Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไต อยู่ได้นานกี่ปี ?

พญ.ผ่องพรรณ ทานาค และ นพ.น๊อต เตชะวัฒนวรรณา

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 10 มีนาคม 2022
เปลี่ยนไตอยู่ได้นานกี่ปี

ไตเป็นอวัยวะหนึ่งที่มีสำคัญต่อร่างกาย ดังนั้นโรคไตจึงถือเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อทั้งคุณภาพชีวิตของตัวผู้ป่วยเอง  และคนรอบข้างที่ต้องดูแลผู้ป่วย ในปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคไตเพิ่มมากขึ้นจากในอดีต และในจำนวนนั้นก็มีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่จำเป็นต้องทำการรักษาโดยเร่งด่วนในปัจจุบัน  การปลูกถ่ายไตนั้น ถือเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุด สำหรับการที่จะทำให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง

New call-to-action

สารบัญ

  • การผ่าตัดปลูกถ่ายไต หรือปลูกถ่ายไต คืออะไร ?
  • ปลูกถ่ายไตแล้ว อยู่ได้นานแค่ไหน ?
  • ไตที่ปลูกถ่าย รับจากใครได้บ้าง ?
  • ชีวิตหลังปลูกถ่ายไต ต้องดูแลตัวเองอย่างไร ?
  • หลังปลูกถ่ายไต กินอะไรได้บ้าง ?
  • สรุป

การผ่าตัดเปลี่ยนไต หรือปลูกถ่ายไต คืออะไร ?

การผ่าตัดเปลี่ยนไต หรือการปลูกถ่ายไต คือ การบำบัดทดแทนไตในการรักษาโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย โดยนำไตที่ยังทำงานดีมาปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วย

ในปัจจุบันการผ่าตัดปลูกถ่ายไตนั้นเป็นการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย เพราะมีโอกาสประสบผลสำเร็จมากกว่า 80- 90%  ขึ้นอยู่กับชนิดของไตที่ได้รับ และผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไตนั้นจะกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นใกล้เคียงกับคนทั่วไป ลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อและโรคแทรกซ้อนจากการฟอกไต และมีชีวิตที่ยืนยาวกว่าเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ต้องฟอกเลือดหรือล้างไตไปตลอดชีวิต

การปลูกถ่ายไต

> กลับสู่สารบัญ

อ่านเพิ่มเติม "การปลูกถ่ายไต ทางเลือกการรักษาของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง"

ปลูกถ่ายไตแล้ว อยู่ได้นานแค่ไหน ?

ปลูกถ่ายไต อยู่ได้กี่ปี ? เป็นคำถามที่ผู้ต้องการจะผ่าตัดปลูกถ่ายไตทุกคนล้วนอยากรู้ แต่ในความเป็นจริงแล้วการจะระบุเป็นตัวเลขว่าผู้ป่วยที่ปลูกถ่ายไตแล้วจะมีชีวิตอยู่ได้นานกี่ปีนั้น ไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัด เพราะจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยประกอบกัน ทั้งเรื่องของความเข้ากันได้ของไตที่นำมาเปลี่ยน และโรคร่วมที่เป็นอยู่

ซึ่งถ้าเป็นไตที่มาจากญาติพี่น้องที่เนื้อเยื่อสามารถเข้ากันได้ และมาจากบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ โอกาสที่ไตจะทำงานได้เป็นปกติและทำให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวขึ้นก็มีสูงขึ้น แต่ถ้าเป็นไตที่มาจากบุคคลอื่น หรือมาจากผู้ที่เสียชีวิตแล้ว แม้โอกาสที่ไตจะทำงานได้เป็นปกติก็จะลดลง แต่ก็ยังคงเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงมาก

และจากข้อมูลทางสถิติโดยสมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560 พบว่าผู้ป่วยที่สามารถอยู่ได้ถึง 10 ปี หลังจากการปลูกถ่ายไตนั้นมีจำนวนมากถึง 78.2 % เลยทีเดียว นั่นหมายถึงว่าจากผู้ป่วย 100 คน จะมีผู้ป่วยถึง 78 คนที่สามารถอยู่ได้นานกว่า 10 ปี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโอกาสในการผ่าตัดไตสำเร็จนั้นค่อนข้างสูงในปัจจุบัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการประสบความสำเร็จ และการที่ผู้ป่วยจะมีชีวิตต่อไปได้อย่างยืนยาวก็ต้องขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเองของผู้ป่วยด้วยเช่นกัน

> กลับสู่สารบัญ

ไตที่ปลูกถ่าย รับจากใครได้บ้าง ?

เมื่อแพทย์ผู้ชำนาญทางโรคไตประเมินผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ที่มีเกณฑ์ของร่างกายที่เหมาะสม สามารถเข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตได้แล้วนั้น จะมีการรับบริจาคไตจากผู้บริจาค 2 กลุ่มหลัก ได้แก่

  1. ผู้บริจาคไตที่ยังมีชีวิตอยู่
    1.1 ผู้บริจาคเป็นคนในครอบครัวเดียว เช่น พ่อ แม่ ลูก หรือญาติพี่น้องที่มีความสัมพันธ์กันทางสายเลือด
    1.2 ผู้บริจาคเป็นคู่สมรส โดยมีหลักฐานการจดทะเบียนสมรส หรืออยู่ด้วยกินกันฉันสามีภรรยาโดยเปิดเผยมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ก่อนวันที่จะผ่าตัดปลูกถ่ายไต (กรณีมีบุตรร่วมกัน ไม่จำเป็นต้องใช่ระยะเวลา 3 ปี)
  2. ผู้บริจาคไตจากสภากาชาดที่เป็นผู้มีภาวะสมองตาย ผู้บริจาคไตและผู้ป่วยที่รับไตจะต้องได้รับการตรวจอย่างละเอียดก่อนว่ามีกรุ๊ปเลือดเข้ากันได้ และมีเนื้อเยื่อในร่างกายที่เข้ากันได้ จึงจะอนุญาตให้ผ่าตัดเปลี่ยนไตได้

    โดยการเปลี่ยนไตที่จะได้รับผลสำเร็จที่ดีที่สุดเรียงตามลำดับ คือ

    1. การเปลี่ยนไตระหว่างพี่น้องฝาแฝด จะมีโอกาสได้รับผลสำเร็จสูงที่สุด
    2. พี่น้องท้องเดียวกันที่มีสภาพเนื้อเยื่อเหมือนกัน 
    3. พ่อ แม่  ลูก หรือพี่น้องท้องเดียวกันที่มีสภาพเนื้อเยื่อเหมือนกันบางส่วน  
    4. ผู้มีสภาวะสมองตายที่ไม่ใช่พี่น้องของผู้ป่วย ซึ่งได้รับการตรวจเลือดกรุ๊ปและเนื้อเยื่อแล้วว่าใกล้เคียงและเข้ากันได้ดีกับผู้ป่วย จะมีโอกาสสำเร็จเป็นอันดับท้ายสุด

ทั้งนี้การเปลี่ยนไตโดยการซื้อขายไตจากบุคคลอื่นที่มีชีวิตอยู่ ซึ่งไม่ใช่ญาติพี่น้องของผู้ป่วยเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากผิดกฎหมายและเป็นเรื่องที่แพทย์ทั่วโลกยังไม่ให้การยอมรับ เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับจรรยาบรรณทางการแพทย์ และศีลธรรมรวมถึงปัญหาทางกฎหมาย เพราะอาจเกิดจากการบังคับขู่เข็ญ ขโมยไตโดยผู้บริจาคไม่ยินยอม หรือเป็นการซื้อขายไตกัน

New call-to-action

> กลับสู่สารบัญ

ชีวิตหลังผ่าตัดปลูกถ่ายไต ต้องดูแลตัวเองอย่างไร ?

การดูแลตัวเองหลังจากการเปลี่ยนไตนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการดูแลตัวเองที่ดีนั้นจะทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ โดยวิธีการปฏิบัติตัวหลังจากผ่าตัดเปลี่ยนไตแล้วมี ดังนี้

  • ผู้ป่วยปลูกถ่ายไต ต้องรับประทานยากดภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการร่างกายปฏิเสธไต ซึ่งยากลุ่มนี้จะทำให้ภูมิต้านทานร่างกายลดลง อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่างๆ สูงขึ้นกว่าคนปกติ และเมื่อติดเชื้อแล้วอาการก็จะรุนแรงมากกว่า ดังนั้นผู้ปลูกถ่ายไตต้องพยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยติดเชื้อทุกชนิด 
  • ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์ตามนัดหมายทุกครั้ง และต้องรีบมาพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้สูง หนาวสั่น ปัสสาวะผิดปกติ มีปวดบวมแดงร้อนบริเวณแผลผ่าตัดวางไตใหม่ มีเลือดหรือน้ำเหลืองซึมออกจากแผลผ่าตัด ท้องเสีย เหนื่อยหอบ ปวดแผล ปวดบริเวณไตใหม่ มีแผลแบบเริม/งูสวัด ฯลฯ 
  • รับประทานอาหารที่สะอาดให้ครบ 5 หมู่ ปรุงสุก สะอาด และควบคุมน้ำหนัก ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ควรลดอาหารรสเค็ม ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • สามารถทำงานได้ตามปกติ แต่ควรเลือกลักษณะงานที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงงานที่มีสภาพแวดล้อมไม่สะอาด อับชื้น ถ้าหากต้องสัมผัสสิ่งสกปรก ควรสวมถุงมือยาง สวมผ้าปิดปากทุกครั้ง หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์จรจัด
  • หมั่นล้างมือบ่อย ๆ คำนึงถึงความสะอาดของร่างกาย เพื่อไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
  • ระมัดระวังโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคปอด คอยติดตามดูแลโรคประจำตัวเดิมก่อนเปลี่ยนไต เช่น SLE เบาหวาน หอบหืด
  • ทำกิจกรรมได้ตามปกติ แต่ไม่ควรออกแรงหรือทำงานหักโหมจนเกินไป และควรพักผ่อนให้เพียงพอ
  • การไปเที่ยวและการเดินทาง ควรเลือกสถานที่ ที่มีสภาพแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัย และควรมีโรงพยาบาลที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย

> กลับสู่สารบัญ

หลังปลูกถ่ายไต กินอะไรได้บ้าง ?

ผู้ป่วยที่ปลูกถ่ายไต ควรระมัดระวังด้านการรับประทานอาหารเป็นพิเศษ เนื่องจากไตซึ่งมีหน้าที่รักษาสมดุลของแร่ธาตุในเลือดนั้น มีประสิทธิภาพการทำงานลดลง การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมจึงเป็นการไม่เพิ่มภาระให้กับไตนั่นเอง 

  • โปรตีน ผู้ป่วยควรรับประทานโปรตีนให้เพียงพอเน้นเป็นกลุ่มโปรตีนที่มีคุณภาพ (High biological value protein) เช่น นม เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เนื้อปลา ไข่ (เน้นไข่ขาว)
  • โซเดียม ผู้ป่วยที่ปลูกถ่ายไตที่แพทย์กำหนดให้จำกัดปริมาณโซเดียม ควรเลือกบริโภคอาหารที่ปรุงสุกใหม่ หลีกเลี่ยงอาหารที่ผ่านการแปรรูป หมักดอง กึ่งสำเร็จรูป รวมถึงหลีกเลี่ยงผงชูรสและน้ำจิ้มต่าง ๆ
  • โพแทสเซียม ผู้ป่วยที่ยังคงมีฟอสฟอรัสในเลือดสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโพแทสเซี่ยมสูงซึ่งพบในพืชผักผลไม้ที่มีสีเข้มอย่างคะน้า แครอท ผักโขม ชะอม มะเขือเทศ บร็อคโคลี่ หน่อไม้ ฟักทอง ทุเรียน กล้วยหอม ส้มสายน้ำผึ้ง มะละกอ ขนุน เป็นต้น
  • ฟอสฟอรัส ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูงเช่น ไข่แดงของสัตว์ทุกชนิด ปลาที่กินทั้งก้าง เครื่องในสัตว์ แมลงทุกชนิด อาหารแปรรูป อาหารแช่แข็ง  ผลไม้อบแห้ง อาหารจานด่วนต่าง ๆ นมและอาหารที่มีส่วนผสมของนม น้ำอัดลมสีเข้ม เบียร์ น้ำแร่ กาแฟ  ช็อคโกแลต โกโก้  ยีสต์ ผงฟู เบเกอรี่ต่าง ๆ และ ถั่วต่าง ๆ
  • ไขมัน ผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงต้องควบคุมอาหารประเภทไขมัน หลีกเลี่ยงอาหารทอด เบเกอรี่ อาหารที่มีคอเรสเตอรอลสูง หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารมื้อดึก และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

แม้การปลูกถ่ายไตนั้นอาจจะเป็นการผ่าตัดที่ซับซ้อน แต่ถ้าหากทำโดยทีมแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ อย่าง สถาบันโรคไตและเปลี่ยนไต โรงพยาบาลพระรามเก้า เพื่อดูแลผู้ป่วยทั้งก่อนและหลังการปลูกถ่ายไตแล้ว การปลูกถ่ายไตนั้นก็จะมีโอกาสสำเร็จสูง มีความเสี่ยงต่ำ และหลังจากการปลูกถ่ายไต ผู้ป่วยก็จะสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติอีกครั้ง

ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไตจะมีชีวิตอยู่ได้นานแค่ไหนก็ต้องขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วย ชนิดของไตที่ได้รับ และการดูแลตัวเองของผู้ป่วย ซึ่งถ้าหากผู้ป่วยดูแลตัวเองเป็นอย่างดี ก็จะทำให้ตัวผู้ป่วยเองนั้นมีอายุที่ยืนยาว มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถใช้ชีวิตเป็นปกติได้ไม่ต่างกับคนทั่วไป

อ้างอิง : http://www.transplantthai.org/knowledge.php?news_id=0

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)
New call-to-action

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.ผ่องพรรณ ทานาค

พญ.ผ่องพรรณ ทานาค

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

นพ.น๊อต เตชะวัฒนวรรณา

นพ.น๊อต เตชะวัฒนวรรณา

สถาบันโรคไตและเปลี่ยนไต

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

ศูนย์แพทย์

1677919536144

สถาบันโรคไตและเปลี่ยนไต

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา