Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

มะเร็งต่อมลูกหมาก ภัยเงียบของชายวัยทอง ตรวจพบเร็ว รักษาหายได้

นพ.สุธี อุ้มปรีชา

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 1 กุมภาพันธ์ 2024
มะเร็งต่อมลูกหมาก

โรคมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อย จัดเป็นมะเร็งอันดับที่ 4 ที่พบบ่อยในชายไทย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอายุระหว่าง 60 ถึง 79 ปี ดังนั้นผู้สูงอายุเพศชายจึงควรเข้ารับการตรวจตัดกรองโรคมะเร็งต่อมลูกหมากเพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก

สารบัญ

  • มะเร็งต่อมลูกหมากเกิดจากอะไร?
  • มะเร็งต่อมลูกหมากอันตรายไหม?
  • ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • อาการของมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • ระยะของมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • การวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก
  • ใครบ้างควรตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก?
  • อาหารที่มีผลต่อมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • การดูแลตัวเองเมื่อเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • การป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • สรุป

มะเร็งต่อมลูกหมากเกิดจากอะไร?

ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะในเพศชาย โดยเป็นต่อมที่อยู่รอบท่อปัสสาวะในบริเวณอุ้งเชิงกราน ใต้ต่อกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากมีหน้าที่ผลิตน้ำหล่อเลี้ยงและช่วยนำพาอสุจิ ซึ่งต่อมลูกหมากนี้มักจะมีขนาดใหญ่ตามอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้ไปอุดตันท่อปัสสาวะ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาปัสสาวะลำบากได้ ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้ในผู้สูงอายุซึ่งแตกต่างจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นโรคที่เกิดจากการที่มีเซลล์ของต่อมลูกหมากเกิดความผิดปกติ ทำให้แบ่งตัวอย่างมากและรวดเร็วผิดปกติ จนอาจเกิดการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ และทำลายเนื้อเยื่อปกติของต่อมลูกหมากเอง และหากไม่สามารถตรวจพบได้ทันท่วงทีก็อาจมีการลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ได้  

สาเหตุของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากยังไม่ชัดเจน แต่พบว่ามะเร็งต่อมลูกหมากความสัมพันธ์กับอาหาร กรรมพันธุ์ และเชื้อชาติ มีข้อมูลพบว่าประเทศในแถบยุโรปมีอุบัติการณ์ของมะเร็งต่อมลูกหมากสูงกว่าในเอเชียถึงเกือบ 5 เท่า แต่อย่างไรก็ตามคนเอเชียอย่างประเทศไทยก็ไม่ควรมองข้ามโรคมะเร็งต่อมลูกหมากนี้ เพราะอย่างที่กล่าวไปข้างต้น สถิติในประเทศไทย โรคมะเร็งต่อมลูกหมากพบได้เป็นอันดับ 4 ของมะเร็งในเพศชาย

> กลับสู่สารบัญ

มะเร็งต่อมลูกหมากอันตรายไหม?

มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นเนื้อร้ายจึงถือว่าเป็นโรคที่อันตรายโรคหนึ่ง เพราะหากปล่อยไว้ให้มะเร็งต่อมลูกหมากเติบโตไปจนอยู่ในระยะแพร่กระจาย เกิดการลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง หรือลุกลามผ่านท่อน้ำเหลืองหรือหลอดเลือดไปสู่ส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น มะเร็งแพร่ไปที่กระเพาะปัสสาวะ อาจทำให้ปัสสาวะมีเลือดปน หรือมะเร็งแพร่ไปที่กระดูกซึ่งเป็นจุดที่มะเร็งต่อมลูกหมากกระจายไปมากที่สุด ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดกระดูกอย่างรุนแรง มีกระดูกร้าว หรือหากปล่อยทิ้งไว้จนเป็นระยะที่มะเร็งแพร่กระจายไปทั่วร่างกายแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย น้ำหนักลดลงอย่างฮวบฮาบแบบไม่รู้สาเหตุ จนในที่สุดนำไปสู่การเสียชีวิตได้

> กลับสู่สารบัญ

ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมาก

  • อายุ ยิ่งอายุมากขึ้น โอกาสเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้น
  • เชื้อชาติ โดยสาเหตุทางพันธุกรรมที่่ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คนดำ (African race) มีความเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลูกหมากที่สูงขึ้น
  • ประวัติครอบครัว โอกาสเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากจะสูงขึ้น หากมีญาติใกล้ชิด เช่น พ่อแม่ พี่น้อง หรือลูก ที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก หรือมียีนที่เสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม (BRCA1 or BRCA2) 
  • โรคอ้วน

> กลับสู่สารบัญ

อาการของมะเร็งต่อมลูกหมาก

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นมะเร็งต่อมลูกหมากเกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์ต่อมลูกหมากที่ผิดปกติ ทำให้ต่อมลูกหมากโตขึ้น สิ่งที่น่ากังวลของการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากก็คือ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่มีอาการใด ๆ เลยในระยะเริ่มต้นของมะเร็งต่อมลูกหมาก ทำให้ผู้ป่วยไม่เข้ามาพบแพทย์ จนเมื่อก้อนมะเร็งโตขึ้นจึงจะมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นให้ผู้ป่วยรู้ตัว โดยอาการเหล่านี้มักจะเกิดจากการที่ก้อนมะเร็งต่อมลูกหมากไปกดท่อปัสสาวะ เช่น

  • ปัสสาวะลำบาก  
  • ปัสสาวะไม่พุ่ง ปัสสาวะผิดปกติ 
  • รู้สึกปวดขณะปัสสาวะ 
  • ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะเวลากลางคืน

> กลับสู่สารบัญ

ระยะของมะเร็งต่อมลูกหมาก

  • ระยะที่ 1 มะเร็งมีขนาดเล็ก ตรวจไม่พบจากการตรวจทางทวารหนัก มักจะตรวจพบโดยบังเอิญจากชิ้นเนื้อที่ได้จากการผ่าตัด หรือจากการเจาะตัดต่อมลูกหมากในรายที่มีผลเลือดสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) สูงผิดปกติ ผู้ป่วยมักไม่มีอาการในระยะนี้
  • ระยะที่ 2 มะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้นแต่ยังอยู่ในต่อมลูกหมาก สามารถคลำพบโดยการตรวจทางทวารหนัก ในระยะนี้ผู้ป่วยก็มักไม่มีอาการผิดปกติเช่นกัน
  • ระยะที่ 3 มะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้นจนอุดกั้นทางเดินปัสสาวะและกระจายออกนอกต่อม สามารถคลำพบโดยการตรวจทางทวารหนัก มักมีอาการปวดปัสสาวะบ่อย, ปัสสาวะเป็นเลือด, ปัสสาวะลำบาก ต้องเบ่งเวลาปัสสาวะ และบางครั้งอาจมีอาการปัสสาวะไม่ออก
  • ระยะที่ 4 มะเร็งลุกลามไปสู่ต่อมน้ำเหลือง, กระดูก หรืออวัยวะอื่น ๆ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดปัสสาวะบ่อย, ปัสสาวะลำบาก, ปัสสาวะไม่ออก, ปัสสาวะเป็นเลือด, ปวดหลัง, ปวดกระดูก, น้ำหนักลด, อ่อนเพลีย และบางรายอาจเป็นอัมพาตจากการที่มะเร็งลุกลามไปที่กระดูกจนอาจทำให้กระดูกสันหลังหักได้

> กลับสู่สารบัญ

การวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมาก

แนวทางในการตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมาก มีดังนี้

  1. ตรวจทางทวารหนัก (rectal examination) แพทย์จะทำการตรวจต่อมลูกหมากโดยใช้นิ้วสอดเข้าไปทางรูทวารหนัก เพื่อตรวจคลำขนาดรูปร่าง และความยืดหยุ่นของต่อมลูกหมาก
  2. การเจาะเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง (tumor marker) สารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมากในเลือดที่สำคัญคือ PSA (prostate specific antigen)
  3. การตรวจอัลตราซาวนด์ของต่อมลูกหมากผ่านทางทวารหนัก (transrectal prostatic ultrasound) เป็นการตรวจโดยใช้หัวตรวจของเครื่องอัลตราซาวนด์สอดเข้าทางทวารหนักเพื่อตรวจดูลักษณะของต่อมลูกหมาก
  4. การตัดชิ้นเนื้อ (biopsy) แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อจากต่อมลูกหมากด้วยเข็มผ่านทางทวารหนัก เพื่อนำชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยาเพื่อดูว่าเป็นเซลล์มะเร็งหรือไม่

> กลับสู่สารบัญ

การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมากมีการรักษาได้หลายวิธีด้วยกัน ดังนี้

  • การผ่าตัด เหมาะกับผู้ป่วยที่มะเร็งต่อมลูกหมากระยะที่ 1 และ 2 คือก้อนมะเร็งยังจำกัดอยู่ในตัวต่อมลูกหมาก ยังไม่มีการแพร่กระจายออกไปที่อวัยวะอื่น 
  • การฉายรังสี เป็นการรักษาโดยการฝังแร่และฉายรังสี ในระยะเริ่มต้น การรักษาด้วยวิธีนี้จะให้ผลการรักษาใกล้เคียงกับการผ่าตัด
  • ฮอร์โมนบำบัด ในโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ฮอร์โมนเพศชายจะกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตได้ดี  การรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัดจึงมุ่งเป้าเพื่อลดระดับของฮอร์โมน และลดการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนเพศชายเพื่อยับยั้งก้อนมะเร็งไม่ให้เจริญและลุกลาม
  • เคมีบำบัด ปัจจุบันการรักษาด้วยวิธีนี้ให้ผลการรักษาที่ดีขึ้น และแพทย์จะวางแผนการรักษาให้ผู้ป่วยมีอาการที่ไม่พึงประสงค์หรือผลข้างเคียงของเคมีบำบัดน้อยลง 

โดยการรักษาในระยะที่มะเร็งต่อมลูกหมากแพร่กระจาย อาจต้องรักษาด้วยวิธีการรักษามากกว่า 1 วิธี เช่น การฉายแสงร่วมกับการให้ยาในผู้ป่วย เป็นต้น

นอกจากนี้ ในกรณีต่อมลูกหมากที่โตแต่ยังไม่ใช่ก้อนมะเร็ง จะมีการรักษาเพื่อลดขนาดของต่อมลูกหมาก โดยการใช้ไอน้ำร้อนไปทำให้ต่อมลูกหมากมีขนาดเล็กหรือฝ่อลง เป็นวิธีที่ลดความเสี่ยงจากการผ่าตัด โดยเป็นการส่องกล้องแล้วใช้เข็มปักเข้าไปในตัวต่อมลูกหมากแล้วพ่นไอน้ำร้อนเข้าไป ผู้ป่วยจะไม่ต้องดมยาสลบและสามารถรับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก ไม่ต้องนอนโรพยาบาล การรักษาวิธีนี้ยังมีข้อดีในผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือหลอดเลือดหัวใจตีบที่จำเป็นต้องหยุดยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือดเพราะไม่ต้องหยุดยานานสำหรับการทำหัตถการนี้

> กลับสู่สารบัญ

ใครบ้างควรตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก?

โรคมะเร็งต่อมลูกหมากมักจะพบในเพศชายที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป และยิ่งมีโอกาสพบได้มากยิ่งขึ้นในชายที่อายุเกิน 60 ปี  การตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากตั้งแต่ระยะแรก ๆ หรือตอนที่ยังไม่มีอาการมีข้อดีคือ สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยกลุ่มที่ควรตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก ได้แก่

  • ชายที่มีอายุอยู่ในกลุ่มเสี่ยง (อายุ 50 ปีขึ้นไป)
  • มีไลฟ์สไตล์ที่เสี่ยงต่อมะเร็ง เช่น สูบบุหรี่ น้ำหนักเกิน
  • หากมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก 

โดยการพบแพทย์อาจเป็นการเข้ารับการตรวจคัดกรองความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะในโปรแกรมการตรวจสุขภาพประจำปี สำหรับผู้มีอายุ 50 ปีขึ้นไป

> กลับสู่สารบัญ

อาหารที่มีผลต่อมะเร็งต่อมลูกหมาก

ผลการวิจัยที่ทำการศึกษาอาหารที่มีผลต่อการเจริญของมะเร็งต่อมลูกหมาก พบว่ามีอาหารหลายชนิดอาจช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมาก เช่น

  • กาแฟ 
  • ไลโคปีนในซอสมะเขือเทศ  
  • น้ำมันพืช 
  • ปลา 
  • ผักตระกูลกะหล่ำ เช่น บรอกโคลี กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี ผักแขนง 

ส่วนอาหารที่อาจมีผลเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมาก เช่น 

  • ไข่ และนมวัว เป็นต้น

> กลับสู่สารบัญ

การดูแลตัวเองเมื่อเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก

เมื่อทราบว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการรักษาอย่างต่อเนื่องตามแผนการรักษาของแพทย์ กำลังใจที่ดีของผู้ป่วยเองมีส่วนสำคัญ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถต่อสูกับโรคและเข้ารับการรักษาตามการรักษาของแพทย์ได้ครบถ้วน โดยการดูแลตนเองควรปฏิบัติดังนี้

  • หมั่นสังเกตอาการตนเอง และพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามอาการและการดำเนินของโรคอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  • ดูแลสุขภาพทั้งทางกายและทางใจ รับประทานอาหารที่ดีให้ได้พลังงานเพียงพอและครบทั้ง 5 หมู่ 
  • หากผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสี ในช่วงระยะการรักษาด้วยรังสี ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำที่จะได้รับอย่างเคร่งครัด เพื่อลดโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากรังสีต่อเนื้อเยื่อข้างเคียง 
  • วางแผนชีวิตและคุยกันในครอบครัวเพื่อการตัดสินใจและความเข้าใจที่ตรงกัน หากการรักษาถึงที่สุดแล้ว ไม่อาจรักษามะเร็งให้หายขาด ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาแบบประคับประคองเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีจนถึงวาระสุดท้าย

> กลับสู่สารบัญ

การป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก

  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ 
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน และ 3 วันต่อสัปดาห์
  • รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่ให้น้ำหนักเกินหรืออ้วน เพราะภาวะโรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • เลิกสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก เพื่อโอกาสการรักษาที่หายขาดได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

แม้ว่าต่อมลูกหมากโตจะพบได้ในผู้ชายสูงอายุ แต่การที่มีต่อมลูกหมากโต ปัสสาวะลำบากในชายสูงวัย อาจจะไม่ใช่แค่อาการของความเสื่อมตามวัย เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก สำหรับใครที่คิดว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดมีความเสี่ยง ก็ควรเข้ารับการตรวจต่อมลูกหมาก โดยเฉพาะการตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) และถ้ามีอาการผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ แนะนำให้มาพบแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติ  การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากตั้งแต่ระยะแรก ๆ  จะสามารถรักษาให้หายขาดได้ ดีกว่าปล่อยไว้จนสายเกินไปจนเนื้อร้ายลุกลามไปตามอวัยวะต่าง ๆ

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

สนใจนัดหมาย

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

นพ.สุธี อุ้มปรีชา

นพ.สุธี อุ้มปรีชา

ศูนย์ศัลยกรรม

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์ศัลยกรรม_1-1

ศูนย์ศัลยกรรม

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา