Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

รักษานอนกรนด้วยการร้อยไหม เจ็บน้อย หายเร็ว อีกหนึ่งทางเลือกการรักษานอนกรน

พญ.เพชรรัตน์ แสงทอง

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 6 สิงหาคม 2023
การรักษานอนกรนด้วยการร้อยไหม

การนอนกรนดูจะเป็นเรื่องที่ธรรมดา เพราะหลาย ๆ คนนอนกรนจนเป็นเรื่องปกติ และไม่น่าจะเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหรือชีวิตประจำวัน แต่จริง ๆ แล้วปัญหานอนกรนเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อทั้งการใช้ชีวิตประจำวัน และการทำงาน เพราะบางคนในขณะกรนอาจมีการหยุดหายใจจนทำให้ต้องสะดุ้งตื่นขึ้นมาตอนกลางคืน ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ ตื่นนอนมาแล้วไม่สดชื่น ง่วงเหงาหาวนอนในช่วงกลางวัน เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน หรืออาจจะเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุขณะขับรถได้ และยังทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาได้อีก

ปัจจุบันมีเทคนิคการรักษานอนกรนด้วยการร้อยไหม โดยแพทย์จะร้อยไหมที่เพดานอ่อนคล้ายกับการร้อยไหมยกกระชับที่ใบหน้า เป็นการรักษาที่เจ็บน้อย แผลเล็ก หายเร็ว จึงเป็นทางเลือกการรักษานอนกรนอีกวิธีหนึ่ง

สารบัญ

  • นอนกรนเสียงดังเกิดจากอะไร?
  • การนอนกรนเป็นอันตรายไหม?
  • สาเหตุของการนอนกรน
  • แก้นอนกรนทำได้อย่างไรบ้าง?
  • การรักษานอนกรนด้วยการร้อยไหม
  • ข้อดีของการรักษาการนอนกรนด้วยการร้อยไหม
  • การเตรียมตัวก่อนการการรักษานอนกรนด้วยการร้อยไหม
  • การปฏิบัติตัวหลังการรักษานอนกรนด้วยการร้อยไหม
  • สรุป

นอนกรนเสียงดังเกิดจากอะไร?

เสียงกรน เกิดจากการที่ลมหายใจไหลผ่านช่องคอที่ตีบแคบ โดยเป็นเสียงของการสั่นพลิ้วสะบัดของลิ้นไก่ เนื้อเยื้อบริเวณเพดานอ่อน และช่องคอส่วนบน โดยการกรนนี้จะทำให้เกิดภาวะอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน พบบ่อยในคนวัยกลางคนอายุระหว่าง 30 – 60 ปี โดยมักพบภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจประมาณ 4% ในผู้ชาย และ 2% ในผู้หญิง การนอนกรน แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

  • การนอนกรนธรรมดา (primary snoring) ซึ่งทำให้เกิดเสียงดังรบกวนต่อคนรอบข้าง
  • การนอนกรนร่วมกับภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนและมีภาวะหยุดหายใจร่วมด้วย (obstructive sleep apnea; OSA) ซึ่งเป็นประเภทที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เพราะอาจทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาได้

> กลับสู่สารบัญ

การนอนกรนร่วมกับภาวะหยุดหายใจส่งผลเสียต่อสุขภาพ

การนอนกรนเป็นอันตรายไหม?

การนอนกรนไม่ว่าจะเป็นการนอนกรนธรรมดา หรือนอนกรนแบบที่มีภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน และมีภาวะหยุดหายใจร่วมด้วย ก็ล้วนมีผลต่อสุขภาพโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนอนกรนแบบที่มีภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน หรือมีภาวะหยุดหายใจร่วมด้วย เสี่ยงทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้อีก เช่น โรคความดันสูง โรคหัวใจขาดเลือด หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันในปอดสูง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และโรคหลอดเลือดสมอง 

นอกจากนี้การนอนกรนแบบที่มีการอุดกั้นทางเดินหายในส่วนบนและมีภาวะหยุดหายใจร่วมด้วยนั้น จะทำให้ผู้ป่วยมีการสะดุ้งตื่นเป็นช่วง ๆ ขณะนอนหลับซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้หลังจากตื่นนอนจะรู้สึกว่าไม่สดชื่น และยังรู้สึกยังง่วงอยู่ นอกจากนี้การหยุดหายใจขณะนอนหลับจะทำให้สมองและร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวกับสมองด้วย โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการง่วงมากผิดปกติในเวลากลางวัน (excessive daytime sleepiness) ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยตรง และหากต้องขับรถหรือต้องทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรก็จะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย 

และในกลุ่มที่นอนกรนแบบธรรมดาอาจจะยังไม่มีผลกระทบที่เห็นได้ชัดเจนทางสุขภาพของตนเองมากนัก แต่จะมีผลต่อสุขภาพการนอนของคู่นอน หรือคนในครอบครัว เพราะจะไปรบกวนการนอนของคนรอบข้างได้ 

ดังนั้นหากท่านมีอาการนอนกรนทั้งแบบธรรมดา และแบบที่มีภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนและหยุดหายใจร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย ในผู้ป่วยบางรายอาจต้องเข้ารับการตรวจการนอนหลับ (sleep test) ซึ่งจะทำให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาให้ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป

> กลับสู่สารบัญ

สาเหตุของการนอนกรน

การนอนกรนเกิดได้จากหลายสาเหตุ คือ

  • มีการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อทางเดินหายใจส่วนบน (ลิ้นไก่ เนื้อเยื่อบริเวณเพดานอ่อน โคนลิ้น และช่องคอส่วนบน) ขณะนอนหลับ ทำให้เกิดภาวะทางเดินหายใจตีบแคบ
  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรืออ้วนมาก ๆ เพราะจะทำให้ผนังคอหนาขึ้น ทำให้ทางเดินหายใจแคบลง เราจึงมักพบว่าคนที่มีน้ำหนักเกิน หรืออ้วนมาก ๆ จะมีอาการกรนและหยุดหายใจขณะหลับ
  • มีภาวะที่ทำให้โพรงจมูกอุดตัน เช่น โรคภูมิแพ้ที่ทำให้โพรงจมูกอักเสบ โรคเนื้องอกในโพรงจมูก ริดสีดวงจมูก ไซนัสอักเสบ หรือมีผนังกั้นโพรงจมูกผิดปกติ ซึ่งก็สามารถทำให้เกิดการกรนได้เช่นกัน
  • มีโรคของต่อมทอนซิล เพราะต่อมทอนซิลอยู่ในลำคอ ดังนั้นหากมีการโตขึ้นของต่อมทอนซิลก็จะทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน จึงทำให้มีการกรนได้ โดยสาเหตุนี้มักเป็นสาเหตุการกรนในเด็ก
  • มีเนื้องอกหรือซีสต์ (cyst) ทางเดินหายใจส่วนบน
  • การดื่มแอลกอฮล์ การรับประทานยานอนหลับ ยาแก้แพ้ชนิดง่วง เพราะจะทำให้มีการคลายตัวของกล้ามเนื้อทางเดินหายใจส่วนบน ซึ่งจะทำให้มีการตีบแคบของช่องคอมากขึ้น ทำให้กรนมากขึ้นและเสียงกรนดังขึ้น

> กลับสู่สารบัญ

แก้นอนกรนทำได้อย่างไรบ้าง?

โดยปัจจุบันวิธีการแก้และรักษานอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ แบ่งเป็น 

  • แบบไม่ผ่าตัด เช่น ใส่เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก CPAP การลดน้ำหนัก นอนตะแคง ใช้ยา ใส่ทันตอุปกรณ์ เป็นต้น
  • แบบผ่าตัด โดยแก้ไขในส่วนของจมูก เพดานอ่อน ลิ้นไก่และคอหอย ทั้งนี้ส่วนที่พบว่าทำให้เกิดเสียงกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้มาก คือ เพดานอ่อน ซึ่งวิธีที่ใช้ผ่าตัดมีหลายวิธี วิธีที่พัฒนามาจนถึงปัจจุบัน คือ วิธีร้อยไหมที่เพดานอ่อน (barbed suspension pharyngoplasty) ซึ่งใช้เวลาผ่าตัดไม่นาน เจ็บน้อย แผลเล็กและหายไว และไม่มีปมไหมให้รู้สึกรำคาญเมื่อเทียบกับวิธีดั้งเดิม

> กลับสู่สารบัญ

การรักษานอนกรนด้วยการร้อยไหม

การรักษานอนกรนด้วยการร้อยไหมที่เพดานอ่อน (barbed suspension pharyngoplasty) เป็นเทคนิคใหม่และเป็นทางเลือกสำหรับการรักษาการนอนกรนแบบที่มีการอุดกั้นทางเดินหายในส่วนบนและมีภาวะหยุดหายใจร่วมด้วย ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยใช้ไหมทางการแพทย์เย็บตกแต่งลิ้นไก่ เพดานอ่อน และคอหอย เพื่อปรับให้โครงสร้างของทางเดินหายใจส่วนต้น แก้ปัญหาการตีบแคบของทางเดินหายใจ

การรักษานอนกรนด้วยการร้อยไหมเพดานอ่อนคล้ายกับการร้อยไหมยกกระชับที่ใบหน้า โดยไหมที่ใช้จะเป็นไหมละลายที่มีเงี่ยงตลอดเส้น เพื่อเย็บตรึงเพดานอ่อนให้ยกขึ้น เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเพดานอ่อน และแพทย์จะใช้เทคนิคการซ่อนปมให้อยู่ในเพดานอ่อนทำให้ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกรำคาญ อาจต้องทำร่วมกับการผ่าตัดทอนซิลออกเพื่อทางเดินหายใจเปิดกว้างขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งแพทย์จะพิจารณาวางแผนการรักษาให้เหมาะสมเป็นราย ๆ ไป

> กลับสู่สารบัญ

ข้อดีของการรักษาการนอนกรนด้วยการร้อยไหม

  • ใช้เวลาผ่าตัดไม่นาน 
  • เจ็บน้อย 
  • แผลเล็กและหายไว 
  • ไม่มีปมไหมให้ผู้ป่วยรู้สึกรำคาญ
  • ผลข้างเคียงจากการรักษาน้อยกว่า

> กลับสู่สารบัญ

การเตรียมตัวก่อนการรักษานอนกรนด้วยการร้อยไหม

  • ตรวจประเมินทางเดินหายใจส่วนต้นเพื่อวางแผนการผ่าตัดที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย โดยแพทย์เฉพาะทางโสตศอนาสิกก่อนผ่าตัด
  • ตรวจการนอนหลับ (sleep test) เพื่อประเมินความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับก่อนการรักษา
  • ตรวจเลือด
  • ตรวจปัสสาวะ
  • ตรวจเอกซเรย์ทรวงอก
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  • อาจต้องหยุดยาบางชนิดก่อนการผ่าตัด เช่น ยาแอสไพริน ยาละลายลิ่มเลือด หรือยาอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการดมยาสลบหรือการผ่าตัด ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์
  • ก่อนการผ่าตัด ควรงดน้ำและอาหารประมาณ 6-8 ชั่วโมง
  • ก่อนผ่าตัดผู้ป่วยควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
  • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวควรแจ้งให้แพทย์ทราบ

> กลับสู่สารบัญ

การปฏิบัติตัวหลังการรักษานอนกรนด้วยการร้อยไหม

หลังการร้อยไหมผู้ป่วยอาจมีอาการตึง ๆ ในลำคอ กลืนอาหารไม่ค่อยสะดวก หรืออาจจะมีเลือดออกบริเวณแผล เสียงแหบ แต่อาการเหล่านี้จะเป็นเพียงแค่ในช่วงแรก และจะหายไปได้เอง หลังการรักษาแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยดูแลตัวเองดังนี้

  • รับประทานยาแก้ปวด และยาแก้อักเสบ
  • ให้นอนศีรษะสูงโดยเพิ่มจำนวนหมอนที่หนุน หรือใช้เตียงแบบปรับระดับได้
  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
  • หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาหักโหม
  • รักษาความสะอาดภายในช่องปากเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อ
  • หลีกเลี่ยงการไอหรือจามแรง ๆ 
  • ระยะแรก ๆ หลังการรักษาควรรับประทานอาหารอ่อนหรืออาหารเหลว
  • มาพบแพทย์ตามนัด 

หากหลังการรักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการผิดปกติต่าง ๆ  ควรกลับไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

การนอนกรนทั้งแบบธรรมดาและการนอนกรนที่มีการอุดกั้นและมีหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วยส่งผลต่อสุขภาพโดยตรง เพราะอาจทำให้เกิดโรคร้ายอื่น ๆ ตามมาได้อีกหลายโรค นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อการนอนของคู่นอนและคนรอบข้าง ดังนั้นหากมีปัญหานอนกรนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนอนกรนชนิดที่มีการอุดกั้นและหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาต่อไป 

ในปัจจุบันเทคนิคการรักษานอนกรนด้วยการร้อยไหมเป็นเทคนิคที่ได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะเป็นเทคนิคการรักษาที่ใช้เวลาผ่าตัดไม่นาน เจ็บน้อย แผลเล็ก หายเร็ว มีผลข้างเคียงจากการรักษาน้อย จึงเป็นการรักษานอนกรนอีกวิธีหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.เพชรรัตน์ แสงทอง

พญ.เพชรรัตน์ แสงทอง

Sleep Center

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

PR9_Sleep-center_1040x1040

Sleep Center

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา