Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

การผ่าตัดเปลี่ยนตับ อีกหนทางในการรักษาโรคตับที่หมดหวัง

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 21 มีนาคม 2024
การผ่าตัดเปลี่ยนตับ

ตับเป็นอวัยวะที่สำคัญ เพราะควบคุมการทำงานหลาย ๆ อย่าง เช่น สร้างโปรตีนที่จำเป็น สร้างน้ำย่อยในทางเดินอาหาร สร้างน้ำดี และยังควบคุมสมดุลอื่น ๆ ของร่างกาย ซึ่งหากทำงานผิดปกติไปก็ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา 

ภาวะตับแข็งหรือภาวะตับวายเป็นภาวะที่เราพบได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ โดยในระยะรุนแรงหรือระยะสุดท้ายซึ่งตับจะสูญเสียหน้าที่การทำงานไปเกือบทั้งหมด และมีผลต่อการทำงานของระบบอื่น ๆ ของร่างกายด้วย ทำให้ผู้ป่วยคุณภาพชีวิตแย่ลง และอาจทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด ซึ่งการรักษาด้วยยาอาจไม่สามารถรักษาได้ 

ปัจจุบันการผ่าตัดเปลี่ยนตับหรือการปลูกถ่ายตับได้ถูกนำมาใช้มากขึ้นในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว เนื่องจากให้ผลการรักษาที่ค่อนข้างดี ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

สารบัญ

  • หน้าที่ของตับ
  • โรคตับที่พบบ่อย
  • การเปลี่ยนตับหรือการปลูกถ่ายตับคืออะไร?
  • ผลการรักษาของการผ่าตัดเปลี่ยนตับ
  • โรคตับใดบ้างที่รักษาได้ด้วยการเปลี่ยนตับ?
  • ผู้ป่วยแบบไหนที่เหมาะกับการเปลี่ยนตับ?
  • ภาวะที่ควรได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนตับฉุกเฉิน
  • การเปลี่ยนตับมีแบบใดบ้าง?
  • ข้อห้ามในการเปลี่ยนตับ
  • ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
  • สรุป

หน้าที่ของตับ

ตับเป็นอวัยวะภายในที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย มีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง ได้แก่

  • สร้าง แปรรูป และเก็บสำรองสารอาหารต่าง ๆ ทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุ
  • สลายยา และแปรรูปฮอร์โมน
  • ผลิตน้ำดีซึ่งช่วยให้ลำไส้ดูดซึมไขมัน คอเลสเตอรอล และวิตามินที่ละลายในไขมัน
  • สร้างโปรตีนในเลือดที่สำคัญหลายตัว เช่น โปรตีนโปรทรอมบินซึ่งเป็นปัจจัยตัวหนึ่งในการแข็งตัวของเลือด และโปรตีนอัลบูมินที่ช่วยในการขนส่งสารและช่วยอุ้มน้ำในเลือด เป็นต้น
  • ขจัดแบคทีเรียและสารพิษออกจากเลือด
  • ป้องกันการติดเชื้อและควบคุมการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน
  • ทำลายเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุขัย และกำจัดสารเหลืองบิลลิรูบินออกไปกับน้ำดี

ดังนั้นหากการทำงานของตับเสียไป ก็จะทำให้มีอาการผิดปกติของการทำงานต่าง ๆ ข้างต้นได้

> กลับสู่สารบัญ

โรคตับที่พบบ่อย

โรคตับที่พบบ่อยที่อาจทำให้เกิดตับวายหรือตับแข็งได้  มีดังนี้

  • โรคไวรัสตับอักเสบ ทั้งบีและซี
  • โรคตับจากการดื่มเหล้า (alcoholic liver disease) 
  • โรคไขมันพอกตับชนิดที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (nonalcoholic fatty liver disease) 
  • มะเร็งตับปฐมภูมิ หรือมะเร็งของเซลล์ตับ
  • โรคทางพันธุกรรมที่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ตับ เช่น ภาวะเหล็กเกิน (hemochromatosis) ภาวะทองแดงคั่งในร่างกาย (Wilson’s disease) โรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น 
  • โรคของท่อทางเดินน้ำดี เช่น การติดพยาธิใบไม้ตับ โรคท่อน้ำดีตีบตั้งแต่แรกเกิด (biliary atresia) เป็นต้น 
  • โรคแพ้ภูมิตนเองที่เกิดกับตับ เช่น โรคตับแข็งจากท่อน้ำดี (primary biliary cirrhosis) โรคท่อน้ำดีอักเสบ (primary sclerosing cholangitis) เป็นต้น

ซึ่งหากโรคเหล่านี้มีความรุนแรงจนเกิดอาการตับวาย จนตับไม่สามารถทำงานได้ และอาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ ซึ่งแพทย์อาจพิจารณาการผ่าตัดเปลี่ยนหรือปลูกถ่ายตับเพื่อรักษาภาวะตับวาย

> กลับสู่สารบัญ

การเปลี่ยนตับหรือการปลูกถ่ายตับคืออะไร?

การเปลี่ยนตับ หรือการปลูกถ่ายตับ คือ การผ่าตัดเพื่อเอาตับเดิมที่เสื่อมสภาพของผู้ป่วยออก แล้วแทนที่ด้วยตับใหม่ที่สภาพดีจากผู้อื่น โดยอาจมาจากผู้บริจาคอวัยวะที่สมองตาย หรือจากผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตอยู่

ซึ่งแพทย์อาจจะพิจารณาการผ่าตัดเปลี่ยนตับในผู้ป่วยที่มีภาวะตับวายขั้นสุดท้าย โรคตับแข็งระยะสุดท้าย ผู้ป่วยตับวายฉับพลัน และผู้ป่วยมะเร็งตับที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นได้

> กลับสู่สารบัญ

ผลการรักษาของการผ่าตัดเปลี่ยนตับ

ปัจจุบันการเปลี่ยนตับถือเป็นการรักษาโรคตับที่เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง โดยความก้าวหน้าเกิดขึ้นจากการค้นพบยากดภูมิต้านทานที่ได้ผลดี คือตัวยา cyclosporine เมื่อปี ค.ศ. 1979 จึงทำให้ร่างกายผู้ป่วยไม่ต่อต้านตับใหม่ ทำให้ผลรักษาด้วยการเปลี่ยนตับดีขึ้น จนทำให้สมาคมโรคตับแห่งสหรัฐอเมริกา (NIH Consensus) ยอมรับให้การผ่าตัดเปลี่ยนตับ (liver transplantation) เป็นทางเลือกการรักษาที่เหมาะสมสำหรับโรคตับระยะสุดท้าย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องมีการคัดเลือกผู้ป่วยอย่างเหมาะสม โดยจากการศึกษาพบว่า 

  • หลังทำการเปลี่ยนตับพบว่าผู้ป่วยประมาณ 85% สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในช่วง 1 ปีแรก และหากติดตามต่อไปอีก จะพบว่า 75% ของผู้ป่วยสามารถมีอายุยืนยาวต่อไปได้อีก 5 ปี ซึ่งผู้ป่วยที่เสียชีวิตหลังจากการเปลี่ยนตับในช่วง 1 – 5 ปีแรก มีสาเหตุมาจากโรคเดิมของผู้ป่วยเอง หรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่าการรักษาโดยการปลูกถ่ายตับมีความสำเร็จสูง
  • จากการติดตามผู้ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยนตับทั้งหมดกว่า 4,000 คน พบว่า ผู้ป่วยเกินครึ่งหนึ่งสามารถมีอายุยืนยาวได้มากกว่า 18 ปีหลังทำการเปลี่ยนตับ นั่นคือ การเปลี่ยนตับให้ผลการรักษาที่ดีมาก สามารถช่วยให้ผู้ป่วยโรคตับระยะสุดท้ายมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ลดการเกิดโรคแทรกซ้อน และเพิ่มอัตราการรอดชีวิตได้ดีกว่า เมื่อเทียบกับการไม่เปลี่ยนตับ

ในปัจจุบันจึงมีแนวโน้มการรักษาด้วยการปลูกถ่ายตับหรือการเปลี่ยนตับมากขึ้น และแพทย์อาจพิจารณาทำเร็วขึ้นในขณะที่อาการของผู้ป่วยยังไม่รุนแรงมาก ยังไม่มีโรคแทรกซ้อนรุนแรง เพราะจะทำให้อัตราการรอดชีวิตหลังผ่าตัดดีขึ้น

> กลับสู่สารบัญ

โรคตับใดบ้างที่รักษาได้ด้วยการเปลี่ยนตับ?

โรคตับที่สามารถรักษาได้ด้วยการเปลี่ยนตับมีหลายโรค แต่อย่างไรก็ตามต้องมีการปรึกษา พิจารณาถึงผลดีผลเสียต่าง ๆ กับแพทย์เฉพาะทาง เพื่อผลลัพธ์การรักษาที่ดีที่สุด โดยโรคตับที่สามารถรักษาได้ด้วยการเปลี่ยนตับ มีดังนี้

  • โรคตับแข็งจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี และ บี (chronic hepatitis C หรือ B) ซึ่งเป็นสาเหตุอันดับแรก ๆ ที่ทำให้มีการรักษาด้วยการปลูกถ่ายตับ 
  • โรคตับแข็งจากการดื่มเหล้า
  • โรคตับวายฉับพลันจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ภาวะไขมันพอกตับฉับพลันขณะตั้งครรภ์ โรคตับอักเสบแบบไม่ทราบสาเหตุ (cryptogenic hepatitis)
  • โรคตับอื่น ๆ ได้แก่ มะเร็งตับ โรคตับจากภาวะเหล็กเกินหรือภาวะทองแดงคั่งในร่างกาย โรคทางพันธุกรรมที่มีผลต่อการทำงานของตับแต่กำเนิด โรคหลอดเลือดในตับตีบตัน

> กลับสู่สารบัญ

ผู้ป่วยแบบไหนที่เหมาะกับการเปลี่ยนตับ?

การปลูกถ่ายตับหรือผ่าตัดเปลี่ยนตับจะทำในผู้ป่วยที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีอื่น ๆ โดยแพทย์จะต้องพิจารณาถึงความปลอดภัย คุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ความรุนแรงของโรค ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด โดยแพทย์อาจพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ 

  • ประเมินการทำงานของตับจากค่า Child-Pugh score โดยเกณฑ์ที่เหมาะสมต่อการเปลี่ยนตับคือที่คะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 7
  • ประเมินความเป็นไปได้สูงมากที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตหากไม่ได้รับการเปลี่ยนตับ (โอกาสรอดชีวิตน้อยกว่า 90% ใน 1 ปี) 
  • ผู้ป่วยมีประวัติภาวะติดเชื้อของน้ำในช่องท้อง
  • ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนทางสมองจากโรคตับ (hepatic encephalopathy) ความรุนแรงในระดับที่ 2 
  • ผู้ป่วยที่ตับวายเฉียบพลัน (acute liver failure)

ทั้งนี้ทั้งนั้น การเปลี่ยนตับต้องพิจารณาปัจจัยหลายด้าน ทั้งของผู้ป่วยและผู้บริจาค จึงต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ อย่างรอบด้านจากแพทย์เฉพาะทางเป็นกรณี ๆ ไป

> กลับสู่สารบัญ

ภาวะที่ควรได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนตับฉุกเฉิน

แพทย์ก็อาจพิจารณาการผ่าตัดเปลี่ยนตับแบบฉุกเฉินในผู้ป่วยโรคตับที่อาการรุนแรงที่อาจทำให้เสียชีวิต หรือคุณภาพชีวิตผู้ป่วยแย่ โดยข้อบ่งชี้กรณีเร่งด่วนสำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนตับ  มีดังนี้

  1. โรคตับที่แย่จนทำให้เกิดภาวะไตวาย (hepatorenal disease)
  2. ผู้ป่วยมีประวัติการติดเชื้อของน้ำในช่องท้อง (spontaneous bacterial peritonitis) มากกว่า 1 ครั้ง 
  3. มีโปรตีนอัลบูมินน้อยกว่า 2.5 g/dL (25 g/L)
  4. ตรวจวัดเวลาการแข็งตัวของเลือดโปรทรอมบิน (prothrombin time) นานกว่า 5 วินาที
  5. มีสารเหลืองดีซ่านบิลลิรูบินมากกว่า 5 mg/dL
  6. ผู้ป่วยมีโรคตับคั่งน้ำดีจากทางเดินน้ำดีตีบ (cholestatic disease) จนกระทบต่อคุณภาพชีวิต เช่น คันรุนแรงตลอดเวลาและรักษาด้วยยาไม่หาย มีประวัติติดเชื้อทางเดินน้ำดี (cholangitis) ซ้ำ ๆ เกิดกระดูกหักเนื่องจากมีภาวะกระดูกพรุนรุนแรง (severe osteoporosis) 
  7. ข้อบ่งชี้อื่น ๆ ได้แก่ มีน้ำในช่องท้องที่ไม่ตอบสนองต่อยา (intractable ascites) มีอาการทางสมองจากตับรุนแรง (severe encephalopathy) มีเลือดออกจากเส้นเลือดขอดในหลอดอาหาร (esophageal varices) หรืออ่อนเพลียรุนแรง


    ตัวอย่างโรคแทรกซ้อนของตับแข็งเรื้อรัง ที่อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว ได้แก่

    • ผู้ป่วยที่มีน้ำในช่องท้องที่ไม่ตอบสนองต่อยาในผู้ป่วยที่ไม่ดื่มเหล้ามีอัตราการเสียชีวิตที่ประมาณ 40% ใน 6 เดือน และ 60% ใน 1 ปี
    • การติดเชื้อของน้ำในช่องท้อง มีอัตราการเสียชีวิตมากถึง 50% ในการติดเชื้อครั้งแรก และมีโอกาสเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนของตับที่ 30% ใน 1 ปี
    • เลือดออกจากเส้นเลือดขอดในหลอดอาหารสามารถทำให้เสียชีวิตได้อย่างฉับพลัน โดยความเสี่ยงขึ้นกับความรุนแรงของโรคตับของผู้ป่วย 
    • การประเมินความเสื่อมของตับ โดยใช้หลายปัจจัยมาคำนวณระยะตับวาย (Child-Pugh score) สามารถนำมาใช้ทำนายโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยได้

> กลับสู่สารบัญ

การเปลี่ยนตับมีแบบใดบ้าง?

การผ่าตัดเปลี่ยนตับแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ การเปลี่ยนตับจากผู้บริจาคที่มีภาวะสมองตาย และการปลูกถ่ายตับเพียงบางส่วนจากผู้บริจาคที่มีชีวิต

จากผู้บริจาคที่มีภาวะสมองตาย

การปลูกถ่ายตับในผู้ใหญ่ส่วนใหญ่จะเป็นการผ่าตัดเปลี่ยนตับจากผู้บริจาคอวัยวะที่มีภาวะสมองตาย  ผู้ป่วยจะต้องรอการจัดสรรจากศูนย์รับบริจาคอวัยวะ และเมื่อได้รับแจ้งจะต้องรีบเดินทางมาเข้ารับการตรวจสุขภาพเพื่อดำเนินการผ่าตัดโดยเร็ว 

จากผู้ที่มีชีวิต

เป็นการปลูกถ่ายตับเพียงบางส่วนจากผู้บริจาคตับที่ยังมีชีวิต โดยมีข้อกำหนดว่าผู้บริจาคจะต้องมีความสัมพันธ์กับผู้รับบริจาคเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ 

  • เป็นญาติที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด 
  • เป็นคู่สมรสที่แต่งงานหรืออยู่ด้วยกันมานานกว่า 3 ปี ยกเว้นกรณีมีบุตรด้วยกันสามารถน้อยกว่า 3 ปีได้

การผ่าตัดเปลี่ยนตับวิธีนี้มีข้อดีคือสามารถวางแผนผ่าตัดล่วงหน้าได้ โดยตับของผู้บริจาคจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนหนึ่งแบ่งมาใส่ให้กับผู้ป่วย และอีกส่วนจะยังอยู่ในตัวผู้บริจาคเช่นเดิม ตับทั้งสองส่วนนี้สามารถเจริญเติบโตจนกลับมามีขนาดใกล้เคียงตับปกติได้โดยใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน

> กลับสู่สารบัญ

ข้อห้ามในการเปลี่ยนตับ

ข้อห้ามในผ่าตัดปลูกถ่ายตับ ได้แก่

  • ผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมการดื่มเหล้า และการใช้ยาเสพติดได้
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ 
  • พบมะเร็งที่ส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย 
  • มีภาวะติดเชื้อในทางเดินน้ำดี
  • เป็นโรคปอดหรือโรคหัวใจระยะสุดท้าย โดยเฉพาะในกลุ่มที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา

หรือในบางกรณีอาจมีปัจจัยที่ทำให้ไม่สามารถผ่าตัดเปลี่ยนตับได้ เช่น

  • ไม่มีผู้ดูแลใกล้ชิด หรือไม่มีสมาชิกครอบครัวหรือคนที่ช่วยดูแลก่อนและหลังการผ่าตัด
  • อายุมากกว่า 65 ปี
  • เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ปอดจากโรคตับ (hepatopulmonary syndrome) ซึ่งมีผลทำให้ปอดทำงานได้ไม่ดี มีอาการหอบเหนื่อย มีค่าออกซิเจนในเลือดต่ำ (PO2<50 mmHg) แม้ว่าอาการเหล่านี้มักจะดีขึ้นหลังจากการผ่าตัด แต่กลับพบว่าผู้ป่วยจะมีโอกาสเสียชีวิตได้มากขึ้นจากภาวะขาดออกซิเจนหลังการเปลี่ยนตับ (post-transplant hypoxemia) 
  • มีเนื้องอกในตับขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร
  • มีภาวะติดเชื้อที่ยังรักษาไม่ได้ เช่น ภาวะติดเชื้อของน้ำในช่องท้อง (spontaneous bacterial peritonitis)

อย่างไรก็ตามแพทย์ต้องมีการพิจารณาความเหมาะสมในการผ่าตัดเป็นกรณี ๆ ไป

> กลับสู่สารบัญ

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

การผ่าตัดเปลี่ยนตับมีความเสี่ยงที่แบ่งตามสาเหตุได้เป็นภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ และจากผลข้างเคียงของยากดภูมิคุ้มกันที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับเพื่อป้องกันการต่อต้านตับใหม่ 

  1. ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ได้แก่

    • ท่อทางเดินน้ำดีรั่วหรือตีบ
    • มีเลือดออก
    • เกิดลิ่มเลือด
    • ตับใหม่วาย
    • ติดเชื้อ
    • เกิดปฏิกิริยาต่อต้านตับ
    • ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวคืออาจกลับเป็นโรคตับเดิมในตับที่ปลูกถ่ายใหม่

  2. ผลข้างเคียงจากยากดภูมิ ได้แก่

    • กระดูกบางลง
    • น้ำตาลในเลือดสูง
    • ท้องเสีย
    • ปวดหัว
    • ความดันเลือดสูง
    • คอเลสเตอรอลสูง

เนื่องจากยากดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ แพทย์จึงอาจพิจารณาให้ยาเพื่อป้องกันการติดเชื้อร่วมด้วย

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

การเปลี่ยนตับหรือการปลูกถ่ายตับถือเป็นการรักษาที่มีผลการรักษาค่อนข้างดีในผู้ป่วยโรคตับที่มีอาการรุนแรง เช่น ในผู้ป่วยตับวายหรือตับแข็งระยะสุดท้ายที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีอื่น ๆ ซึ่งจากการเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายตับพบว่าสามารถกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีเทียบเท่าคนปกติ ในประเทศไทยมีการทำการผ่าตัดเปลี่ยนตับมากขึ้นเรื่อย ๆ และมีผลการรักษาดีเทียบเท่าในต่างประเทศ

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

สนใจนัดหมาย

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา