Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

การทำเด็กหลอดแก้ว เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก

พญ.พิชชา ปิ่นจันทร์

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 13 มีนาคม 2023
เด็กหลอดแก้ว

ว่ากันว่ากว่าคนสองคนจะพร้อมมีลูก ทั้งคู่ต้องคิดวางแผน และมีสารพัดคำถามหลายสิบข้อ เพื่อตระเตรียมความพร้อมต้อนรับ ‘เจ้าตัวน้อย’ มาเป็นสมาชิกคนใหม่ในบ้าน …แต่ในตอนที่ทุกอย่างเกือบจะมาถึงจุดหมาย ว่าที่คุณพ่อ-คุณแม่มือใหม่กลับต้องเผชิญสิ่งที่หลายครอบครัวไม่อยากเจอ อย่าง “ภาวะมีบุตรยาก” ปัญหาที่ส่งผลกระทบทั้งสุขภาพและความสัมพันธ์ การทำเด็กหลอดแก้ว หรือที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า  IVF เป็นเทคโนโลยีเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ที่สามารถเพิ่มโอกาสการมีบุตร สำหรับคู่สามี-ภรรยาที่มีบุตรยากได้

สารบัญ

  • การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) คืออะไร?
  • ขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) มีอะไรบ้าง?
  • การทำเด็กหลอดแก้วแล้วสำเร็จ มีมากน้อยแค่ไหน?
  • แบบไหนที่ถือว่าเป็นภาวะมีบุตรยาก?
  • สาเหตุของภาวะมีบุตรยากมีอะไรบ้าง?
  • การตรวจภาวะมีบุตรยาก
  • สรุป

การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) คืออะไร?

IVFเด็กหลอดแก้วคืออะไร

การทำเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF (In-Vitro Fertilization) คือเทคโนโลยีเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ที่เพิ่มโอกาสการมีบุตรด้วยการนำไข่และอสุจิของคู่สมรสออกมาปฏิสนธิกันนอกร่างกาย และเกิดเป็นตัวอ่อนในหลอดแก้ว และเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ตัวอ่อนจะถูกย้ายเข้าไปในโพรงมดลูกของฝ่ายหญิงและเกิดการตั้งครรภ์ในที่สุด ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาให้กับคู่สามี-ภรรยาที่มีภาวะมีบุตรยากให้สามารถตั้งครรภ์และมีบุตรได้

> กลับสู่สารบัญ

ขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) มีอะไรบ้าง?

ขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้ว

โดยขั้นตอนของการทำเด็กหลอดแก้ว มีดังนี้

  • แพทย์จะใช้ยากระตุ้นไข่ของฝ่ายหญิง ซึ่งจะเป็นฮอร์โมนแบบฉีด โดยให้ต่อเนื่องราว 8-12 วัน เพื่อเพิ่มจำนวนการตกไข่ 
  • แพทย์จะทำการเจาะดูดไข่ออกมานอกร่างกายฝ่ายหญิง
  • ในวันเดียวกับการเก็บไข่ แพทย์จะให้ฝ่ายชายเก็บอสุจิออกมา ซึ่งในกรณีที่เก็บอสุจิไม่ได้หรือฝ่ายชายไม่มีอสุจิ แพทย์จะทำการเจาะอสุจิจากบริเวณท่อพักหรือจากตัวอัณฑะออกมา
  • แพทย์จะทำการคัดแยกอสุจิของฝ่ายชาย และฉีดอสุจิของฝ่ายชายเข้าไปในหลอดแก้ว เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิและเกิดเป็นตัวอ่อนในหลอดแก้ว 
  • เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ตัวอ่อนนั้นจะถูกย้ายกลับเข้าไปในโพรงมดลูกของฝ่ายหญิงให้เกิดการฝังตัว พร้อมตั้งครรภ์ในท้ายที่สุด 

อีกทั้งในระหว่างกระบวนการทำ IVF จะใช้วิธี ICSI (Intra Cytoplasmic Sperm Injection) หรืออิ๊กซี่ โดยจากปกติที่จะให้อสุจิจำนวนหนึ่งเข้าไปปฏิสนธิกับไข่เอง แต่ ICSI คือการคัดเลือกอสุจิที่ดูดีและเคลื่อนไหวได้ดีมา 1 ตัว แล้วจึงฉีดเข้าไปในไข่ เพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จในการปฏิสนธิให้มีมากขึ้น

> กลับสู่สารบัญ

การทำเด็กหลอดแก้วแล้วสำเร็จ มีมากน้อยแค่ไหน?

อัตราความสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่

  • อายุของฝ่ายหญิง เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่มีผลต่อความสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้ว
    • ฝ่ายหญิงที่อายุน้อยกว่า 40 ปี โอกาสตั้งครรภ์จะมีสูงถึง 30-40% 
    • ฝ่ายหญิงที่อายุ 40 ปี โอกาสตั้งครรภ์ลดเหลือ 10-15%
    • ฝ่ายหญิงที่อายุประมาณ 42 ปี โอกาสตั้งครรภ์เหลือประมาณ 5-10%
    • ฝ่ายหญิงที่อายุ 44 ปีขึ้นไป โอกาสที่จะตั้งครรภ์จะเหลือน้อยกว่า 5% (โดยทฤษฎี)
  • คุณภาพของอสุจิ 
  • คุณภาพของตัวอ่อนหลังการปฏิสนธิ

> กลับสู่สารบัญ

แบบไหนที่ถือว่าเป็นภาวะมีบุตรยาก?

ภาวะมีบุตรยาก คือการที่คู่สมรสไม่สามารถประสบผลสำเร็จในการตั้งครรภ์ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ใช้การคุมกำเนิด โดยปกติจะนิยามว่ามีบุตรยากได้ จะนับจากระยะเวลาหลังจากการใช้ชีวิตคู่อย่างน้อย 1 ปี แต่ปัจจุบันมีข้อมูลใหม่โดยใช้อายุของฝ่ายหญิงมาตัดสินร่วมด้วย คือถ้าอายุน้อยกว่า 35 ปี จะนิยามด้วยเกณฑ์เวลา 1 ปีเท่าเดิม แต่ถ้าฝ่ายหญิงมีอายุมากกว่า 35 ปี จะนับเวลาแค่เพียง 6 เดือน เพราะคุณภาพไข่จะลดลงไปตามวัย และจะแย่ลงไปอีกหากฝ่ายหญิงมีอายุเกินกว่า 38 ปีขึ้นไป

ภาวะมีบุตรยาก

> กลับสู่สารบัญ

สาเหตุของภาวะมีบุตรยากมีอะไรบ้าง?

แม้คำนิยามของภาวะมีบุตรยากจะขึ้นกับอายุฝ่ายหญิงเป็นหลัก แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากก็สามารถเกิดขึ้นได้จากทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง

  • ทางฝ่ายชาย มักมาจาก  “ความผิดปกติของอสุจิ” เป็นหลัก เช่น
    • ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองทำงานผิดปกติ
    • อัณฑะเกิดการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ การผ่าตัด หรือการฉายแสง
    • อสุจิไม่ออกมาจากการที่ท่อนำอสุจิตัน หรือมีการไหลย้อนของอสุจิกลับไปที่ท่อปัสสาวะ
    • โรคประจำตัวต่าง ๆ เช่นโรคเบาหวาน อวัยวะเพศไม่แข็งตัว หรือป่วยเป็นคางทูม ที่อาการรุนแรงจนส่งผลถึงอัณฑะ
    • ปัญหาทางจิตเวช ภาวะซึมเศร้า และความเครียดต่าง ๆ
  • ทางฝ่ายหญิง ปัจจัยหลักจะเป็นปัจจัยด้าน “อายุ” ที่ส่งผลโดยตรงกับคุณภาพของไข่ และยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้เช่นกัน เช่น
    • ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ ไม่สร้างฮอร์โมนมากระตุ้นรังไข่จนไม่เกิดการผลิตไข่
    • ความผิดปกติของรังไข่ เช่น ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง (PCOS) ภาวะรังไข่ล้มเหลวก่อนวัยอันควร (POF)
    • มีการผ่าตัดที่ตัวรังไข่หรือเกิดการติดเชื้อมาก่อน จนทำให้เหลือเนื้อรังไข่น้อย
    • เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งอาจส่งผลให้ท่อรังไข่บวม ตัน หรืออยู่ผิดตำแหน่ง
    • ตัวมดลูกผิดรูป เป็นความผิดปกติที่มีมาแต่กำเนิด
    • โรค “ช็อกโกแลตซีสต์” ที่เกิดจากการอักเสบในอุ้งเชิงกราน จนเกิดเป็นผังพืดและอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง

> กลับสู่สารบัญ

การตรวจภาวะมีบุตรยาก

การตรวจสอบภาวะมีบุตรยากในทางการแพทย์ จะตรวจสอบได้ทั้งฝ่ายชายและหญิง โดยทั่วไปของฝ่ายชายคือการเก็บอสุจิส่งตรวจ โดยจะดูในเรื่องจำนวน เปอร์เซ็นต์การเคลื่อนไหว และรูปร่างของอสุจิ ส่วนของฝ่ายหญิงจะเป็นการตรวจภายในทั่วไป และอัลตราซาวนด์หาความผิดปกติของอวัยวะ หรือมากกว่านั้น แพทย์จะใช้วิธีฉีดสีดูท่อนำไข่ หรือส่องกล้องในช่องโพรงมดลูก เพื่อดูเรื่องของเนื้องอกติ่งเนื้อต่าง ๆ เข้ามาประกอบ

เมื่อพบสาเหตุแล้ว ก็เท่ากับว่าผู้ป่วยจะได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อเพิ่มโอกาสการมีบุตรให้ได้มากที่สุด อย่างไรก็ตามในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาจากยาหรือการผ่าตัดแล้วยังไม่สามารถมีบุตรเองได้ ทางเลือกต่อไปที่มีโอกาสมากที่สุด คือการใช้เทคโนโลยีเจริญพันธุ์อย่าง “IVF หรือการทำเด็กหลอดแก้ว” เข้ามาช่วยดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ในมากขึ้น

สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

“ภาวะมีบุตรยาก” เป็นหัวข้อที่คู่สมรสควรจะปรึกษาแพทย์ หรือวางแผนร่วมกันตั้งแต่ก่อนแต่งงาน หรืออย่างน้อยก็ควรใช้วิธีตรวจก่อน เพราะหากบางคู่พยายามมีบุตรเองแล้วมาพบเจอปัญหาเหล่านี้ทีหลัง รอจนระยะเวลาผ่านไป 6 เดือน ไปเป็น 1 ปี แล้วอายุเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนอายุ 38-39-40 ปี ก็เท่ากับว่าคุณภาพไข่ก็จะยิ่งแย่ลงไปตามอายุ โอกาสในการตั้งครรภ์ก็อาจจะน้อยลง เทคโนโลยีการทำเด็กหลอดแก้วอาจช่วยแก้ปัญหาภาวะมีบุตรยากได้ 

แต่อย่างไรก็ตามไม่ควรรอจนอายุ 38-39-40 ปีแล้วจึงไปพบแพทย์ เพราะยิ่งอายุมาก โอกาสการตั้งครรภ์ยิ่งน้อยลงเรื่อย ๆ ดังนั้น หากคู่สามี-ภรรยาไม่สามารถมีบุตรได้เองภายใน 6 เดือนหรือ 1 ปี ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของการมีบุตรยาก

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

สนใจนัดหมาย

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.พิชชา ปิ่นจันทร์

พญ.พิชชา ปิ่นจันทร์

ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก (IVF)

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

doc-logo

ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก (IVF)

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา