Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

กระดูกสันหลังคดมีลักษณะอย่างไร เมื่อไหร่ควรต้องผ่าตัด?

นพ.พิทวัส ลีละพัฒนะ

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 5 ธันวาคม 2023
กระดูกสันหลังคด

กระดูกสันหลังคด เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นกับได้กับทุกช่วงวัยตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น หรือในวัยทำงานก็สามารถเกิดกระดูกสันหลังคดได้ ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้อาจส่งผลต่อการทำงานของระบบอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น มีผลต่อการทำงานของปอดและหัวใจ หรือทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรังได้ ซึ่งโรคกระดูกสันหลังคดนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ และมีอาการหลาย ๆ อย่างที่เป็นอาการที่บ่งบอกว่ามีภาวะกระดูกสันหลังคด บทความนี้จะกล่าวถึงรายละเอียดของโรคกระดูกสันหลังคด สาเหตุ การรักษา และอาการแบบไหนควรได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดกระดูกสันหลังคด รวมไปถึงท่านอนที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีกระดูกสันหลังคด

สนใจนัดหมายแพทย์

สารบัญ

  • โรคกระดูกสันหลังคด (scoliosis) คืออะไร?
  • กระดูกสันหลังคด เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง?
  • อาการของกระดูกสันหลังคด
  • ภาวะแทรกซ้อนจากกระดูกสันหลังคด
  • กระดูกสันหลังคดแบบไหนควรไปพบแพทย์?
  • การรักษากระดูกสันหลังคด
  • เมื่อไหร่ควรผ่าตัดกระดูกสันหลังคด?
  • ท่านอนสำหรับผู้มีปัญหากระดูกสันหลังคด
  • สรุป

โรคกระดูกสันหลังคด (scoliosis) คืออะไร?

โรคกระดูกสันหลังคด (scoliosis) คือ ภาวะที่กระดูกสันหลังมีการผิดรูป โดยมีแนวกระดูกที่โค้งไปด้านข้างซ้ายหรือข้างขวาโดยจะโค้งช่วงเดียวเป็นรูปตัว “C” หรือมีแนวกระดูกโค้งสองช่วงเป็นรูปตัว “S”  ก็ได้

โดยปกติโรคกระดูกสันหลังคดเป็นความผิดปกติของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อชนิดที่ไม่รุนแรง แต่อย่างไรก็ตามเมื่ออายุมากขึ้นความโค้งกระดูกสันหลังอาจเพิ่มขึ้นและอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของ อวัยวะสำคัญ เช่น ปอด และหัวใจได้

> กลับสู่สารบัญ

กระดูกสันหลังคด เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง?

โรคกระดูกสันหลังคดเกิดได้จาก 3 สาเหตุ ได้แก่

  1. กระดูกสันหลังคดแต่กำเนิด (congenital scoliosis) เกิดจากความผิดปกติในการสร้างและการแบ่งปล้องของกระดูกสันหลัง โดยจะเริ่มพบการคดของกระดูกสันหลังได้ตั้งแต่แรกเกิด
  2. กระดูกสันหลังคดจากประสาทและกล้ามเนื้อ (neuromuscular scoliosis) เกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ทำให้แรงดึงของกล้ามเนื้อด้านข้างต่อกระดูกสันหลังสองฝั่งทำงานไม่เท่ากัน ให้เกิดการคดของกระดูกสันหลัง
  3. กระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic scoliosis) เกิดจากการเจริญเติบโตของกระดูกสันหลังผิดปกติ โดยมีการเติบโตแบบบิดหมุนทำให้เกิดการคดของกระดูกสันหลัง พบได้บ่อยในเด็กที่มีการเจริญเติบโตเข้าสู่วัยรุ่นหรือช่วงอายุ 10-18 ปี
สนใจนัดหมายแพทย์

> กลับสู่สารบัญ

อาการของกระดูกสันหลังคด

ผู้ที่มีภาวะกระดูกสันหลังคดอาจมีอาการหรือลักษณะท่าทางที่ผิดปกติที่สังเกตได้ เช่น

  1. ขณะยืนตรงระดับไหล่สูงไม่เท่ากัน
  2. ขณะยืนตรงความเว้าของเอวสองข้างด้านซ้ายและขวาไม่เท่ากัน
  3. ขณะยืนเดินลำตัวเอนเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง
  4. ขณะยืนหรือก้มหลังมีความนูนของหลังทางฝั่งซ้ายและขวาไม่เท่ากัน

หากมีอาการรุนแรงมากขึ้น นอกจากจะมีกระดูกสันหลังโค้งไปทางด้านใดด้านหนึ่งแล้ว อาจพบลักษณะคล้ายก้อนนูนไปทางด้านหลัง จากการที่มีการหมุนหรือบิดตัวของกระดูกสันหลังแล้วทำให้ซี่โครงด้านหนึ่งยื่นออกมากกว่าอีกด้านหนึ่ง

> กลับสู่สารบัญ

ภาวะแทรกซ้อนจากกระดูกสันหลังคด

แม้ว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่จะอาการไม่มาก แต่หากทิ้งไว้และไม่ได้รับการตรวจประเมินและรักษาอย่างถูกต้องอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น

  • ปอดและหัวใจทำงานได้ไม่เต็มที่ ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติ ซึ่งพบได้ในผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังคดรุนแรง ส่งผลให้กระดูกสันหลังไปกดเบียดปอดและหัวใจ ปอดและหัวใจจึงทำงานได้ไม่เต็มที่
  • ปัญหาเกี่ยวกับหลัง ผู้ใหญ่ที่มีปัญหากระดูกสันหลังคดตั้งแต่เด็ก มีแนวโน้มว่าจะมีอาการปวดหลังเรื้อรังมากกว่าคนปกติ
  • ปัญหาบุคลิกภาพ เมื่อกระดูกสันหลังคดมากขึ้น จนสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนว่าไหล่และสะโพกไม่เท่ากัน ซี่โครงนูนขึ้นมาผิดปกติ เอวและลำตัวเบี้ยว ซึ่งทำให้สมดุลตัวและรูปร่างโดยรวมผิดปกติไป ส่งผลต่อบุคลิกภาพได้
  • ปัญหากระดูกสันหลังหัก ถ้ามีความผิดปกติของกระดูกสันหลังคดเพิ่มขึ้นอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายจากการเดินและการทรงตัวที่ไม่สมดุล ส่งผลให้เกิดการลื่นล้มก้นกระแทกพื้นและทำให้กระดูกหักได้ พบว่ามักเกิดในตำแหน่ง บริเวณรอยต่อระหว่างกระดูกสันหลังส่วนอกและเอว
  • ปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท ในรายที่รุนแรงอาจมีผลต่อระบบประสาทได้

> กลับสู่สารบัญ

กระดูกสันหลังคดแบบไหนควรไปพบแพทย์?

ส่วนใหญ่แล้วอาการกระดูกสันหลังคดจะเป็นอาการที่ค่อย ๆ เป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ หากผู้ป่วยหรือบุคคลรอบข้างสังเกตเห็นมีลักษณะของภาวะกระดูกสันหลังคดแล้ว ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง โดยแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจการทำงานของระบบประสาท  รวมถึงการส่งตรวจภาพถ่ายเอกซเรย์กระดูกสันหลัง  และอาจส่งตรวจด้วยวิธีพิเศษ เช่น เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) และ เอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล้กไฟฟ้า (MRI)

> กลับสู่สารบัญ

การรักษากระดูกสันหลังคด

การรักษากระดูกสันหลังคดทำได้หลายวิธี ทั้งวิธีที่ไม่ต้องผ่าตัด และวิธีที่ต้องผ่าตัดแก้ไขกระดูกสันหลังคด โดยจะเป็นการรักษาตามสาเหตุและอาการของผู้ป่วย ทั้งนี้ซึ่งขึ้นอยู่กับผลการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง โดยจะมีการรักษาดังนี้

การรักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด

  • การออกกำลังกายที่เหมาะสม และทำกายภาพบำบัด แพทย์จะแนะนำวิธีนี้ในกรณีผู้ป่วยที่กระดูกสันหลังคดไม่มาก
  • การใส่เสื้อเกราะ เพื่อป้องกันการเพิ่มของมุมคด จะใช้ในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ดังต่อไปนี้
    –
    ผู้ป่วยกระดูสันหลังคดชนิดไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic scoliosis)
    – ผู้ป่วยอยู่ในวัยเจริญเติบโต คือ ในเด็กผู้หญิงที่เริ่มมีประจำเดือนมาน้อยกว่า 2 ปี หรือในกลุ่มเด็กที่ยังไม่มีลักษณะของร่างกายที่แสดงถึงการเจริญเติบโตที่เต็มที่ เช่น การมีเต้านม มีขนตามรักแร้และอวัยวะเพศ
    – ผู้ป่วยที่มีมุมคดของกระดูกสันหลังมากกว่า 30 องศา

ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยการใส่เสื้อเกราะควรต้องใส่เสื้อเกราะให้ได้อย่างน้อย 16 ถึง 18 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อให้ได้รับประสิทธิภาพสูงสุดจากการรักษา

ผู้ป่วยในกลุ่มนี้แพทย์จะต้องนัดตรวจติดตามอย่างต่อเนื่องทุก 6 – 12 เดือน ซึ่งแพทย์จะพิจารณาให้การรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นราย ๆ ไป

การผ่าตัดกระดูกสันหลังคด

เป็นการใช้โลหะดามกระดูกสันหลังหรือที่เรียกว่าผ่าตัดกระดูกสันหลังใส่เหล็ก เพื่อเป็นการจัดแนวกระดูกสันหลังให้ตรงขึ้นและเชื่อมข้อกระดูกสันหลังให้ติดแข็ง

โดยหลังการผ่าตัดควรงดกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง เช่น การก้มตัว การบิดตัว เป็นเวลา 3 – 6 เดือน แล้วจึงเริ่มออกกำลังกายที่ไม่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ เช่น เดิน ว่ายน้ำ  วิ่งเหยาะ ปั่นจักรยานอยู่กับที่ เป็นต้น

> กลับสู่สารบัญ

เมื่อไหร่ควรผ่าตัดกระดูกสันหลังคด?

แพทย์อาจจะพิจารณาการผ่าตัดกระดูกสันหลังคด ในผู้ป่วยกลุ่มต่อไปนี้

  1. มีมุมคดของกระดูกสันหลังส่วนอกมากกว่า 50 ถึง 55 องศา
  2. มีมุมคดของกระดูกสันหลังส่วนเอวมากกว่า 40 องศา
  3. รักษาด้วยการใส่เสื้อเกราะป้องกันการเพิ่มของมุมคดแล้วไม่ได้ผล
  4. มีอาการกระดูกสันหลังคดมากขึ้นและกระดูกสันหลังยังเจริญเติบโตได้อีกมาก
  5. ให้การรักษาด้วยวิธีการอื่นแล้วไม่ได้ช่วยชะลอความรุนแรงของโรค
  6. ผู้ป่วยที่มาพบแพทย์เมื่อมีกระดูกสันหลังคดอย่างรุนแรงตั้งแต่แรก
  7. ผู้ป่วยที่มีอาการปวดอย่างรุนแรง
  8. กระดูกสันหลังคดและมีผลกระทบต่อระบบประสาท

> กลับสู่สารบัญ

ท่านอนสำหรับผู้มีปัญหากระดูกสันหลังคด

คนที่มีกระดูกสันหลังคดสามารถนอนได้ปกติเหมือนคนทั่วไป แต่อาจหลีกเลี่ยงการนอนคว่ำ เพราะอาจทำให้หายใจไม่สะดวก หรือปวดคอได้

ที่นอนควรเป็นที่นอนที่เรียบสม่ำเสมอ ไม่มีรอยยุบหรือนูน เป็นที่นอนเนื้อแน่น ที่ไม่นุ่มยวบ หรือแข็งเกินไป หมอนควรเป็นหมอนเนื้อแน่น รองรับศีรษะและคอได้พอดี ไม่มีช่องว่างระหว่างหมอนและคอ

สนใจนัดหมายแพทย์

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

กระดูกสันหลังคด คือ ภาวะกระดูกสันหลังผิดรูปชนิดหนึ่ง ส่วนมากเกิดโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างกระดูกสันหลังรวมถึงความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและระบบประสาท ซึ่งจะพบได้มากในช่วงวัยรุ่น อายุตั้งแต่ 9 ถึง 10 ปีขึ้นไป ซึ่งตัวผู้ป่วยเอง คนในครอบครัวและคนรอบข้าง สามารถสังเกตอาการและลักษณะต้องสงสัยว่ามีภาวะกระดูกสันหลังคดได้จากอาการที่กล่าวไปข้างต้น และเมื่อพบอาการของกระดูกสันหลังคด ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อตรวจวินิจฉัย หาสาเหตุของกระดูกสันหลังคด และรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้กระดูกสันหลังคดเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อบุคลิกภาพและการทำงานของปอดและหัวใจ หรืออาจทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง หรือหากอาการรุนแรง อาจส่งผลถึงระบบประสาทได้

ข้อมูลเพิ่มเติม ศูนย์กระดูกสันหลัง (Advanced Spine Center) รพ.พระรามเก้า

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

นพ.พิทวัส ลีละพัฒนะ

ผศ.นพ.พิทวัส  ลีละพัฒนะ

ศูนย์กระดูกสันหลัง

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์กระดูกสันหลัง_1-1

ศูนย์กระดูกสันหลัง

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา