Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

เชื้อ HPV ภัยเงียบที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 21 สิงหาคม 2024
เชื้อ hpv

เชื้อ HPV หรือ Human Papillomavirus เป็นไวรัสที่มีหลายสายพันธุ์ เป็นไวรัสที่พบได้บ่อยและมีผลกระทบต่อสุขภาพ เป็นไวรัสที่เป็นสาเหตุสำคัญของมะเร็งปากมดลูก สามารถพบการติดเชื้อไวรัสนี้ได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง สามารถก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ ตั้งแต่หูดที่ผิวหนังไปจนถึงมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์อื่น ๆ

สนใจนัดหมายแพทย์

สารบัญ

  • เชื้อ HPV คืออะไร?
  • เชื้อ HPV ติดต่อได้อย่างไรบ้าง?
  • ติดเชื้อ HPV แล้ว อาการเป็นอย่างไร?
  • การวินิจฉัยเชื้อ HPV
  • การรักษาเมื่อติดเชื้อ HPV
  • การป้องกันการติดเชื้อ HPV
  • สรุป

เชื้อ HPV คืออะไร?

เชื้อ HPV หรือ Human Papillomavirus เป็นเชื้อไวรัสที่มี DNA 2 สาย เชื้อไวรัส HPV มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ โดยแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ 

  • เชื้อกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ
    มักทำให้เกิดหูดที่ผิวหนังหรืออวัยวะเพศ เช่น HPV สายพันธุ์ 6 และ 11 
  • เชื้อกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง
    เป็นเชื้อกลุ่มที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก และมะเร็งศีรษะและลำคอ สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น HPV สายพันธุ์ 16 และ 18

> กลับสู่สารบัญ

เชื้อ HPV ติดต่อได้อย่างไรบ้าง?

เชื้อ HPV ติดต่อได้โดยการสัมผัสโดยตรงกับผิวหนังหรือเยื่อบุที่มีการติดเชื้ออยู่ ซึ่งส่วนใหญ่จะติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทั้งแบบปกติ ทางทวารหนัก และทางปาก การใช้ถุงยางอนามัยสามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้แต่ไม่สามารถป้องกันได้ทั้งหมด เนื่องไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อบริเวณผิวหนังที่ไม่ถูกห่อหุ้มด้วยถุงยางอนามัยได้ 

การติดเชื้อสามารถพบได้คนทุกวัยที่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งส่วนใหญ่หลังการสัมผัสเชื้อต้องใช้เวลานานหลายปีกว่าเชื้อจะพัฒนาทำให้เกิดโรคมะเร็ง ทำให้บางครั้งตรวจพบช้าและทำให้เป็นมะเร็งในระยะลุกลามแล้ว

> กลับสู่สารบัญ

ติดเชื้อ HPV แล้ว อาการเป็นอย่างไร?

ผู้ที่ติดเชื้อ HPV ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ ทำให้ยากในการวินิจฉัย การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap test) เป็นวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการตรวจหาเชื้อ HPV ในผู้หญิง นอกจากนี้ยังมีการตรวจ HPV DNA test ซึ่งเป็นการตรวจหาเชื้อ HPV โดยตรง ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยมากขึ้น

หากมีการติดเชื้อ HPV ที่ทำให้เป็นโรคหูด ผู้ติดเชื้ออาจพบหูดขึ้นที่อวัยวะสืบพันธุ์หรือบริเวณอื่น ๆ ของร่างกาย โดยหูดเหล่านี้อาจเป็นก้อนนูน หรือผิวหนังมีลักษณะหยาบและขรุขระกว่าผิวหนังปกติ

> กลับสู่สารบัญ

การวินิจฉัยเชื้อ HPV

  • การตรวจคัดกรองปากมดลูก โดยการตรวจ Pap smear: โดยแพทย์จะทำการเก็บเซลล์จากปากมดลูกเพื่อทำการตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติที่อาจเกิดจากการติดเชื้อ HPV ซึ่งเป็นวิธีที่เป็นมาตรฐานในการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
  • การตรวจ HPV DNA: เป็นการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาสารพันธุกรรมของเชื้อ HPV ของเซลล์ที่เก็บจากปากมดลูกหรือจากบริเวณที่สงสัยว่าจะมีการติดเชื้อ วิธีนี้สามารถบอกสายพันธุ์ HPV ได้และเป็นวิธีตรวจที่มีความแม่นยำค่อนข้างสูง
  • การส่องกล้องตรวจปากมดลูก: แพทย์อาจพิจารณาใช้กล้องในการตรวจดูปากมดลูก หากพบว่ามีเซลล์ที่มีลักษณะผิดปกติ และอาจเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อ (biopsy) เพื่อตรวจเพิ่มเติมว่ามีเซลล์มะเร็งหรือไม่
  • การตรวจหาแอนติบอดี (Antibody): เป็นการตรวจเลือดหาแอนติบอดีต่อเชื้อ HPV ซึ่งสามารถบอกได้ว่าร่างกายเคยสัมผัสกับเชื้อ HPV หรือไม่ แต่วิธีนี้อาจไม่สามารถยืนยันได้ว่าผู้ป่วยเคยติดเชื้อในอดีตหรือกำลังติดเชื้อ HPV อยู่ แพทย์อาจจำเป็นต้องมีการซักประวัติหรือพิจารณาการตรวจอื่น ๆ ร่วมด้วย

การตรวจเชื้อ HPV เป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันและรักษามะเร็งปากมดลูก รวมถึงภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดจากการติดเชื้อ HPV

> กลับสู่สารบัญ

การรักษาเมื่อติดเชื้อ HPV

การรักษาเชื้อ HPV ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค หากเป็นการติดเชื้อที่ทำให้เป็นโรคหูด ซึ่งอาจพบที่อวัยวะสืบพันธุ์ แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยยาหรือการผ่าตัดเอาหูดออก 

สำหรับการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูง แพทย์ต้องติดตามและตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเพื่อตรวจหาการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ที่อาจกลายเป็นมะเร็งในอนาคต 

การรักษามะเร็งที่มีสาเหตุจากเชื้อ HPV ขึ้นอยู่กับระยะของโรคมะเร็ง ความรุนแรง และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากโรค ซึ่งการรักษามีตั้งแต่การผ่าตัด การฉายรังสี รักษาโดยเคมีบำบัด หรือการรักษาที่ผสมผสานการรักษาหลาย ๆ วิธี ซึ่งแพทย์โรคมะเร็งจะทำการพิจารณาจากหลาย ๆ ปัจจัยร่วมกัน เพื่อผลการรักษาที่ดีที่สุด

> กลับสู่สารบัญ

การป้องกันการติดเชื้อ HPV

การป้องกันสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่

  • การฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV: การฉีดวัคซีน HPV เป็นวิธีป้องกันที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการป้องกันเชื้อ HPV วัคซีนนี้สามารถป้องกันได้ทั้งสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงต่ำและสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูง ในส่วนของการฉีดวัคซีนนั้น มีคำแนะนำให้ฉีดในวัยรุ่นอายุระหว่าง 11-12 ปี อย่างไรก็ตามสามารถฉีดได้จนถึงอายุ 26 ปี หรือมากกว่านั้นตามคำแนะนำของแพทย์
  • การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก: เป็นวิธีที่สำคัญในการตรวจหาเชื้อ HPV ในผู้หญิง ซึ่งสามารถทำได้ทั้งการตรวจ Pap test และ HPV DNA test โดยจะช่วยให้พบการติดเชื้อตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นและสามารถรักษาได้ย่างทันท่วงที
  • การใช้ถุงยางอนามัย: การใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ HPV ได้ แม้จะไม่สามารถป้องกันได้ทั้งหมด แต่ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ลดการแพร่กระจายของเชื้อได้
  • การมีพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัย: การมีคู่นอนคนเดิม หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ และการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีประวัติการติดเชื้อ HPV จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

เชื้อ HPV เป็นไวรัสอันตรายที่ทำให้เกิดโรคได้หลายชนิด ทั้งโรคหูดและมะเร็งปากมดลูก เราสามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้โดยการฉีดวัคซีน HPV การใช้ถุงยางอนามัย และการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จะช่วยลดการลดการแพร่กระจายของไวรัสและป้องกันการเกิดมะเร็งได้ 

นอกจากนี้การดูแลสุขภาพทั้งสุขภาพร่างกาย และสุขภาพทางเพศ รวมถึงการตรวจสุขภาพเป็นประจำสม่ำเสมอก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลงได้

สนใจนัดหมายแพทย์

แนะนำแพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งหญิง

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมพร้อมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก Liquid prep

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี Liquid Prep+HPV DNA PCR

รายละเอียด

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา