Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

รวมสาเหตุที่ต้องผ่าตัดมดลูก พร้อมเคล็ดลับการดูแลตัวเองหลังการผ่าตัด

นพ.ศุภชัย สมิทธิเมธินทร์

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 23 เมษายน 2025
ผ่าตัดมดลูก

การผ่าตัดมดลูกเป็นกระบวนการที่จำเป็นในบางครั้งเพื่อที่จะแก้ปัญหาปัญหาสุขภาพที่เกิดในมดลูก เช่น เนื้องอก อาการเจ็บปวดเรื้อรัง หรือปัญหาภาวะมดลูกหย่อน ซึ่งการผ่าตัดมดลูกก็อาจจะเป็นวิธีเดียวที่จะแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ แต่ถึงอย่างนั้นการตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัดก็ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ และควรทำความเข้าใจขั้นตอนและการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเสมอ บทความนี้จึงจะพาไปทำความรู้จักกับการผ่าตัดมดลูก เพื่อเตรียมตัวพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นอย่างดี

Key Takeaways

  • การผ่าตัดมดลูกจะทำให้ไม่มีประจำเดือนและไม่สามารถมีลูกได้
  • การผ่าตัดมดลูกไม่จำเป็นต้องนำรังไข่ออก หากรังไข่ยังคงอยู่หลังการผ่าตัด ฮอร์โมนเพศหญิงจะยังคงทำงานตามปกติ แต่บางกรณีหากต้องตัดรังไข่ออก ก็อาจต้องใช้ฮอร์โมนเสริมเพื่อบรรเทาอาการขาดฮอร์โมนแทน
  • การผ่าตัดจะทำได้ 3 วิธีหลัก ได้แก่ ผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง ผ่าตัดทางช่องคลอด และผ่าตัดผ่านกล้อง
  • การผ่าตัดมดลูกมักจะเป็นทางเลือกสุดท้ายหลังจากที่วิธีการรักษาอื่น ๆ ไม่สามารถช่วยบรรเทาอาการได้

สารบัญบทความ

  • การผ่าตัดมดลูกคืออะไร?
  • ทำไมต้องผ่าตัดมดลูก เมื่อไหร่ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้?
  • ผ่าตัดมดลูกมีกี่ประเภท แตกต่างกันอย่างไรบ้าง?
  • ผลข้างเคียงหลังผ่าตัดมดลูกมีอะไรบ้าง?
  • เตรียมตัวยังไงก่อนผ่าตัดมดลูก? เรื่องสำคัญที่ไม่ควรพลาด!
  • ดูแลตัวเองหลังผ่าตัดมดลูกอย่างไร ห้ามกินอะไรบ้าง?
  • ผ่าตัดมดลูก ทางเลือกที่จำเป็นในการรักษาเพื่อให้สุขภาพดี
  • คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับผ่าตัดมดลูก

การผ่าตัดมดลูกคืออะไร? 

การผ่าตัดมดลูก (Hysterectomy) โดยปกติจะเป็นการตัดมดลูกแต่ไม่ตัดรังไข่และท่อนำไข่ออกไปด้วยทำให้ร่างกายยังมีฮอร์โมนเพศหญิงอยู่ แต่หากมีความจำเป็นอื่น ๆ ก็อาจจะต้องผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออกไปพร้อมกันก็ได้

หลังการผ่าตัดผู้ป่วยก็จะไม่มีประจำเดือนอีกต่อไปและไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ หากรังไข่ยังคงอยู่และยังทำงานได้ตามปกติร่างกายก็จะยังผลิตฮอร์โมนเพศตามธรรมชาติต่อไป แต่ในกรณีที่จำเป็นต้องนำรังไข่ออกด้วยร่างกายก็จะหยุดผลิตฮอร์โมนเพศ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและอารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับระดับฮอร์โมนที่ลดลงได้

การผ่าตัดมดลูกอาจทำเมื่อเจอปัญหาต่าง ๆ เช่น โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) เนื้องอกมดลูก (Uterine Fibroids) หรือมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์และความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายว่าควรรักษาด้วยการผ่าตัดหรือไม่

ทำไมต้องผ่าตัดมดลูก เมื่อไหร่ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้?

แผลผ่าตัดเปิดหน้าท้อง กี่วันหาย

การผ่าตัดมดลูกอาจจำเป็นในกรณีที่เกิดภาวะหรือโรคที่มดลูกทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการอื่น ๆ เช่น

  • เลือดออกมากผิดปกติ : เมื่อมีอาการเลือดออกมากผิดปกติจากโพรงมดลูกที่ไม่สามารถควบคุมได้ด้วยยาก็อาจจะต้องใช้การผ่าตัดเพื่อแก้ปัญหา
  • เนื้องอกในมดลูก : ก้อนเนื้องอกมดลูกที่มีขนาดใหญ่อาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวดหรือมีผลต่อสุขภาพจนจำเป็นต้องผ่าตัดออกได้
  • ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) : เมื่อเยื่อบุโพรงมดลูกเติบโตไปยังส่วนที่ไม่ควรมี ก็จะทำให้เกิดความเจ็บปวดรุนแรง รวมไปถึงอาการอื่น ๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้และเป็นอันตรายอย่างมาก
  • พังผืดในมดลูก : การเกิดพังผืดที่ทำให้มดลูกผิดรูปหรือมีปัญหาในการทำงานของมดลูก
  • มดลูกหย่อน : เมื่อมดลูกหย่อนหรือเคลื่อนตัวไปผิดที่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการทำงานของระบบสืบพันธุ์
  • มะเร็ง : ในกรณีที่พบมะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งมดลูกก็อาจจะใช้วิธีผ่าตัดเพื่อแก้ปัญหาได้
  • ผ่าตัดมดลูกฉุกเฉินหลังคลอด : หากการคลอดยาวนานมากกว่า 10 ชั่วโมง อาจทำให้มดลูกไม่มีแรงที่จะหดตัวกลับได้ตามปกติส่งผลให้เลือดออกมากและอาจเสียชีวิตได้ จึงอาจจำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อรักษาชีวิตไว้

การผ่าตัดมักเป็นทางเลือกสุดท้ายเมื่อเกิดภาวะที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีอื่น ๆ หรือเมื่อโรคที่เกี่ยวข้องกับมดลูกมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจส่งผลต่อสุขภาพของผู้หญิงในระยะยาว

ผ่าตัดมดลูกมีกี่ประเภท แตกต่างกันอย่างไรบ้าง?

การผ่าตัดมดลูกมีหลายวิธีที่แพทย์จะเลือกใช้ตามความเหมาะสมของแต่ละเคส โดยวิธีต่าง ๆ มีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกันไป ดังนี้

การผ่าตัดมดลูกแบบเปิดหน้าท้อง (Abdominal Hysterectomy)

การผ่าตัดแบบนี้ใช้วิธีเปิดท้องเพื่อเอามดลูกออกซึ่งสามารถใช้ได้กับผู้ป่วยทุกประเภท แต่เนื่องจากต้องเปิดแผลขนาดใหญ่ ทำให้มีความเจ็บปวดมากกว่า มีระยะเวลาพักฟื้นที่นานกว่า เสียเลือดในระหว่างการผ่าตัดอาจมากกว่า และมีความเสี่ยงในการติดเชื้อจากแผลสูงกว่า จึงมักจะใช้เมื่อมีภาวะที่ไม่สามารถทำการผ่าตัดแบบอื่นได้

การผ่าตัดมดลูกทางช่องคลอด (Vaginal Hysterectomy)

วิธีนี้มักจะแนะนำให้ทำเป็นลำดับแรก เนื่องจากไม่ต้องเปิดแผลหน้าท้อง มีระดับความเจ็บปวดต่ำและฟื้นตัวได้เร็ว เหมาะสำหรับผู้ที่มีมดลูกหย่อนและปัญหาที่ขนาดไม่ใหญ่มาก แต่การผ่าตัดทางช่องคลอดอาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีเนื้องอกขนาดใหญ่หรือพังผืดในอุ้งเชิงกราน รวมถึงผู้ที่มีปัญหาที่ปีกมดลูก เพราะการผ่าตัดในกรณีเหล่านี้อาจมีความยากลำบากและเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน

การผ่าตัดมดลูกผ่านกล้อง (Laparoscopic Hysterectomy)

การผ่าตัดมดลูกผ่านกล้องหรือวิธีแบบ MIS (Minimally Invasive Surgery) เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการผ่าตัดส่องกล้องซึ่งได้รับความนิยมมาก โดยแพทย์จะเจาะรูเล็ก ๆ ประมาณ 3-4 แผล เพื่อใส่กล้องและเครื่องมือเข้าไปทำการผ่าตัด วิธีนี้จะเจ็บปวดน้อย เสียเลือดน้อย และฟื้นตัวได้เร็ว ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เร็ว

ผลข้างเคียงหลังผ่าตัดมดลูกมีอะไรบ้าง?

แผลผ่าตัดเนื้องอกมดลูก

หลังผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออกร่างกายก็จะไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเพศหญิงได้ดังเดิม ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โดยผู้ป่วยอาจจะมีอาการดังนี้

  • อาการอักเสบ : อาการอักเสบหลังผ่าตัดมดลูกอาจเกิดขึ้นได้จากการตอบสนองของร่างกายต่อแผลผ่าตัด หรือจากภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อที่แผลผ่าตัดมดลูก หรือการติดเชื้อภายในช่องท้องในกรณีที่มีการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง อาการอักเสบจะทำให้เกิดอาการบวม ร้อน และอาจรู้สึกเจ็บปวดบริเวณแผลผ่าตัดหรือบริเวณที่มีการติดเชื้อ การติดเชื้ออาจทำให้มีไข้ และต้องได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
  • ท้องบวม : ท้องบวมเป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นหลังผ่าตัดมดลูก โดยเฉพาะในช่วงแรกที่ผู้ป่วยฟื้นตัวจากการผ่าตัด โดยอาจเกิดจากการสะสมของแก๊สในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งภาวะท้องบวมอาจทำให้รู้สึกไม่สบายและอึดอัด การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างช้า ๆ หรือการเดินเบา ๆ อาจช่วยลดอาการท้องบวมได้
  • หมดประจำเดือนฉับพลัน : หากมีการตัดรังไข่ออกไป ก็จะทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนที่จำเป็นสำหรับการมีประจำเดือนได้
  • อาการวัยทอง : หากมีการตัดรังไข่ออกไป ก็อาจทำให้เกิดการขาดฮอร์โมนเพศหญิงจนนำไปสู่อาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมากในตอนกลางคืน และอาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัยทองได้
  • อารมณ์ทางเพศลดลง : ฮอร์โมนเพศหญิงมีบทบาทในการกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ เมื่อขาดฮอร์โมนนี้ อารมณ์ทางเพศอาจลดลง
  • ความเสี่ยงต่อกระดูกพรุนและโรคหัวใจ : การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนอาจทำให้กระดูกบางและเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุน รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
  • ปัญหาการควบคุมปัสสาวะ : การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาการกลั้นปัสสาวะ
  • อาการซึมเศร้าหรือเสียใจ : บางคนอาจรู้สึกเศร้าหรือเสียใจเนื่องจากการไม่สามารถมีบุตรได้หลังการผ่าตัด

เตรียมตัวยังไงก่อนผ่าตัดมดลูก? เรื่องสำคัญที่ไม่ควรพลาด!

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดมดลูกเป็นขั้นตอนที่ช่วยให้การผ่าตัดเป็นไปได้อย่างราบรื่นและปลอดภัย และเพิ่มความสบายใจในกระบวนการรักษาแก่ผู้ป่วย โดยสิ่งที่ควรทำก่อนเข้ารับผ่าตัดมดลูกเสมอก็จะมีดังนี้

  • ปรึกษาแพทย์ : ก่อนตัดสินใจผ่าตัดควรพูดคุยกับแพทย์เกี่ยวกับทางเลือกการรักษาที่มีอยู่ และข้อดีข้อเสียของแต่ละทางเลือก รวมถึงแจ้งแพทย์ถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เผชิญอยู่ เพราะการผ่าตัดที่เหมาะสมสำหรับคนหนึ่งอาจไม่เหมาะกับอีกคนหนึ่ง เนื่องจากเงื่อนไขทางสุขภาพและปัจจัยต่าง ๆ ที่แตกต่างกันได้
  • สอบถามเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น : ควรสอบถามแพทย์เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหลังการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อ การอักเสบ การบวม การมีแผลเป็น หรือปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัว เพื่อที่จะได้รู้และเตรียมตัวรับมืออย่างเท่าทัน
  • ขอคำแนะนำจากแพทย์คนอื่น (Second Opinion) : หากยังไม่มั่นใจในคำแนะนำจากแพทย์คนแรก การขอความเห็นที่สองจากแพทย์คนอื่นก็นับว่าเป็นเรื่องปกติ เพื่อช่วยให้ตัดสินใจเป็นไปอย่างรอบคอบมากขึ้น

ดูแลตัวเองหลังผ่าตัดมดลูกอย่างไร ห้ามกินอะไรบ้าง?

หลังจากผ่าตัดมดลูกร่างกายที่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมจะฟื้นตัวกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติและแข็งแรงได้รวดเร็วมากกว่า และช่วยลดความเสี่ยงการเกิดปัญหาแทรกซ้อนต่าง ๆ โดยวิธีการดูแลตัวเองหลังผ่าตัดก็จะมีดังนี้

  • ค่อย ๆ กลับไปใช้ชีวิต : หลังผ่าตัดควรกลับไปทำงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป บางคนอาจสามารถกลับไปทำงานได้ภายใน 2 สัปดาห์ แต่ในบางรายร่างกายอาจต้องการเวลาพักฟื้นมากกว่านั้น ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงงานที่ต้องใช้แรงมากโดยเฉพาะในช่วงแรก อย่าฝืนร่างกายของตัวเอง และหากจำเป็นต้องทำอะไร ก็ควรทำอย่างช้า ๆ และไม่หักโหม
  • ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ : เริ่มต้นด้วยการออกกำลังกายเบา ๆ เช่น การเดิน เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต และช่วยลดความเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือด
  • ปรับพฤติกรรมนั่ง : หลีกเลี่ยงการนั่งในท่าเดิมนาน ๆ เพื่อป้องกันการเกิดความเมื่อยล้าหรือปัญหาเกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต
  • พักผ่อนให้เพียงพอ : ควรให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงแรกของการฟื้นตัว เพื่อเร่งการสมานของแผลในร่างกาย 
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการกระทบกระเทือนแผล : เช่น การยกของหนัก การเคลื่อนไหวอย่างรุนแรง การทำกิจกรรมที่รุนแรง
  • ติดตามอาการและพบแพทย์ตามนัด : หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดแผลอย่างรุนแรง มีเลือดออก หรือแผลบวมแดง ควรปรึกษาแพทย์ทันที
  • เลี่ยงอาหารบางชนิด : หลีกเลี่ยงอาหารเค็มหรือแปรรูปที่มีโซเดียมสูง, อาหารไขมันสูง, อาหารรสเผ็ดจัด, อาหารที่เสี่ยงท้องผูก, แอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะอาจชะลอการฟื้นตัวหรือเพิ่มความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนได้ ควรเลือกรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย มีไฟเบอร์สูง และดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อการฟื้นตัวที่ดีที่สุด

ผ่าตัดมดลูก ทางเลือกที่จำเป็นในการรักษาเพื่อให้สุขภาพดี

การผ่าตัดมดลูกเป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่มักจะเก็บไว้ใช้เมื่อไม่สามารถแก้ด้วยวิธีอื่นได้ เนื่องจากความถาวรและไม่สามารถแก้ไขได้ของการนำมดลูกออก อย่างไรก็ตามในบางครั้งการผ่าตัดก็เป็นตัวเลือกที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การทำความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับการผ่าตัดมดลูกก็จะช่วยให้การรักษาเป็นไปได้ง่ายและราบรื่นมากขึ้นในผู้ป่วย 

ซึ่งโรงพยาบาลพระราม 9 ก็จะมีศูนย์ผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็ก (MIS) ซึ่งมีเครื่องมือในการรักษาที่เพรียบพร้อม มุ่งมั่นให้ผู้ป่วยทุกคนเจ็บตัวน้อยที่สุด พักฟื้นไว พร้อมกับแพทย์และทีมงานที่พร้อมจะให้คำแนะนำในทุกด้าน ทุกความสงสัยของกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบ โดยสามารถติดต่อตามช่องทางด้านล่างนี้ได้เลย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

  • Facebook : Praram 9 hospital  
  • Line : @Praram9Hospital
  • โทร. 1270

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับผ่าตัดมดลูก

1. หลังผ่าตัดมดลูก เมื่อไหร่ถึงมีเพศสัมพันธ์ได้?

หลังผ่าตัดผู้ป่วยควรรอให้แผลผ่าตัดหายดีและร่างกายฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์ก่อนที่จะมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งมักจะเป็นระยะเวลาประมาณ 6-8 สัปดาห์หลังการผ่าตัด

2. หลังผ่าตัดมดลูก ต้องรับประทานฮอร์โมนหรือไม่?

การรับประทานฮอร์โมนหลังผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยได้รับการตัดรังไข่ออกด้วยหรือไม่ หากการผ่าตัดยังคงรักษารังไข่ไว้ ฮอร์โมนเพศหญิงก็จะยังคงผลิตตามปกติจึงไม่จำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนเสริม แต่หากมีการตัดรังไข่ออกไปด้วย ผู้ป่วยอาจต้องรับฮอร์โมนทดแทนเพื่อช่วยบรรเทาอาการวัยทองที่เกิดขึ้นจากการขาดฮอร์โมน

References 

Hysterectomy. (2022, October 11). NHS. https://www.nhs.uk/conditions/hysterectomy/ 

Hysterectomy. (2023, April). Healthdirect. https://www.healthdirect.gov.au/hysterectomy 

Hysterectomy. (2024, May 31). Cleveland Clinic. https://my.clevelandclinic.org/health/procedures/hysterectomy 

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

นพ.ศุภชัย-สมิทธิเมธินทร์

นพ.ศุภชัย สมิทธิเมธินทร์

ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก (IVF)

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

doc-logo

สถาบันหัวใจและหลอดเลือด แผลเล็ก (MIS)

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา