Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

อวสาน น้ำตาลเทียม …. จริงหรือ?

พญ.ณัฐกานต์ มยุระสาคร

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 22 มิถุนายน 2023
น้ำตาลเทียม

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล เป็นตัวช่วยสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และน้ำหนักตัวมายาวนาน พร้อมความกังวลว่ามีผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวหรือไม่ คำแนะนำที่ผ่านมาแนะนำว่าสามารถใช้ได้เพื่อลดการบริโภคน้ำตาล แต่ล่าสุดองค์การอนามัยโลกหรือ WHO ได้ออกแนวทางการใช้สารให้ความหวานกลุ่ม non-sugar sweetener เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา คำแนะนำที่หลายท่านอาจต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคกันอีกครั้ง

ข้อมูลจากการศึกษา

Non-sugar sweetener มีทั้งสารสังเคราะห์และสารสกัดจากธรรมชาติ ได้แก่ อะซีซัลเฟมเค แอสปาร์แตม  แอดแวนแทม ไซคลาเมต นีโอแตม แซคคาริน ซูคราโลส และสตีเวีย  ซึ่งสกัดจากหญ้าหวาน

การศึกษาระยะสั้นพบว่าการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลช่วยควบคุมน้ำหนักตัว แต่ไม่มีผลช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเลือด หรือลดภาวะดื้ออินซูลิน แต่การศึกษาใช้เวลาติดตามผลเป็น 10 ปี พบว่าผู้ที่บริโภคสารให้ความหวานต่อเนื่องกลับมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและอุบัติการณ์โรคอ้วนมากกว่า เพิ่มโอกาสเกิดโรคเบาหวานชนิดที่สอง โรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ หลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดสมอง ความดันโลหิต และเสียชีวิตมากขึ้น 

ในสตรีมีครรภ์การรับประทานสารให้ความหวานปริมาณมากเพิ่มโอกาสทารกคลอดก่อนกำหนด ไม่มีผลต่อการเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และมีงานวิจัยหนึ่งพบว่าบุตรเป็นโรคหอบหืด และภูมิแพ้มากขึ้น

ส่วนการเกิดมะเร็ง พบความสัมพันธ์ชัดเจนเฉพาะระหว่างสารแซคคารินกับการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

ข้อยกเว้นของคำแนะนำนี้

เนื่องจากการวิจัยต่าง ๆ ของสารให้ความหวานไม่ได้วิจัยในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมาก่อน จึงไม่อาจใช้เป็นคำแนะนำมาตรฐานในรักษาโรคได้

ทั้งนี้ สารให้ความหวานสามารถใช้ได้ในผลิตภัณฑ์อื่นที่ไม่ใช่อาหาร โดยผสมในปริมาณน้อย เช่น ยาที่รู้จักกันดีคือยาละลายเสมหะเม็ดฟู่ หรือยาบำรุงเข่ากลูโคซามีนแบบชงที่มีสารแอสปาร์แตมผสม หรือยาสีฟัน เป็นต้น

ทางเลือกอื่นคือ สารให้ความหวานกลุ่มน้ำตาลแอลกอออล์ เช่น ไซลิทอล ซอร์บิทอล แมนนิทอล อิริทริทอล  ไอโซมอลต์ แล็กทิทอล และมอลทิทอล  ไม่ได้รวมในการวิจัยเหล่านี้ อย่างไรก็ดี มีบทความวารสาร Nature Medicine วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 พบอุบัติการณ์โรคหลอดเลือดหัวใจตีบและหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นในผู้เข้าร่วมงานวิจัยที่มีระดับสารอิริทริทอลในเลือดสูงเทียบกับกลุ่มที่ระดับสารในเลือดต่ำกว่า โดยพบคำอธิบายในหลอดทดลองและหนูทดลองว่าทำให้เกล็ดเลือดเกาะกลุ่มไวขึ้นและเกิดลิ่มเลือดได้ แม้ว่าการศึกษานี้จะไม่สามารถสรุปได้ว่าการบริโภคอิริทริทอลเป็นสาเหตุของหลอดเลือดอุดตัน ก็ควรติดตามข้อมูลต่อไป

สรุปคำแนะนำขององค์การอนามัยโรค

สารให้ความหวานแทนน้ำตาลไม่ใช่ทางเลือกสุขภาพในการควบคุมน้ำหนักตัวและลดความเสี่ยงของโรค NCD หมายรวม โรคเบาหวานชนิดที่สอง โรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง และอื่นๆ 

แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลตามธรรมชาติ เช่น ผลไม้  อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่เติมน้ำตาลแทน

“WHO suggests that non-sugar sweeteners not be used as a means of achieving weight control or reducing the risk of noncommunicable diseases.”

สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองสูงกว่าคนทั่วไป ควรควบคุมการบริโภคน้ำตาลเช่นเดิม  หมอแนะนำให้รับประทานอาหารธรรมชาติที่ผ่านการแปรรูปน้อย เช่น ผลไม้สด นมจืด โยเกิร์ตรสธรรมชาติ ถั่วเปลือกแข็งต่าง ๆ เป็นต้น สารให้ความหวานไม่มีคุณค่าอาหาร ไม่ควรบริโภคต่อเนื่อง

อ้างอิง :
https://www.who.int/publications/i/item/9789240073616

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.ณัฐกานต์ มยุระสาคร

พญ.ณัฐกานต์ มยุระสาคร

ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิก

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิค_1-1

ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิก

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา