Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

โรคต้อหิน ภัยเงียบที่อาจทำให้ตาบอดได้

นพ.ดิษณ์กร คชไกร

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 17 พฤษภาคม 2023
โรคต้อหินอาจทำให้ตาบอดได้

โรคต้อหิน เป็นโรคของดวงตาที่พบได้บ่อย มีสาเหตุมาจากเซลล์ประสาทตาถูกทำลายอย่างค่อยเป็นค่อยไปจนถาวร ทำให้การมองเห็นลดลง หรือรุงแรงจนกระทั่งสูญเสียการมองเห็น โรคต้อหินสามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ แต่มักจะมีอาการ หรือสังเกตเห็นความผิดปกติในผู้สูงอายุที่อาการเป็นมากแล้ว ในคนอายุน้อยมักจะไม่ทราบว่าตนเองป่วย เนื่องจากจะไม่มีอาการ หรือยังไม่สังเกตเห็นความผิดปกติ ทำให้การมองเห็นใกล้เคียงกับหรือยังค่อนข้างปกติ แต่มีความดันตาที่เพิ่มขึ้นและส่วนใหญ่มักตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพ หรือเช็คสุขภาพประจำปี ซึ่งหากรอจนตามัวจึงมักจะสายเกินไป โรคต้อหินจึงถือเป็นภัยเงียบ ดังนั้นหากมีอาการสงสัย หรือมีปัจจัยเสี่ยงควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง

สารบัญ

  • ต้อหินคืออะไร?
  • โรคต้อหินเกิดจากอะไร?
  • โรคต้อหินมีอาการอย่างไร?
  • ประเภทของโรคต้อหิน
  • การวินิจฉัยโรคต้อหิน
  • โรคต้อหินในผู้สูงอายุ
  • โรคต้อหิน กับต้อกระจก ต่างกันอย่างไร?
  • การรักษาต้อหิน
  • การป้องกันโรคต้อหิน
  • สรุป

ต้อหิน คืออะไร?

โรคต้อหิน (glaucoma) เป็นภาวะความผิดปกติของขั้วประสาทตาจากการที่เซลล์ประสาทตาถูกทำลายอย่างค่อยเป็นค่อยไปอย่างถาวร  จนทำให้ลานสายตาค่อย ๆ แคบลง โดยเริ่มจากทางด้านข้างเข้ามาบริเวณตรงกลางของดวงตา ทำให้มีการมองเห็นลดลง หรือรุนแรงจนถึงสูญเสียการมองเห็นไปถาวร

> กลับสู่สารบัญ

โรคต้อหินเกิดจากอะไร?

โรคต้อหินสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุที่สำคัญคือ ความดันลูกตาที่สูง จนทำให้ลูกตาแข็งคล้ายหิน จึงเป็นที่มาของชื่อโรคต้อหิน และก็มีโรคต้อหินชนิดที่ความดันตาไม่สูง ซึ่งเชื่อว่าเกิดจาก เส้นประสาทตามีการเสื่อมตัวลงอย่างช้า ๆ จากภาวะการไหลเวียนของเลือดไม่สมบูรณ์ ซึ่งมักพบในผู้ป่วยกลุ่มโรคเบาหวาน ความดัน และไมเกรน ซึ่งสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของต้อหินมักเกิดจากสาเหตุดังนี้

  • ความเสื่อมตามวัย จะสัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มมากขึ้น โดยพบได้ในคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป 
  • ผู้ที่มีประวัติครอบครัวป่วยเป็นโรคต้อหิน  
  • ในคนที่สายตาสั้นหรือยาวมาก ๆ (สายตาสั้นเกิน 600 หรือสายตายาว เกินกว่า 400 )
  • มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน เพราะทำให้มีความเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานขึ้นจอตา
  • เคยเป็นโรคทางตามาก่อน เช่น ภาวะตาติดเชื้อ หรืออักเสบในตา หรือโรคต้อกระจกที่ปล่อยทิ้งไว้นานจนเลนส์ตาสุกหรือบวม
  • เคยได้รับอุบัติเหตุทางตา
  • มีประวัติใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์เป็นเวลานาน 
โรคต้อหิน เกิดจากอะไร?

> กลับสู่สารบัญ

โรคต้อหินมีอาการอย่างไร?

อาการของโรคต้อหินแบบเรื้อรัง

  • ในช่วงแรกผู้ป่วยโรคต้อหินจะไม่มีอาการใด ๆ เลย การมองเห็นจะเป็นปกติ สามารถมองเห็นได้ชัดเจน แต่จะมีความดันตาที่เพิ่มขึ้น โดยไม่มีอาการแสดงอื่น ๆ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคต้อหินจะตรวจพบได้เมื่อเข้ารับตรวจสุขภาพตาประจำปี
  • จนกระทั่งถึงจุดหนึ่งที่ความดันตาที่เพิ่มขึ้นจะไปทำลายขั้วประสาทตา ทำให้เกิดเป็นอาการแสดงที่เป็นสัญญาณเตือน เช่น เริ่มรู้สึกเดินชนสิ่งของบ่อย ๆ ล้มบ่อย เกิดอุบัติเหตุรถชนบ่อยขึ้น เหล่านี้เกิดจากการที่ผู้ป่วยมองเห็นได้ไม่ชัดเจนนัก โดยอาการของโรคต้อหินจะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นปี ๆ หรือ หลาย ๆ ปี 
  • ลานสายตาผู้ป่วยต้อหินจะค่อย ๆ แคบลง มองเห็นได้ไม่ชัดเจน
  • อาการจะเกิดขึ้นกับตาทั้ง 2 ข้าง โดยข้างใดข้างหนึ่งจะเป็นเยอะกว่า
โรคต้อหินมีอาการอย่างไร ?

อาการต้อหินชนิดเฉียบพลัน

หากมีอาการของโรคต้อหินแบบเฉียบพลันดังต่อไปนี้ ควรรีบเข้าพบจักษุแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างรีบด่วน    

  • ปวดตาทั้ง 2 ข้าง โดยอาจมีอาการปวดตาข้างใดข้างหนึ่งมากกว่า
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ตาแดง 
  • ปวดหัว
  • ปวดเบ้าตาบ่อย ๆ
  • เห็นแสงรุ้งรอบดวงไฟ
  • ตามัวลง คล้ายมีหมอกมาบัง

> กลับสู่สารบัญ

ประเภทของโรคต้อหิน

โรคต้อหินสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

  1. ต้อหินแบบปฐมภูมิ: เป็นโรคต้อหินที่เกิดขึ้นโดยไม่มีโรคทางตาหรือโรคทางร่างกายอยู่เดิม โดยผู้ป่วยจะมีความดันลูกตาเพิ่มขึ้น ซึ่งแบ่งย่อยตามลักษณะของโรคตามมุมตาได้ 2 ชนิด คือ

    – ต้อหินชนิดมุมตาเปิด เกิดจากทางเดินน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาผิดปกติ มีการตีบแคบของท่อที่เป็นทางระบายของน้ำเลี้ยงลูกตา ทำให้ความดันลูกตาค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้นและไปกดขั้วประสาทลูกตา ผู้ป่วยจะค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นอย่างช้า ๆ ใช้ระยะเป็นเดือนหรือเป็นปี หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะทำให้ตาบอดได้ในที่สุด 

    – ต้อหินชนิดมุมตาปิด เกิดจากมีการปิดกั้นทางไหลออกของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา ทำให้ความดันลูกตาเพิ่มสูงขึ้นอย่างเฉียบพลัน  ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตา ตาแดง ตามัว เห็นแสงรุ้งรอบดวงไฟ ต้อหินชนิดนี้มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ หากผู้ป่วยเข้ามาพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างทันท่วงที สายตาจะกลับมาเหมือนเดิม หรือสูญเสียการมองเห็นน้อยกว่าการปล่อยทิ้งไว้ 

  2. ต้อหินแบบทุติยภูมิ: เป็นโรคต้อหินที่เกิดจากโรคตาอื่น ๆ เช่น ตาอักเสบ ตาติดเชื้อ ต้อกระจก หรือเกิดตามหลังโรคประจำตัวบางโรค เช่น โรคเบาหวานขึ้นตา ความดัน หรือการใช้ยาหยอดตาบางชนิด เช่น การใช้ยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน ก็จะทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้น เป็นสาเหตุของการเกิดโรคต้อหินได้

  3. ต้อหินตั้งแต่กำเนิด: เป็นลักษณะต้อหินที่เกิดทางพันธุกรรม จะพบความผิดปกติตั้งแต่ในวัยทารก โดยพ่อแม่อาจจะพบว่า เด็กมีขนาดลูกตาใหญ่กว่าเด็กปกติ มีอาการกลัวแสง กระจกตาหรือส่วนของตาดำไม่ใส จนถึงขุ่นขาว มีน้ำตาไหลมากกว่าปกติ 

> กลับสู่สารบัญ

การวินิจฉัยโรคต้อหิน

จักษุแพทย์จะทำการซักประวัติ สอบถามโรคประจำตัว ซักประวัติครอบครัว ทำการวัดระดับสายตาทดสอบการมองเห็นเบื้องต้นว่าระดับสายตาปกติหรือไม่ จากนั้นจะทำการตรวจวินิจฉัยต้อหินด้วยวิธีการ วัดความดันลูกตา เพื่อพิจารณาค่าความดันตา ว่าอยู่ในระดับปกติหรือไม่ โดยความดันตาไม่ควรสูงเกิน 21 มม.ปรอท แพทย์อาจจะทำการตรวจความผิดปกติของขั้วประสาทตาอย่างละเอียดด้วยเครื่องสแกนวิเคราะห์ขั้วประสาทตา (optical coherence tomography) และถ่ายภาพความหนาของชั้นจอประสาทตา เพื่อระบุความเสื่อมของชั้นจอประสาทตาด้วยเครื่องถ่ายภาพจอประสาทตา (fundus photography) ร่วมกับตรวจความผิดปกติของลานสายตาด้วยเครื่องมือตรวจลานสายตา ซึ่งต้องได้รับการตรวจจากจักษุแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เครื่องมือพิเศษเหล่านี้ จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคต้อหินได้อย่างชัดเจน และเพื่อติดตามการดำเนินโรคเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง

> กลับสู่สารบัญ

โรคต้อหินในผู้สูงอายุ

โรคต้อหินในผู้สูงอายุจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความจำกัดด้านการมองเห็น โดยจะมีลานสายตาแคบลง  มองเห็นได้ไม่ชัดเหมือนเดิม ไปจนถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นไปอย่างถาวร การมองเห็นของผู้สูงอายุต้อหินจะค่อย ๆ ลดลง ส่งผลทำให้การดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุนั้นทำได้ลำบากมากขึ้น เช่น การขับรถยนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับรถยนต์ตอนกลางคืน การทำอาหาร หรือแม้กระทั่งการเดิน ผู้สูงอายุที่เป็นโรคต้อหินจะยิ่งมีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มสูงมากกว่าผู้สูงอายุที่ไม่เป็นโรคต้อหิน ดังนั้นผู้สูงอายุจึงควรได้เข้ารับการตรวจสุขภาพตาอย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับการรักษาความดันตาให้อยู่ในระดับปกติตามคำแนะนำของจักษุแพทย์ ซึ่งจะเป็นวิธีที่ช่วยดูแลสุขภาพดวงตา ชะลอความเสื่อมของดวงตา และทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี

> กลับสู่สารบัญ

โรคต้อหิน กับต้อกระจก ต่างกันอย่างไร?

โรคหินและโรคต้อกระจก ทั้งสองโรคเป็นโรคความเสื่อมของตาที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุลักษณะอาการต้อหินจะคล้ายกับการเป็นโรคต้อกระจก และโรคตาแห้ง แต่สาเหตุของโรคและวิธีการรักษาโรคนั้นจะแตกต่างออกไป

โรคต้อกระจกเกิดจากการเสื่อมของเลนส์ตา เมื่ออายุมากขึ้นเลนส์ตาจะแข็งและขุ่น ทำให้การมองเห็นภาพมัวลง ไม่ชัด เหมือนมีฝ้าหรือมีหมอกมาบังตา อาการตามัวจะเป็นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับตำแหน่งความขุ่นฝ้าในเนื้อเลนส์ตา

โดยอาการของโรคต้อหินและต้อกระจกจะมีอาการแตกต่างกันตามตารางต่อไปนี้

ข้อแตกต่างระหว่างต้อหิน และต้อกระจก

ต้อหินต้อกระจก
เกิดจากความเสื่อมของขั้วประสาทตาเกิดจากเลนส์ตาขุ่น
ตาค่อย ๆ มัวลงอย่าง ช้า ๆ ส่วนใหญ่แล้วมักจะไม่ทราบ และบอกไม่ได้ จนกว่าจะเป็นมากแล้ว ตามัว  ตาขุ่น มองเห็นภาพไม่ชัดเจน
ลานสายตาแคบลงตาสู้แสงไม่ได้
ค่าความดันตาผิดปกติ (มากกว่า 21 มม.ปรอท)มองเห็นได้ลำบากในที่ที่มีแสงน้อย
ตาแดง ปวดตาเห็นสีผิดไปจากเดิม
โรคต้อหิน กับ โรคต้อกระจก ต่างกันอย่างไร

> กลับสู่สารบัญ

การรักษาต้อหิน

เนื่องจากการสูญเสียการมองเห็นจากโรคต่อหิน ไม่สามารถรักษาให้กลับมามองเห็นได้ชัดเจนเหมือนเดิมได้ ทำให้การรักษาโรคต้อหินจะมุ่งเน้นไปที่การชะลอความเสื่อมของขั้วประสาทตา และรักษาระดับลานสายตาของผู้ป่วยให้สามารถมองเห็นให้ได้ชัดเจนมากที่สุด เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด โดยการรักษาประกอบไปด้วย 3 วิธี  คือ

  1. การใช้ยาหยอดตา เพื่อลดความดันลูกตา ปัจจุบันมียาหลายชนิดและได้ผลค่อยข้างดีเป็นวิธีที่จักษุแพทย์ส่วนใหญ่เลือกใช้
  2. การใช้เลเซอร์ เพื่อเปิดทางระบายน้ำในตา หรือเพื่อลดการผลิตสารน้ำในลูกตา ควบคุมความดันตา
  3. การผ่าตัด เพื่อสร้างทางระบายน้ำใหม่ 

โดยจักษุแพทย์จะเป็นผู้แนะนำและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยในแต่ละราย โดยจะพิจารณาจากการดำเนินโรค อาการ และความรุนแรงของโรค 

> กลับสู่สารบัญ

การป้องกันโรคต้อหิน

เพื่อเป็นการป้องกันโรคต้อหิน จักษุแพทย์จะแนะนำให้ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี เข้ารับการตรวจสุขภาพตาประจำปี โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันสูง ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคต้อหินได้ 

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดโรคต้อหินได้  เช่น มีประวัติญาติสายตรงเป็นโรคต้อหิน มีประวัติเคยได้รับการผ่าตัดดวงตามาก่อน หรือเคยมีโรคทางตามาก่อน มีประวัติอุบัติเหตุทางตา 

หรือมีประวัติการใช้ยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน 

โรคต้อหินหากตรวจพบได้เร็วก็จะสามารถควบคุมอาการไม่ให้ถึงระดับที่รุนแรงและป้องกันไม่ให้
อาการหนักถึงขั้นตาบอดถาวร

โรคต้อหินตรวจพบเร็ว ลดความเสี่ยงตาบอด

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

โรคต้อหินนับว่าโรคเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อการมองเห็นในระยะยาว โดยผู้ป่วยจะค่อย ๆ สูญเสียลานสายตาจากบริเวณรอบนอกเข้ามาเรื่อย ๆ จนกระทั่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ผู้ป่วยจะมีอาการตามัว ตาเบลอ มองเห็นภาพไม่ชัด และหากปล่อยไว้จนอาการรุนแรง จะทำให้ตาบอดถาวรในที่สุด 

การตรวจพบและได้รับการวินิจฉัยจากจักษุแพทย์ได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นจะเป็นการควบคุมอาการป่วยที่ดีที่สุด เนื่องจากโรคต้อหินไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้  ดังนั้นหากตรวจพบและเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องได้อย่างรวดเร็ว จะสามารถรักษาลานสายตาให้เสียหายน้อยที่สุด ซึ่งเป็นการทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีกว่าปล่อยทิ้งไว้จนอาการรุนแรง

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

สนใจนัดหมาย

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

S__32915469

นพ.ดิษณ์กร คชไกร

ศูนย์จักษุ

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์จักษุ_1-1

ศูนย์จักษุ

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา