19 ไปแล้ว จะต้องฉีดซ้ำอีกทีเมื่อไหร่?

คำตอบ เนื่องจากประเด็นเรื่องวัคซีนยังเป็นเรื่องใหม่ จึงยังไม่มีผลการศึกษามากพอที่จะระบุได้ว่า เมื่อฉีดวัคซีนไปแล้วจะต้องฉีดกระตุ้นอีกครั้งหรือไม่

>กลับสู่สารบัญ

Q5: สามารถตรวจสุขภาพเพื่อเช็คความพร้อมก่อนฉีดวัคซีนโควิด 19 ได้หรือเปล่า?

คำตอบ การตรวจสุขภาพก่อนฉีดวัคซีน จะไม่ช่วยรับประกันว่าฉีดวัคซีนโควิด 19 แล้วจะเกิดอาการแพ้วัคซีนรุนแรงขนาดไหน

แต่ก็ยังมีข้อแนะนำให้เข้ารับการตรวจสุขภาพอยู่ดี เพราะจะช่วยให้ทราบถึงความเสี่ยงของการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง หรือตรวจหาโรคที่เป็น “ภัยเงียบ” ตั้งแต่ที่ยังไม่แสดงอาการ เพราะถ้าหากมีโรคแฝงหรือโรคเรื้อรัง จะช่วยให้แพทย์สามารถประเมินความเสี่ยงต่าง ๆ ของท่านได้อย่างเหมาะสม

>กลับสู่สารบัญ

Q6: การตรวจสุขภาพก่อนฉีดวัคซีนดียังไง?

คำตอบ การทราบสุขภาวะของตัวเองอย่างถูกต้องตั้งแต่แรก จะช่วยให้เราประเมินตัวเองได้อย่างเหมาะสม เพราะในกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว หรือผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงหากติดเชื้อโควิด 19 แล้วจะมีอาการรุนแรง

ศึกษากลุ่มเสี่ยงที่ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 เพิ่มเติม

นอกจากนี้ การตรวจสุขภาพจะช่วยให้ทราบว่ามีความเสี่ยงของการเกิดโรคอื่น ๆ อีกหรือไม่ ซึ่งเป็นประโยชน์กับตัวท่านเองในการเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ

อย่างไรก็ดี ในกลุ่มคนอายุน้อยที่ไม่มีโรคประจำตัว และไม่เคยตรวจสุขภาพมาก่อน แม้ตามหลักเกณฑ์แล้ว จะไม่ได้อยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อโควิด 19 แล้วมีเสี่ยงมีอาการรุนแรง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าในความเป็นจริงเราจะไม่เสี่ยงเลย

ดังนั้น จึงยังมีข้อแนะนำให้ไปตรวจสุขภาพเผื่อไว้ ในกรณีที่อาจจะมีโรคประจำตัวแฝงอยู่ แล้วไม่เคยรู้มาก่อน เพราะโรคแฝงเหล่านี้อาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อรุนแรงภายหลังได้ เราจะได้วางแผนการรักษา และป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโควิด 19 ได้อย่างเหมาะสม รวมถึงเป็นการเตรียมตัวให้แข็งแรง พร้อมสำหรับการฉีดวัคซีนโควิด 19 อีกด้วย

อธิบายง่าย ๆ ก็คือ คนที่สุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว ร่างกายจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี หากติดเชื้อจะทำให้ไม่มีอาการรุนแรง แต่หากเราป่วยหรือมีโรคประจำตัว ภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ หากติดเชื้อก็อาจมีอาการรุนแรงได้

ฉะนั้น การมาตรวจสุขภาพเพื่อให้รู้ว่าตัวเองเป็นโรคอะไรบ้าง จะช่วยให้เราเตรียมรับมือกับโรคโควิด 19 ได้อย่างเหมาะสม เพราะเราคาดเดาเอาเองไม่ได้หรอกว่า จริง ๆ แล้วตัวเรามีสุขภาพที่ดีหรือไม่ มีโรคแฝงหรือเปล่า?

>กลับสู่สารบัญ

Q7: ถ้าไปตรวจสุขภาพ จะทราบได้ไหมว่าเรามีโอกาสแพ้วัคซีนหรือไม่?

คำตอบ การตรวจสุขภาพโดยทั่วไป ไม่สามารถระบุได้ว่าคุณมีโอกาสจะแพ้วัคซีนหรือไม่

>กลับสู่สารบัญ

สรุป

การที่เราต้องเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ไม่ว่าจะเป็นชนิดไหน ยี่ห้ออะไร ก็เพื่อต้องการให้ส่วนหนึ่งของเชื้อไวรัสชนิดนี้เข้าไปอยู่ในร่างกาย แล้วกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาจัดการกับเชื้อไวรัสที่เรามีโอกาสจะติดเชื้อได้ในอนาคต

หากมีภูมิคุ้มกันจากวัคซีนแล้ว จะช่วยลดโอกาสติดเชื้อ หรือถ้าหากเกิดการติดเชื้อ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงจนนำไปสู่การเสียชีวิตได้

ข้อมูลอ้างอิง  https://bit.ly/33vOpzN , https://www.nhso.go.th/news/3078

>กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

นพ.อนุวัตร สุขสมานพาณิชย์

นพ.อนุวัตร สุขสมานพาณิชย์

ศูนย์ศัลยกรรม

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา