Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

“ใจสั่น” เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่?

พญ.พรพิชญา บุญดี

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 20 ตุลาคม 2023
ใจสั่นเกิดจากเกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่?

อาการ “ใจสั่น” หรือ “ใจหวิว ๆ” อาจเป็นอาการที่เราเคยเป็น ซึ่งบางครั้งก็ทำให้เกิดความกังวลว่า อาการใจสั่นนี้เป็นสัญญาณของโรคหัวใจหรือโรคอื่น ๆ หรือไม่ และเนื่องจากอาการใจสั่นเป็นอาการที่พบได้ในทุกเพศ ทุกวัย ทุกช่วงอายุตั้งแต่วัยเด็กจนถึงผู้สูงอายุ มีสาเหตุได้จากหลาย ๆ อย่าง ทั้งสาเหตุที่อันตรายรุนแรงและไม่อันตราย ดังนั้นเมื่อรู้สึกว่ามีอาการใจสั่นจึงควรปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยแยกโรค และหากเป็นอาการใจสั่นชนิดที่อันตรายก็ควรได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง

สารบัญ

  • อาการใจสั่นเป็นอย่างไร?
  • ใจสั่นเกิดจากอะไรได้บ้าง?
  • ใจสั่นแบบไหนควรปรึกษาแพทย์?
  • อาการที่มักเป็นร่วมกับใจสั่น
  • การวินิจฉัยอาการใจสั่น 
  • การรักษาอาการใจสั่น
  • สรุป

อาการใจสั่นเป็นอย่างไร?

“ใจสั่น” มักเป็นอาการที่มีความรู้สึกเหมือนหัวใจเต้นเร็วหรือแรงเกินไป อาจเต้นช้า เต้นจังหวะไม่สม่ำเสมอ หรือช้าสลับเร็ว ซึ่งหากมีอาการไม่บ่อยและเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วินาที ไม่มีอาการเวียนหัว หน้ามืด หรือเป็นลมอาจไม่น่ากังวลมากนัก แต่หากมีประวัติเป็นโรคหัวใจ หรืออาการใจสั่นเกิดขึ้นบ่อยหรือใจสั่นครั้งละนาน ๆ และมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยควรรีบปรึกษาแพทย์ แต่อย่างไรก็ตาม หากรู้สึกเหมือนมีอาการใจสั่นก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยอย่างเหมาะสมต่อไป

> กลับสู่สารบัญ

ใจสั่นเกิดจากอะไรได้บ้าง?

“ใจสั่น” เป็นอาการที่สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • ภาวะทางอารมณ์ โรคแพนิค ความเครียด วิตกกังวล ตื่นเต้นตกใจ
  • การออกกำลังกายอย่างหนัก
  • สารกระตุ้นบางอย่าง เช่น คาเฟอีน นิโคติน โคเคน แอมเฟตามีน ยาลดน้ำหนัก ยาแก้หวัดและยาแก้ไอที่มีซูโดอีเฟดรีน (pseudoephedrine) ยาขับปัสสาวะ ยาขยายหลอดเลือด 
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนตามรอบเดือนในผู้หญิง การตั้งครรภ์ หรือภาวะพร่องฮอร์โมนในหญิงในวัยหมดประจำเดือน
  • โรคไทรอยด์เป็นพิษ เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (hyperthyroidism) 
  • มีไข้ ติดเชื้อ
  • ระดับน้ำตาล โพแทสเซียม หรือออกซิเจนในเลือดต่ำ 
  • ภาวะโลหิตจาง ภาวะขาดสารน้ำ
  • ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (arrhythmia) ซึ่งหัวใจเต้นผิดจังหวะมีหลายชนิด มีความรุนแรงแตกต่างกันออกไป 

และเนื่องจากอาการใจสั่นเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์เฉพาะทางอายุรกรรมหรือแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาอย่างถูกต้อง

> กลับสู่สารบัญ

ใจสั่นแบบไหนควรปรึกษาแพทย์?

ใจสั่นเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย และสามารถเกิดได้ทั้งในขณะพัก ขณะทำกิจวัตรประจำวัน ออกกำลังกาย หรือทำงาน ส่วนใหญ่มักไม่อันตราย แต่อาการใจสั่นที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจควรได้รับการวินิจฉัยและรักษา ได้แก่

  • โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (arrhythmias)
  • โรคหัวใจที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiomyopathy)
  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (congenital heart disease) 
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (heart attack) 
  • ภาวะหัวใจล้มเหลว (heart failure) 
  • โรคลิ้นหัวใจ (valve heart disease)

อาการใจสั่นเป็นอาการที่สามารถเกิดได้จากหลาย ๆ สาเหตุซึ่งต้องมีวิธีการตรวจที่เฉพาะ เพื่อบอกชนิด ระยะเวลา และความรุนแรงของอาการใจสั่นนั้น ดังนั้นหากสงสัยหรือมีอาการใจสั่น ควรปรึกษาแพทย์

> กลับสู่สารบัญ

อาการที่มักเป็นร่วมกับใจสั่น

อาการใจสั่นมักทำให้มีความรู้สึกหวิว ๆ ใจหาย หรือเหมือนตกจากที่สูง ซึ่งหากเป็นไม่บ่อย และไม่มีอาการหน้ามืด เป็นลม หรือเวียนศีรษะร่วมด้วย อาจเป็นอาการที่ไม่อันตราย แต่หากมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย ตัวผู้ป่วยควรรีบมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล หรือผู้พบเห็นควรพาผู้ป่วยมาโรงพยาบาลทันที เพราะเป็นอาการที่อันตรายอาจทำให้เสียชีวิตได้

  • เจ็บหน้าอก เหนื่อย
  • หน้ามืด เป็นลมหมดสติ
  • หายใจไม่ออก หายใจถี่อย่างรุนแรง
  • เวียนศีรษะอย่างรุนแรง

> กลับสู่สารบัญ

การวินิจฉัยอาการใจสั่น

  • ซักประวัติ และตรวจร่างกาย 
  • ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ 
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiography; ECG) 
  • การติดเครื่องติดตามการเต้นของหัวใจ 24 หรือ 48 ชั่วโมง (holter monitoring) เป็นการติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 หรือ 48 ชั่วโมงไว้กับตัว โดยผู้ที่ติดเครื่องนี้สามารถกลับบ้าน ใช้ชีวิตและทำงานได้ตามปกติโดยที่มีอุปกรณ์นี้คอยบันทึกและติดตามการติดของหัวใจไปพร้อมกันด้วย  และเมื่อครบกำหนดเวลาก็สามารถถอดเครื่องออกได้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการใจสั่นผิดปกติเป็นประจำ หรือมีอาการบ่อย ๆ
  • การติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพา (event recorder) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อนำมาวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็ก พกพาสะดวก น้ำหนักเบา สามารถบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ทันทีเมื่อมีอาการผิดปกติ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะไม่บ่อย หรือมีอาการในระยะเวลาสั้น ๆ 
  • การศึกษาสรีรวิทยาไฟฟ้า (electrophysiology study) เป็นการตรวจประเมินสัญญาณไฟฟ้าในหัวใจ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยหาสาเหตุของหัวใจเต้นผิดปกติ และหาตำแหน่งในหัวใจที่เป็นจุดกำเนิดคลื่นไฟฟ้าที่ผิดปกติ โดยการตรวจนี้แพทย์จะทำการใส่สายเข้าไปในห้องหัวใจผ่านหลอดเลือดที่บริเวณขาหนีบ

> กลับสู่สารบัญ

การรักษาอาการใจสั่น

การรักษาอาการใจสั่นขึ้นอยู่กับสาเหตุ หากมีอาการไม่รุนแรงอาจยังไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่เฉพาะเจาะจง อาจใช้การสังเกตอาการและหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นบางอย่าง เช่น งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงยาบางชนิดที่มีสารกระตุ้น จัดการกับความเครียดหรือวิตกกังวลหรือหลีกเลี่ยงกิจกรรมบางอย่าง แต่หากสาเหตุของอาการใจสั่นมาจากความผิดปกติของหัวใจ หรือภาวะอื่น ๆ ในร่างกาย แพทย์อาจพิจารณาวิธีการรักษาเช่น 

  • การรับประทานยาควบคุมอัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจ
  • การจี้ไฟฟ้าความถี่สูงผ่านสายสวน (radiofrequency catheter ablation; RFCA) 
  • การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (permanent pacemaker; PPM)
  • การใส่เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ (automatic implantable cardioverter/ defbrillator; AICD)
  • การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าและช่วยการบีบตัวหัวใจ (cardiac resynchronization therapy/debrillator; CRT/CRTD)

ทั้งนี้การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละราย และจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์เฉพาะทางหัวใจที่มีความเชี่ยวชาญด้านไฟฟ้าหัวใจ

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

อาการใจสั่นสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ทั้งในขณะที่อยู่เฉย ๆ หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ก็ตาม ส่วนใหญ่อาการใจสั่นมักไม่อันตราย แต่อย่างไรก็ตามหากอาการใจสั่นนั้นมีสาเหตุมาจากโรคหัวใจหรือภาวะหัวใจเต้นผิดปกติก็จำเป็นที่ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง 

ปัจจุบันการวินิจฉัยหัวใจเต้นผิดจังหวะมีความทันสมัย มีหลายวิธีให้เลือกตามความเหมาะสมกับโรคของผู้ป่วย ให้ผลการตรวจที่ค่อนข้างแม่นยำ ถูกต้อง ซึ่งนำไปสู่การรักษาที่ได้ผลดีและตรงกับสาเหตุของอาการใจสั่นมากขึ้น 

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

สนใจนัดหมาย

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.พรพิชญา บุญดี

พญ.พรพิชญา บุญดี

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

สถาบันหัวใจและหลอดเลือด_1-1

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา