Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

ภาวะธาตุเหล็กเกิน (Hemochromatosis)

นพ.บุญชู สุนทรโอภาส

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 1 กุมภาพันธ์ 2024
ภาวะธาตุเหล็กเกิน

ธาตุเหล็กเป็นแร่ธาตุสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง  โปรตีนกล้ามเนื้อ และเอนไซม์ในปฏิกิริยาเคมีของเซลล์ หากธาตุเหล็กในร่างกายไม่เพียงพอจะเกิดโรคโลหิตจาง และหากธาตุเหล็กในร่างกายเกิน สะสมในอวัยวะต่าง ๆ เกิดโรคได้เช่นกัน

ในการควบคุมสมดุลเหล็กในร่างกายนั้น ร่างกายมีกลไกควบคุมได้เพียงการดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหารที่ลำไส้ โดยที่ร่างกายไม่มีกลไกขับธาตุเหล็กส่วนเกินออกจากร่างกายตามธรรมชาติ ทำให้เมื่อมีภาวะธาตุเหล็กเกินร่างกายจะไม่สามารถจัดการด้วยตัวเองได้

สาเหตุของภาวะธาตุเหล็กเกิน

สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะธาตุเหล็กเกิน คือ การได้รับเลือดมากสะสม ซึ่งพบในผู้ป่วยโรคโลหิตจางที่ต้องได้รับเลือดบ่อย เพราะเลือด 1 ถุงมีปริมาณธาตุเหล็กมากกว่าอาหารถึง 100-200 เท่า สำหรับคนที่ไม่ได้รับเลือดบ่อย แต่มีโอกาสเกิดภาวะธาตุเหล็กเกินได้  คือ กลุ่มโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นโรคถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ที่พบบ่อยในคนไทย  มีฮีโมโกลบินซึ่งเป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ทำให้การสร้างเม็ดเลือดแดงในไขกระดูกไม่มีประสิทธิภาพ เม็ดเลือดแดงแตกเร็วขึ้น และลำไส้ดูดซึมธาตุเหล็กมากผิดปกติ ทำให้เกิดภาวะธาตุเหล็กเกินได้แม้ไม่ได้รับเลือดบ่อย  สาเหตุอื่น เช่น โรคทางกรรมพันธุ์ที่ทำให้ดูดซึมธาตุเหล็กทางลำไส้มากขึ้น เช่น Hereditary hemochromatosis (HH) โรคตับอักเสบเรื้อรัง โรคตับจากสุรา โรคตับอักเสบจากไขมันพอกตับ ทำให้ตับสะสมธาตุเหล็กมากผิดปกติ และปล่อยสาร  ferritin มากขึ้นทำให้เกิดธาตุเหล็กเกินที่อวัยวะอื่น ๆ ตามมาด้วย สาเหตุอื่นที่พบได้น้อย คือ การได้รับวิตามินแร่ธาตุเหล็กมากเกินไป

อาการของภาวะธาตุเหล็กเกิน

อาการของภาวะธาตุเหล็กเกิน เกิดจากการสะสมของธาตุเหล็กทั่วร่างกาย มีมากที่ตับ หัวใจ ข้อต่อ ต่อมไร้ท่อ เช่น ตับอ่อน อัณฑะหรือรังไข่  ธาตุเหล็กที่สะสมทำปฏิกิริยากับออกซิเจนเกิดสารอนุมูลอิสระ (reactive oxygen species; ROS) ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบ ทำลายเซลล์และเกิดพังผืด ที่เราคุ้นเคยกันดี คือ การเกิดสนิมเหล็กนั่นเอง  โดยอาการของภาวะธาตุเหล็กเกินจะแสดงอาการช้าหรือเร็วขึ้นกับสาเหตุของโรคที่ทำให้เกิดภาวะธาตุเหล็กเกิน เช่น กลุ่มที่เกิดจากการรับเลือดมากจะเริ่มมีปัญหาธาตุเหล็กเกินเมื่อได้รับเลือดมากกว่า 20-30 ถุง ส่วนสาเหตุอื่นมักแสดงอาการเมื่ออายุ 40-50 ปี เนื่องจากใช้เวลาสะสม ผู้หญิงแสดงอาการช้ากว่าเนื่องจากมีการเสียธาตุเหล็กไปทางประจำเดือนบ้าง  อาการของอวัยวะต่าง ๆ ได้แก่

  • ตับ ผลเลือดผิดปกติ ตับอักเสบ ตับแข็ง และตับวาย
  • หัวใจ หัวใจโต หัวใจวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • ตับอ่อน เบาหวานพึ่งอินซูลิน ซึ่งไม่ใช่เบาหวานชนิดที่หนึ่งหรือชนิดที่สองที่เราคุ้นเคย
  • ต่อมใต้สมอง อัณฑะ รังไข่ ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศ
  • ผิวหนังมีสีเข้มขึ้นเป็นสีบรอนซ์
  • ข้อเสื่อม มักเป็นที่ ข้อนิ้วมือ หรือนิ้วเท้า

การวินิจฉัยภาวะธาตุเหล็กเกิน

หากสงสัยภาวะนี้ แพทย์ตรวจวัดปริมาณเหล็กในร่างกาย โดยตรวจสาร  ferritin และ transferrin saturation จากการตรวจเลือด ตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI T2-star) ตับและหัวใจ หากจำเป็นจะทำการเจาะชิ้นเนื้อตับมาตรวจ (liver biopsy) และตรวจทางพันธุกรรมเพื่อหาสาเหตุ  ซึ่งภาวะธาตุเหล็กเกินสามารถตรวจพบจากการตรวจเลือดและการตรวจอื่น ๆ ดังกล่าว ก่อนที่จะเริ่มมีอาการผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ เป็นเวลาหลายปี ทำให้สามารถให้การแก้ไขได้ก่อนเกิดอาการ

การรักษาภาวะธาตุเหล็กเกิน

การรักษาภาวะธาตุเหล็กเกิน ทำโดยให้ยาขับธาตุเหล็กแบบกิน  เช่น ยา  Deferiprone และยา Deferasirox  เป็นต้น โดยยาจะจับธาตุเหล็กให้อยู่ในรูปแบบที่ขับออกทางอุจจาระและปัสสาวะได้  และสำหรับคนที่ไม่มีภาวะโลหิตจาง รักษาโดยการเจาะเลือดออก (Phlebotomy) ควรดูแลตนเองโดยไม่รับประทานยาวิตามินอาหารเสริมที่มีธาตุเหล็ก ระมัดระวังการใช้สารที่มีผลต่อตับ เช่น แอลกอฮอล์ เป็นต้น การรักษาเน้นการขับธาตุเหล็กส่วนเกินออกจากร่างกายเพื่อป้องกัน หากเกิดความเสียหายถาวรที่อวัยวะต่าง ๆ แล้ว การรักษาได้เพียงรักษาประคับประคองตามอาการซึ่งเป็นเรื้อรัง นำไปสู่การสูญเสียชีวิตได้

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

สนใจนัดหมาย

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

นพ.บุญชู สุนทรโอภาส

นพ.บุญชู สุนทรโอภาส

ศูนย์อายุรกรรม

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์อายุรกรรม

ศูนย์อายุรกรรม

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา