Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

รู้จัก “ฤดูสะโพกหัก” ช่วงเวลาที่ผู้สูงอายุสะโพกหักกันมากที่สุดในแต่ละปี ปล่อยไว้อันตรายอาจถึงตาย!

รศ.นพ.พฤกษ์ ไชยกิจ

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 20 มกราคม 2021

ขณะที่ทั่วโลกกำลังหวาดกลัวอันตรายจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่นาทีนี้ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ไม่มีใครไม่รู้จักโรคระบาดนี้ เราต่างรู้ดีว่าผู้สูงอายุถือว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงหากติดเชื้อแล้วอาจมีอาการหนักหรือถึงขั้นเสียชีวิตได้

แต่โรคภัยไข้เจ็บที่น่ากลัวและเป็นอันตรายกับผู้สูงอายุก็ไม่ได้มีแค่ COVID-19 เพียงอย่างเดียว  หนึ่งในนั้นคืออุบัติเหตุกระดูกสะโพกหัก อาการเจ็บปวดเรื้อรัง ซึ่งมักจะถูกมองข้ามความอันตรายจนแทบไม่น่าเชื่อว่าแค่กระดูกสะโพกหักก็อันตรายถึงตายได้ด้วยเหมือนกัน

จุดเริ่มต้นของอันตราย

ก่อนที่ผู้สูงอายุจะหกล้มจนกระดูกสะโพกหัก  ส่วนมากมักมีจุดเริ่มต้นมาจากภาวะกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้น เนื้อกระดูกจะค่อย ๆ บางลง  กระดูกที่เคยมีความแข็งแรงก็อ่อนแอลงตามไปด้วย   เรามักจะสังเกตเห็นว่าผู้สูงอายุจะมีหลังค่อม หรือตัวเตี้ยลง นั่นเกิดจากการหักยุบตัวลงของกระดูกสันหลังที่พรุน  และถ้าหากภาวะกระดูกพรุนเกิดขึ้นบริเวณสะโพก แม้ในผู้สูงอายุที่ไม่ได้เกิดอุบัติเหตุหกล้ม กระดูกก็อาจมีการสึกกร่อน เสี่ยงต่อการแตกหักได้ง่ายอยู่แล้ว  เมื่อเกิดการหกล้ม หรือการกระแทกเพียงนิดๆหน่อยๆ  กระดูกและข้อที่เสื่อมสภาพอยู่แล้วไมสามารถรับแรงกระแทก ได้เต็มที่ เป็นสาเหตุให้เกิดการบาดเจ็บจนกระดูกสะโพกหักได้

ฤดูสะโพกหัก

รองศาสตราจารย์ นพ.พฤกษ์ ไชยกิจ หัวหน้าศูนย์รักษ์ข้อ โรงพยาบาลพระรามเก้า  อธิบายว่าโดยทั่วไปในแถบประเทศที่มีสภาพอากาศที่หนาวเย็น เช่นยุโรป หรือ อเมริกา ในฤดูหนาวเป็นฤดูที่ท้องฟ้ามืดเร็ว และสว่างช้าเมื่อเทียบกับฤดูกาลอื่น  เมื่อผู้สูงอายุลุกไปเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ มองไม่เห็นสิ่งของเกะกะขวางทางเดิน เกิดการสะดุดหรือลื่นหกล้ม  นอกจากนี้อาจมีน้ำแข็งลื่นที่พื้น หรือหิมะ จะเพิ่มโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงจนกระดูกสะโพกหักได้ ด้วยเหตุนี้ ฤดูหนาว จึงถือว่าเป็นฤดูกาลที่มีอัตราการเกิดสะโพกหักสูง มักเรียกว่า ‘ฤดูสะโพกหัก’ เพราะมีจำนวนคนไข้เข้ารับการรักษาด้วยเรื่องดังกล่าว มากกว่าฤดูกาลอื่นๆ ในแต่ละปี

แต่ในประเทศไทยที่ฤดูหนาวก็ไม่ได้หนาวมาก แต่เรามีฤดูฝนซึ่งจะเพิ่มความ เสี่ยงการลื่นล้มของผู้สูงอายุเช่นกัน เพราะพื้นผิวที่ลื่น เฉอะแฉะ น้ำขัง ก็ทำให้ลื่นล้มง่าย  ทำให้ผู้สูงอายุล้มจนกระดูกสะโพกหักกันมาก ในช่วงเวลาดังกล่าว

อย่ามองว่าเป็นเรื่องเล็กจนทำให้เป็นเรื่องใหญ่

กระดูกสะโพกหักจากอุบัติเหตุเป็นภัยใกล้ตัวที่พบบ่อย แต่มีอันตรายถึงชีวิต เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่รีบรักษา คิดว่าแค่หกล้มเป็นเรื่องเล็ก เมื่อเกิดอุบัติเหตุจนกระดูกสะโพกหัก คนไข้มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาอีกมากเลยทีเดียว

อยากให้ลองจินตนาการว่า…

ผู้สูงอายุที่หกล้มจนกระดูกสะโพกหัก ยืนไม่ได้ เดินไม่ไหว  เมื่อปวดจนเดินไม่ไหวก็จะนอนติดเตียง เกิดแผลกดทับมีการติดเชื้อ เกิดภาวะกล้ามเนื้อขาลีบเพราะไม่ได้ใช้งาน  บางคนได้แต่นอนราบติดเตียง ลุกนั่งไม่ได้เลย ปอดก็จะทำงานได้ไม่เต็มที่ เกิดภาวะปอดบวม เป็นความเสี่ยงถึงชีวิต บางคนนอนติดเตียงขับถ่ายปัสสาวะลำบาก ก็มีโอกาสเกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ จนเชื้อเข้ากระแสเลือด ที่ร้ายแรงที่สุดกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ก็คือ มีโอกาสที่ลิ่มเลือดอุดในขา ไปที่ปอดจนทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว

กันไว้ดีกว่าแก้

ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินแก้ แนะนำให้ผู้สูงอายุเริ่มตรวจรักษาภาวะกระดูกพรุนแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะผู้หญิงที่หมดประจำเดือนมักจะสูญเสียมวลกระดูกไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงลดความเสี่ยงในการหกล้มด้วยการปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ

คุณหมอ..ซ่อมได้!

เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ลื่น หกล้ม จนกระดูกสะโพกหัก คนไข้ส่วนมากจะกลัวการผ่าตัด แต่หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษา อันตรายกลับมากกว่าความเสี่ยงในการผ่าตัดเสียอีก สำหรับแนวทางการรักษา คุณหมอพฤกษ์ อธิบายว่า ส่วนมากจะเป็นการผ่าตัด เพื่อทำให้คนไข้กลับมาเดินได้เร็วที่สุด โดยอาจจะเป็นการผ่าตัดเพื่อยึดเหล็ก หรือเป็นการผ่าตัด เพื่อเอากระดูกส่วนที่หักออกและเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ไปเลย 

ปัจจุบัน เทคโนโลยีทางการแพทย์มีความก้าวหน้าค่อนข้างมาก นอกจากจะต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์การผ่าตัดของศัลยแพทย์ แล้ว วัสดุข้อเทียมที่มีคุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมถึงการวางแผนการรักษาก่อนผ่าตัด โรงพยาบาลมีแพทย์และสหสาขาวิชาชีพทำงานร่วมกันเพื่อความปลอดภัยในการรักษาสำหรับคนไข้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว มีการใช้เทคนิคการให้ยาระงับความรู้สึกในระหว่างการผ่าตัด และหลังการผ่าตัด ลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและช่วยลดความเจ็บปวด เพื่อผลการผ่าตัดที่ดี ลดภาวะแทรกซ้อน และช่วยให้คนไข้ที่เคยเดินได้ดี กลับมา สามารถเคลื่อนไหวเดินลงน้ำหนักได้ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด

“เพราะทุกการเคลื่อนไหวคือชีวิต” Restore Your Motion 

ศูนย์รักษ์ข้อ โรงพยาบาลพระรามเก้า

ติดต่อสอบถาม

  • โทร. 1270
  • Facebook chat : m.me/praram9Hospital
  • LINE : @praram9hospital หรือคลิก https://bit.ly/2EsWSuU

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

รศ.นพ.พฤกษ์ ไชยกิจ

รศ.นพ.พฤกษ์ ไชยกิจ

ศูนย์กระดูกและข้อ

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์รักษ์ข้อ

ศูนย์รักษ์ข้อ

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา