Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

ผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องทางช่องปาก ไร้รอยแผลเป็น

นพ. ธัญวัจน์ ศาสนเกียรติกุล

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 6 กันยายน 2021
ผ่าตัดไทรอยด์

โรคไทรอยด์เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของ “ต่อมไทรอยด์” โดยพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ซึ่งโรคนี้จะมีอาการแสดงแตกต่างกันออกไปตามความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ เช่น มีโรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือโรคเนื้องอกไทรอยด์ และมะเร็งไทรอยด์ ซึ่งแต่ละโรคก็มีการรักษาหลากหลาย โดยเราจำเป็นต้องเลือกการรักษาที่เหมาะสมกับโรคไทรอยด์แต่ละชนิด เช่น มีการรักษาด้วยการทานยา มีการกลืนแร่ หรือการผ่าตัดไทรอยด์รักษาโรค เป็นต้น

สำหรับคนไข้ที่ประสบปัญหาเป็นโรคไทรอยด์ที่จำเป็นจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เรามาทราบเรื่องการผ่าตัดกันเบื้องต้น โดยการผ่าตัดไทรอยด์ในสมัยก่อนจะมีแบบเดียวคือ ผ่าตัดไทรอยด์แบบเปิด โดยจะทำให้มีแผลเป็นอยู่กลางลำคอ ซึ่งโรคไทรอยด์จะพบในคนไข้ผู้หญิงอายุน้อยเป็นจำนวนมาก การที่มีแผลเป็นอยู่กลางลำคอ จึงเป็นปัญหาทำให้แลดูไม่สวยงาม สูญเสียความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวัน ต้องหาเสื้อ หรือผ้าพันคอมาปิดคอไว้ 

ปัจจุบันเทคนิคในการผ่าตัดไทรอยด์ได้พัฒนาก้าวหน้าไปอย่างมาก คือมีการพัฒนาการใช้กล้องเข้ามาช่วยในการผ่าตัด ทำให้เราไม่ต้องเปิดแผลที่หน้าคอ ซึ่งเทคโนโลยีการผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องทางช่องปาก เป็นวิธีการผ่าตัดแบบใหม่ที่สุด ที่ผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องเข้ารอยแผลเล็กๆทางช่องปาก มีผลทำให้คนไข้เจ็บแผลผ่าตัดน้อย เพราะว่าแผลผ่าตัดเล็ก ฟื้นตัวได้ไว ไปทำงานได้ไว และที่สำคัญที่สุดคือไม่มีแผลเป็นอยู่กลางลำคออีกด้วย ปัจจุบันจึงเป็นวิธีผ่าตัดไทรอยด์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด

New call-to-action

สารบัญ

  • ผู้ป่วยประเภทใดที่ควรรับการผ่าตัดไทรอยด์?
  • การผ่าตัดไทรอยด์ มีกี่แบบ?
  • ข้อดีของการผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องทางช่องปาก
  • ผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องทางช่องปากเหมาะสำหรับใคร?
  • การเตรียมก่อนตัวผ่าตัดไทรอยด์
  • การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดไทรอยด์
  • การผ่าตัดไทรอยด์ มีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง?
  • ผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปากกับศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการ

ผู้ป่วยประเภทใดที่ควรรับการผ่าตัดไทรอยด์?

โรคไทรอยด์แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

  1. ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroid)
  2. ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน (Hypothyroid)
  3. โรคเนื้องอกไทรอยด์ (ทั้งกรณีที่เป็นและไม่เป็นมะเร็ง)

โรคไทรอยด์ทั้ง 3 กลุ่มนี้ หากมีอาการไม่รุนแรง หรือมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งต่ำ แพทย์อาจเลือกวิธีให้รับประทานยา หรือกลืนแร่รักษา แต่ในกรณีที่รักษาแล้วไม่ดีขึ้น หรือมีอาการรุนแรงและมีความเสี่ยง เช่น ไทรอยด์มีขนาดโตมากจนไปกดเบียดการกลืนหรือการหายใจ หรือตรวจพบว่าเป็นมะเร็ง แพทย์จะแนะนำให้ทำการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออก

“กรณีที่ผู้ป่วยคลำบริเวณคอแล้วเจอก้อนที่สงสัย
ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย”

อ่านเพิ่มเติม อาการของโรคไทรอยด์

> กลับสู่สารบัญ

การผ่าตัดไทรอยด์ มีกี่แบบ?

ในปัจจุบันวิธีการผ่าตัดไทรอยด์ แบ่งเป็น 2 วิธี คือ

  1. การผ่าตัดไทรอยด์แบบเปิด เป็นการผ่าตัดมาตรฐานที่มีมานาน โดยจะผ่าตัดบริเวณกลางคอ ผู้ป่วยจะมีแผลเป็นที่บริเวณกลางคอขนาดประมาณ 6-8 เซนติเมตร หรือขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนไทรอยด์ที่ผ่าออก
  2. การผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้อง เป็นเทคนิคการการผ่าตัดไทรอยด์ที่พัฒนาให้สามารถผ่าตัดแบบส่องกล้องผ่านเข้าได้จากหลายทางและมีแผลขนาดเล็ก เช่น ทางรักแร้ ทางลานนม ทางหลังหู หรือแบบส่องกล้องทางช่องปาก

    การผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปากนับว่าเป็นวิธีใหม่ล่าสุด ที่มีความปลอดภัยสูง เจ็บแผลน้อย ฟื้นตัวไว ส่องกล้องเห็นเส้นเสียงชัดเจนทำให้ลดโอกาสการเกิดเสียงแหบ และเป็นเพียงเทคนิคเดียวที่เป็นการผ่าตัดแบบไร้แผลเป็นภายนอก
เปรียบเทียบแผลผ่าตัดระหว่างการผ่าตัดไทรอยด์แบบเปิด และการผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องทางปาก

> กลับสู่สารบัญ

ข้อดีของการผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องทางช่องปาก

สำหรับผู้ที่ต้องการผ่าตัดแบบไม่มีแผลเป็นที่คอ หลังผ่าตัดแทบจะดูไม่ออก ว่าไปผ่าตัดไทรอยด์มา และยังฟื้นตัวเร็ว โรงพยาบาลพระรามเก้ามีเทคโนโลยีใหม่ในการรักษา ด้วยการผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องทางช่องปาก ซึ่งมีคุณสมบัติเด่น คือ

  • ไร้รอยแผล รอยกรีดบริเวณภายนอกลำคอ ทำให้บริเวณคอ แทบจะดูไม่ออก ว่าไปผ่าตัดมา
  • เย็บซ่อนแผลด้วยไหมละลายไว้ในช่องปาก ไม่ต้องทำแผล
  • การผ่าตัดแบบส่องกล้องทางช่องปากแผลจะมีขนาดเล็ก ทำให้ฟื้นตัวได้ไว เจ็บน้อยและสามารถ กลับไปทำงานได้อย่างรวดเร็ว
  • เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการบาดเจ็บของเส้นประสาทเสียงน้อย ลดโอกาสการเกิดภาวะเสียงแหบหลังผ่าตัด จากการที่มีกล้อง 4k หรือกล้องที่มีความละเอียดสูงสุด ช่วยขยายขนาดของเส้นเสียงให้ศัลยแพทย์เห็นได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
  • ด้วยเทคโนโลยีกล้องที่มีความละเอียด แม่นยำสูง ช่วยในการหาต่อมพาราไทรอยด์ ลดโอกาสการเกิดภาวะแคลเซียมต่ำอย่างรุนแรง จากการบาดเจ็บของต่อมพาราไทรอยด์

> กลับสู่สารบัญ

ผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องทางช่องปากเหมาะสำหรับใคร?

การรักษาด้วยการผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องทางช่องปาก เหมาะกับผู้ป่วยที่มีคุณสมบัติ ดังนี้

  • ต้องการรักษาภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ไทรอยด์ไม่เป็นพิษ และโรคมะเร็งไทรอยด์
  • มีขนาดก้อนเนื้อที่จะผ่าใหญ่ไม่เกิน 6 – 8 เซนติเมตร
  • มะเร็งไทรอยด์ ที่ยังไม่มีแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่คอด้านข้าง
  • ไม่ต้องการให้มีแผลเป็นภายนอก แผลเล็ก เจ็บแผลน้อย และต้องการฟื้นตัวเร็ว กลับไปทำงานได้รวดเร็ว
  • ผู้ป่วยที่ต้องการรับการผ่าตัดกับแพทย์เฉพาะทางที่จบด้านการผ่าตัดไทรอยด์โดยเฉพาะ มีความชำนาญสูง ทำให้ลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนทุกด้าน

> กลับสู่สารบัญ

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดไทรอยด์

เมื่อแพทย์วินิจฉัยและแนะนำให้ทำการรักษาด้วยผ่าตัดไทรอยด์ ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดไทรอยด์แบบเปิดหรือการผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้อง ต้องมีการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดดังนี้

  • แจ้งประวัติโรคประจำตัว ประวัติการเจ็บป่วย ยาที่ใช้ประจำ และประวัติการแพ้ยาให้แพทย์ทราบ
  • ตรวจสุขภาพ เช็กความพร้อมของร่างกาย ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เอกซเรย์ทรวงอก และอื่น ๆ ตามคำแนะนำของแพทย์
  • งดน้ำ งดอาหารอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด เนื่องจากต้องมีการดมยาสลบ

> กลับสู่สารบัญ

การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดไทรอยด์

หลังการผ่าตัดไทรอยด์แบบเปิดอาจมีท่อระบายบริเวณแผล เพื่อลดโอกาสเลือดคั่งบริเวณแผลผ่าตัด หากของเหลวไหลออกจากแผลน้อยลง แพทย์จะนำท่อระบายออก ส่วนการผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องทางช่องปากหลังการผ่าตัดจะมีผ้าก๊อชกดไว้บริเวณใต้คางเพื่อลดโอกาสเลือดคั่ง ซึ่งคำแนะนำการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดมีดังนี้

  • ไม่ไอหรือจามอย่างรุนแรงหลังการผ่าตัดเด็ดขาด
  • งดใช้เสียงดังหรือตะโกนหลังการผ่าตัด
  • หลีกเลี่ยงการขากเสมหะแรง ๆ ให้ค่อย ๆ บ้วนออก
  • งดกิจกรรมที่ใช้แรงเยอะ หรือยกของหนักในช่วง 1-2 สัปดาห์หลังผ่าตัด
  • ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีรสจัดหรือร้อนจัดเกินไป ให้รับประทานอาหารอ่อน กลืนง่าย
  • รับประทานยาปฏิชีวนะ ยาฆ่าเชื้อ ตามแพทย์สั่ง สามารถรับประทานยาแก้ปวด ยาละลายเสมหะได้ เมื่อมีอาการ

> กลับสู่สารบัญ

การผ่าตัดไทรอยด์ มีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง

โดยทั่วไปหลังจากการผ่าตัดไทรอยด์อาจมีอาการข้างเคียงที่สามารถพบได้ ดังนี้

  • รู้สึกตึงหรือชาบริเวณลำคอหลังการผ่าตัด
  • มีอาการเจ็บคอ ปวดคอ กลืนลำบากในช่วง 1-2 อาทิตย์แรก
  • ในกรณีที่มีการบาดเจ็บต่อเส้นประสาทเสียง คนไข้จะมีอาการเสียงแหบ เสียงพูดเบา โดยอาการเหล่านี้อาจใช้เวลาในการรักษาให้ดีขึ้นใน 6-12 เดือนหลังการผ่าตัด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเพียงชั่วคราว
  • อาจมีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ โดยอาจมีอาการที่เข้าได้กับภาวะแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ เช่น ชาบริเวณริมฝีปาก มือ หรือฝ่าเท้า เป็นตะคริว กล้ามเนื้อกระตุก ปวดหัว เนื่องจากเกิดการบาดเจ็บต่อต่อมพาราไทรอยด์ระหว่างการผ่าตัด โดยแพทย์จะให้คนไข้ทานยาแคลเซียม รวมถึงวิตามินดีทดแทนการทำงานของต่อมไทรอยด์ และจะค่อย ๆ ลดขนาดยาลง จนผู้ป่วยบางคน สามารถหยุดยาได้

ในขณะที่การผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องทางช่องปากจะพบผลข้างเคียงน้อย ไม่ว่าจะเป็นการบาดเจ็บของเส้นประสาท อาการเสียงแหบ ภาวะแคลเซียมต่ำ หรือภาวะมีก้อนเลือดอุดตันบริเวณลำคอหลังจากผ่าตัด และนับว่าเป็นวิธีใหม่ล่าสุด ที่มีความปลอดภัยสูง และเป็นเพียงเทคนิคเดียวที่เป็นการผ่าตัดแบบไร้แผลเป็นภายนอก อีกทั้งคนไข้ยังเจ็บแผลน้อย เพราะแผลเล็ก ฟื้นตัวได้เร็ว แผลโดนน้ำได้เลย สามารถอาบน้ำหลังผ่าตัดได้ตามปกติ และสามารถกลับไปทำงานได้รวดเร็ว แต่ว่าทั้งนี้การผ่าตัดด้วยเทคนิคดังกล่าว จำเป็นต้องใช้ศัลยแพทย์ที่มีความชำนาญสูงและเครื่องมือที่ทันสมัยประกอบกัน

New call-to-action

> กลับสู่สารบัญ

ผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปากกับศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการ นพ. ธัญวัจน์ ศาสนเกียรติกุล

อาจารย์นายแพทย์ ธัญวัจน์ ศาสนเกียรติกุล ศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านการผ่าตัดไทรอยด์ทั้งแบบเปิด และแบบส่องกล้องทางช่องปาก รพ.พระรามเก้า ด้วยประสบการณ์การผ่าตัดไทรอยด์ทั้งแบบเปิด และแบบส่องกล้องทางช่องปากมากกว่า 2,000 ราย ทำให้มีความชำนาญในการผ่าตัดไทรอยด์ ทั้งผ่าตัดแบบเปิด ผ่าตัดแบบส่องกล้องทางช่องปาก ในโรคไทรอยด์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น ไทรอยด์เป็นพิษ โรคคอพอก โรคไทรอยด์อักเสบเรื้อรังแบบ Hashimoto’s รวมถึง โรคเนื้องอกไทรอยด์ที่ยื่นลงไปในช่องอก โรคเนื้องอกไทรอยด์ชนิดไม่เป็นมะเร็ง และโรคมะเร็งไทรอยด์ ทั้งชนิดไม่ลุกลาม และชนิดลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองที่ลำคอ โดยนับเป็นแพทย์ท่านแรก ๆ ของโลกทำการผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปาก

ดังที่กล่าวข้างต้น การผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องทางช่องปากทำให้ไม่มีรอยแผลเป็นที่ผิวหนังบริเวณลำคอ เจ็บแผลน้อย ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว และลดความเสี่ยงเสียงแหบหลังผ่าตัดอีกด้วย จึงถือเป็นทางเลือกการผ่าตัดที่น่าสนใจในปัจจุบัน

นพ.ธัญวัจน์ ศาสนเกียรติกุล

นพ.ธัญวัจน์ ศาสนเกียรติกุล
ศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดไทรอยด์ ทั้งแบบเปิดและแบบส่องกล้องทางช่องปาก

> กลับสู่สารบัญ

อย่ารอจนทุกอย่างสายเกินแก้

โรคมะเร็งไทรอยด์ เป็นมะเร็งที่มีความเสี่ยงไม่ต่างจากมะเร็งชนิดอื่น ๆ แต่ก็มีโอกาสการรอดชีวิตสูงหากได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที ในกรณีที่เรามีก้อนที่ไทรอยด์ อย่านิ่งนอนใจ คิดว่าก้อนนี้ไม่เป็นมะเร็ง คนไข้จำเป็นต้องได้รับการตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียด ก่อนที่จะมั่นใจได้ ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรปรึกษาศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านไทรอยด์ เพื่อให้การผ่าตัดออกมาได้ประสิทธิภาพสูงสุด

เข้ารับการผ่าตัดไทรอยด์ ด้วยความอุ่นใจ มั่นใจและปลอดภัย

ทางศูนย์ศัลยกรรม รพ.พระรามเก้า โดยทีมแพทย์ผู้มีประสบการณ์เฉพาะทาง ที่มุ่งเน้นการรักษา รวมทั้งการดูแลแบบเฉพาะทางพร้อมด้วยเทคโนโลยีการรักษาและเครื่องมือที่ทันสมัย โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพต่อผู้ป่วยเป็นสำคัญ

และเนื่องในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ทาง รพ.พระรามเก้า ได้มีมาตรการ COVID SAFE HOSPITAL คำนึงถึงผู้เข้ารับการรักษาเป็นสำคัญ เราจึงทำงานอย่างหนัก เพื่อให้คุณอุ่นใจ มั่นใจ และปลอดภัยจากโควิด 19 แม้ต้องผ่าตัดในช่วงนี้ อย่างครอบคลุม ดังนี้

ผู้เข้ารับการผ่าตัดปลอดภัย

  • ตรวจคัดกรองโควิด-19 ตามมาตรฐานความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด ก่อนผ่าตัดทุกราย
  • แยกห้อง แยกอุปกรณ์ และเลือกใช้อุปกรณ์ที่สามารถใช้แล้วทิ้ง กรณีผู้ป่วยมีความเสี่ยงติดเชื้อและจำเป็นต้องผ่าตัด

บุคลากรของโรงพยาบาลปลอดภัย

  • ตวรจคัดกรอง บุคลากรทุกคน ทุกวันก่อนเข้าปฏิบัติงาน
  • เจ้าหน้าที่ทุกคนสวมชุดป้องกันร่างกาย (PPE) ขณะผ่าตัด

อุปกรณ์และเครื่องมือผ่าตัดปลอดภัย

  • ทำความสะอาดอุปกรณ์ผ่าตัดทุกชิ้น ด้วยการนึ่งทำลายเชื้อ (Sterilization)
  • เช็ดทำความสะอาดเครื่องมือในห้องผ่าตัดด้วยน้ำยาทำลายเชื้อ

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่
ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

New call-to-action

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

DC2E6719-0611-4AD2-8573-7792D0026BED

นพ.ธัญวัจน์ ศาสนเกียรติกุล

ศูนย์ศัลยกรรม

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์ศัลยกรรม_1-1

ศูนย์ศัลยกรรม

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา