Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

ฝีดาษลิง โรคจากลิงสู่มนุษย์ ที่ต้องระวัง

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 23 พฤษภาคม 2022
โรคฝีดาษลิง
โรคฝีดาษลิงเป็นโรคที่องค์การอนามัยโลกและกรมควบคุมโรคของไทยกำลังจับตามองและเฝ้าระวัง เพราะมีรายงานการพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงแล้ว 75 ประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 25 ก.ค. 2565) อัตราการระบาดเป็นที่น่ากังวล แต่อย่างไรก็ตามน่าจะไม่ได้เป็นวงกว้างเหมือนการระบาดของไวรัสโควิด-19
New call-to-action

สารบัญ

  • ฝีดาษลิง คืออะไร?
  • อาการของโรคฝีดาษลิง
  • ฝีดาษลิง ติดต่อได้อย่างไรบ้าง?
  • ฝีดาษลิง อันตรายแค่ไหน?
  • การป้องกันและรักษาโรคฝีดาษลิง
  • ฝีดาษลิงในประเทศไทย
  • สรุป

ฝีดาษลิง คืออะไร?

โรคฝีดาษลิง (หรือโรคฝีดาษวานร) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ก่ออาการในคนคล้ายกับไข้ทรพิษแต่มีความรุนแรงน้อยกว่า ถูกค้นพบครั้งแรกในโลกเมื่อปี พ.ศ. 2501 จากลิงที่ป่วย จึงถูกเรียกว่า โรคฝีดาษลิง และพบการติดเชื้อในคนเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2513 ที่ประเทศคองโก โดยมักพบการติดเชื้อในประเทศแถบอัฟริกากลางและอัฟริกาตะวันตก โรคฝีดาษลิงพบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระรอก กระต่าย เป็นต้น โรคนี้สามารถติดต่อได้จากสัตว์สู่คน และติดต่อจากคนสู่คน โดยการสัมผัสสารคัดหลั่ง ผิวหนัง หรือ ละอองฝอยจากการหายใจ  แต่การติดเชื้อจากคนสู่คนยังไม่แพร่กระจายเป็นวงกว้างมากนัก ปัจจุบันมีรายงานการเกิดเชื้อไวรัสฝีดาษลิง 2 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์อัฟริกากลาง และสายพันธุ์อัฟริกาตะวันตก ซึ่งสายพันธุ์อัฟริกากลางเป็นสายพันธุ์ที่มีการรายงานการติดต่อจากคนสู่คน
ฝีดาษลิง คืออะไร

> กลับสู่สารบัญ

อาการของโรคฝีดาษลิง

ผู้ป่วยจะมีไข้ มีผื่นตุ่มหนองทั่วตัว และต่อมน้ำเหลืองโต โดยหลังการได้รับเชื้อแล้ว ไวรัสจะอยู่ในต่อมน้ำเหลืองของผู้ป่วยและใช้เวลาฟักตัว 7-21 วัน จึงจะแสดงอาการ 

อาการจะเริ่มจากการมีไข้ และมีต่อมน้ำเหลืองโต จากนั้น 1-2 วัน จึงมีผื่นขึ้น โดยมักจะเริ่มจากมีแผลในปาก ตามด้วยผื่น (ขนาด 2-10 มม.) ขึ้นที่ตัว หน้า ฝ่ามือ และฝ่าเท้า 

ช่วง 2-4 สัปดาห์ต่อมา ผื่นจะค่อย ๆ เปลี่ยนรูปแบบ จากผื่นนูนแดงเป็นตุ่มน้ำ แล้วจึงเป็นฝี จากนั้นตุ่มหนองจะแตกและแห้ง ผู้ป่วยก็จะอาการดีขึ้น 

โดยผู้ป่วยจะสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ตั้งแต่มีไข้ และหมดระยะในการแพร่กระจายให้ผู้อื่นหลัง หลังตุ่มหนองแตกและแผลแห้งดีแล้ว

> กลับสู่สารบัญ

ฝีดาษลิง ติดต่อได้อย่างไรบ้าง?

ดังที่กล่าวไปแล้วว่าโรคฝีดาษลิงสามารถพบในสัตว์ตระกูลลิง และสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระรอก กระต่าย ดังนั้นสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยง รวมทั้งคนก็อาจติดเชื้อและเป็นพาหะของโรคนี้ได้ 

การติดเชื้อจากสัตว์สู่คน สามารถเกิดได้จากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรืออาจอาจติดเชื้อจากการโดนสัตว์ที่มีเชื้อกัด หรือการกินเนื้อสัตว์ที่มีเชื้อ
ที่ปรุงไม่สุก


การแพร่เชื้อจากคนสู่คน สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้โดย

  • การสัมผัสโดยตรงกับรอยโรค ตุ่มหนอง หรือสารน้ำในตุ่มหนองที่แตกออกมา
  • ติดต่อผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของทางเดินหายใจ เช่น การไอ จาม 
  • การกอดจูบ การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อ 
  • การสัมผัสสิ่งของ เช่น เสื้อผ้า หรือของใช้ที่มีสารคัดหลั่งปนเปื้อน
  • ติดต่อจากแม่สู่ลูกในครรภ์ 

โดยสามารถติดต่อได้ตั้งแต่เริ่มมีอาการ หรือเริ่มมีตุ่มขึ้น ไปจนระยะที่ตุ่มตกสะเก็ด และเมื่อแผลหายดีแล้วก็จะหมดระยะการแพร่เชื้อ

New call-to-action
ฝีดาษลิงติดต่อได้อย่างไร

> กลับสู่สารบัญ

ฝีดาษลิง อันตรายแค่ไหน?

ส่วนใหญ่ผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการไม่รุนแรง บางครั้งอาจพบว่าอาการคล้ายกับโรคอีสุกอีใส (chickenpox) และสามารถหายเองได้ แต่ก็มีรายงานว่ามีผู้ป่วยอาการรุนแรงได้ในบางกรณี จนบางรายเสียชีวิตโดยพบในอัฟริกาตะวันตก

> กลับสู่สารบัญ

การป้องกันและรักษาโรคฝีดาษลิง

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่จำเพาะสำหรับโรคฝีดาษลิง แต่สามารถควบคุมการระบาดได้โดยป้องกันการติดเชื้อ รายงานจากองค์การอนามัยโลกระบุว่าวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษในคน สามารถป้องกันโรคฝีดาษลิงได้ อย่างน้อย 85% และผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าการได้รับวัคซีนโรคฝีดาษคนหลังจากสัมผัสเชื้อแล้ว จะสามารถลดความรุนแรงและอาจป้องกันการติดเชื้อได้ สำหรับผู้ติดเชื้อที่มีอาการหนัก จึงให้การรักษาโดยให้วัคซีนฝีดาษร่วมกับให้ยาต้านไว้รัสชื่อ brincidofovir หรือ cidofovir

การป้องกันการแพร่เชื้อจากผู้ป่วย สามารถป้องกันได้โดยให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้ออยู่ห้องแยก สวมหน้ากากอนามัย และใส่เสื้อคลุมปกปิดผื่นทั้งหมด จนกระทั่งผื่นหายดี ตกสะเก็ดและหมดระยะการแพร่เชื้อแล้ว

สำหรับประเทศไทย ประชากรไทยที่เกิดก่อนปี 2523 จะได้รับการปลูกฝี ซึ่งถือว่าได้รับวัคซีนฝีดาษในคนเรียบร้อยแล้ว แต่ประชาชนที่เกิดหลังปี 2523 ไม่มีการปลูกฝีสำหรับป้องกันโรคฝีดาษ ดังนั้นต้องใช้วิธีป้องกันโรคเท่านั้น

การป้องกันและรักษาโรคฝีดาษลิง

> กลับสู่สารบัญ

ฝีดาษลิงในประเทศไทย

เริ่มมีรายงานพบผู้ป่วยในประเทศไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 28 ก.ค. 2565) ส่วนในต่างประเทศ พบรายงานผู้ติดเชื้อแล้ว กว่า 16,314 รายทั่วโลก และเนื่องจากขณะนี้เริ่มมีรายงานผู้ติดเชื้อในประเทศไทย ดังนั้นจึงควรติดตามข่าวสาร รวมทั้งเฝ้าระวังผู้ที่มีความเสี่ยงและผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาด

โดยกรมควบคุมโรคได้มีคำแนะนำสำหรับประชาชนทั้งที่ต้องเดินทางไปยังประเทศที่พบผู้ป่วยฝีดาษลิงและประชาชนในประเทศควรระมัดระวัง ดังนี้ 

  1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์พาหะ ได้แก่ สัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระรอก และสัตว์ตระกูลไพรเมต เช่น ลิง หากมีการสัมผัสสัตว์ให้รีบล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาด 
  2. ปฏิบัติตามมาตรการ universal prevention (UP) โดยการหมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อย ๆ แยกของใช้ส่วนตัวทุกชนิดไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา จมูก ปาก และรับประทานอาหารปรุงสุก 
  3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่ง บาดแผล เลือด น้ำเหลืองของสัตว์ หรือกินเนื้อสัตว์ติดเชื้อที่ปรุงไม่สุก และหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย ละอองฝอย หรือน้ำเหลืองจากผู้ที่สงสัยป่วยหรือมีประวัติเสี่ยง
  4. หลังจากเดินทางกลับจากประเทศที่มีการระบาดของโรคฝีดาษลิง ให้สังเกตอาการ หากพบมีความผิดปกติ เช่น มีไข้ มีตุ่มผื่นที่ใบหน้า แขน และขา ให้รีบพบแพทย์ทันที พร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทาง

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

โรคฝีดาษลิงเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ข่าวการระบาดในปี พ.ศ.2565 ครั้งนี้ ถือเป็นการระบาดในระดับที่น่ากังวล โดยพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงระบาดจากคนไปยังคนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในหลายประเทศ ขณะที่ประเทศไทยเริ่มมีรายงานผู้ที่ติดเชื้อฝีดาษลิงที่มีการติดเชื้อภายในประเทศ

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนหรือยาที่จำเพาะกับโรคฝีดาษลิง องค์การอนามัยโลกและกรมควบคุมโรคของประเทศไทย มีคำแนะนำให้ประชาชนป้องกันตัวเองตามมาตราการที่ได้กล่าวไป และแม้จะเป็นโรคที่มีโอกาสติดต่อน้อย แต่ก็ควรเฝ้าระวังและติดตามข่าวสารการระบาดอย่างใกล้ชิด

คลิกดูแพ็กเกจที่เกี่ยวข้องที่นี่

แพ็กเกจวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า (2 เข็ม)

รายละเอียด

แพ็กเกจวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์

รายละเอียด

แพ็กเกจวัคซีนป้องกันบาดทะยัก คอตีบ (3 เข็ม)

รายละเอียด

แพ็กเกจวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี (3 เข็ม)

รายละเอียด

> กลับสู่สารบัญ

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

New call-to-action

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์อายุรกรรม

ศูนย์อายุรกรรม

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา