Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

เยื่อหุ้มสมองอักเสบเกิดจากอะไร รู้จักสังเกตอาการก่อนเป็นอันตรายถึงชีวิต

พญ.สลิษา ประดิษฐบาทุกา

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 24 พฤษภาคม 2025
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาจไม่ใช่โรคที่พบได้บ่อย แต่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนอันตราย การเข้าใจถึงสาเหตุและอาการของโรคจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเฝ้าระวังและตัดสินใจเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที

Key Takeaways

  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นโรคอันตรายที่มีอัตราการเสียชีวิตและเกิดภาวะแทรกซ้อนสูง จึงจัดเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาเร่งด่วน 
  • สาเหตุการเกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบสามารถเกิดได้ทั้งจากการติดเชื้อ และไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ
  • อาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ แต่จะมีความรุนแรงและทรุดตัวอย่างรวดเร็ว
  • การรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค เช่น การรักษาตามอาการ และการให้ยาปฏิชีวนะ
  • การป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบสามารถทำได้ด้วยการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รวมถึงการฉีดวัคซีนป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อ

สารบัญบทความ

  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบคืออะไร
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบมีกี่ประเภท
  • สาเหตุที่ก่อให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีอะไรบ้าง?
  • อาการแบบไหนอาจเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • การวินิจฉัยเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • การรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • แนวทางการป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ภาวะฉุกเฉินการแพทย์ที่ต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว
  • คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

เยื่อหุ้มสมองอักเสบคืออะไร

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ(Meningitis) คือ ภาวะที่เนื้อเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังเกิดการอักเสบขึ้น จนเกิดอาการปวด บวม เป็นไข้ ซึ่งอาการในช่วงแรกจะคล้ายกับอาการไข้หวัดใหญ่ แต่หากไม่ได้รับการรักษาทันทีอาการจะรุนแรงขึ้นจนอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

เยื่อหุ้มสมองอักเสบมีกี่ประเภท

เราสามารถแยกประเภทการเกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ 2 ประเภท ตามระยะเวลาการดำเนินโรค 

  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบเฉียบพลัน (Acute Meningitis) มักเกิดอาการรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมทันทีอาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเสียชีวิตได้
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบเรื้อรัง (Chronic Meningitis) ระยะเวลาดำเนินโรคมากกว่า 4 สัปดาห์ อาจเกิดจากการติดเชื้อที่มีการแบ่งตัวช้า หรือการอักเสบที่ไม่ได้มาจากการติดเชื้อ 

สาเหตุที่ก่อให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีอะไรบ้าง?

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส (Viral Meningitis)

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย มักมีอาการไม่รุนแรง สามารถรักษาตามอาการหรือหายได้เอง และมีโอกาสน้อยที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน ยกตัวอย่างเชื้อไวรัสที่สามารถทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่น

  • ไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus)
  • เริม (Herpes simplex virus; HSV)
  • คางทูม (Mumps virus)
  • อีสุกอีใส (Varicella virus)
  • หัดเยอรมัน (Rubella virus)

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Meningitis)

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความรุนแรงและอันตรายที่สุด หากไม่ได้รับการรักษาทันที มีโอกาสที่จะเสียชีวิตได้ภายใน 24 ชั่วโมงหรืออาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างถาวร พบได้บ่อยในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภูมิต่ำ ยกตัวอย่างเชื้อแบคทีเรียที่สามารถทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่น

  • Streptococcus pneumoniae
  • Streptococcus agalactiae
  • Neisseria meningitidis
  • Haemophilus influenzae type b (Hib)
  • Escherichia coli
  • Mycobacterium tuberculosis

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อรา (Fungal Meningitis)

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อราเป็นสาเหตุที่พบได้น้อย ส่วนมากจะพบในผู้ที่ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยเอดส์

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อปรสิต (Parasitic Meningitis)

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อปรสิตเป็นสาเหตุที่พบได้น้อยมาก แต่หากเกิดการติดเชื้อขึ้นมักจะก่อให้เกิดอาการรุนแรงและมีโอกาสเสียชีวิตสูงมากโดยเชื้อปรสิตที่ก่อให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบมีหลายชนิด ยกตัวอย่างเช่น

  • Naegleria fowleri 
  • Angiostrongylus cantonensis
  • Gnathostoma spinigerum
  • Baylisascaris procyonis

เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ (Non-infectious Meningitis)

เยื่อหุ้มสมองสามารถเกิดการอักเสบขึ้นได้จากสาเหตุนอกเหนือจากการติดเชื้อ โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบมีดังต่อไปนี้

  • โรคระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ เช่น โรคแพ้ภูมิตัวเอง
  • การใช้ยาบางชนิด
  • การลุกลามของเซลล์มะเร็งบางชนิด
  • การผ่าตัดสมอง
  • การบาดเจ็บที่ศีรษะ

อาการแบบไหนอาจเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาการ

เยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นภาวะฉุกเฉินที่พบได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงผู้ใหญ่ โดยอาการที่อาจพบได้มีดังนี้

  • ปวดศีรษะรุนแรง
  • มีไข้สูง
  • อาเจียน
  • คอแข็ง ก้มไม่ได้
  • มีอาการสับสน ซึม หมดสติ
  • ชัก
  • เบื่ออาหาร
  • แพ้แสง

กรณีโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเกิดในเด็กทารกอาจสังเกตอาการผิดปกติได้ดังต่อไปนี้

  • มีไข้สูง
  • กระหม่อมนูน
  • ร้องไห้ตลอดเวลา
  • ไม่ยอมดื่มนม หรือดื่มน้อยมาก
  • ปลุกไม่ค่อยตื่น
  • ไม่ค่อยขยับตัว เฉื่อยชา

การวินิจฉัยเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

การวินิจฉัยเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะเริ่มต้นที่การซักประวัติผู้ป่วย และตรวจร่างกายเบื้องต้นว่ามีลักษณะอาการที่บ่งบอกถึงการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองหรือไม่ เช่น อาการคอแข็ง อุณหภูมิร่างกาย ระดับการรับรู้ ร่วมกับการตรวจอื่น ๆ เช่น

  • การตรวจเลือด และการเจาะน้ำไขสันหลัง เพื่อตรวจหาเชื้อที่ก่อให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • การทำ CT Scan หรือ MRI เพื่อตรวจดูการอักเสบและความเสียหายของเยื่อหุ้มสมองที่เกิดขึ้น

การรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบ 

การรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการ และระดับความรุนแรงของการอักเสบ ซึ่งสามารถแบ่งวิธีการรักษาได้ดังนี้

  • การรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส 

ผู้ป่วยส่วนมากมีอาการไม่รุนแรง คล้ายกับไข้หวัด การรักษาจึงมักเป็นการรักษาตามอาการ ร่วมกับการพักผ่อนเพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูได้เต็มที่

  • การรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

ผู้ป่วยจะต้องได้รับยาปฏิชีวนะผ่านหลอดเลือดดำโดยเร็วที่สุด โดยชนิดของยาปฏิชีวนะที่ใช้ขึ้นอยู่กับชนิดเชื้อแบคทีเรียก่อโรค

  • การรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อรา

ผู้ป่วยจะได้รับยาต้านเชื้อราทางหลอดเลือดดำ

  • การรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อปรสิต

ผู้ป่วยจะต้องได้รับยายาฆ่าปรสิตผ่านหลอดเลือดดำโดยเร็วที่สุด แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะรับการรักษาไม่ทัน เนื่องจากการดำเนินโรคเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

  • การรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ

แนวทางการรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ก่อให้เกิดการอักเสบ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากโรคแพ้ภูมิตนเอง อาจต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกัน หรือกรณีเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการใช้ยา เมื่อหยุดยาอาการก็มักจะดีขึ้น 

ทั้งนี้ แพทย์อาจให้ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลเพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง

แนวทางการป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

สาเหตุส่วนใหญ่ของการเกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบเกิดจากการติดเชื้อ ดังนั้นการป้องกันจึงทำได้ด้วยการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ซึ่งมีแนวทางการปฏิบัติตนดังนี้

  • ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนและหลังเข้าห้องน้ำ และเมื่อต้องใช้มือในการหยิบจับสัมผัสอาหาร
  • รับประทานอาหารปรุงสุก สะอาด หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ หรืออาหารที่ไม่ทราบแหล่งที่มา
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบหมู่ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและความแข็งแรงของร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด อากาศไม่ถ่ายเท และควรใส่แมสก์ป้องกันการติดเชื้อ
  • รักษาสุขอนามัยส่วนตัว ไม่ใช้ของหรือรับประทานอาหารร่วมกับใคร
  • เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ภาวะฉุกเฉินการแพทย์ที่ต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว

การตรวจและวินิจฉัยเยื่อหุ้มสมองอักเสบอย่างรวดเร็วและแม่นยำ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการฟื้นตัว ลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีในแบบที่ควรจะเป็น 

ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลพระรามเก้า เราจึงเตรียมพร้อมรับมือกับภาวะฉุกเฉินโดยทีมแพทย์เฉพาะทางโรคสมองและระบบประสาท เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที พร้อมดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดกระบวนการรักษา และสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติอีกครั้ง 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

  • Facebook : Praram 9 hospital
  • Line : @Praram9Hospital
  • โทร. 1270

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเยื่อหุ้มสมองอักเสบ 

1. เยื่อหุ้มสมองอักเสบอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างไร?

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ก่อให้เกิดการอักเสบและระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้น ยกตัวอย่างภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ได้แก่ สมองได้รับความเสียหาย เกิดปัญหาทางระบบประสาท การแพร่กระจายของเชื้อไปยังส่วนอื่นของร่างกาย หรือเกิดความพิการ เป็นต้น

References

Meningitis. (2023, April 17). WHO. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/meningitis

Lights, V. (2023, November 27). Meningitis: Everything You Need to Know. Healthline. https://www.healthline.com/health/meningitis#What-is-meningitis

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.สลิษา ประดิษฐบาทุกา

พญ.สลิษา ประดิษฐบาทุกา

ศูนย์สมองและระบบประสาท

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์สมองและระบบประสาท

ศูนย์สมองและระบบประสาท

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา