Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

“โอไมครอน (Omicron) ” เชื้อโควิดกลายพันธุ์ตัวใหม่ที่ต้องจับตา

พญ.รับพร ทักษิณวราจาร

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 4 ธันวาคม 2021

ไม่กี่วันมานี้เราได้ยินชื่อของเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ ซึ่งเป็นโควิดสายพันธุ์ใหม่ ที่ชื่อว่า “โอไมครอน” ที่ทำให้หลายประเทศทั่วโลกกังวล และต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด มาทำความรู้จักกับเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์นี้ว่าคืออะไร ทำไมจึงเป็นที่จับตามอง 

New call-to-action

สารบัญ

  • เชื้อโควิด-19 โอไมครอน คืออะไร?
  • มีการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่งไหนบ้าง?
  • เชื้อโควิด-19 โอไมครอนน่ากลัวอย่างไร?
  • ติดเชื้อแล้วอาการรุนแรงแค่ไหน ระวังในคนกลุ่มไหนบ้าง?
  • การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 โอไมครอน
  • วัคซีนเอาอยู่หรือไม่?
  • เชื้อโควิด-19 โอไมครอน สามารถตรวจได้ด้วยวิธีใดบ้าง?
  • คำแนะนำในการป้องกันดูแลตัวเอง
  • สรุป

เชื้อโควิด-19 โอไมครอน คืออะไร?

เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 หรือเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์นี้ เป็นเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ชนิดใหม่ลำดับที่ 5 ของเชื้อโควิดกลายพันธุ์ ตามการรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) โดยมีชื่อสายพันธุ์ว่า  B.1.1.529  และองค์การอนามัยโลกตั้งชื่อว่าสายพันธุ์นี้ว่า “โอไมครอน (Omicron)”

>กลับสู่สารบัญ

มีการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่งไหนบ้าง?

จากการรายงานเบื้องต้นพบการกลายพันธุ์อย่างน้อย 30 ตำแหน่งบนโปรตีนหนาม (spike protein) ของไวรัส ซึ่งถือว่าเป็นการกลายพันธุ์จำนวนที่สูงมาก เมื่อเทียบกับสายพันธุ์กลายพันธุ์อื่น ๆ อย่างเช่น สายพันธุ์เดลต้าที่มีการกลายพันธุ์เพียง 2 ตำแหน่งเท่านั้น และคาดว่ามีตำแหน่งกลายพันธุ์มากกว่านี้ ทั้งนี้ต้องรอข้อมูลการศึกษาจากห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม

จึงทำให้เชื้อโควิด-19 โอไมครอนนี้ถูกจัดให้เป็น สายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variant of Concern; VOC) 

>กลับสู่สารบัญ

เชื้อโควิด-19 โอไมครอนน่ากลัวอย่างไร?

เนื่องจากโปรตีนหนาม หรือ spike protein เป็นส่วนสำคัญของไวรัสที่ใช้ยึดเกาะกับเซลล์ของเรา การกลายพันธุ์ที่ตำแหน่งโปรตีนหนาม มักจะทำให้ไวรัสยึดเกาะ และเข้าสู่เซลล์ร่างกายของเราได้ง่ายขึ้น จึงทำให้คาดกันว่า เชื้อโควิด-19 โอไมครอนนี้ จะแพร่ระบาดและมีอัตราการติดเชื้อมากกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ

นอกจากนี้ โปรตีนหนามนี้เป็นส่วนสำคัญที่ใช้พัฒนาวัคซีนโควิด ดั้งนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจะมีความกังวลกับการกลายพันธุ์ครั้งนี้ เพราะเชื้อโควิด-19 โอไมครอนนี้อาจหลบหลีกภูมิคุ้มกันจากวัคซีน และภูมิคุ้มกันธรรมชาติในผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์อื่น ๆได้

>กลับสู่สารบัญ

ติดเชื้อแล้วอาการรุนแรงแค่ไหน ระวังในคนกลุ่มไหนบ้าง?

ผู้ป่วยที่ยืนยันแล้วว่าติดโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน พบว่า ไม่สูญเสียการรับรสหรือดมกลิ่น มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีอาการไอ อ่อนเพลีย 1 – 2  วัน บางรายมีไข้ โดยไม่มีอาการที่แตกต่างหรือโดดเด่นจากสายพันธุ์อื่นชัดเจน ผู้ติดเชื้อจำนวนหนึ่งสามารถรักษาตัวอยู่ที่บ้านได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีการรายงานขณะนี้  อายุไม่มากและครึ่งหนี่งยังไม่ได้รับวัคซีน

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยทั้งหมดที่ติดเชื้อโควิด-19 โอไมครอน ที่มีการรายงานขณะนี้ เป็นคนที่มีสุขภาพดี แต่เป็นที่น่ากังวลว่า กลุ่มผู้สูงอายุ หรือกลุ่มคนที่ยังไม่ได้รับวัคซีน ถ้าติดเชื้อสายพันธุ์นี้อาจจะมีอาการรุนแรงมากกว่า ทั้งนี้ข้อมูลอาการเหล่านี้ยังไม่ชัดเจน และยังอยู่ในระหว่างการศึกษาอย่างเร่งด่วนจากนักวิทยาศาสตร์ ทำให้ไม่สามารถสรุปได้ชัดเจนว่าอาการจะรุนแรงกว่าหรือไม่

New call-to-action

>กลับสู่สารบัญ

การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 โอไมครอน

มีรายงานพบเชื้อโควิด-19 โอไมครอนครั้งแรกต่อองค์การอนามัยโลก เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2564 ที่ประเทศแอฟริกาใต้ โดยพบจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลาเดียวกันที่ตรวจพบเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอน อาจเป็นไปได้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ มีสาเหตุจากการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์นี้ 

ตัวอย่างเชื้อแรกที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นสายพันธุ์โอไมครอน มีการเก็บตั้งแต่วันที่ 9 พ.ย 2564 และภายใน 3 สัปดาห์ พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์นี้ในประเทศต่าง ๆ แล้วกว่า 10 ประเทศ โดยเป็นผู้ที่มีประวัติเดินทางหรือสัมผัสผู้ที่เดินทางมาจากทวีปแอฟริกา จึงถือว่าเป็นอัตราการติดเชื้อที่รวดเร็ว และต้องจับตามอง

>กลับสู่สารบัญ

วัคซีนเอาอยู่หรือไม่?

แม้จะมีความกังวลเรื่องประสิทธิภาพของวัคซีนโควิดที่มีในปัจจุบัน เนื่องจากการกลายพันธุ์หลายสิบตำแหน่งบนโปรตีนหนาม แต่องค์การอนามัยโลกยังคงแนะนำให้ฉีดวัคซีน และฉีดให้ครบโดสตามที่แนะนำ เพื่อป้องกันเชื้อกลายพันธุ์ ลดอัตราการเสียชีวิด และลดอาการรุนแรง 

>กลับสู่สารบัญ

เชื้อโควิด-19 โอไมครอน สามารถตรวจได้ด้วยวิธีใดบ้าง?

จากรายงานขององค์การอนามัยโลกพบว่า เชื้อโควิด-19 โอไมครอน ยังสามารถตรวจได้ด้วยวิธี RT-PCR ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้ในปัจจุบัน และการตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัส รวมทั้งการตรวจด้วย antigen test kit (ATK)

แต่อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า ผลตรวจ RT-PCR ของเชื้อโควิด-19 โอไมครอนนี้ ไม่พบยีน S ซึ่งพบได้ในสายพันธุ์อื่น หรือที่เรียกว่า S gene drop outs ทำให้การตรวจเพื่อยืนยันว่าเป็นสายพันธุ์โอไมครอนต้องใช้เทคนิค RT-PCR แบบพิเศษ แล้วทำการตรวจยืนยันอีกครั้งด้วยการหาลำดับสารพันธุกรรมของไวรัส ซึ่งต้องทำในห้องปฏิบัติการเฉพาะเท่านั้น 

>กลับสู่สารบัญ

คำแนะนำในการป้องกันดูแลตัวเอง

การดูแลป้องกันตัวเองอย่างที่เราคุ้นเคยยังคงเป็นมาตราการที่ดีที่สุดสำหรับการป้องกันเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนนี้ ได้แก่ 

  • การรักษาระยะห่าง หรือ social distancing อย่างน้อย 1 เมตร
  • สวมหน้ากากอนามัย โดยควรสวมให้พอดีกับใบหน้า
  • จัดที่บ้านและที่ทำงานให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
  • ไม่ไปในสถานที่มีคนเบียดเสียด หรือที่ที่มีคนเยอะ
  • ล้างมือบ่อย ๆ
  • ไม่ไอหรือจามโดยใช้มือปิดปากและจมูก ควรใช้กระดาษทิชชู่แทน
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด

>กลับสู่สารบัญ

สรุป

เชื้อโควิด-19 “โอไมครอน” เป็นเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ตัวล่าสุดที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกำลังจับตามอง เพราะมีตำแหน่งการกลายพันธุ์หลายสิบตำแหน่ง ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับอัตราการติดเชื้อ 

การแพร่ระบาดที่รวดเร็ว รวมถึงอาการของผู้ที่ติดเชื้อสายพันธุ์นี้ เชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนนี้ อาจหลบหลีกภูมิคุ้มกันจากวัคซีน และภูมิคุ้มกันธรรมชาติในผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์อื่น ๆ ทั้งนี้ข้อมูลต่าง ๆ ที่ชัดเจนเกี่ยวกับความรุนแรงของอาการ อัตราการติดเชื้อ หรือการหลบหลีกภูมิคุ้มกันยังต้องรอการศึกษาเพิ่มเติม

อย่างไรก็ตามเราควรปฏิบัติตามมาตรการในการป้องกันอย่างเคร่งครัด ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด  และควรรับวัคซีนโควิดให้ครบโดส ตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อป้องกันการเสียชีวิตและลดความรุนแรงของอาการจากการติดเชื้อ

New call-to-action

>กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.รับพร ทักษิณวราจาร

พญ.รับพร ทักษิณวราจาร

ศูนย์สมองและระบบประสาท

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์อายุรกรรม

ศูนย์อายุรกรรม

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา