Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

Panic เราต้องรอด ในวิกฤต COVID-19

พญ.พิยะดา หาชัยภูมิ

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 30 มีนาคม 2020

ในที่ยุคข่าวสารเข้าถึงง่าย การรับรู้ข่าวสารง่ายเหมือนปลอกกล้วยเข้าปาก อีกทั้งการนำเสนอข่าว ยิ่งเป็น Hot topic ก็ยิ่งมีการนำเสนอกันถี่ยิบ พร้อมทั้งในโลกออนไลน์ยังมีการแชร์ข้อมูลข่าวสารหลากหลาย โดยเฉพาะข้อมูลข่าวสาร เรื่องการระบาดของไวรัส COVID-19 จนหลายคนมีภาวะตื่นตระหนก กังวลใจอย่างมาก จนอาจเข้าข่าย ภาวะแพนิค

แพทย์หญิงพิยะดา หาชัยภูมิ จิตแพทย์ โรงพยาบาลพระรามเก้า ให้ข้อมูลว่า แพนิค เป็นภาวะที่มีอาการจากระบบประสาทอัตโนมัติสั่งการผิดปกติโดยเฉียบพลัน เป็นกลุ่มอาการของคนที่มีความวิตกกังวล ที่เริ่มจากการสะสมความเครียด จิตตก จนไปสู่ภาวะตื่นตระหนกจนสุดท้ายกลายเป็น แพนิค

วิธีสังเกตตัวเองว่า เรามีความเสี่ยงเป็นแพนิคหรือไม่นั้น คือ หากเราหมกมุ่น กับข้อมูลข่าวสารทั้งเรื่องจริงหรือเรื่องไม่จริง ตลอดเวลา จะทำอะไรก็ครุ่นคิดแต่เรื่องโรคระบาด จนเรื่องดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต กระทบการใช้ชีวิต ทั้งการงาน การกิน การนอน ไม่มีสมาธิ กังวล จิตตก จนมีโอกาสนำไปสู่ โรคแพนิค ได้ดังนั้นดูแลตัวเองอย่างไร เพื่อให้รับมือกับภาวะแพนิค คือ

  • ต้องรู้ตัวเอง ว่า ตอนนี้ใจของเราเปราะบาง ซึ่งเมื่อใจเราเปราะปราง กายเราก็เปราะบางด้วย อาจมีผลต่อภูมิคุ้มกัน อย่างนั้น เราต้องรู้ว่าช่วงนี้ชีวิตเราเป็นแบบไหน เพื่อจัดการอารมณ์และความคิดของตัวเอง
  • ลดการรับข้อมูลข่าวสาร จำกัดเวลาในการเสพสื่อ  ที่จะทำให้เรามีอารมณ์และความคิดที่ผิดปกติ ยิ่งสถานการณ์ในช่วงนี้ หลายคน คนมองว่าเป็นเรื่องราวใหม่  สมองคนเราไม่ชอบความไม่คุ้นเคยถึงแม้ว่ามันจะเป็นเรื่องปกติ ที่ควรทำ แต่หลายคนไม่เคยทำแบบนี้มาก่อน จนเกิดความไม่คุ้นเคย และรู้สึกว่า ไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อไร จบลงอย่างไร  ดังนั้นการรับข้อมูลให้น้อยและแม่นยำเป็นสิ่งที่ช่วยลดความกังวลใจได้
  • รับข้อมูลข่าวสาร หลังทำหน้าที่ ทำงาน สำคัญต่างๆในแต่ละวันเสร็จสิ้น
  • เมื่อมีความคิดหมกมุ่น ฟุ้งซ่าน เรื่องการระบาดของไวรัสจนเกิดความกังวล ให้รับรู้แล้วเปลี่ยนความกังลวนี้มาเป็นการปฏิบัติให้ถูกต้อง เช่น ล้างมือ กินร้อน ปฏิบัติตามสุขอนามัย ก็จะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันทางกายให้เรา แล้วเราก็จะสร้างภูมิคุ้มกันทางใจไปด้วย
  • เมื่อมีอาการแพนิค ตื่นตระหนก วิตกกังวล ให้เราบอกตัวเองว่า ไม่เป็นอะไร และจัดช่วงเวลาผ่อนคลายร่างกายและอารมณ์ เพื่อลดความเครียดจนนำมาสะสม

หากเราปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของกรมควบคุมโรคได้ ในด้านโรคระบาด เราเองก็จะสามารถรับมือ สร้างภูมิกันทางร่างกายและจิตใจ เพื่อให้ผ่านช่วงเวลาวิกฤตินี้ไปพร้อมกัน

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.พิยะดา หาชัยภูมิ

พญ.พิยะดา หาชัยภูมิ

Mind Center

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

PR9-Template_mind-center-1-1_TH

Mind Center

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา