Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

โรคประสาทไขสันหลังอักเสบ โรคอันตรายและรุนแรงที่ควรรู้

นพ.สิทธิ เพชรรัชตะชาติ

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 12 ธันวาคม 2024
โรคประสาทไขสันหลังอักเสบ

โรคประสาทไขสันหลังอักเสบ (Transverse Myelitis) เป็นโรคทางระบบประสาทที่มีความอันตรายและรุนแรง เกิดจากการอักเสบของไขสันหลังซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกาย การรับรู้ความรู้สึก และควบคุมระบบขับถ่าย หากไม่ได้รับรักษาที่เหมาะสมอาจนำไปสู่ภาวะทุพพลภาพอย่างถาวร และอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ 

อาการของโรค

โรคประสาทไขสันหลังอักเสบสามารถแสดงอาการได้ตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงรุนแรง ซึ่งในบางครั้งการดำเนินโรคอาจรุนแรงและแย่ลงได้อย่างรวดเร็วขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย โดยอาการที่พบได้บ่อย ได้แก่:

  • อาการปวดเฉียบพลัน ผู้ป่วยมักมีอาการปวดหลังหรือปวดร้าวตามแนวประสาทแขนขา ซึ่งเป็นอาการแรกเริ่มของโรคได้ จึงทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั่วไป
  • ความผิดปกติของประสาทรับความรู้สึก มักมีอาการชาหรือสูญเสียความรู้สึกบริเวณแขน ขา หรือลำตัว บางครั้งอาจมีรู้สึกเจ็บแปลบเหมือนไฟฟ้าชอร์ต หรือปวดแสบปวดร้อนร่วมด้วย
  • ความผิดปกติทางการเคลื่อนไหว ผู้ป่วยอาจมีกล้ามเนื้ออ่อนแรงบริเวณแขน ขา หรือเกิดอัมพาตบางส่วน ส่งผลให้ทรงตัวลำบากหรือเดินไม่ได้ บางครั้งอาจส่งผลทำให้กล้ามเนื้อการหายใจเป็นอัมพาตทำให้มีการหายใจลำบากหรือเกิดภาวะการหายใจล้มเหลวได้
  • ระบบขับถ่ายผิดปกติ ผู้ป่วยมักมีภาวะกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ปัสสาวะลำบาก หรือปัสสาวะไม่ออก

นอกจากนี้อาจพบการอักเสบของเส้นประสาทตาหรือสมองร่วมด้วย ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติของสายตาและการมองเห็นได้

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรค

ประสาทไขสันหลังอักเสบ สามารถเกิดจากหลายสาเหตุ โดยมีสาเหตุสำคัญ ได้แก่:

  • การติดเชื้อ: ได้แก่ ไวรัสเริม (Herpes), ไวรัสไข้หวัดใหญ่ หรือแม้กระทั่ง COVID-19 หรือ แบคทีเรียบางชนิด เช่น วัณโรค และ ซิฟิลิส
  • โรคภูมิคุ้มกันผิดปกติ: เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis) หรือโรค NMO (Neuromyelitis Optica)
  • ภาวะแทรกซ้อนจากการฉีดวัคซีนบางชนิด ซึ่งพบได้น้อยมาก
  • การบาดเจ็บที่ไขสันหลัง เช่น การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ เป็นต้น

นอกจากสาเหตุข้างต้นแล้ว ยังมีภาวะผิดปกติของประสาทไขสันหลังอื่น ๆ อีกหลายโรคที่อาจแสดงอาการคล้ายกับโรคไขสันหลังอักเสบได้ ยกตัวอย่างเช่น ภาวะไขสันหลังถูกกดทับจากกระดูกเสื่อมหรือเนื้องอก (compressive myelopathy) ภาวะโพรงน้ำในไขสันหลัง (syringohydromyelia) ภาวะหลอดเลือดดำผิดปกติในโพรงไขสันหลัง (spinal dural arteriovenous fistula) หรือแม้กระทั่งโรคเส้นประสาทอักเสบเฉียบพลัน (Guillain-Barre syndrome)  ซึ่งมีความแตกต่างในแง่ของการรักษาอย่างสิ้นเชิง

ทั้งนี้ผู้ป่วยบางรายอาจมีปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะไขสันหลังอักเสบได้เช่นกัน ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง(Autoimmune disease) หรือ มีประวัติการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่รุนแรง เป็นต้น

การวินิจฉัยโรค

การวินิจฉัยประสาทไขสันหลังอักเสบต้องอาศัยการตรวจร่างกายโดยประสาทแพทย์อย่างละเอียด ร่วมกับการใช้เครื่องมือช่วยตรวจวินิจฉัยได้แก่

  • การตรวจ MRI: เพื่อตรวจหาการอักเสบหรือความผิดปกติของไขสันหลัง
  • การเจาะน้ำไขสันหลัง: เพื่อวิเคราะห์การอักเสบและตรวจหาการติดเชื้อในน้ำไขสันหลัง
  • การตรวจเลือด: เพื่อตรวจหาโรคภูมิคุ้มกันผิดปกติและประเมินความรุนแรงของการอักเสบ

การรักษาโรคประสาทไขสันหลังอักเสบ

การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรง โดยแบ่งได้ดังนี้:

1. การรักษาในระยะเฉียบพลัน

  • การให้ยาสเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบของไขสันหลัง
  • การกรองน้ำเหลือง(Plasmapheresis) หรือ ให้ยาปรับภูมิคุ้มกัน IVIG ซึ่งจะใช้ในกรณีที่การรักษาด้วยยาสเตียรอยด์ไม่ได้ผล และมีอาการรุนแรง
  • ยาต้านไวรัสหรือยาปฏิชีวนะ สำหรับในรายที่มีการติดเชื้อที่จำเพาะ

2. การรักษาในระยะฟื้นฟู

ในระยะนี้ผู้ป่วยมักมีอาการหรือความพิการหลงเหลือจึงจำเป็นต้องได้รับการกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยเพื่อให้กลับมาใช้ชีวิตประจำวันใกล้เคียงปกติมากที่สุด โดยจำเป็นต้องได้รับการดูแลดังนี้

  • การกายภาพบำบัด: ช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อและความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย
  • การทำกิจกรรมบำบัด: เพื่อปรับตัวให้กลับมาทำกิจวัตรประจำวันได้ใกล้เคียงปกติ
  • การดูแลอาการร่วมอื่น ๆ เช่น การให้ยาแก้ปวดเพื่อลดความเจ็บปวดจากอาการประสาทอักเสบ การดูแลระบบขับถ่าย เช่น การใช้สายสวนปัสสาวะ ในกรณีที่ไม่สามารถคุมควบการขับถ่ายได้เอง
  • ในผู้ป่วยบางรายอาจต้องใช้ยากดภูมิคุ้มกันต่อเนื่องเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคในอนาคต

การป้องกัน

โรคไขสันหลังอักเสบแม้จะป้องกันได้ยากในบางกรณี แต่การดูแลสุขภาพโดยรวมสามารถช่วยลดความเสี่ยงได้ เช่น

  • การรักษาสุขอนามัย เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ
  • การฉีดวัคซีนตามช่วงวัย ตามคำแนะนำของแพทย์
  • รักษาโรคประจำตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน

จะเห็นได้ว่าโรคประสาทไขสันหลังอักเสบเป็นภาวะที่มีอันตรายและมีความรุนแรงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะถ้าหากได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ล่าช้า อาจส่งผลให้มีความพิการและทุพพลภาพตลอดชีวิต หรือแม้กระทั่งอาจรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นการหมั่นสังเกตตนเองเป็นประจำนั้นมีความสำคัญมาก และหากมีความผิดปกติของร่างกายที่อาจเป็นอาการเตือนเริ่มต้นของภาวะดังกล่าว เช่น มีอาการปวดร้าว อาการชา หรือ อาการอ่อนแรง แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการตรวจวินิฉัยและให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

อ.สิทธิ

นพ.สิทธิ เพชรรัชตะชาติ

ศูนย์สมองและระบบประสาท

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์สมองและระบบประสาท

ศูนย์สมองและระบบประสาท

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา