Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

ก้อนที่คอหรืออาการคอโต แบบไหนอันตราย เสี่ยงเป็นมะเร็งไทรอยด์หรือไม่?

นพ.ธัญวัจน์ ศาสนเกียรติกุล

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 15 กรกฎาคม 2022
ก้อนที่คอกับมะเร็งไทรอยด์

ก้อนที่คอที่เราคลำพบหรือมองเห็นได้ สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งอันตรายและไม่อันตราย โดยก้อนที่คอนี้มีได้หลายลักษณะ เช่น เป็นก้อนแข็ง ก้อนนิ่ม ก้อนไขมัน เป็นถุงน้ำ อาจกดเจ็บหรือไม่เจ็บก็ได้ หากโชคร้ายก้อนที่คอนี้อาจกลายเป็นโรคร้ายแรง ซึ่งแพทย์อาจพิจารณาให้รีบเข้ารับการผ่าตัดไทรอยด์ เช่น โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ ดังนั้นหากคลำพบก้อนที่คอ ไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที

อ่านเพิ่มเติม อาการของโรคไทรอยด์
สนใจนัดหมายแพทย์

สารบัญ

  • ก้อนที่คอแบบไหนอันตราย?
  • ต่อมไทรอยด์คืออะไร?
  • ก้อนที่คอและโรคของต่อมไทรอยด์
  • อาการโรคของต่อมไทรอยด์
  • การวินิจฉัยก้อนที่คอ
  • การรักษาก้อนที่คอ
  • ผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องทางช่องปาก
  • สรุป

ก้อนที่คอแบบไหนอันตราย?

ก้อนที่คอแบบไม่อันตราย

  • ก้อนบริเวณผิวหนัง เช่น ก้อนซีสต์ไขมันผิวหนัง หรือ ก้อนไขมันใต้ผิวหนัง 
  • ก้อนที่คอจากการอักเสบ ซึ่งพบได้บ่อยในคนทั่วไป มักไม่ค่อยอันตราย ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส การอักเสบจากภาวะอื่นๆ แล้วทำให้ต่อมน้ำเหลืองหรือต่อมน้ำลายอักเสบและโตขึ้น ซึ่งหากรักษาสาเหตุได้ ก้อนนั้นก็จะเล็กลงและหายไปได้ แต่อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องและปลอดภัย

ก้อนที่คอแบบที่อันตราย

  • ก้อนที่คอจากโรคของต่อมไทรอยด์ เช่น ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน หรือเนื้องอกและมะเร็งของต่อมไทรอยด์
  • โรคมะเร็งอื่น ๆ  เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งปอด มะเร็งผิวหนัง หรือมะเร็งเต้านมก็อาจทำให้เกิดก้อนที่คอได้เช่นกัน

จะเห็นได้ว่าก้อนที่เกิดจากโรคของต่อมไทรอยด์และมะเร็งต่างๆ เป็นลักษณะของก้อนแบบที่อันตราย ต้องได้รับการรักษาและวินิจฉัยอย่างถูกต้อง โดยก้อนที่พบที่คอ อาจมีสาเหตุมาจากโรคมะเร็งอื่นๆ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือมะเร็งผิวหนัง หากเป็นเช่นนั้น ผู้ป่วยจะมีอาการอื่นที่สัมพันธ์กับมะเร็งชนิดนั้น ๆ ด้วย

ในที่นี้จะขอกล่าวถึงก้อนที่เป็นโรคของ “ต่อมไทรอยด์” ซึ่งเป็นต่อมไร้ท่อที่สำคัญของร่างกาย ซึ่งหากมีความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ จะส่งผลถึงระบบการทำงานของร่างกายได้หลายๆ อย่าง และจะต้องได้รับการรักษาและวินิจฉัยอย่างถูกต้อง

ก้อนที่คอแบบไหนอันตราย

> กลับสู่สารบัญ

ต่อมไทรอยด์คืออะไร?

ต่อมไทรอยด์ (thyroid gland) คืออวัยวะหนี่งในร่างกาย ที่ถูกจัดว่าเป็นต่อมไร้ท่อ โดยต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย วางตัวอยู่หน้าต่อหลอดลมบริเวณกลางคอ ใต้ลูกกระเดือก มีรูปร่างคล้ายปีกผีเสื้อ ต่อมไทรอยด์ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนไทรอยด์เพื่อควบคุมการเจริญเติบโต การเผาผลาญและใช้พลังงานของร่างกาย ดังนั้นหากต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติไป อาจทำให้เกิดภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือภาวะไทรอยด์เป็นพิษได้ และความผิดปกติของฮอร์โมนไทรอยด์นี้จะส่งผลต่อ การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ระบบหัวใจและหลอดเลือด

> กลับสู่สารบัญ

ก้อนที่คอและโรคของต่อมไทรอยด์

ก้อนของต่อมไทรอยด์พบได้ที่บริเวณด้านหน้าของลำคอ อาจทำให้สังเกตเห็นว่าคอโต หรือมีก้อนนูนขึ้นมา ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (hyperthyroid) เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าปกติ สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดคือ โรคเกรฟวส์ (Graves’ disease) ซึ่งเป็นภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องอย่างหนึ่ง ทำให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนมากกว่าปกติ หรืออาจเกิดจากการรับประทานยาบางชนิดที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนไทรอยด์ หรือสาเหตุจากเนื้องอกต่อมไทรอยด์ชนิดที่สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ด้วยตัวเอง ทำให้ฮอร์โมนเกิน เป็นต้น
  • ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ (hypothyroid) เป็นภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำกว่าปกติ ภาวะนี้จะตรงข้ามกับภาวะไทรอยด์เป็นพิษ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการอักเสบเรื้อรังจากภูมิคุ้มกันตัวเอง (autoimmune thyroiditis) หรือเกิดจากโรคไทรอยด์อักเสบเรื้อรังแบบฮาชิโมโต (Hashimoto’s thyroiditis) สาเหตุอื่น ๆ ที่พบได้ เช่น เกิดจากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกทั้งสองข้าง ทำให้ขาดฮอร์โมนไทรอยด์ หรือเกิดจากความผิดปกติในสมอง ทำให้ไม่กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์
  • โรคเนื้องอกไทรอยด์ชนิดไม่ใช่มะเร็ง ส่วนใหญ่ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดจะปกติ เพราะเนื้องอกไม่ได้สร้างฮอร์โมน หรือไปมีผลกระทบต่อต่อมไทรอยด์
  • โรคมะเร็งไทรอยด์ มีหลายชนิด ชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดคือชนิด Papillary thyroid cancer ซี่งเป็นมะเร็งชนิดที่ดีที่สุดในมะเร็งไทรอยด์ทั้งหมด โดยยิ่งพบขนาดเล็กเท่าไร จะยิ่งมีอัตราความเสี่ยงต่อการแพร่กระจาย หรือความเสี่ยงต่อการกลับเป็นซ้ำลดลง หากตรวจพบ จำเป็นต้องผ่าตัดโดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง หรืออวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย

> กลับสู่สารบัญ

อาการโรคของต่อมไทรอยด์

  • อาการของภาวะไทรอยด์เป็นพิษ คือ ขี้ร้อน ทนร้อนไม่ได้ ขี้หงุดหงิด เหนื่อยง่าย มือสั่นใจสั่น รับประทานเท่าไรก็ไม่อ้วน คอโต จนไปถึงอาการที่รุนแรงคือ ภาวะหัวใจล้มเหลว
  • อาการของภาวะการขาดฮอร์โมนไทรอยด์ คือ อ้วนง่าย ไม่มีแรง อ่อนเพลียตลอดเวลา เหนื่อยง่าย เซื่องซึม ง่วงนอนตลอดเวลา ท้องผูก หัวใจเต้นช้าลง เป็นต้น
  • อาการของเนื้องอกต่อมไทรอยด์และมะเร็งไทรอยด์ โดยส่วนมากผู้ป่วยจะไม่มีอาการ ยกเว้นก้อนมีขนาดใหญ่มาก จนไปกดเบียดหลอดลม จะทำให้หายใจลำบาก และไปกดเบียดหลอดอาหารทำให้กลืนลำบาก หรือก้อนเป็นมะเร็งลุกลามไปกดเส้นประสาทที่ใช้พูด ทำให้เสียงแหบได้ 

อ่านเพิ่มเติม อาการของโรคไทรอยด์แต่ละประเภท

อาการโรคไทรอยด์

> กลับสู่สารบัญ

การวินิจฉัยก้อนที่คอ

สำหรับการวินิจฉัยสามารถตรวจได้หลายวิธีตั้งแต่ประเมินเบื้องต้นด้วยตัวเอง แต่หากสงสัย แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง

  • การประเมินเบื้องต้นด้วยตัวเอง โดยการกลืนน้ำลายหน้ากระจก แล้วสังเกตดูว่ามีก้อนเคลื่อนที่ตามการกลืนหรือไม่ ถ้าสังเกตเห็นก้อนที่เคลื่อนตามการกลืน ควรรีบปรึกษาแพทย์   เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตามหากก้อนมีขนาดเล็ก อาจตรวจไม่เจอโดยวิธีการนี้ ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติที่สงสัย ควรรีบปรึกษาแพทย์
  • การซักประวัติและตรวจร่างกาย แพทย์จะซักประวัติและอาจจะคลำบริเวณลำคอ เพื่อตรวจว่ามีก้อนที่ผิดปกติหรือไม่
  • ตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือด แพทย์มักจะพิจารณาให้เจาะเลือดเพื่อตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ ได้แก่ ฮอร์โมน thyroxine (FT4) ฮอร์โมน triiodothyronine (FT3) และฮอร์โมน TSH
  • ตรวจอัลตร้าซาวด์บริเวณคอและต่อมไทรอยด์ เพื่อประเมินดูว่ามี ถุงน้ำ (cyst) ก้อนเนื้อ (thyroid nodule) หรือหินปูน (calcification) รวมทั้งประเมินต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอด้วย

การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ หากสงสัยว่ามีความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ แพทย์อาจพิจารณาให้ตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ซึ่งเป็นการตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ โดยใช้สารรังสี อาจให้ดื่มหรือฉีดทางเลือดดำ เพื่อดูปริมาณสารรังสีที่เซลล์ของต่อมไทรอยด์จับไว้ แล้วแพทย์จะทำการวินิจฉัยจากภาพของต่อมไทรอยด์ที่เครื่องสแกนได้

@praram9hospital คลำ #ไทรอยด์ ง่ายๆ ด้วยตัวเอง 🔍 อย่าลืมร่วมสนุกลุ้นบัตรภาพยนตร์กันน้า~ #คลำไทรอยด์ #Praram9Hospital #โรงพยาบาลพระรามเก้า ♬ Suns - Official Sound Studio

> กลับสู่สารบัญ

การรักษาก้อนที่คอ

แพทย์จะทำการรักษาตามสาเหตุซึ่งจะมีรายละเอียดแตกต่างกันไปตามภาวะหรือโรคของผู้ป่วย

  • ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ: รับประทานยาต้านฮอร์โมนไทรอยด์ กลืนแร่รักษา หรือผ่าตัดต่อมไทรอยด์
  • ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน: รับประทานฮอร์โมนไทรอยด์เสริม ร่วมกับการรักษาภาวะอักเสบเรื้อรัง สำหรับผู้ป่วยที่มีการอักเสบมากจนต่อมไทรอยด์โตมาก ไปกดเบียดอวัยวะข้างเคียง จำเป็นต้องผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออก

เนื้องอกไทรอยด์ทั้งชนิดมะเร็งและไม่ใช่มะเร็ง: การรักษาจะเป็นการผ่าตัด ยิ่งเป็นเนื้องอกที่เป็นมะเร็งต้องรีบผ่าตัดโดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง หรืออวัยวะอื่น ๆ และอาจจะต้องกลืนแร่รักษา ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรง ข้อดีอย่างหนึ่งของมะเร็งชนิดนี้คือเป็นมะเร็งที่มีโอกาสการรอดชีวิตสูง ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ดังนั้นผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านไทรอยด์ เพื่อให้การผ่าตัดรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด

> กลับสู่สารบัญ

ผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องทางช่องปาก

สนใจนัดหมายแพทย์

การผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องทางช่องปากเป็นทางเลือกการรักษาในปัจจุบันที่มีข้อดีคือ เป็นการผ่าตัดที่แผลเล็ก เสียเลือดน้อย ไม่มีรอยแผลผ่าตัดเป็นที่ผิวหนังบริเวณลำคอเพราะทำการผ่าตัดผ่านทางช่องปาก ทำให้ผู้ป่วยไม่เสียบุคลิกภาพ เพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ป่วย นอกจากนี้หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะฟื้นตัวเร็ว และยังลดความเสี่ยงของเสียงแหบหลังผ่าตัดจากการใช้กล้องส่องขยายเส้นเสียงได้อีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม การผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องทางช่องปาก

ก้อนที่คอ ผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้อง

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

เนื่องจากลำคอเป็นที่อยู่ของต่อมฮอร์โมนที่สำคัญของร่างกายโดยเฉพาะต่อมไทรอยด์ ดังนั้นการมีก้อนที่คออาจบ่งบอกถึงโรคของต่อมไทรอยด์ อาจจะเป็นภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ หรือไทรอยด์เป็นพิษ หรือหากโชคร้ายอาจเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมไทรอยด์ 

ดังนั้นการหมั่นสังเกตตัวเองอย่างสม่ำเสมอว่ามีอาการผิดปกติที่น่าสงสัยหรือไม่ เช่น ขี้ร้อน ขี้หงุดหงิด เหนื่อยง่าย ใจสั่น อ่อนเพลีย หรือสังเกตเห็นก้อนที่ลำคอ ก็จะเป็นประโยชน์มาก ๆ ในการดูแลสุขภาพร่างกาย และถ้าสงสัยควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อการตรวจรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

สนใจนัดหมายแพทย์

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

DC2E6719-0611-4AD2-8573-7792D0026BED

นพ.ธัญวัจน์ ศาสนเกียรติกุล

ศูนย์ศัลยกรรม

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

thyroid-center-th-1-1

ศูนย์ไทรอยด์และผ่าตัดไทรอยด์

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา