Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

การฟอกไต วิธียืดอายุผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ป้องกันอันตรายจากสารพิษสะสม

พญ.ชโลธร แต้ศิลปสาธิต

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 27 มีนาคม 2025
ฟอกไต

‘ไต’ทำหน้าที่ขจัดของเสียและรักษาสมดุลของเหลวในร่างกาย เมื่อไตไม่สามารถทำงานได้เช่นเดิม น้ำส่วนเกินและของเสียสะสมจะส่งผลกระทบต่อร่างกายหลายระบบและอาจร้ายแรงถึงชีวิต ซึ่งการฟอกไต เป็นหนึ่งในแนวทางการรักษาโรคไตที่ช่วยประคับประคองให้ร่างกายสามารถทำงานได้ใกล้เคียงปกติ  และสามารถยืดอายุของผู้ป่วยให้มีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น

Key Takeaways

  • การฟอกไต คือวิธีการกำจัดของเสีย สารพิษ และน้ำส่วนเกินออกจากเลือดทดแทนไตที่ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ
  • แพทย์จะพิจารณาให้ผู้ป่วยโรคไตเข้าสู่กระบวนการฟอกไต เมื่อประสิทธิภาพการกรองของเสียออกจากเลือดของไตเหลืออยู่ไม่ถึง 10 มิลลิลิตร / นาที / 1.73 ตารางเมตร
  • การฟอกไตมี 2 รูปแบบ ได้แก่ การฟอกไตทางหลอดเลือด และทางช่องท้อง
  • ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อเตรียมการฟอกไต ด้วยการสร้างหลอดเลือดสำหรับการฟอกไตทางหลอดเลือด และการใส่ท่อเพื่อการฟอกไตทางช่องท้อง
  • ผู้ป่วยจะต้องฟอกไตไปตลอดชีวิตหรือจนกว่าจะได้รับการปลูกถ่ายไตใหม่ ดังนั้นผู้ป่วยควรดูแลสุขภาพกายและใจอยู่เสมอ เพื่อทำความคุ้นชินกับการฟอกไตและใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

สารบัญบทความ

  • การฟอกไตคืออะไร? ทำไมผู้ป่วยโรคไตต้องฟอก
  • รู้จักวิธีฟอกไต มีแบบไหนบ้าง?
  • เมื่อไหร่ที่คุณต้องเริ่มฟอกไต?
  • วิธีเตรียมตัวก่อนฟอกไตครั้งแรก
  • การฟอกไต มีสิ่งที่ควรระวังหรือไม่?
  • ฟอกไต เพื่อชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพที่สถาบันโรคไต โรงพยาบาลพระรามเก้า
  • คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับฟอกไต

การฟอกไตคืออะไร? ทำไมผู้ป่วยโรคไตต้องฟอก?

การฟอกไตคืออะไร ทำไมผู้ป่วยโรคไตต้องฟอก

การฟอกไต (Hemodialysis) คือกระบวนการรักษาผู้ป่วยโรคไต ที่ไตเสียหายจนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติด้วยเครื่องฟอกไต (Dialysis machine) โดยการจำลองการทำงานของไตที่สุขภาพดี เพื่อทำหน้าที่ขจัดสารพิษและของเสียต่าง ๆ แทนไตเดิมที่ไม่สามารถขับออกได้ และยังช่วยรักษาสมดุลน้ำ เกลือแร่ในร่างกายให้อยู่ในระดับใกล้เคียงปกติที่สุด 

การฟอกไตจำเป็นต่อผู้ป่วยโรคไตที่การทำงานของไตลดลงเหลือต่ำกว่า 10 มิลลิลิตร / นาที / 1.73 ตารางเมตร เนื่องจากไตไม่สามารถขจัดของเสีย รักษาสมดุลน้ำและเกลือแร่ในร่างกายได้อีกต่อไป จนเริ่มส่งผลกระทบต่อระบบอื่น ๆ ในร่างกายอย่างรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นภาวะน้ำท่วมปอด, เลือดเป็นกรด, เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ, หัวใจล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด

ผู้ป่วยกลุ่มไหนที่จะต้องเข้ารับการฟอกไต? 

  • ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ไม่ว่าจะมีสาเหตุจากโรคไตเอง หรือสาเหตุจากโรคอื่น เช่น เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไตอักเสบจากภูมิคุ้มกัน
  • ผู้ป่วยโรคไตวายเฉียบพลันที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น น้ำท่วมปอด, ภาวะเกลือแร่ผิดปกติ หรือสมดุลกรด-ด่างผิดปกติที่ไม่สามารถแก้ไขด้วยการใช้ยาได้, ภาวะยูมีเรียจากของเสียคั่งค้างในร่างกาย

“รักษาด้วยการฟอกไต มีโอกาสหายไหม? สำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง การฟอกไตเป็นเพียงวิธีลดผลกระทบที่เกิดจากโรคไตเท่านั้น ไม่สามารถชะลอการลุกลามและรักษาให้หายจากโรคไตวายได้”

รู้จักวิธีฟอกไต มีแบบไหนบ้าง?

เครื่องฟอกไตมีกี่แบบ

วิธีการฟอกไตที่ใช้ในปัจจุบันมีอยู่ 2 วิธีหลัก ดังนี้

การฟอกไตทางหลอดเลือด (Hemodialysis)

การฟอกไตทางหลอดเลือด คือวิธีการขจัดของเสีย สารพิษ และน้ำส่วนเกินด้วยเครื่องไตเทียมที่อยู่ภายนอกร่างกาย ซึ่งขั้นตอนการฟอกไตทางหลอดเลือดจะเริ่มต้นจากผ่าตัดต่อหลอดเลือดขยายหลอดเลือดดำให้ใหญ่ขึ้นและพาเลือดเข้าสู่เครื่องไตเทียมได้ เมื่อต้องฟอกไตจะทำการใส่เข็มเข้าที่หลอดเลือด 2 เส้น 

  • เส้นเลือดแรก เพื่อเป็นทางให้เลือดออกจากร่างกายและหมุนเวียนเข้าไตเทียม ซึ่งภายในไตเทียมจะมีตัวกรอง Dialyzer ที่มีน้ำยาฟอกเลือด ช่วยดึงของเสีย น้ำส่วนเกินภายในเลือด และปรับสมดุลเกลือแร่ให้เหมาะสม
  • เส้นเลือดที่สอง เพื่อให้เลือดที่ผ่านการกรองแล้วไหลกลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้ง

การฟอกไตวิธีนี้ ผู้ป่วยจะต้องเข้ามาฟอกไตที่โรงพยาบาลหรือศูนย์ฟอกไต โดยจะใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงต่อครั้ง และต้องทำอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค

การฟอกไตทางช่องท้อง (Peritoneal Dialysis)

การฟอกไตทางช่องท้องเป็นวิธีการขจัดของเสีย สารพิษ และน้ำส่วนเกินด้วยการใช้เยื่อบุช่องท้องเป็นตัวกรองแทนไต โดยก่อนจะฟอกไตด้วยวิธีนี้จะต้องเข้ารับการผ่าตัดใส่ท่อฟอกไตผ่านผนังหน้าท้อง (Peritoneum) เพื่อเป็นช่องทางให้น้ำยาฟอกไตเข้า-ออก หลังจากนั้น 1-2 สัปดาห์จึงจะเริ่มฟอกไตทางช่องท้องได้ ซึ่งมีวิธีการดังนี้

  1. ผู้ป่วยเติมน้ำยาฟอกไตเข้าสู่ช่องท้องผ่านท่อที่ผ่าตัดต่อไว้ 
  2. น้ำยาฟอกไตจะทำงานแลกเปลี่ยนของเสีย ปรับสมดุลเกลือแร่ และดึงน้ำส่วนเกินออกจากเลือด 
  3. เมื่อครบ 4-6 ชั่วโมง ให้ปล่อยน้ำยาทิ้งออกจากช่องท้อง จากนั้นให้เติมน้ำยาใหม่เข้าสู่ช่องท้องอีกครั้ง

การฟอกไตวิธีนี้ ผู้ป่วยสามารถทำได้เองที่บ้าน และจะต้องทำทุกวัน วันละประมาณ 4-6 ครั้งต่อวัน หรือตามคำแนะนำของแพทย์

เมื่อไหร่ที่คุณต้องเริ่มฟอกไต?

เมื่อไหร่ที่คุณต้องเริ่มฟอกไต

ไม่ใช่ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังทุกคนที่จะต้องเข้ารับการฟอกไตทันที เพราะแพทย์จะพิจารณาให้ผู้ป่วยฟอกไต เมื่อไตของผู้ป่วยมีความสามารถในการกรองของเสียออกจากเลือดไม่ถึง 10 มิลลิลิตร / นาที / 1.73 ตารางเมตร ซึ่งอาการที่บ่งบอกว่าคุณจะต้องเริ่มฟอกไตแล้วมีดังนี้

  • ภาวะเลือดเป็นกรด 
  • ระดับเกลือแร่ผิดปกติ
  • ภาวะบวมน้ำรุนแรง เสี่ยงต่อระบบหายใจล้มเหลว
  • เยื่อหุ้มปอดหรือเยื่อหัวใจอักเสบ
  • ภาวะยูรีเมีย ผู้ป่วยมีอาการมึนงง ชักกระตุก หมดสติ

วิธีเตรียมตัวก่อนฟอกไตครั้งแรก

ฟอกไต ทํายังไง

เมื่อแพทย์พิจารณาให้ผู้ป่วยเข้ารับการฟอกไต อันดับแรก ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อเตรียมตัวสำหรับการฟอกไตก่อน ซึ่งการฟอกไตทั้งสองวิธีจะมีการผ่าตัดที่ต่างกัน ดังนี้

  • วิธีฟอกไตทางหลอดเลือด : แพทย์จะทำการผ่าตัดสร้างเส้นเลือดสำหรับการฟอกไตขึ้นมา ซึ่งวิธีการเตรียมเส้นฟอกเลือดนั้นมีทั้งหมด 3 แบบ ได้แก่
    1. การใช้หลอดเลือดจริง (Arteriovenous Fistula; AVF) เป็นการนำหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดงจริงของผู้ป่วยมาผ่าตัดเชื่อมต่อกัน เพื่อให้หลอดเลือดดำมีขนาดใหญ่และแข็งแรงขึ้น เหมาะสมต่อการนำเลือดออกมาฟอกในเครื่องไตเทียม
    2. การใช้หลอดเลือดเทียม (Arteriovenous Graft; AVG) เป็นการใส่หลอดเลือดเทียมเชื่อมระหว่างหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดง จะใช้วิธีนี้ก็ต่อเมื่อหลอดเลือดของผู้ป่วยมีขนาดเล็กจนไม่สามารถผ่าตัดเชื่อมหลอดเลือดจริงได้
    3. การใส่สายสวน (Permanent catheter) เป็นวิธีการใส่สายขนาดใหญ่กับหลอดเลือดดำใหญ่ที่คอ หรือที่ขา เพื่อให้เลือดสามารถไหลเข้าไตเทียมได้เร็ว จะใช้วิธีนี้ก็ต่อเมื่อเส้นเลือดของผู้ป่วยมีปัญหาจนไม่สามารถผ่าตัดเชื่อมหลอดเลือดได้ ผู้ที่มีความดันต่ำ หรือผู้ที่ต้องฟอกไตด่วน เนื่องจากหลังผ่าตัดสามารถใช้ฟอกเลือดได้ทันที
  • วิธีฟอกไตทางช่องท้อง : แพทย์จะต่อท่อเทนซ์คอฟฟ์ (Tenchkoff Catheter) เข้าที่ช่องท้องออกสู่นอกร่างกาย เพื่อใช้เป็นช่องทางเข้า-ออกของน้ำยาฟอกไต 

นอกจากการเตรียมพร้อมร่างกายเพื่อการฟอกไตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ป่วยยังควรเตรียมจิตใจให้พร้อมเนื่องจากการฟอกไตในแต่ละครั้งจะใช้ระยะเวลานานหลายชั่วโมง หากเป็นการฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียม ระหว่างทำหัตถการ แนะนำให้เตรียมหนังสือหรือแบตเตอรี่มือถือให้พร้อมเพื่อทำกิจกรรมผ่อนคลายระหว่างรอ แต่หากเป็นการฟอกไตทางช่องท้อง ผู้ป่วยอาจทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้หลากหลายกว่าเนื่องจากหลังใส่น้ำยาฟอกไตในหน้าท้องแล้วจะสามารถเคลื่อนย้ายได้อิสระ

แต่ไม่ว่าจะเป็นการฟอกไตวิธีไหน ผู้ป่วยจะต้องค่อย ๆ ปรับวิถีการดำเนินชีวิตให้เพื่อให้เกิดความคุ้นชิน

การฟอกไต มีสิ่งที่ควรระวังหรือไม่?

เพื่อให้การฟอกไตเป็นไปอย่างปลอดภัย ลดโอกาสเกิดผลข้างเคียง และอาการแทรกซ้อนจากการฟอกไตให้ได้มากที่สุด แพทย์จะมีการซักประวัติผู้ป่วยเพื่อประเมินถึงการเลือกวิธีฟอกไตที่เหมาะสมให้แก่ผู้ป่วย

นอกจากนี้ ผู้ป่วยจะต้องปรับพฤติกรรมให้ถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะการรับประทานอาหาร ที่ต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มหรือที่มีโซเดียมสูง รวมถึงอาหารหมักดอง อาหารรสจัด อาหารที่ผ่านการแปรรูป เช่น ไส้กรอก แหนม หมูยอ เครื่องดื่มที่มีฟอสเฟสสูง เพื่อป้องกันภาวะเกลือแร่ผิดปกติ ภาวะพาราไทรอยด์สูง และระวังเกิดการติดเชื้อบริเวณเส้นฟอกไต

ฟอกไต เพื่อชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพที่สถาบันโรคไต โรงพยาบาลพระรามเก้า

หากไตไม่สามารถขจัดของเสีย สารพิษหรือน้ำส่วนเกินออกจากร่างกายได้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต การฟอกไตจึงมีความสำคัญต่อผู้ป่วยโรคไตเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่จะต้องทำไปตลอดชีวิตหรือจนกว่าจะได้รับการปลูกถ่ายไตใหม่ ดังนั้น ผู้ป่วยควรจะต้องดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจของตนเองอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตต่อไปอย่างมีความสุข

ที่สถาบันโรคไต โรงพยาบาลพระรามเก้า พร้อมให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไตโดยทีมแพทย์เฉพาะทางหลากหลายสาขา ร่วมกับทีมพยาบาลวิชาชีพและทีมสนับสนุน เราทำงานเป็นทีมสหวิชาชีพเพื่อให้ผู้ป่วยโรคไตได้รับการรักษาอย่างครอบคลุมและปลอดภัยที่สุด 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

  • Facebook : Praram 9 hospital  
  • Line : @Praram9Hospital
  • โทร. 1270

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับฟอกไต

1. การฟอกไตมีผลข้างเคียงหรือไม่?

การฟอกไตเป็นหัตถการที่มีความเสี่ยงเช่นเดียวกับการทำหัตถการอื่น ๆ เช่น การติดเชื้อ หรือความดันโลหิตผิดปกติ อย่างไรก็ตาม โอกาสพบความเสี่ยงจากการฟอกไตในปัจจุบันพบได้น้อยมาก เนื่องจากแพทย์จะให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับการฟอกไต รวมถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น วิธีการดูแลตนเอง และอาการที่ควรเฝ้าระวัง ซึ่งการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการฟอกไตอย่างปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

2. ผู้ป่วยฟอกไตสามารถเดินทางได้หรือไม่?

ผู้ป่วยฟอกไตยังสามารถเดินทางได้ตามปกติ เพียงแต่หากเป็นผู้ป่วยฟอกไตทางหลอดเลือด จะต้องวางแผนการเดินทางอย่างรอบคอบเพื่อให้สามารถฟอกเลือดตามตารางที่กำหนด สำหรับผู้ป่วยฟอกไตที่คลินิกหรือโรงพยาบาลอาจถูกจำกัดการเดินทางระยะเวลานาน เนื่องจากจะต้องเข้ารับการฟอกไตอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง แต่สำหรับผู้ป่วยฟอกไตทางช่องท้องจะมีความยืดหยุ่นมากกว่า เพราะสามารถพกพาอุปกรณ์สำหรับฟอกไตขณะเดินทางได้

3. การฟอกไตกับการล้างไตต่างกันหรือไม่?

ล้างไตกับฟอกไตต่างกันอย่างไร? แท้จริงแล้วทั้ง 2 อย่าง เป็นวิธีการฟอกไตด้วยกันทั้งคู่ เพียงแต่หากพูดถึงการ ‘ล้างไต’ ก็มักจะนึกถึงการฟอกไตผ่านช่องท้อง

References

Ellsworth, PI. (2024, December 23). Peritoneal Dialysis Catheter Insertion. Medscape. https://emedicine.medscape.com/article/1829737-overview?form=fpf

Hemodialysis. (2018). National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases.https://www.niddk.nih.gov/health-information/kidney-disease/kidney-failure/hemodialysis 

Dialysis. (2021, August 8). Cleveland Clinic. https://my.clevelandclinic.org/health/treatments/14618-dialysis

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

92FDB96F-7A9C-408E-B3FD-3AAE4BF0AE70

พญ.ชโลธร แต้ศิลปสาธิต

สถาบันโรคไตและเปลี่ยนไต

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

1677919536144

สถาบันโรคไตและเปลี่ยนไต

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา