Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

PCNL วิธีรักษานิ่วในไตแบบใหม่ด้วยการส่องกล้องผ่านทางผิวหนัง

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 9 เมษายน 2024
PCNL รักษานิ่วในไตแบบใหม่

หากพูดถึงนิ่วในร่างกายคนเรา นิ่วที่มักจะได้ยินบ่อย ๆ จะเกิดอยู่ที่ 2 บริเวณ คือ นิ่วในถุงน้ำดี และนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ซึ่งนิ่วของสองอวัยวะนี้แตกต่างกันแม้จะเป็นนิ่วเหมือนกัน แต่กลไกการเกิดโรคต่างกัน จึงต้องรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางคนละระบบ ในบทความนี้จะกล่าวถึงวิธีการรักษานิ่วในไตด้วยวิธีใหม่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม นั่นคือ PCNL หรือ percutaneous nephrolithotomy หรือการผ่าตัดนิ่วในไตโดยการเจาะรูส่องกล้องผ่านผิวหนัง

โรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะเป็นโรคที่พบได้บ่อยโรคหนึ่ง โดยนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะที่พบได้มากที่สุดจะเป็นนิ่วในไต รองลงมาเป็นนิ่วในท่อไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และนิ่วในท่อปัสสาวะ ตามลำดับ ในประเทศไทยจะพบบ่อยในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยอุบัติการณ์ของโรคนิ่วพบว่า เกิดในเพศชายมากกว่าเพศหญิงถึง 2 – 3 เท่า

สารบัญ

  • นิ่วในไต
  • อาการของโรคนิ่วในไต
  • การรักษานิ่วในไต
  • การรักษานิ่วในไตด้วยการเจาะรูส่องกล้องผ่านทางผิวหนัง (percutaneous nephrolithotomy; PCNL) คืออะไร?
  • ข้อดีของการรักษานิ่วในไตด้วยการเจาะรูส่องกล้องผ่านทางผิวหนัง
  • ภาวะแทรกซ้อนการรักษานิ่วในไตด้วยการเจาะรูส่องกล้องผ่านทางผิวหนัง
  • การป้องกันการเกิดนิ่วในไตซ้ำ
  • สรุป

นิ่วในไต

นิ่วในทางเดินปัสสาวะ คือ ก้อนแข็งที่เกิดจากการตกตะกอนหรือจับตัวเป็นผลึกของสารละลายในน้ำปัสสาวะ โดยนิ่วในไตก็คือนิ่วที่เกาะอยู่ภายในไต ก้อนนิ่วนี้จะขัดขวางการไหลของน้ำปัสสาวะ และยิ่งส่งเสริมให้เกิดการตกตะกอนได้มากขึ้น หากปล่อยไว้ก้อนนิ่วก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้นไปเรื่อย ๆ จนอาจอุดกั้นการไหลของปัสสาวะ และทำให้เกิดภาวะไตวายตามมาได้ นอกจากนั้นก้อนนิ่วเหล่านี้ยังเป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เพิ่มโอกาสการติดเชื้อที่ไต และนำไปสู่การติดเชื้อในกระแสเลือดตามมาได้ โดยทั่วไปชนิดของนิ่วจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

  1. นิ่วที่ทึบรังสี พบได้บ่อย โดยนิ่วในกลุ่มนี้มักจะมีแคลเซียมเป็นส่วนประกอบจึงทึบรังสี และทำให้การตรวจเอกซเรย์จะเห็นนิ่วได้
  2. นิ่วที่ไม่ทึบรังสี พบได้น้อยกว่าชนิดแรก มักเป็นนิ่วยูริก การตรวจโดยเอกซเรย์จะมองไม่เห็นนิ่วชนิดนี้ การวินิจฉัยจึงยากกว่านิ่วแบบแรก บางครั้งแยกยากจากเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ ทำให้อาจต้องตรวจเพิ่มเติมโดยการอัลตราซาวนด์ การฉีดสีเอกซเรย์ หรือทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

> กลับสู่สารบัญ

อาการของโรคนิ่วในไต

อาการของนิ่วในไตนั้นหลากหลาย ขึ้นกับขนาดก้อนนิ่ว ตำแหน่งนิ่ว และระดับการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ โดยสามารถพบอาการได้คือ

  • หากก้อนนิ่วมีขนาดเล็ก ก้อนนิ่วมักจะสามารถถูกขับออกทางท่อปัสสาวะ ทำให้ผู้ป่วยจะไม่มีอาการใด ๆ 
  • หากก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่อาจไปอุดตันท่อทางเดินปัสสาวะจนทำให้มีอาการปวดบั้นเอวด้านหลังใต้ต่อซี่โครง หากอุดที่ท่อไตจะปวดท้องด้านล่าง และอาจร้าวไปขาหนีบ การอุดตันของนิ่วมักจะทำให้ผู้ป่วยปวดจี๊ดรุนแรงขึ้นมาทันทีทันใด แต่หากนิ่วหลุดจากจุดที่อุดอยู่อาการปวดก็จะหายไปผู้ป่วยจึงอาจมีอาการปวดท้อง/หลังเป็น ๆ หาย ๆ มากน้อยไม่เท่ากัน
  • ในรายที่อาการรุนแรงมากขึ้น ปัสสาวะมีเลือดปนเป็นสีน้ำล้างเนื้อได้ 
  • หากนิ่วทำให้เกิดการติดเชื้อ ผู้ป่วยอาจมีอาการปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะสีขุ่น รู้สึกปวดปัสสาวะอยู่ตลอดเวลา หากมีการติดเชื้อรุนแรงอาจทำให้มีไข้ หนาวสั่นได้
  • หากเป็นนิ่วอุดตันที่ไตทั้งสองข้าง ทำให้การทำงานของไตลดลงจนเกิดไตวาย ผู้ป่วยจะมีอาการของโรคไตวายเรื้อรัง เช่น ปริมาณปัสสาวะน้อยลง บวมน้ำ เลือดจาง
  • ผู้ป่วยไม่มีอาการใด ๆ แต่อาจตรวจพบว่ามีก้อนนิ่วจากการตรวจสุขภาพประจำปี หรือตรวจคัดกรองโรคไต

> กลับสู่สารบัญ

การรักษานิ่วในไต

ในอดีตการรักษานิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะจะทำด้วยการผ่าตัดเปิด แต่ปัจจุบันมีทางเลือกการรักษามากขึ้น ซึ่งเป็นเทคนิคการรักษาที่ดีขึ้น ระยะเวลาการพักฟื้นน้อยลง และผลการรักษาดีขึ้น

การรักษาด้วยการรับประทานยา

การทานยาละลายนิ่ว เหมาะสำหรับนิ่วชนิดยูริก สามารถละลายได้โดยให้ทานยาที่ทำให้ปัสสาวะเป็นด่าง แต่สำหรับนิ่วที่มีแคลเซียมเป็นส่วนประกอบ ยังไม่มียาละลายนิ่ว โดยถ้านิ่วมีขนาดเล็กกว่า 0.5 ซม. มีโอกาสหลุดเองได้ โดยการดื่มน้ำเพิ่มหรือให้ยาขับปัสสาวะช่วย

การใช้เครื่องสลายนิ่ว

การใช้เครื่องสลายนิ่ว (extracorporeal shock wave lithotripsy; ESWL) เป็นการใช้เครื่องมือที่มีต้นกำเนิดพลังงานจากภายนอกร่างกายส่งคลื่นพลังเข้าไปกระแทกนิ่วให้แตกเป็นชิ้นเล็ก ๆ และให้ร่างกายขับเศษนิ่วออกมาเอง การรักษานิ่วโดยใช้เครื่อง ESWL นี้ ผู้ป่วยควรจะเป็นนิ่วที่มีขนาดน้อยกว่า 2 ซม. รวมทั้งต้องมีการทำงานของไตข้างนั้นพอที่จะมีปัสสาวะขับเอาเศษนิ่วที่สลายแตกแล้วให้หลุดออกมานอกร่างกายได้ ยกเว้นนิ่วบางชนิดที่แข็งมากไม่สามารถยิงสลายให้แตกโดยวิธี ESWL ได้

การรักษาโดยการส่องกล้องท่อปัสสาวะหรือท่อไต

การรักษาโดยการส่องกล้องเป็นการรักษานิ่วในกระเพาะปัสสาวะโดยแพทย์จะส่องกล้องผ่านรูท่อปัสสาวะเข้าไปขบนิ่วและเข้าไปคล้องหรือกรอนิ่วในท่อไตออกมา

การรักษานิ่วในไตด้วยการเจาะรูส่องกล้องผ่านทางผิวหนัง

การรักษานิ่วในไตด้วยการเจาะรูส่องกล้องผ่านทางผิวหนัง หรือ PCNL (percutaneous nephrolithotomy) เป็นวิธีการรักษาที่เหมาะกับนิ่วในไตขนาดใหญ่ โดยเฉพาะนิ่วเขากวางซึ่งเป็นนิ่วที่มีรูปร่างแตกแขนงกิ่งก้านไปตามแยกของกรวยไตและท่อภายในไต นิ่วชนิดนี้จึงอาจมีขนาดใหญ่มากจนแทบจะเท่ากับขนาดของไตได้เลยทีเดียว

> กลับสู่สารบัญ

การรักษานิ่วในไตด้วยการเจาะรูส่องกล้องผ่านทางผิวหนัง (percutaneous nephrolithotomy; PCNL) คืออะไร?

เป็นวิธีการรักษานิ่วในไตที่พัฒนา โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องผ่าตัด โดยแพทย์ใช้วิธีเจาะรูเล็ก ๆ ที่หลังในตำแหน่งที่ตรงกับไต ขนาดประมาณรูนิ้วชี้ ทะลุจากผิวหนังเข้าไปในกรวยไต และใช้กล้องส่องตามเข้าไปจนพบก้อนนิ่ว จากนั้นจะใช้เครื่องมือเข้าไปกรอนิ่วให้แตกออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วดูดหรือคีบนิ่วออกมา หลังการรักษาผู้ป่วยจะมีท่อระบายเพื่อลดการบวมของไต และใส่สายปัสสาวะ โดยในผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถถอดสายเหล่านี้ออกได้ใน 1-2 วัน

> กลับสู่สารบัญ

ข้อดีของการรักษานิ่วในไตด้วยการเจาะรูส่องกล้องผ่านทางผิวหนัง

  • เป็นวิธีการรักษาแบบไม่ต้องผ่าตัดเปิด
  • แผลมีขนาดเล็กประมาณ 1-2 ซม. ซึ่งเล็กกว่าแผลผ่าตัดแบบเปิดที่มักจะมีขนาด 15 – 20 ซม. 
  • เนื่องจากแผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก จึงไม่ทำให้เกิดแผลเป็นหรือพังผืดขนาดใหญ่
  • เจ็บแผลน้อยกว่า 
  • ระยะเวลาการพักฟื้นน้อย สามารถกลับบ้านได้เร็วภายใน 3 – 5 วันหลังผ่าตัด 
  • การฟื้นตัวหลังผ่าตัดเร็ว
  • ส่วนใหญ่สามารถเอานิ่วในไตทั้งหมดออกได้
  • ให้ผลการรักษาดีและสูญเสียเนื้อไตน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเดิม
  • หากผู้ป่วยเป็นนิ่วในไตขึ้นมาใหม่ ก็สามารถรักษาโดยวิธี PCNL อีกได้

แต่อย่างไรก็ตามแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อผลการรักษาที่ดีที่สุด รวมไปถึงความปลอดภัยและผลข้างเคียงที่น้อยที่สุด

> กลับสู่สารบัญ

ภาวะแทรกซ้อนการรักษานิ่วในไตด้วยการเจาะรูส่องกล้องผ่านทางผิวหนัง

แม้ว่าการรักษานิ่วในไตด้วยวิธี PCNL จะมีความปลอดภัยสูง แต่อาจมีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้ เช่น

  • มีเลือดออกเล็กน้อยปนออกมากับปัสสาวะ ซึ่งจะหยุดได้เองในเวลาไม่นาน
  • มีไข้ต่ำ
  • ติดเชื้อ
  • ภาวะแทรกซ้อนอาจทำให้ศัลยแพทย์ต้องทำการผ่าตัดเปิด ซึ่งเกิดขึ้นน้อยไม่มากนัก

ทั้งนี้การรักษาด้วยวิธีนี้ต้องทำโดยแพทย์เฉพาะทางที่มีความชำนาญเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

> กลับสู่สารบัญ

การป้องกันการเกิดนิ่วในไตซ้ำ

นิ่วในไตอาจเป็นซ้ำได้ภายหลังการรักษา โดยพบว่าหากไม่ระมัดระวังป้องกัน โอกาสกลับเป็นนิ่วซ้ำสูงถึง 35 – 50% ภายใน 5 – 10 ปี ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดนิ่วซ้ำขึ้นอีกจึงมีความสำคัญมาก หากพบปัจจัยใด ๆ ที่ส่งเสริมการเกิดนิ่วควรปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา นอกจากนี้การปรับพฤติกรรมจะช่วยป้องกันและลดการเกิดนิ่วซ้ำ ดังนี้

  • ดื่มน้ำให้มากเพียงพออย่างน้อย 2 – 3 ลิตรต่อวัน เพื่อให้ปัสสาวะเจือจาง มีปริมาณน้ำปัสสาวะมากพอ และอย่าให้ร่างกายขาดน้ำเพราะจะทำให้ปัสสาวะเข้มข้นมาก และอาจตกตะกอนเป็นนิ่วได้
  • ลดอาหารเค็มจัด เนื่องจากปริมาณเกลือที่รับประทานเข้าไปจะขับออกทางปัสสาวะ และมีส่วนชักนำให้เพิ่มการขับแคลเซียมตามไปด้วย ปริมาณแคลเซียมที่สูงในปัสสาวะก็จะเพิ่มโอกาสการเกิดนิ่ว 
  • ถ้ามีระดับกรดยูริคในเลือดสูง ควรควบคุมให้อยู่ในระดับปกติ โดยควบคุมอาหารที่มีกรดยูริกสูง และปรึกษาแพทย์หากจำเป็นต้องรับประทานยา
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อให้มีการเคลื่อนไหวของร่างกาย ส่งเสริมการขับนิ่ว ให้นิ่วก้อนเล็กหลุดออกมากับปัสสาวะ และไม่จับตัวจนกลายเป็นนิ่วขนาดใหญ่ แต่หากออกกำลังแล้วเสียเหงื่อมาก ต้องชดเชยด้วยการดื่มน้ำทดแทนอย่างเพียงพอ
  • มาพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ แม้จะได้รับการรักษานิ่วไปแล้ว 

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

PCNL เป็นการผ่าตัดนิ่วแบบใหม่ที่ให้ผลการรักษาดีในการกำจัดนิ่วในไตขนาดใหญ่ เทียบเท่ากับการผ่าตัดเปิด เป็นการรักษานิ่วที่มีขนาดแผลเล็กกว่า เจ็บตัวน้อยกว่า ฟื้นตัวได้เร็ว สูญเสียเนื้อไตน้อยกว่า วิธีการรักษานี้จึงนับเป็นทางเลือกการรักษานิ่วขนาดใหญ่ในไตที่ดี

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

สนใจนัดหมาย

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์ศัลยกรรม_1-1

ศูนย์ศัลยกรรม

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา