Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

ป้องกันปอดอักเสบด้วยวัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอคคัส ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้

พญ.จิตรฟ้า หรูรุ่งโรจน์

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 30 มิถุนายน 2022
วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัส

โรคปอดอักเสบเป็นโรคที่พบได้ตั้งแต่วัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ และวัยสูงอายุ ซึ่งโรคปอดอักเสบมีสาเหตุส่วนใหญ่จากการติดเชื้อ และเชื้อโรคหนึ่งที่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคปอดอักเสบคือเชื้อนิวโมคอคคัส ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่ง การติดเชื้อปอดอักเสบจะส่งผลให้การทำงานของระบบหายใจแย่ลง และทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด และอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด 

ปัจจุบันมีวัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอคคัสที่สามารถป้องการโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อนิวโมคอคคัส ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดปอดอักเสบและอาการแทรกซ้อนรุนแรงอื่น ๆ ได้

New call-to-action

สารบัญ

  • โรคปอดอักเสบคืออะไร?
  • โรคปอดอักเสบ เกิดจากอะไร?
  • โรคปอดอักเสบมีอาการอย่างไรบ้าง?
  • โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัสคืออะไร?
  • เชื้อนิวโมคอคคัสอันตรายอย่างไร?
  • ใครบ้างเสี่ยงติดเชื้อนิวโมคอคคัส?
  • วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอคคัสมีกี่ชนิด?
  • คำแนะนำในการฉีดวัคซีนป้องกันปอดอักเสบนิวโมคอคคัส
  • ผลข้างเคียงของวัคซีนป้องกันปอดอักเสบนิวโมคอคคัส
  • สรุป

โรคปอดอักเสบคืออะไร?

โรคปอดอักเสบ (pneumonia) หรือที่เรียกกันว่า ปอดบวม คือการอักเสบที่เกิดขึ้นบริเวณเนื้อปอด ถุงลม และเนื้อเยื่อข้างเคียง โดยเชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางระบบทางเดินหายใจ ซึ่งระดับความรุนแรงของโรคจะแตกต่างกันออกไปตามปัจจัยแวดล้อมหรือความแข็งแรงของสุขภาพของผู้ป่วย

> กลับสู่สารบัญ

โรคปอดอักเสบ เกิดจากอะไร?

สาเหตุของปอดอักเสบติดเชื้อเกิดได้ทั้งจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส มักพบได้บ่อยในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภาวะภูมิต้านทานต่ำ ซึ่งบางครั้งปอดอักเสบติดเชื้อรุนแรงอาจนำไปสู่ภาวะการหายใจล้มเหลว จนกระทั้งเสียชีวิตได้ 

เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคปอดบวมที่สามารถป้องกันได้คือ เชื้อนิวโมคอคคัส (Streptococcus pneumoiae) และเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคปอดบวมที่สามารถป้องกันได้คือ เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (influenza virus)

> กลับสู่สารบัญ

โรคปอดอักเสบมีอาการอย่างไรบ้าง?

  • มีไข้ 
  • ไอมีเสมหะ
  • หนาวสั่น
  • เจ็บหน้าอกขณะหายใจหรือไอ
  • หายใจลำบาก
  • อ่อนเพลีย
  • คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย
  • ในผู้สูงอายุอาจมีอาการซึม สับสน อุณหภูมิกายต่ำกว่าปกติ
  • ในเด็กเล็กอาจมีอาการซึม อาเจียน ท้องอืด ไม่ดูดนมหรือน้ำ

> กลับสู่สารบัญ

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัสคืออะไร?

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัส เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae)  ส่วนใหญ่จะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม

> กลับสู่สารบัญ

เชื้อนิวโมคอคคัสอันตรายอย่างไร?

จากการเก็บข้อมูลสายพันธุ์เชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอีในประเทศพบว่ามี 5 สายพันธุ์ที่พบบ่อยในประเทศไทย ซึ่งเชื้อนิวโมคอคคัสนี้นอกจากจะทำให้เกิดอาการปอดอักเสบแล้ว ยังสามารถทำให้เกิดการอักเสบของหูชั้นกลาง (จากเชื้อชนิดไม่รุนแรง: non-invasive pneumococcal disease) และ การติดเชื้อในกระแสเลือด และภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (จากเชื้อชนิดรุนแรง: invasive pneumococcal disease) ซึ่งอาการที่พบได้มีตั้งแต่มีไข้ หายใจหอบเหนื่อย ง่วงซึม สับสน เจ็บหู ปวดศีรษะ คอแข็ง ชักเกร็ง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำให้อัตราการเสียชีวิตสูงถึง 10-30 %

> กลับสู่สารบัญ

ใครบ้างเสี่ยงติดเชื้อนิวโมคอคคัส?

กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้แก่

  1. ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
  2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคตับแข็ง โรคไตวายเรื้อรัง โรคมะเร็ง
  3. ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ต้องได้รับการรักษาด้วยยากดภูมิหรือยาสเตียรอยด์ในระดับที่สูง เช่น ผู้ป่วย HIV ผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะหรือไขกระดูก
  4. ผู้ที่มีการทำงานของม้ามผิดปกติหรือผ่าตัดม้ามออก
  5. ผู้ที่มีภาวะน้ำในช่องไขสันหลังรั่วซึม (cerebrospinal leakage) 

เนื่องจากกลุ่มคนดังกล่าวมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อนิวโมคอคคัส การได้รับวัคซีนป้องกันที่เหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้

> กลับสู่สารบัญ

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอคคัสมีกี่ชนิด?

ปัจจุบันในประเทศไทยวัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอคคัส 2 ชนิด ได้แก่

1.วัคซีนปอดอักเสบ 13 สายพันธุ์ (PCV13)

วัคซีนปอดอักเสบชนิดนี้จะกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ตลอดชีวิต และยังป้องกันการเกิดโรคนิวโมคอคคัสชนิดไม่รุนแรงในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปได้ถึง 75%  นอกจากนี้ยังลดความรุนแรงของปอดอักเสบนิวโมคอคคัสได้กว่า 70%

2.วัคซีนปอดอักเสบ 23 สายพันธุ์ (PPSV23)

วัคซีนปอดอักเสบชนิดนี้สามารถป้องกันสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคนิวโมคอคคัสชนิดรุนแรงได้ถึงเกือบ 90% โดยมีประสิทธิภาพดีในผู้ใหญ่ที่อายุ 20 ปีขึ้นไป สามารถลดความรุนแรงของโรคปอดอักเสบได้ แต่วัคซีนปอดอักเสบชนิดนี้มีข้อจำกัดในการกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กที่อายุน้อย เพราะไม่สามารถป้องกันโรคนิวโมคอคคัสชนิดรุนแรงในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปีได้ และยังไม่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ตลอดชีวิต

New call-to-action

> กลับสู่สารบัญ

คำแนะนำในการฉีดวัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอคคัส

เนื่องด้วยวัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอคคัสปัจจุบันมี 2 ชนิด ดังนั้นคำแนะนำในการฉีดจึงแตกต่างกันออกไป คือ

  • ในกลุ่มอายุ 18-64 ปี ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้ที่มีโรคไตวายเรื้อรังระดับ 4
    เป็นต้นไป แนะนำให้ฉีดวัคซีนปอดอักเสบ 13 สายพันธุ์ก่อน แล้วตามด้วยวัคซีนปอดอักเสบ 23 สายพันธุ์ ห่างกันอย่างน้อย 2 เดือน
  • ในกลุ่มอายุ 18-64 ปี ที่มีโรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน หัวใจ ปอดเรื้อรัง
    และผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปที่แข็งแรงดี แนะนำให้ฉีดวัคซีนปอดอักเสบ
    13 สายพันธุ์ก่อน แล้วจึงตามด้วยวัคซีนปอดอักเสบ 23 สายพันธุ์ ห่างกันอย่างน้อย 1 ปี

> กลับสู่สารบัญ

ผลข้างเคียงของวัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอคคัส

อาการข้างเคียงส่วนใหญ่มักไม่รุนแรง สามารถหายได้เองในระยะเวลา 2-3 วัน เช่น อาการบวมแดงบริเวณที่ฉีด มีไข้ต่ำ ๆ ง่วงนอน ซึม เบื่ออาหาร หงุดหงิด นอนไม่หลับ ซึ่งอาการเหล่านี้แตกต่างออกไปในแต่ละบุคคล

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

การติดเชื้อนิวโมคอคคัส ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยที่ไม่พึงประสงค์ แม้ว่าในชนิดที่ไม่รุนแรง อาจจะไม่ทำให้เกิดอาการที่รุนแรงอันตราย แต่อย่างไรก็ตามก็ส่งผลต่อสุขภาพโดยตรง และยิ่งถ้าเป็นชนิดที่รุนแรงที่สามารถทำให้เกิดอาการรุนแรงต่าง ๆ เช่น ปอดอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรืออาจทำให้เสียชีวิตได้ ก็จะยิ่งอันตรายและส่งผลต่อสุขภาพร่างกายมากขึ้น ดังนั้นการได้รับวัคซีนป้องกันจึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันอาจไม่แข็งแรง ก็จะยิ่งมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อและมีอาการรุนแรงได้มากกว่าผู้ที่ภูมิคุ้มกันปกติ

คลิกดูแพ็กเกจที่เกี่ยวข้องที่นี่

วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ

รายละเอียด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

New call-to-action

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.จิตรฟ้า หรูรุ่งโรจน์

พญ.จิตรฟ้า หรูรุ่งโรจน์

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

vaccine-center

ศูนย์วัคซีนและเวชศาสตร์การเดินทาง

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา