Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

ตอบข้อสงสัย “หมอพร้อม” เพื่อให้ “ทุกคนพร้อม” จองฉีดวัคซีนโควิด 19

นพ.อนุวัตร สุขสมานพาณิชย์

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 15 พฤษภาคม 2021
หมอพร้อม

อัปเดตข้อมูลล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2564

วัคซีนโควิด 19 ความหวังที่ทุกคนในประเทศรอคอย เพื่อให้ทุกคนสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติเหมือนที่ผ่านมาในอดีต ได้มาพร้อมกับ “หมอพร้อม” ระบบลงทะเบียนขอสิทธิ์การฉีดวัคซีนผ่านทาง Line Official Account (Line OA) และ Mobile application ซึ่งอาจเป็นสิ่งใหม่สำหรับบางคน รวมถึงมีเงื่อนไข และข้อมูลต่างๆ ที่ทำให้มีคำถามตามมามากมาย

เพื่อให้ความหวังการฉีดวัคซีนนี้สมหวัง เราจึงรวบรวมคำถาม และคำตอบอย่างสรุป ให้เข้าใจได้มากขึ้น

ขั้นตอนการใช้งาน Line Official Account “หมอพร้อม” เวอร์ชั่น 2 จาก ศูนย์ประสานงานข้อมูลหมอพร้อม (ข้อมูลอัปเดตวันที่ 4 พฤษภาคม 2564)

สารบัญ

  • Q1: องค์ประกอบการลงทะเบียน “หมอพร้อม” รอบแรก มีอะไรบ้าง?
  • Q2: ใครมีสิทธิ์ลงทะเบียนหมอพร้อม “รอบแรก”
  • Q3: สิทธิ์รอบแรกมาจากไหน?
  • Q4: ลงทะเบียนได้กี่ช่องทาง?
  • Q5: ถ้ารายชื่อตกหล่น ต้องทำอย่างไร?
  • Q6: ต้องรีบจองหรือไม่? เพราะกลัวจะเต็มจำนวน
  • Q7: “หมอพร้อม” รอบนี้ฉีดยี่ห้ออะไร?
  • Q8: วัคซีนโควิด 19 เข็มที่ 1 และ 2 ฉีดคนละยี่ห้อได้ไหม?
  • Q9: ลงทะเบียน “หมอพร้อม” รอบแรกภายในเมื่อไหร่? และฉีดวัคซีนเมื่อไหร่?
  • Q10: รอบประชาชนทั่วไป ลงทะเบียนได้เมื่อไหร่? และฉีดวัคซีนเมื่อไหร่?
  • Q11: ลงทะเบียนได้ 24 ชม. หรือไม่? และมีวันสิ้นสุดหรือไม่?
  • Q12: รู้ได้ยังไงว่าลงทะเบียนแล้วสำเร็จ?
  • Q13: ลงทะเบียนแล้วไปฉีดที่ไหนได้? และโรงพยาบาลเปิดให้ฉีดวัคซีนได้จำนวนเท่าไร?
  • Q14: ลงทะเบียน แต่เลือกรพ.ไม่ได้ และเลือกเวลาไม่ได้ ต้องแก้ไขยังไง?
  • Q15: บัตรประชาชนเป็นแบบเก่า ไม่มีเลขหลังบัตร (Laser ID) ลงทะเบียนอย่างไร?
  • Q16: ผู้ที่เป็นโรคอ้วน แต่ไม่มีประวัติในโรงพยาบาล ลงทะเบียนอย่างไร?
  • Q17: วันที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง?
  • Q18: ยกเลิกนัดฉีดวัคซีนได้หรือไม่?
  • Q19: ไปฉีดก่อนวันนัดได้หรือไม่?
  • Q20: ฉีดวัคซีนแล้ว กลับมาใช้ชีวิตแบบปกติก่อน New Normal ได้เลยไหม?

Q1: องค์ประกอบการลงทะเบียน “หมอพร้อม” รอบแรก มีอะไรบ้าง?

คำตอบ: สำหรับการลงทะเบียน “หมอพร้อม” รอบแรก จะมีองค์ประกอบ 3 ส่วนด้วยกันตามลำดับ คือ

  1. ท่านที่มีรายชื่อเป็นกลุ่มเป้าหมายผู้รับวัคซีน (whitelist) ซึ่งโรงพยาบาลที่ท่านใช้บริการส่งข้อมูลของท่านให้กับส่วนกลางของกระทรวงสาธารณสุขแล้วเท่านั้น!
  2. สถานที่ที่ท่านเลือกจะไปฉีดวัคซีน (สถานที่เดียวกับที่ส่งสิทธิ์ของท่านไปที่ส่วนกลางของกระทรวงสาธารณสุข อาจจะมีหลายแห่งก็ได้) “เปิดรับ (Slot) ฉีดวัคซีน” ซึ่งเป็นสิทธิ์ของโรงพยาบาลนั้นๆ
  3. ลงทะเบียนผ่าน Line OA ของ “หมอพร้อม” หรือ Mobile application “หมอพร้อม”​ โดยสามารถให้ผู้อื่นช่วยลงทะเบียนแทนได้

แต่หากท่านเป็นผู้ที่มีรายชื่อเป็นกลุ่มเป้าหมายผู้รับวัคซีน (whitelist) และไม่สามารถลงทะเบียนผ่านระบบมือถือ หรือไม่สะดวกลงทะเบียนผ่านระบบมือถือ ท่านสามารถติดต่อไปที่โรงพยาบาลที่ท่านรักษาเป็นประจำได้โดยตรงเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว

> กลับไปสารบัญ

Q2: ใครมีสิทธิ์ลงทะเบียนหมอพร้อม “รอบแรก”

คำตอบ: ในรอบนี้จะเป็นกลุ่มผู้ที่เป็น 7 โรคเรื้อรัง* และ กลุ่มผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป

ซึ่งเป็นอันดับที่ 3 และ 4 จากการเรียงตาม 5 รายชื่อกลุ่มเป้าหมายผู้รับวัคซีน (whitelist) ของทางกระทรวงสาธารณสุข ที่จัดเรียงตามลำดับความสำคัญของกลุ่มเสี่ยง เพื่อลดอาการป่วยรุนแรง และลดอัตราการเสียชีวิตจากโควิด 19 โดย 5 รายชื่อกลุ่มเป้าหมายผู้รับวัคซีน (whitelist) นี้คือ

  1. บุคลากรทางการแพทย์ (จำนวน 1.2 ล้านคน)
  2. บุคลากรด่านหน้า เช่น ทหาร ตำรวจ (จำนวน 1.8 ล้านคน)
  3. กลุ่มผู้ที่เป็น 7 โรคเรื้อรัง* ได้แก่ (จำนวน 4.4 ล้านคน)
  4. กลุ่มผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป (จำนวน 11.7 ล้านคน)
  5. ประชาชนที่เหลือ (จำนวน 31 ล้านคน)

*โรคเรื้อรัง 7 โรค ได้แก่
1. โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหอบหืดที่ควบคุมได้ไม่ดี
2. โรคหัวใจและหลอดเลือด
3. โรคไตวายเรื้อรังระยะที่ 5 (ระยะสุดท้าย)
4. โรคหลอดเลือดสมอง
5. โรคมะเร็งทุกชนิดที่อยู่ระหว่างเคมีบำบัด รังสีบำบัด และภูมิคุ้มกันบำบัด
6. โรคเบาหวาน
7. โรคอ้วน (น้ำหนัก > 100 กิโลกรัม หรือ BMI > 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร)

> กลับไปสารบัญ

Q3: สิทธิ์รอบแรกมาจากไหน?

คำตอบ: รายชื่อในระบบได้มาจากโรงพยาบาลทั่วประเทศกว่า 1,000 แห่ง ส่งข้อมูลมาให้กับส่วนกลางของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ทราบว่าใครเป็นกลุ่มผู้เป็นโรคเรื้อรัง และผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป

เนื่องจากปริมาณข้อมูลมากและมาจากหลายแหล่ง จึงอาจมีโอกาสส่งผลให้ข้อมูลตกหล่นได้ ซึ่งหากใครเข้าข่ายในกลุ่มทั้ง 2 แต่ไม่พบรายชื่อ ให้ทำการแจ้งโรงพยาบาลที่ท่านมีประวัติการรักษาส่งรายชื่อท่านไปที่ส่วนกลางของกระทรวงสาธารณสุขอีกครั้ง เพื่อให้สามารถลงทะเบียนได้ต่อไป

> กลับไปสารบัญ

Q4: ลงทะเบียนได้กี่ช่องทาง?

คำตอบ: มี 3 ช่องทาง โดยเลือกเพียง 1 ช่องทาง คือ

  1. Line OA หมอพร้อม
  2. Mobile application หมอพร้อม
  3. ติดต่อโดยตรงกับโรงพยาบาลที่ท่านรักษาอยู่ หรือ รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) หรือ อสม.

> กลับไปสารบัญ

Q5: ถ้ารายชื่อตกหล่น ต้องทำอย่างไร?

คำตอบ: ถ้าพบว่ารายชื่อตกหล่น ให้ติดต่อไปที่โรงพยาบาลที่มีประวัติการรักษา เพื่อให้โรงพยาบาลส่งข้อมูลของท่านให้ส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข

> กลับไปสารบัญ

Q6: ต้องรีบจองหรือไม่? เพราะกลัวจะเต็มจำนวน

คำตอบ: ไม่ต้องรีบ ในการฉีดวัคซีนรอบแรกนี้ (มิถุนายน ถึง กรกฎาคม 2564) มีวัคซีนของแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ที่จัดหาไว้ทั้งสิ้น 16 ล้านโดส ซึ่งจะครอบคลุมการฉีดวัคซีนเข็มแรกของกลุ่มเป้าหมายในรอบนี้ที่มีอยู่ประมาณ 16 ล้านคน

อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขได้วางแผนจัดหาวัคซีนให้ครอบคลุมเป้าหมายทั้งสิ้นที่ 50 ล้านคน (70% ของประชากร) ภายในสิ้นปีนี้

> กลับไปสารบัญ

Q7: “หมอพร้อม” รอบนี้ฉีดยี่ห้ออะไร?

คำตอบ: ได้รับวัคซีนยี่ห้อ แอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ผลิตโดยบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ จํากัด ของประเทศไทย สำหรับทั้ง 2 กลุ่ม คือกลุ่มผู้ที่เป็น 7 โรคเรื้อรัง และ กลุ่มผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป

ศึกษาเพิ่มเติม วัคซีนโควิด 19 ฉบับอัปเดตล่าสุด

> กลับไปสารบัญ

Q8: วัคซีนโควิด 19 เข็มที่ 1 และ 2 ฉีดคนละยี่ห้อได้ไหม?

คำตอบ: สามารถฉีดได้ แต่ไม่แนะนำ ยกเว้นกรณีแพทย์เห็นว่าจำเป็นจะต้องเปลี่ยนยี่ห้อในการฉีด เนื่องจากเมื่อท่านได้รับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 ระบบจะทำการจองวัน เวลา และสถานที่สำหรับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ให้ทันที หากท่านมีการเปลี่ยนแปลงยี่ห้อวัคซีนที่จะฉีด จะส่งผลให้ได้รับการฉีดวัคซีนที่ล่าช้าออกไป

> กลับไปสารบัญ

Q9: ลงทะเบียน “หมอพร้อม” รอบแรกภายในเมื่อไหร่? และฉีดวัคซีนเมื่อไหร่?

คำตอบ: ข้อมูลล่าสุดวันที่ 15 พ.ค. 2564 แจ้งว่า ในเดือนมิถุนายานมีผู้จองคิวฉีดวัคซีน “เต็มจำนวนที่ได้รับจัดสรรแล้ว” และซึ่งทาง “หมอพร้อม” ได้ระบุให้ทำการจองคิวในเดือน ก.ค. เป็นต้นไป ซึ่งจะมีวัคซีนสำหรับ 5 ล้านคนต่อเดือน

และผู้ที่สามารถจองวัคซีนทันในรอบ มิ.ย. จะเริ่มฉีดวัคซีนตามวันและเวลาที่เลือกไว้ได้ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. 2564 ซึ่งจะเป็นวัคซีนแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ผลิตโดยบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ จํากัด ของประเทศไทย

> กลับไปสารบัญ

Q10: รอบประชาชนทั่วไป ลงทะเบียนได้เมื่อไหร่? และฉีดวัคซีนได้เมื่อไหร่?

คำตอบ: ข้อมูลล่าสุดวันที่ 15 พ.ค. 2564 ระบุว่า รอบประชาชนทั่วไป ที่มีอายุ 18 – 59 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มสุดท้ายของรายชื่อกลุ่มเป้าหมายผู้รับวัคซีน (whitelist) ทางระบบหมอพร้อม จะเปิดให้เริ่มจองสิทธิ์ได้ในวันที่ 31 พ.ค. นี้เป็นต้นไป

> กลับไปสารบัญ

Q11: ลงทะเบียนได้ 24 ชม. หรือไม่? และมีวันสิ้นสุดหรือไม่?

คำตอบ: สามารถลงทะเบียนได้ 24 ชม. จนถึงวันที่ 31 พ.ค. 2564 หรือจนกว่าวัคซีนจะมา แต่ข้อมูลล่าสุดวันที่ 15 พ.ค. 2564 แจ้งว่า ในเดือนมิถุนายานมีผู้จองคิวฉีดวัคซีน “เต็มจำนวนที่ได้รับจัดสรรแล้ว” และระบุให้ทำการจองคิวในเดือน ก.ค.เป็นต้นไป

> กลับไปสารบัญ

Q12: รู้ได้ยังไงว่าลงทะเบียนแล้วสำเร็จ?

คำตอบ: ถ้าท่านลงทะเบียนและกำหนดสถานที่ วัน เวลาฉีดวัคซีนเรียบร้อยแล้ว จะมีการส่งข้อมูลจากระบบยืนยันกลับให้ท่านทันที

> กลับไปสารบัญ

Q13: ลงทะเบียนแล้วไปฉีดที่ไหนได้บ้าง? และโรงพยาบาลเปิดให้ฉีดวัคซีนได้จำนวนเท่าไร?

คำตอบ: หากท่านลงทะเบียนได้ ก็จะสามารถเลือกสถานที่รับการฉีดวัคซีนได้ตามที่ปรากฏบน Line OA หมอพร้อม หรือ Mobile application หมอพร้อม เช่น โรงพยาบาลที่ท่านรักษาเป็นประจำ เป็นต้น

โดยแต่ละโรงพยาบาลรองรับการฉีดวัคซีนได้ดังนี้

  • โรงพยาบาลขนาดเล็ก 360 คน/วัน
  • โรงพยาบาลขนาดใหญ่ 600 คน/วัน

แต่ในส่วนของโรงพยาบาลสนาม ไม่ได้เปิดให้ฉีดวัคซีน ขอให้ประชาชนไปฉีดวัคซีนที่โรงพยาบาลเท่านั้น เนื่องจากมีประวัติอยู่แล้ว เพราะกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อาจมีความเสี่ยงหากต้องไปฉีดวัคซีนที่โรงพยาบาลสนาม

> กลับไปสารบัญ

Q14: ลงทะเบียน แต่เลือกรพ.ไม่ได้ และเลือกเวลาไม่ได้ ต้องแก้ไขยังไง?

คำตอบ: แสดงว่าท่านเป็นผู้มีสิทธิ์ แต่โรงพยาบาลที่ท่านเลือกไม่เปิดรับการฉีดวัคซีน หรืออาจมีการปิดรับการฉีดวัคซีน เนื่องจากโควต้าคิวที่จองเต็มแล้ว อาจต้องเลือกโรงพยาบาลอื่น หรือรอจนกว่าโรงพยาบาลที่ท่านต้องการไปฉีด เปิดรับอีกครั้ง

> กลับไปสารบัญ

Q15: บัตรประชาชนเป็นแบบเก่า ไม่มีเลขหลังบัตร (Laser ID) ลงทะเบียนอย่างไร?

คำตอบ: หากท่านเป็นกลุ่มที่มีสิทธิ์ สามารถติดต่อโรงพยาบาลที่ท่านมีประวัติการรักษา หรืออสม. ที่ดูแลท่าน

> กลับไปสารบัญ

Q16: ผู้ที่เป็นโรคอ้วน แต่ไม่มีประวัติในโรงพยาบาล ลงทะเบียนอย่างไร?

คำตอบ: ผู้ที่เป็นโรคอ้วน (น้ำหนัก > 100 กิโลกรัม หรือ BMI > 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร) ถือว่าอยู่ในรายชื่อกลุ่มเป้าหมายผู้รับวัคซีน (whitelist) ที่เป็น 7 โรคเรื้อรัง แต่อาจไม่มีประวัติในโรงพยาบาล เพราะอาจไปรักษาที่คลินิกต่างๆ

ท่านสามารถติดต่อโรงพยาบาลใกล้บ้านได้โดยตรง เพื่อให้โรงพยาบาลนั้นๆ แจ้งสิทธิ์ของท่านให้กับส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข

> กลับไปสารบัญ

Q17: วันที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง?

คำตอบ: เอกสารที่ต้องใช้ คือ

  1. บัตรประจำตัวประชาชน
  2. หน้า application หมอพร้อม ที่ยืนยันการรับวัคซีน หรือ เอกสารการนัดรับวัคซีน กรณีลงทะเบียนผ่านโรงพยาบาลที่ท่านรักษาอยู่ หรือ รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) หรือ อสม.

> กลับไปสารบัญ

Q18: ยกเลิกนัดฉีดวัคซีนได้หรือไม่?

คำตอบ: สามารถติดต่อ รพ. ที่จองคิวฉีดวัคซีนได้เพื่อขอทำการยกเลิก

> กลับไปสารบัญ

Q19: ไปฉีดก่อนวันนัดได้หรือไม่?

คำตอบ: สามารถทำได้ ถ้าเหลือโควต้าในการฉีดของวันนั้นๆ ระบบจะทำการบันทึกและยกเลิกนัดที่เคยกำหนดไว้ก่อนหน้านี้

> กลับไปสารบัญ

Q20: รับวัคซีนแล้ว กลับมาใช้ชีวิตแบบปกติก่อน New Normal ได้เลยไหม?

คำตอบ: เมื่อได้รับวัคซีนแล้ว ร่างกายจะได้รับการกระตุ้นให้สร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาหลังจากรับการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ซึ่งยังคงมีโอกาสที่จะได้รับเชื้อโควิด-19 แล้วเกิดอาการป่วยได้ แต่จะลดอาการป่วยรุนแรง และลดอัตราการเสียชีวิตลง จึงขอแนะนำให้ทุกท่านยังคงใส่หน้ากากอนามัย รักษาระยะห่าง และล้างมืออย่างสม่ำเสมอ จนกว่าจะมีประกาศจากทางกระทรวงสาธารณสุข

> กลับไปสารบัญ

หากมีข้อสงสัยเรื่องการใช้ “หมอพร้อม” สอบถามได้ที่ 0-2792-2333
อ้างอิงข้อมูล:
– นพ.พงศธร แจงทุกข้อสงสัย ลงทะเบียน “หมอพร้อม” ทำไมลงยากลงเย็น (คลิปการให้สัมภาษณ์ link)
– ศูนย์ประสานงานข้อมูล “หมอพร้อม”

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

นพ.อนุวัตร สุขสมานพาณิชย์

นพ.อนุวัตร สุขสมานพาณิชย์

ศูนย์ศัลยกรรม

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา