Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

ผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวช ทางเลือกดี ๆ ของคุณผู้หญิง

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 5 เมษายน 2024
ผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวช

เมื่อพูดถึงการผ่าตัดของผู้หญิง นอกจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลลัพธ์ของการผ่าตัดแล้ว ความเจ็บปวดจากการผ่าตัดและรอยแผลหลังผ่าตัด คืออีกปัญหาหนึ่ง ซึ่งผู้หญิงทุกคนให้ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ปัจจุบันความก้าวหน้าทางการแพทย์ได้เพิ่มทางเลือกในการรักษาให้คุณผู้หญิง โดยสามารถให้ผลลัพธ์ที่ดีและทิ้งเพียงรอยแผลเล็ก ๆ ไว้ อาการเจ็บปวดจากแผลผ่าตัดน้อย ฟื้นตัวได้เร็ว ไม่พบภาวะแทรกซ้อนรุนแรง นั่นคือ การผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวช (glynecologic laparoscopy surgery)

สารบัญ

  • อาการเตือนโรคทางนรีเวช
  • การผ่าตัดทางนรีเวช 
  • การผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวช คืออะไร?
  • ข้อดีของการผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวช
  • ข้อจำกัดของการผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวช
  • โรคที่รักษาได้ด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง
  • การผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวช พักฟื้นกี่วัน?
  • การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดส่องกล้อง
  • การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดส่องกล้อง
  • สรุป

อาการเตือนโรคทางนรีเวช

  • มีเลือดออกผิดปกติ หรือตกขาวผิดปกติทางช่องคลอด โดยเฉพาะวัยหมดประจำเดือน
  • มีประจำเดือนออกมาก เป็นระยะเวลานาน ปวดเบ่งเวลามีประจำเดือน
  • คลำพบว่ามีก้อนนูน หรือมองเห็นก้อนบริเวณหน้าท้อง รู้สึกเจ็บ หรือปวดท้องน้อยเรื้อรัง
  • อาหารไม่ย่อย ท้องอืดเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน ปวดร้าวไปหลัง เอว ก้นกบ ปวดลงขา 
  • ปัสสาวะขัดหรือลำไส้แปรปรวน ถ่ายอุจจาระลำบาก

> กลับสู่สารบัญ

การผ่าตัดทางนรีเวช

การผ่าตัดและหัตถการทางนรีเวชในปัจจุบันมีเทคนิคการผ่าตัดหลาย ๆ วิธี ซึ่งเทคนิคใหม่ ๆ ช่วยทำให้แผลมีขนาดเล็กลง ผู้ป่วยใช้เวลาพักฟื้นน้อยลง หายเร็วขึ้น และยังช่วยลดเรื่องรอยแผลเป็นตัวช่วยเรื่องความสวยงามได้อีกด้วย การผ่าตัดและหัตถการทางนรีเวชมีหลายประเภท เช่น 

  1. การผ่าตัดเปิด เป็นการผ่าตัดรักษาแบบเดิม ซึ่งสามารถรักษาโรคทางนรีเวชได้หลายโรค แต่มีข้อเสียคือ ต้องเปิดแผลขนาดใหญ่ ผู้ป่วยต้องพักฟื้นหลังการผ่าตัดรักษานาน
  2. การผ่าตัดด้วยความเย็นที่ปากมดลูก (cervical cryosurgery) มักเป็นการผ่าตัดรักษาด้วยความเย็นที่แพทย์แนะนำระหว่างการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap smear) 
  3. โคลโปสโคป (colposcopy) เป็นการส่องกล้องทางนรีเวชอย่างหนึ่งใช้ในการวินิจฉัยโดยไม่ต้องผ่าตัด เพื่อยืนยันผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap smear) ที่ผิดปกติ
  4. การขยายและการขูดมดลูก (dilation & curettage; D&C) เป็นหัตถการที่พบได้บ่อย สามารถใช้ในการวินิจฉัยมะเร็งมดลูก ติ่งเนื้อมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติ นอกจากนี้ยังใช้สำหรับการยุติการตั้งครรภ์และภาวะรกค้าง
  5. การผ่าตัดส่องกล้องโพรงมดลูก (hysteroscopy) ใช้ในการวินิจฉัยเกี่ยวกับความผิดปกติของมดลูก เช่น การตัดชิ้นเนื้อมดลูก ระบุสาเหตุของภาวะแท้งซ้ำ เป็นต้น
  6. การผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ (robotic surgery) ใช้หุ่นยนต์ในการช่วยผ่าตัด เป็นเทคนิคการรักษาที่มีความแม่นยำและลดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ
  7. การผ่าตัดช่องคลอด (vaginal surgery) เป็นการผ่าตัดผ่านช่องคลอด ฟื้นตัวได้เร็ว ไม่เกิดเเผลในช่องท้อง
  8. การผ่าตัดผ่านกล้องในอุ้งเชิงกราน (pelvic laparoscopy) เป็นการผ่าตัดส่องกล้องผ่านหน้าท้อง สามารถรักษาโรคทางนรีเวชได้หลายชนิด  เช่น รักษาเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่และเนื้องอกในมดลูก รักษาไส้เลื่อน และโรคอื่น ๆ

> กลับสู่สารบัญ

การผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวช คืออะไร?

การผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวช หรือการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช (gynecological laparoscopic) เป็นการผ่าตัดโดยใช้อุปกรณ์พิเศษร่วมกับกล้องมองขยายผ่านจอรับภาพ โดยแพทย์จะเจาะรูเล็ก ๆ ผ่านผนังหน้าท้องขนาด 0.5-1.0 เซนติเมตร จำนวน 3-4 รู โดยไม่ต้องเปิดผนังหน้าท้องเป็นแผลกว้าง แล้วใส่อุปกรณ์พิเศษที่มีกล้องกำลังขยายสูงผ่านรูที่เจาะ 

โดยแพทย์จะสามารถมองเห็นภาพอวัยวะภายในช่องท้องผ่านจอภาพได้ชัดเจนจนเรียกได้ว่าเทียบเท่าหรือดีกว่าการผ่าตัดเปิดแบบเดิม จากนั้นแพทย์จึงสอดเครื่องมือขนาดเล็ก 0.5 มิลลิเมตรเข้าไปทำการผ่าตัดรักษาพยาธิสภาพ และยังสามารถนำชิ้นเนื้อส่งตรวจเพื่อวินิจฉัยชนิดของเนื้อเยื่อ หรือสาเหตุของโรค ได้อีกด้วย

> กลับสู่สารบัญ

ข้อดีของการผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวช

  • แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก แตกต่างจากการผ่าตัดเปิดด้วยวิธีเดิม 
  • เจ็บปวดน้อยเนื่องจากแผลมีขนาดเล็ก ไม่ต้องใช้ยาบรรเทาอาการปวดชนิดแรง
  • ฟื้นตัวเร็ว สามารถลุกเดินได้ภายใน 1 วัน และออกจากโรงพยาบาลกลับไปพักฟื้นที่บ้านได้เร็วขึ้น ซึ่งหากเป็นแผลผ่าตัดเปิดทางหน้าท้องจะต้องนอนพักที่โรงพยาบาล 1- 2 วันหลังผ่าตัด
  • ไม่ต้องหยุดงานเป็นเวลานาน พักฟื้นที่บ้านเพียง 1-2 สัปดาห์ ก็สามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติ
  • เกิดพังผืดภายหลังการผ่าตัดและภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าวิธีเดิม

> กลับสู่สารบัญ

ข้อจำกัดของการผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวช

  • แพทย์ผู้ทำการผ่าตัดส่องกล้องต้องได้รับการอบรมและมีประสบการณ์เชี่ยวชาญเฉพาะทางในด้านการส่องกล่อง ซึ่งปัจจุบันยังไม่สามารถทำได้ในทุกโรงพยาบาล
  • ไม่สามารถใช้การผ่าตัดส่องกล้องกับผู้ป่วยทางนรีเวชทุกราย เช่น ผู้ป่วยที่มีเนื้องอกขนาดใหญ่มากกว่า 15 เซนติเมตรขึ้นไป โรคมะเร็งทางนรีเวช หรือมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ได้แก่ ภาวะอ้วน ข้อจำกัดด้านอายุ และโรคประจำตัวบางอย่าง การตั้งครรภ์ มีสัญญาณชีพที่ผิดปกติและไม่คงที่  ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ และแจ้งให้แพทย์ทราบว่าผู้ป่วยมีโรคประจำตัวอะไรบ้าง เพื่อเป็นข้อมูลให้แพทย์พิจารณาการผ่าตัดที่เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละราย 
  • มีพังผืดในช่องท้องหรืออุ้งเชิงกรานมากเกินไป เช่น ผู้ป่วยที่เคยมีการติดเชื้อในช่องท้องหรืออุ้งเชิงกราน ผู้ป่วยที่เคยเข้ารับการผ่าตัดช่องท้องมาแล้วหลายครั้ง เป็นต้น
  • ในผู้ป่วยบางโรคต้องใช้เวลาในการผ่าตัดนานกว่าการผ่าตัดเเบบเปิดหน้าท้อง และมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า

> กลับสู่สารบัญ

โรคที่รักษาได้ด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง

  • ภาวะเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis) เนื้องอกมดลูก (myoma) 
  • เนื้องอกรังไข่หรือถุงน้ำรังไข่ (ovarian cyst) 
  • พังผืดในอุ้งเชิงกราน (lysis of adhesion) ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อ เช่น ไส้ติ่งแตก อุ้งเชิงกรานอักเสบ โพรงมดลูกเจริญผิดที่  
  • ภาวะการตั้งครรภ์นอกมดลูก (ectopic pregnancy) 
  • การทำหมันด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง (tubal sterilization)

> กลับสู่สารบัญ

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดส่องกล้อง

  • การเตรียมพร้อมทางด้านจิตใจ ผู้ป่วยควรศึกษาข้อมูลการผ่าตัดแบบส่องกล้องก่อนเข้ารับการผ่าตัด หากมีข้อสงสัยให้สอบถามแพทย์ผู้รักษาเพื่อลดความวิตกกังวล นำไปสู่การวางแผนดูแลและเตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับการผ่าตัด
  • การเตรียมพร้อมทางด้านร่างกาย 

    • ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินสภาวะทางร่างกายจากแพทย์ ทีมแพทย์ผู้ดูแลและวิสัญญีแพทย์ ก่อนนัดทำการผ่าตัด เพื่อประเมินปัญหาสุขภาพและค้นหาความผิดปกติที่เป็นข้อห้ามในการผ่าตัดส่องกล้อง หากพบว่าผู้ป่วยมีปัญหาที่จะส่งผลกระทบต่อการผ่าตัด แพทย์อาจจะเลื่อนการผ่าตัดออกไปก่อน
    • หากมีแพ้ยา หรืออาหาร และมีโรคประจำตัวที่มียาต้องรับประทานประจำ เช่น ยาเบาหวาน ยาละลายลิ่มเลือด ต้องแพทย์ให้ทราบก่อนวันผ่าตัด และนำยาดังกล่าวมาให้แพทย์ดูด้วย ยาบางชนิดอาจต้องหยุดก่อนผ่าตัดส่องกล้อง
    • งดดื่มสุรา งดสูบุหรี่ ก่อนผ่าตัด
    • นอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอก่อนผ่าตัด
    • งดอาหาร เครื่องดื่มทุกชนิดหลังเที่ยงคืน
    • ฝึกเทคนิคการหายใจ และฝึกไอ อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้ลดอาการคั่งค้างจากยาสลบและฟื้นตัวเร็วขึ้น
    • ทำความสะอาดร่างกาย เช่น ล้างเล็บสีด้วยน้ำยาล้างเล็บ เตรียมลำไส้ให้สะอาด ตามมาตรฐานการส่องกล้องผ่าตัด

> กลับสู่สารบัญ

การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด

ปกติแล้วผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้หลังผ่าตัดส่องกล้อง 1 วัน โดยแพทย์ผู้รักษาจะประเมินอาการผิดปกติ ภาวะแทรกซ้อน การฟื้นตัวจากยาสลบ เพื่อให้มั่นใจว่าปลอดภัยสามารถกลับไปพักรักษาตัวที่บ้านต่อได้ เมื่อกลับบ้าน มีข้อควรปฏิบัติดังนี้

  • งดดื่มแอลกอฮอล์ หรือขับรถ อย่างน้อย 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด
  • สามารถอาบน้ำได้หลังการผ่าตัด (แพทย์จะปิดพลาสเตอร์กันน้ำที่แผล ขณะอาบน้ำห้ามถูแรง ๆ บริเวณแผล เพราะพลาสเตอร์อาจหลุด หากน้ำเข้าแผลอาจนำไปสู่การติดเชื้อที่แผลได้)
  • ระหว่างพักฟื้นร่างกาย สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ 1 สัปดาห์หลังผ่าตัด ควรป้องกันการตั้งครรภ์โดยใช้ยาคุมกำเนิดและปรึกษาแพทย์
  • ควรรีบมาพบแพทย์ก่อนวันนัดหากพบความผิดปกติ เช่น คลื่นไส้อาเจียนต่อเนื่องนานกว่า 24 ชั่วโมง มีไข้มากกว่า 38 องศาเซลเซียส บริเวณแผลอักเสบ บวม แดง หรือมีเลือดออก หายใจลำบาก รวมถึงหลังผ่าตัดวันแรกมีประจำเดือนมามากกว่าปกติ มีลิ่มเลือดออกมาก ต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 2 ชั่วโมง เป็นต้น

> กลับสู่สารบัญ

การผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวช พักฟื้นกี่วัน?

หลังผ่าตัดส่องกล้อง จะมีการติดตามสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิด เมื่อรู้สึกตัวดีแล้วและผู้ป่วยสามารถปัสสาวะได้เอง หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนก็สามารถกลับบ้านได้ในวันถัดไป และสามารถกลับไปทำงานได้ภายใน 72 ชั่วโมง 

ทั้งนี้การฟื้นตัวของผู้ป่วยแต่ละรายอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความซับซ้อนและระยะเวลาในการผ่าตัดส่องกล้อง ทั่วไปอาการต่าง ๆ จะดีขึ้นประมาณ 3-7 วัน หลังผ่าตัด ซึ่งภาวะแทรกซ้อนรุนแรงพบได้น้อยมาก อาจมีอาการแน่นท้อง ปวดร้าวหัวไหล่ เนื่องจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ใส่เข้าช่องท้องขณะผ่าตัดจะดันกระบังลมและช่องท้อง ซึ่งอาการดังกล่าวอาจใช้เวลาเป็นชั่วโมงหรือเป็นวันในการฟื้นตัว บางรายมีอาการคลื่นไส้ ไม่สุขสบายตัวได้

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

ปัจจุบันการผ่าตัดส่องกล้องหรือการผ่าตัดผ่านกล้อง จัดเป็นการแพทย์ทางเลือกที่ดีวิธีหนึ่ง ที่ใช้รักษาโรคทางนรีเวชอย่างกว้างขวาง มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านอุปกรณ์ ความรู้ ความชำนาญเฉพาะทางของแพทย์และทีมดูแลผู้ป่วย จากที่ในอดีตมีเพียงการผ่าตัดเปิดหน้าท้องเท่านั้น โดยการผ่าตัดส่องกล้องมีความปลอดภัยสูง ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้รวดเร็ว ใช้เวลาสั้น ๆ ในการพักฟื้น และภาวะแทรกซ้อนรุนแรงน้อย ให้ผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วย การผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวช จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจอย่างหนึ่งของผู้ป่วย รพ.พระราม 9 พร้อมดูแลคนที่คุณรัก ด้วยความเชี่ยวชาญของแพทย์เฉพาะทาง ทีมแพทย์ และบุคลากรที่มีมาตรฐานวิชาชีพ และเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีมาตรฐานสากล

คลิกดูแพ็กเกจที่เกี่ยวข้องที่นี่

โปรแกรมผ่าตัดแผลเล็กทางนรีเวช

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Liquid Prep)

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี Liquid Prep+HPV DNA PCR

รายละเอียด

แพ็กเกจวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 9 สายพันธุ์ และ 4 สายพันธุ์

รายละเอียด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

สนใจนัดหมาย

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์สูตินรีเวช_1-1

ศูนย์สูตินรีเวช

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา