Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

เข้าใจภาวะเลือดออกในสมอง วิกฤติสุขภาพที่อาจร้ายแรงถึงชีวิต

พญ.สลิษา ประดิษฐบาทุกา

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 24 พฤษภาคม 2025
เลือดออกในสมอง

เลือดออกในสมอง ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่คร่าชีวิตผู้ป่วยจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที เนื่องจากผู้ป่วยหรือคนใกล้ชิดมักขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสัญญาณเตือนของภาวะดังกล่าว

การตระหนักรู้และทำความเข้าใจถึงอาการและปัจจัยเสี่ยงของภาวะเลือดออกในสมองอย่างถูกต้อง จะช่วยให้สามารถเข้ารับการรักษาได้เร็วขึ้น ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อโอกาสในการฟื้นตัว และสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างใกล้เคียงปกติอีกครั้ง

Key Takeaways

  • เลือดออกในสมองจัดอยู่ในกลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง ที่เกิดขึ้นจากหลอดเลือดในสมองแตกและมีเลือดซึมในสมอง
  • เลือดออกในสมองทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น สมองบวม ความดันในกะโหลกสูง และเกิดความผิดปกติทางระบบประสาทขึ้น 
  • อาการเลือดคั่งในสมองที่ปรากฏขึ้นอยู่กับตำแหน่งและปริมาณเลือดที่คั่งในสมอง โดยอาการทั่วไปที่พบได้ เช่น ปวดศีรษะรุนแรง อ่อนแรง สูญเสียการทรงตัว มองเห็นผิดปกติ สับสน หมดสติ ฯลฯ
  • เลือดออกในสมองจำเป็นต้องรับการรักษาโดยเร็ว เนื่องจากเป็นภาวะฉุกเฉินที่สามารถก่อให้เกิดความพิการและเสียชีวิตได้ในระยะเวลาอันสั้น

สารบัญบทความ

  • เลือดออกในสมองคืออะไร?
  • สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเลือดออกในสมองเกิดจากอะไร
  • อาการเลือดออกในสมอง สังเกตได้ไว รับการรักษาได้ทันท่วงที
  • การวินิจฉัยเลือดออกในสมอง
  • แนวทางการรักษาเลือดออกในสมอง
  • แนวทางการฟื้นฟูหลังรับการรักษาเลือดออกในสมอง
  • เราสามารถป้องกันเลือดออกในสมองได้หรือไม่?
  • เลือดออกในสมองป้องกันและรักษาได้ หากเข้าใจและรับการรักษาทันท่วงที
  • คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลือดออกในสมอง

เลือดออกในสมองคืออะไร? 

เลือดออกในสมอง (Intracerebral Hemorrhage; ICH) คือภาวะที่หลอดเลือดภายในสมองแตก ส่งผลให้เลือดรั่วไหลออกจากหลอดเลือดและคั่งอยู่ภายในเนื้อสมอง เลือดที่คั่งอยู่นี้จะกดทับเนื้อสมองโดยรอบ ทำให้เนื้อสมองบริเวณนั้นได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ และอาจเกิดความเสียหายถาวรต่อสมอง

เลือดออกในสมองจัดอยู่ในกลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ที่มีความรุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตสูงมากกว่าโรคหลอดเลือดสมองแบบขาดเลือด เนื่องจากเลือดที่คั่งในสมองทำให้เกิดแรงดันในสมองเพิ่มขึ้นจนทำให้การทำงานของสมองส่วนนั้นล้มเหลว 

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเลือดออกในสมองเกิดจากอะไร

ภาวะเลือดออกในสมองสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากอุบัติเหตุที่ทำให้ศีรษะเกิดการกระแทก และจากการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดสมอง ซึ่งสามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดเลือดคั่งในสมองได้อีกเป็นสองประเภท ดังนี้

Primary Intracerebral Hemorrhage

เป็นสาเหตุที่พบได้มากถึง 85% ของภาวะเลือดออกในสมองทั้งหมด ซึ่งสาเหตุนี้มักจะไม่พบความผิดปกติทางพยาธิวิทยา และพบบ่อยในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง หรืออายุมาก

  • ความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นปัจจัยเสี่ยงที่พบได้บ่อยที่สุด เนื่องจากความดันโลหิตที่สูงเป็นเวลานานทำให้หลอดเลือดเสื่อม หนา และเปราะ หรืออาจเกิดหลอดเลือดสมองโป่งพองเล็ก ๆ ขึ้นได้ 
  • ผนังหลอดเลือดในสมองเปราะ (Cerebral amyloid angiopathy) เกิดจากการสะสมของโปรตีนอะไมลอนด์ภายในผนังหลอดเลือดสมอง พบมากในผู้สูงอายุ

ปัจจัยดังกล่าวนั้นทำให้หลอดเลือดในสมองเปราะ เมื่อความดันโลหิตสูงเฉียบพลัน หรือเกิดการกระทบกระเทือนจากภายนอก หลอดเลือดที่เปราะไม่สามารถทนแรงดันจากเลือดได้จึงทำให้เลือดออกในสมอง

Secondary Intracerebral Hemorrhage

เป็นภาวะเลือดออกในสมองที่มีสาเหตุชัดเจน สามารถพบความผิดปกติทางพยาธิวิทยา โดยสาเหตุที่จัดอยู่ในประเภทนี้ได้แก่

  • โรคหลอดเลือดผิดปกติ (Vascular malformations) เช่น AVM (Arteriovenous malformation) หรือ Cavernous malformations เป็นภาวะที่หลอดเลือดแดงกับหลอดเลือดดำเชื่อมกันโดยไม่มีเส้นเลือดฝอย ซึ่งหลอดเลือดดำมีผนังที่บางกว่าจึงไม่สามารถทนแรงดันเลือดที่พบได้ในหลอดเลือดเเดงปกติ ทำให้มีโอกาสแตกง่าย พบมากในผู้ป่วยเด็กที่มีอาการเลือดออกในสมอง
  • หลอดเลือดสมองโป่งพอง (Cerebral Aneurysms) เกิดจากผนังหลอดเลือดเสื่อมสภาพ ทำให้เส้นเลือดโป่งพองและแตกออก
  • เนื้องอกในสมอง (Brain tumor) สามารถก่อให้เกิดเลือดออกในสมองได้จากการที่เนื้องอกเจริญเติบโตไปทำลายหลอดเลือด หรือหลอดเลือดใหม่ที่ถูกสร้างเพื่อหล่อเลี้ยงเนื้องอกเกิดแตกตัว
  • ความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด โดยอาจเกิดขึ้นจากโรคทางพันธุกรรม (Hemophilia, Thrombocytopenia) หรือจากผลข้างเคียงของยารักษาโรค (Warfarin, Aspirin) ซึ่งทำให้เลือดออกง่ายและหยุดไหลยาก
  • การใช้สารเสพติด เช่น บุหรี่ แอลกอฮอล์ โคเคน ซึ่งสารเหล่านี้ทำให้ความดันโลหิตสูง และยังทำลายหลอดเลือด ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพ โป่งพอง 

อาการเลือดออกในสมอง สังเกตได้ไว รับการรักษาได้ทันท่วงที

อาการเลือดออกในสมอง จากการกระแทก

เลือดออกในสมอง อาการรุนแรงแค่ไหนขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่หลอดเลือดแตก และปริมาณที่เลือดคั่งในสมอง แต่โดยทั่วไปมักจะพบอาการดังต่อไปนี้

  • ปวดศีรษะรุนแรงเฉียบพลัน (Thunderclap Headache) อาจพบอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
  • มีอาการอ่อนแรง หรือชาด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย
  • สูญเสียการทรงตัวและการเคลื่อนไหว
  • การมองเห็นผิดปกติ หรือสูญเสียการมองเห็นบางส่วน
  • พูดไม่ชัด หรือโต้ตอบกลับไม่ได้
  • มีอาการชักหรือเกร็ง
  • เกิดอาการสับสน ซึม หมดสติ

ภาวะเลือดออกในสมองสามารถสังเกตได้ หากพบเร็วและได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที ก็มีโอกาสที่จะรอดชีวิตและกลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติได้สูงขึ้น

การวินิจฉัยเลือดออกในสมอง

โอกาสรอดชีวิตและการฟื้นตัวของผู้ป่วยขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยที่รวดเร็วและแม่นยำในช่วงเวลาทอง (Golden time) เมื่อผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล จะมีขั้นตอนการวินิจฉัยคัดกรองโรคดังนี้

  • แพทย์ซักประวัติ สอบถามอาการผู้ป่วย และตรวจระบบประสาท เพื่อประเมินอาการเบื้องต้น
  • ส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาตำแหน่งเลือดออกในสมอง โดยเฉพาะ CT Scan ซึ่งเป็นการส่งตรวจขั้นต้นสำหรับผู้ป่วยที่สงสัยโรคดังกล่าว
  • แพทย์อาจขอตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุ เช่น MRI Brain เหมาะกับการหาสาเหตุซ่อนเร้นที่อาจไม่เร่งด่วนมาก CT Angiography เพื่อดูสภาพหลอดเลือดสมอง การตรวจเลือด เพื่อดูความสามารถในการแข็งตัวของเลือด ค่าเกล็ดเลือด การอักเสบ เป็นต้น

แนวทางการรักษาเลือดออกในสมอง

เลือดออกในสมอง หายได้ไหม

การได้รับการรักษาที่เหมาะสมและรวดเร็วช่วยลดความเสียหายจากเลือดออกในสมอง และยังช่วยให้สมองสามารถฟื้นฟูกลับมาได้เร็วขึ้น ซึ่งจะใช้วิธีรักษาแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเลือดที่ออกในสมอง และปริมาณเลือดที่ไหลออก

การผ่าตัด

เป็นวิธีรักษาเลือดคั่งในสมองระดับรุนแรง คือ มีเลือดออกปริมาณมาก มีการกดทับเนื้อสมองจนบวม ซึ่งแพทย์อาจจะเลือกวิธีผ่าตัดสมองที่เหมาะสมกับอาการ เช่น

  • การใส่ท่อระบายน้ำไขสันหลังหรือเลือดในโพรงสมอง (External Ventricular Drainage – EVD) เพื่อระบายน้ำไขสันหลังหรือเลือดที่คั่งในสมอง
  • การผ่าตัดระบายก้อนเลือด (Craniotomy with Hematoma Evacuation) เปิดกะโหลกศีรษะเพื่อนำเลือดหรือลิ่มเลือดอุดตันออกจากเนื้อสมองที่เป็นสาเหตุของสมองบวม
  • การผ่าตัดผ่านกล้องขนาดเล็ก (Minimally Invasive Surgery / Endoscopic Evacuation) โดยการส่องกล้องและดูดเอาก้อนเลือดผ่านรูเจาะขนาดเล็ก วิธีนี้ลดความเสียหายของเนื้อสมองและลดการบาดเจ็บจากการเปิดกะโหลกได้ 
  • การผ่าตัดรักษาความผิดปกติของหลอดเลือด (Aneurysm Clipping / AVM Resection) ใช้รักษาหลอดเลือดในสมองแตกจากหลอดเลือดโป่งพองหรือหลอดเลือดผิดปกติ

การใช้ยา

เป็นวิธีรักษาเลือดออกในสมองที่ไม่รุนแรง เลือดออกเล็กน้อย ไม่มีอาการวิกฤติ โดยแพทย์จะจ่ายยาลดบวมในสมอง เพื่อลดความเสียหายของสมอง รวมถึงการจ่ายยาที่ช่วยลดโอกาสเกิดหลอดเลือดในสมองแตก เช่น ยาลดความดัน ยาห้ามเลือด ฯลฯ

แนวทางการฟื้นฟูหลังรับการรักษาเลือดออกในสมอง

หลังได้รับการรักษาเลือดออกในสมองแล้วผู้ป่วยอาจต้องทำการฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติอีกครั้ง โดยอาจมีการทำกายภาพบำบัด การฝึกพูด และการฟื้นฟูการทำกิจวัตรประจำวัน รวมถึงการแนะนำแนวทางปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคซ้ำ ซึ่งระยะเวลาในการฟื้นฟูขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น

เราสามารถป้องกันเลือดออกในสมองได้หรือไม่?

เลือดออกในสมองสามารถป้องกันได้ โดยเฉพาะสาเหตุที่ควบคุมได้ ดังนี้

  • ป้องกันศีรษะกระทบกระเทือนการเกิดอุบัติเหตุด้วยการใส่หมวกกันน็อค หรือคาดเข็มขัดนิรภัยกรณีขับขี่หรือเล่นกีฬาผาดโผน
  • ป้องกันไม่ให้ความดันโลหิตสูง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกายและหลอดเลือด
  • ควบคุมอาหารและน้ำหนักตัว ลดความเสี่ยงไขมันในเลือดสูง
  • ไม่ใช่สารเสพติด สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้หลอดเลือดเสื่อม
  • กรณีที่ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือมีโรคประจำตัวใด ๆ ที่อาจเป็นปัจจัยหลอดเลือดในสมองแตก ควรเข้ารับการติดตามกับแพทย์อยู่เสมอ

เลือดออกในสมองป้องกันและรักษาได้ หากเข้าใจและรับการรักษาทันท่วงที

เลือดออกในสมอง เป็นภาวะฉุกเฉินที่รุนแรงและอาจก่อให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิตได้เลย ดังนั้น เวลา จึงเป็นกุญแจสำคัญที่มีผลต่อโอกาสการรอดชีวิตและการฟื้นตัวของผู้ป่วยในระยะยาว หากมีความรู้และความเข้าใจถึงอาการหรือสัญญาณเตือนภาวะเลือดออกในสมอง ก็สามารถช่วยให้ผู้ป่วยสามารถได้รับการรักษาที่เหมาะสมอย่างทันท่วงทีและกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติอีกครั้ง

เพราะทุกนาทีคือโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วย ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลพระรามเก้า เรามุ่งมั่นที่จะวินิจฉัยและรักษาอย่างแม่นยำ รวดเร็ว โดยแพทย์เฉพาะทางโรคสมองและระบบประสาท นอกจากนี้ เรายังคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังการรักษาด้วยการฟื้นฟูและดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการป้องกันความเสี่ยงการเกิดโรคซ้ำในระยะยาว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

  • Facebook : Praram 9 hospital
  • Line : @Praram9Hospital
  • โทร. 1270

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลือดออกในสมอง

1. เลือดออกในสมองอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างไร?

เลือดออกในสมองอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่าง เช่น สมองบวม สมองเคลื่อนตัว เลือดออกซ้ำ อาการชัก อัมพฤกษ์อัมพาต ซึ่งอาการเหล่านี้อาจทำให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิตได้

2. เลือดออกในสมองมีโอกาสรอดเท่าไหร่?

โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ป่วยเลือดออกในสมองจะมีโอกาสรอดรอดชีวิตในระยะเวลา 5 ปีจะอยู่ที่ 26.7% นั่นหมายความว่า ผู้ป่วยประมาณ 1 ใน 4 คนจะมีชีวิตอยู่เกิน 5 ปี หลังจากมีเลือดคั่งในสมอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เลือดออก ความรุนแรง การได้รับการรักษาที่รวดเร็วและแม่นยำ 

References

Liebeskind, DS. (2018, December 7). Intracranial Hemorrhage. Medscape. https://emedicine.medscape.com/article/1163977-overview?form=fpf#a4

Memon, N. (n.d.). What Are the Chances of Surviving Bleeding in the Brain?. MedicineNet. https://www.medicinenet.com/chances_of_surviving_bleeding_in_the_brain/article.htm

Rajashekar, D & Liang, JW. (2023, February 6). Intracerebral Hemorrhage. [Updated 2023 Feb 6]. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2025 Jan-. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK553103/

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.สลิษา ประดิษฐบาทุกา

พญ.สลิษา ประดิษฐบาทุกา

ศูนย์สมองและระบบประสาท

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์สมองและระบบประสาท

ศูนย์สมองและระบบประสาท

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา