Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

รับมือย่างไรให้ลูกรักปลอดภัยจาก ไวรัส RSV

พญ.นงนภัส เก้าเอี้ยน

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 1 กุมภาพันธ์ 2024
ไวรัส RSV

ในช่วงปลายฝนต้นหนาวหรือระหว่างเดือนสิงหาคม – ตุลาคม เด็ก ๆ มักจะป่วยง่ายและต้องมาพบหมอที่โรงพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก ซึ่งโรคที่พบได้บ่อยและมีการระบาดเป็นประจำทุก ๆ ปีคือ โรค RSV ที่มีอาการคล้ายไข้หวัดแต่อาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นปอดอักเสบติดเชื้อได้ จากข้อมูลของกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบการติดเชื้อ RSV มากที่สุดในกลุ่มเด็กเล็ก อายุน้อยกว่า 2 ปี รองลงมาคืออายุ 2-5 ปี โดยพบว่าเชื้อ RSV มักเป็นสาเหตุของการเกิดปอดอักเสบรุนแรงในเด็กเล็ก เด็กที่มีโรคประจำตัว ภูมิคุ้มกันบกพร่อง และยังพบการติดเชื้อได้ในผู้สูงอายุอีกด้วย

สารบัญ

  • RSV คืออะไร?
  • อาการของ RSV
  • การติดต่อของ RSV
  • การวินิจฉัย RSV
  • การรักษา RSV
  • RSV รักษาที่บ้านได้ไหม ?
  • ผู้ใหญ่เป็น RSV ได้ไหม?
  • การป้องกันโรค RSV
  • RSV กับโรคมือเท้าปากเหมือนกันหรือไม่?
  • RSV ไข้หวัดใหญ่ และ โควิด-19 อาการต่างกันอย่างไร?
  • สรุป

RSV คืออะไร?

โรค RSV เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อว่า respiratory syncytial virus (RSV) เป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดการอักเสบของทางเดินหายใจได้ทั้งทางเดินหายใจส่วนบน และทางเดินหายใจส่วนล่าง พบการติดเชื้อได้ในทุกช่วงอายุ มักระบาดในช่วงฤดูฝนจนถึงฤดูหนาวของทุกปี พบได้บ่อยในเด็กเล็ก ไปจนถึงเด็กวัยอนุบาล อาจมีภาวะแทรกซ้อนหรืออาการที่รุนแรงในเด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ปี เด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น  โรคปอดเรื้อรัง โรคหัวใจ ทารกคลอดก่อนกำหนด หรือเด็กที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง

> กลับสู่สารบัญ

อาการของ RSV

เด็กจะเริ่มแสดงอาการป่วยหลังได้รับ เชื้อ RSV มาแล้ว 4-6 วัน เชื้อ RSV มีระยะฟักตัวประมาณ 5 วัน โดย 2-4 วันแรกมักมีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา คือเริ่มมีน้ำมูกขาวใส หรือขาวขุ่นปริมาณมาก คอแดง จากนั้นจะเริ่ม ไอ มีไข้สูงขึ้นเรื่อย ๆ อาจสูงได้ถึง 39-40 องศาเซลเซียส เมื่อมีการติดเชื้อรุนแรงมากขึ้นจะมีผลต่อทางเดินหายใจส่วนล่าง ทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบ หายใจมีเสียงหวีด หอบเหนื่อยมาก หายใจลำบาก หายใจเร็ว กล่องเสียงอักเสบ และอาจส่งผลให้เกิดโรคปอดบวมหรือปอดอักเสบตามมา และอาจเกิดภาวะระบบหายใจล้มเหลวและอาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการตรวจรักษาที่รวดเร็วและถูกต้องเหมาะสม

> กลับสู่สารบัญ

การติดต่อของ RSV

เชื้อ RSV สามารถแพร่กระจายจาก “คนสู่คน” ผ่านละอองเสมหะของผู้ป่วยที่มีเชื้อ โดยการไอ จาม การกลืน และยังพบว่าเด็กทารกแรกเกิดสามารถติดเชื้อ RSV จากมารดาที่ติดเชื้อ RSV ก่อนคลอดได้ด้วย 

นอกจากนี้ RSV ยังสามารถติดต่อโดย “การสัมผัส” เนื่องจากเชื้อ RSV สามารถมีชีวิตอยู่ได้หลายชั่วโมง ทำให้เชื้อยังสามารถมีชีวิตอยู่ได้บนพื้นผิวที่แข็งต่าง ๆ เช่น โต๊ะ เตียง ลูกบิดประตู หากมีการสัมผัสเชื้อ RSV แล้วมีการขยี้ตา เชื้อ RSV ก็สามารถซึมผ่านเยื่อบุดวงตาได้ และหลังจากได้รับเชื้อ RSV แล้ว ผู้ป่วยจะสามารถแพร่กระจายเชื้อได้หลังติดเชื้อ ตั้งแต่วันที่ 2-3 ไปจนถึง 2-3 สัปดาห์

> กลับสู่สารบัญ

การวินิจฉัย RSV

RSV ไม่ใช่โรคใหม่ เป็นโรคที่มีมานานและตัวเชื้อมีการพัฒนาสายพันธุ์ไปเรื่อย ๆ ทำให้การวินิจฉัยทำได้ยาก นอกจากนี้อาการของโรคยังมีความคล้ายคลึงกับโรคการติดเชื้อทางเดินหายใจอื่น ๆ เช่น ไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่ โควิด-19 แต่อย่างไรก็ตามการวินิจฉัยที่ถูกต้องรวดเร็วมีความสำคัญในการรักษา เพราะจะทำให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง และป้องกันอาการที่รุนแรงและภาวะแทรกซ้อนที่จะตามมาได้ วิธีการตรวจวินิจฉัย RSV สามารถทำได้ดังนี้

  • การตรวจร่างกายประเมินอาการและอาการแสดงต่าง ๆ  เช่น มีไข้ หรือไข้สูงมากกว่า 39 องศา ไอมาก จาม น้ำมูก มีเสมหะเหนียว อ่อนเพลีย ร้องกวน หายใจเหนื่อย หอบ เสียงหายใจหวีด ซึมลง หากติดเชื้อรุนแรง อาจพบการหายใจเร็ว หายใจลำบาก หยุดหายใจ ตัวเขียวจากภาวะขาดออกซิเจน
  • การภาพถ่ายรังสีทรวงอก (chest X-ray) อาจทำในรายที่อาการไม่ชัดเจน หรือสงสัยโรคอื่นแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ โรคปอดอักเสบ หรือมีการสำลักสิ่งแปลกปลอม
  • การตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยการป้ายเชื้อไวรัสที่มีอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ (radpid antigen testing) วิธีนี้มีข้อดีคือใช้เวลารอผลสั้น มีประสิทธิภาพสูง มีความแม่นยำสูง การทดสอบไม่ทำให้เจ็บปวด และใช้ในการพิจารณาการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
  • การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) เพื่อแยกโรคการติดเชื้อจากแบคทีเรียและการติดเชื้อไวรัส

> กลับสู่สารบัญ

การรักษา RSV

ปัจจุบันหากอาการไม่รุนแรงการรักษาหลัก เป็นการรักษาตามอาการ เช่น การรับประทานยาลดไข้ เช็ดตัว รับประทานยาแก้ไอ จัดให้มีการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ แยกผู้ติดเชื้อออกจากชุมชน และบุคคลในครอบครัวเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อซ้ำซ้อน

> กลับสู่สารบัญ

RSV รักษาที่บ้านได้ไหม?

หากอาการไม่รุนแรง สามารถพักรักษาตัวที่บ้านและหายเองได้ ให้ดูแลตามอาการ เช่น เมื่อมีไข้ ให้ยาลดไข้และเช็ดตัวด้วยน้ำอุณหภูมิปกติ รับประทานยาแก้ไอ ละลายเสมหะ พักผ่อนและนอนหลับให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ

อาการแบบไหนจำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล?

ควรรีบไปพบแพทย์หากมีอาการรุนแรง เช่น ไข้สูงมากกว่า 39 องศาเซลเซียส มีเสมหะมาก เสมหะเหนียวข้น หายใจเหนื่อยหอบ ตัวเขียว หายใจลำบาก ซึ่งแพทย์อาจพิจารณาให้รักษาตัวในโรงพยาบาล

ต้องพักฟื้นนานแค่ไหน?

หลังติดเชื้อจะใช้เวลาในการฟื้นตัว 1-2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการติดเชื้อ อย่างไรก็ตามมีโอกาสในการกลับมาติดเชื้อ RSV ซ้ำได้อีกหากสุขภาพร่างกายอ่อนแอ

การป้องกันอาการรุนแรงในเด็กที่มีความเสี่ยงสูง

หากกลุ่มเด็กทารกที่มีความเสี่ยงสูง เช่น หัวใจพิการตั้งแต่เกิด คลอดก่อนกำหนด ถ้ามีการติดเชื้อ RSV แพทย์อาจพิจารณาให้ยาต้านไวรัสปาลิวิซูแมบ (palivizumab) เพื่อป้องกันอาการรุนแรง แต่อย่างไรก็ตามยาต้านไวรัสปาลิวิซูแมบมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในเด็กบางรายได้เช่นกัน ซึ่งยาดังกล่าวไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อหรือช่วยรักษาโรค RSV ได้ เป็นเพียงป้องกันการเกิดอาการรุนแรง ที่อาจเป็นอันตรายและเสี่ยงต่อการเสียชีวิต

> กลับสู่สารบัญ

ผู้ใหญ่เป็น RSV ได้ไหม?

ผู้ใหญ่ก็สามารถติดเชื้อ RSV ได้เช่นเดียวกับเด็ก ๆ แต่ความรุนแรงจะน้อยกว่า โดยผู้ใหญ่ที่อายุมากกว่า 65 ปีหรือผู้สูงอายุ พบการติดเชื้อ RSV ได้ 3-5% ซึ่งมักพบในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง หรือโรคประจำตัว หรือมีโรคประจำตัวหลายโรค เช่น เบาหวาน โรคปอด โรคหัวใจ ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมี หรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นต้น โดยความรุนแรงของโรคจะขึ้นกับ อายุ โรคประจำตัว และการติดเชื้อก่อนหน้า

> กลับสู่สารบัญ

การป้องกันโรค RSV

  • ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ำสบู่หรือน้ำยาแอลกอฮอล์เจล 
  • ทำความสะอาดของเล่นเด็กบ่อย ๆ ป้องกันการสะสมเชื้อโรค
  • สร้างเสริมภูมิคุ้มกัน โดยในเด็กเล็กควรให้ดื่มนมแม่อย่างน้อยจนถึงอายุ 6 เดือนเพราะในน้ำนมแม่มีภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุด ในเด็กโตและผู้สูงอายุควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ
  • หากมีเด็กป่วยในโรงเรียนหรือสถานรับเลี้ยงเด็ก ควรแยกตัวออกจากเด็กปกติและให้หยุดเรียนจนกว่าจะหายจากการติดเชื้อ เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่การะจายของเชื้อ RSV ไปสู่ผู้อื่น และป้องกันการได้รับเชื้อแทรกซ้อน
  • แยกข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัว ซักล้าง ทำความสะอาดหลังใช้งาน เช่น ขวดนม แก้วน้ำ จาน ชาม ช้อน เสื้อผ้า ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น
  • ผู้ดูแลควรสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา

> กลับสู่สารบัญ

RSV กับโรคมือเท้าปากเหมือนกันหรือไม่?

โรค RSV (respiratory syncytial virus) และ โรคมือเท้าปาก (hand foot mouth disease) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสทั้ง 2 โรค แต่เป็นไวรัสคนละชนิด มักแพร่ระบาดในช่วงปลายฤดูฝนจนถึงต้นฤดูหนาวเช่นเดียวกัน 

โดย RSV ติดต่อผ่านทางเดินหายใจจากละอองฝอยเสมหะ มักพบในเด็กเล็ก อายุน้อยกว่า 5 ปี และในผู้ใหญ่อายุมากกว่า 65 ปี หรือกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง หรือภูมิคุ้มกันต่ำ และพบได้น้อยลงในเด็กโต เนื่องจากร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงมากขึ้น ทั้งนี้หากอาการรุนแรงมากอาจทำให้ระบบหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้ 

ในขณะที่โรคมือเท้าปาก เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มคอกซากีไวรัส 16 (Coxsackie virus 16) และกลุ่มเอนเทอโรไวรัส 71 (Enterovirus 71) พบในเด็กอายุ 2-5 ปี ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี แต่ก็พบได้ในเด็กที่อายุมากกว่า 10 ปีด้วยเช่นกัน ติดต่อผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งโดยตรงเช่น น้ำลาย อุจจาระ หรือมือของผู้เลี้ยงดู น้ำ อาหารที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรค รวมถึงติดต่อผ่านทางตุ่มน้ำใสได้ด้วย โดยโรคมือเท้าปากจะมีอาการนำคือไข้ ซึ่งอาจจะมีไข้ต่ำหรือไข้สูงก็ได้ มีตุ่มใสที่มือ เท้า และบริเวณปากทั้งภายในและภายนอก ระยะที่แพร่เชื้อได้มากที่สุดคือภายใน 7 วันหลังจากเริ่มมีอาการ หากมีอาการรุนแรงมากจะมีโอกาสเกิดภาวะก้านสมองอักเสบ หัวใจอักเสบและถึงขั้นเสียชีวิตได้

> กลับสู่สารบัญ

RSV กับโรคมือเท้าปากเหมือนกันหรือไม่?

RSV ไข้หวัดใหญ่ และ โควิด-19 เป็นโรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยมีความแตกต่างของโรค ดังนี้

ความแตกต่างRSVไข้หวัดใหญ่โควิด-19
เชื้อโรคRespiratory syncytial virus (RSV) Influenza virusCoronavirus 2019
สายพันธุ์RSV-A และ RSV-BInfluenza virus A, B และ C ส่วนใหญ่พบการระบาดสายพันธุ์ A และ Bมีหลายสายพันธุ์ย่อย
กลุ่มอายุน้อยกว่า 2 ปี, 2-5 ปี และกลุ่มผู้ใหญ่อายุ 65 ปีขึ้นไปทุกช่วงอายุทุกช่วงอายุ
วัคซีนป้องกันไม่มีวัคซีนมีวัคซีนมีวัคซีน
การกลับเป็นซ้ำเป็นซ้ำได้ ทั้งสายพันธุ์เดิมและสายพันธุ์ใหม่เป็นซ้ำได้ ในสายพันธุ์ใหม่เป็นซ้ำได้

และมักมีความแตกต่างของอาการ ดังนี้

อาการRSVไข้หวัดใหญ่โควิด-19
ไข้✔✔✔
อ่อนเพลีย ✔✔
ไอ✔✔✔
เจ็บคอ ✔✔
ปวดศรีษะ ✔✔
มีน้ำมูก✔✔✔
หายใจไม่สะดวก ✔✔
ท้องเสีย และ/หรือ อาเจียน ✔✔
ตาแดง  ✔
ผื่น  ✔
การรับรู้รส และหรือ ได้กลิ่นลดลง  ✔
ทานอาหารได้น้อยลง✔  
หายใจเสียงหวีด✔  
จาม✔  

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

RSV เป็นเชื้อไวรัสที่แพร่กระจายได้ง่ายและพบได้ทั่วไป ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่จะใช้ป้องกันและไม่มียาในการรักษาที่เฉพาะเจาะจง ฉะนั้นการป้องกันไม่ให้ติดเชื้อจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการดูแลเด็ก ๆ และผู้สูงอายุ เมื่อพบอาการผิดปกติที่สงสัยว่าจะเป็นการติดเชื้อ RSV ควรได้รับการวินิจฉัยที่รวดเร็วและได้รับการรักษาที่ถูกต้อง เพราะจะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อ RSV ได้ “เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย อย่าลืมใส่ใจสุขภาพคนที่คุณรัก”

คลิกดูแพ็กเกจที่เกี่ยวข้องที่นี่

โปรแกรมตรวจสุขภาพเด็ก KIDDY HEALTHY

รายละเอียด

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์

รายละเอียด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

สนใจนัดหมาย

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.นงนภัส เก้าเอี้ยน

พญ.นงนภัส เก้าเอี้ยน

ศูนย์กุมารเวชกรรม

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์กุมารเวชกรรม_1-1

ศูนย์กุมารเวชกรรม

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา