Skip to content
  • EN
    • TH
    • CN
    • AR
  • EN
    • TH
    • CN
    • AR
  • About Us
  • Medical Center
  • Doctors
  • Room
  • Health Guru
    • Knowledge
    • Doctor’s Health Insights
  • Package
  • Contact Us
Menu
  • About Us
  • Medical Center
  • Doctors
  • Room
  • Health Guru
    • Knowledge
    • Doctor’s Health Insights
  • Package
  • Contact Us

Day: May 11, 2019

คำถามจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมสัมมนา “เสริมสร้างอัจฉริยะภาพลูกรัก…ให้ห่างไกลโรคสมอง”

คำถามจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมสัมมนา “เสริมสร้างอัจฉริยะภาพลูกรัก…ให้ห่างไกลโรคสมอง” 1. EQ ช่วงอายุที่เด็กจะเรียนรู้และซึมซับได้ดี รวมทั้งแก้ไขเรื่องอารมณ์ร้อนเป็นช่วงอายุกี่ปี ถึงกี่ปี ตอบ EQ สามารถพัฒนาได้ตั้งแต่อายุ 2 ขวบ (ดีที่สุด 2-6 ขวบ) จะเป็นช่วงที่เด็กกำลังพัฒนาสมองทุกส่วน ดังนั้นช่วงนี้เหมาะจะเป็นช่วงพัฒนาอีคิวครับ แต่เด็กที่โตกว่านี้ก็สามารถพัฒนาได้ครับ แต่อาจไม่เท่าช่วงวัยนี้ครับ และเช่นเดียวกันครับ อีคิวเป็นตัวที่ช่วยให้การแสดงออกทางอารมณ์เหมาะสม บางคนอารมณ์ร้อน แต่ก็ไม่หนักถึงขนาดทำร้ายตนเองหรือผู้อื่นครับ 2. เรื่องการใช้มือซ้าย ปัจจุบันลูกใช้มือซ้ายทานอาหารบางครั้ง ที่บ้านมักจะบอกให้ใช้มือขวาทานถึงจะดี ที่ดีที่สุดควรปล่อยให้ใช้มือซ้ายไปเลยหรือไม่ ตอบ ความถนัดเรื่องซ้าย-ขวา จะเริ่มเมื่อเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป ปัจจุบันการใช้มือซ้าย-ขวา ไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสมอง แต่การปิดกั้นไม่ยอมให้ใช้ตามความถนัด อาจทำให้เกิดความเครียด เด็กต่อต้าน รบกวนต่อการเรียนรู้ได้ 3. พัฒนาการด้านความสัมพันธ์ ถ้าเด็กขี้อาย ไม่กล้ากับคนที่เพิ่งพบ แต่เมื่อคุ้นเคยแล้วจะเป็นคนนำในการเล่น ถือว่าต้องพัฒนาด้านความสัมพันธ์หรือไม่ อย่างไร ตอบ ถือว่าเป็นเรื่องปกติในเด็กเล็กในการเริ่มแรกของการสร้างความสัมพันธ์ เด็กอาจจะรอดูท่าที ประเมินคนที่เข้ามาคุย ถ้ารู้สึกว่าเป็นมิตรด้วยจะเริ่มมีความคุ้นเคย พ่อแม่สามารถพาไปสู่สังคมภายนอกพบคนหลากหลาย ทำให้เด็กกล้าเผชิญหน้าความขี้อายลดลง

Read More »

โรคหลอดเลือดสมอง Stroke ตอนที่ 3

เส้นเลือดในสมองเปรียบเสมือนท่อประปา ที่นำเลือดไปเลี้ยงสมอง โดยเส้นเลือดเป็นของคนคนเดียวกันทั้งร่างกาย ดังนั้นหากหลอดเลือดเสื่อมก็จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดในสมองได้ ดังนั้นปัจจัยเสี่ยงจึงมีทั้งที่แก้ไขได้และ แก้ไขไม่ได้ ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ได้แก่ อายุ เมื่ออายุมากขึ้นความเสื่อมของเส้นเลือดก็จะตามมาในแต่ละบุคคล ยิ่งอายุมากขึ้น หลอดเลือดในสมองก็จะเสื่อมมากขึ้น เหมือนท่อประปาในบ้านที่ใช้นานขึ้น ก็จะมีโอกาสที่จะมีตะกอนมาเกาะมากกว่าคนอายุน้อย เพศชาย มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เคยมีประวัติโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือโรคหลอดเลือดในสมองแตกมาก่อน ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถแก้ไขได้ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง เมื่อมีโรคความดันโลหิตสูงควรพบแพทย์เพื่อตรวจวัดความดันและรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะไม่มีอาการผิดปกติใดๆก็ตาม เนื่องจากความดันโลหิตที่สูงจะไปทำให้เส้นเลือดในสมองแตกได้ง่าย และทำให้เส้นเลือดในสมองมีความเปราะมากขึ้น โรคเบาหวาน ควรควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในระดับปกติ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หากผู้ป่วยมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Atrial fibrillation or atrial flutter) มักจะทำให้เกิดลิ่มเลือดในหัวใจและลิ่มเลือดในหัวใจอาจจะลอยไปอุดเส้นเลือดในสมองได้ การแก้ไขภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมักจะทำได้โดยการจี้ไฟฟ้าที่หัวใจ หรือหากไม่สามารถแก้ไขได้ ผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องได้รับยาละลายลิ่มเลือด อย่างต่อเนื่อง ไขมันในเลือดสูง ไขมันจะเป็นตัวเร่งให้หลอดเลือดมีการแข็งตัวและมักจะเกาะตัวกันเป็นตะกอนในหลอดเลือด และทำให้หลอดเลือดในสมองตีบได้ การสูบบุหรี่ บุหรี่จะเป็นปัจจัยเร่งที่สำคัญที่จะทำให้หลอดเลือดในสมองเปราะและเกิดมีตะกอนได้ง่าย ทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดในสมองตีบได้ง่่ายกว่าคนที่ไม่สูบ ทั้งนี้รวมถึงบุคคลที่ใกล้ชิดคคนที่สูบบุหรี่จัดและได้รับควันบุหรี่ตลอดเวลาด้วย ดื่มเหล้า เป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความดันโลหิตสูงและเส้นเลือดในสมองแตก ได้ง่ายกว่าคนทั่่วไป การใช้สารเสพติดบางชนิดได้แก่ แอมเฟตามีน โคเคน ผู้ที่ใช้สารเสพติดเหล่านี้มักจะเกิดเลือดออกในสมองง่ายกว่าคนทั่วไป เนื่องจากสารเสพติดเหล่านี้จะไปทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง หรือในผู้ป่วยบางรายอาจจะทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดอักเสบ โรคหลอดเลือดสมองตีบสามารถรักษาให้ผู้ป่วยหายเป็นปกติ โดยที่ผู้ป่วยไม่มีความพิการหลงเหลืออยู่ โดยผู้ป่วยจะต้องมาพบแพทย์หลังมีอาการภายในเวลา 4ชั่วโมงครึ่ง แพทย์จะสามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดเข้าทางหลอดเลือดดำ (IV – rtPA alteplase ) โดยยาจะสามารถไปละลายลิ่มเลือดที่ไปอุดตันสมองได้ 30-50% ของผู้ป่วย และทำให้ผู้ป่วยไม่มีความพิการหลงเหลืออยู่ หรือมีความพิการน้อยมาก หลังจากการให้ยา ผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก( ICU) หรือหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke unit ) เพื่อการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดโดยบุคลากรทางการแพทย์เป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่งโมง แต่ผู้ป่วยที่มีอาการมานานกว่า สี่ชั่วโมงครึ่งจะมีความเสี่ยงที่จะมีเลือดออกในสมองได้ถ้าให้ยา มากกว่าประโยชน์ที่จะได้รับจากการให้ยา โดยความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะมีเลือดออกในสมองในกรณีที่มาภายในเวลาสี่ชั่วโมงครึ่งและได้รับยาละลายลิ่มเลือดมี 6% จากกการทดลอง ปัจจุบันนี้ยังมีการรักษาโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันที่ยังอยู่ในการทดลองหลายแบบ เช่นการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดดำคู่กับการให้ยาทางหลอดเลือดแดง การใช้เครื่องมีอไปดึงหรือลากลิ่มเลือดที่อุดตันโดยตรง หรือการให้ยาชนิดอื่นได้แก่ยา Desmoteplase โรคหลอดเลือดในสมองแตก หรือเลือดออกในสมอง การรักษาภาวะเส้นเลือดในสมองแตกในระยะเฉียบพลัน ผู้ป่วยอาจจะจำเป็นที่จะต้องได้รับการผ่าตัดในทันทีหากผู้ป่วยมีเลือดออกในสมองมากจนกระทั่งมีภาวะความดันในกระโหลกสูง หรือถ้าผู้ป่วยมีเลือดออกในปริมาณน้อยอาจไม่จำเป็นที่จะต้องผ่าตัดเพียงแค่รักษาแบบประคับประคองได้ แต่ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแลเป็นผู้ป่วยในหอผู้ป่วยหนักเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ในกรณีที่มีเลือดออกในชั้นเยื่อหุ้มสมองจากหลอดเลือดสมองโป่งพอง ( Subarachnoid hemorrhage from rupture aneurysm ) ผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาในทันทีเพื่อลดการแตกซ้ำของหลอดเลือดสมองที่โป่งพอง การป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ 1 การป้องกันก่อนการเป็นโรค 2 การป้องกันการเป็นซ้ำในกรณที่เกิดภาวะโรคหลอดเลือดสมองแล้ว การป้องกันก่อนการเป็นโรค 1.) ตรวจวัดความดันโลหิต อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หากพบว่ามีความดันโลหิตที่มากกว่า 140/80 mmHg ควรพบแพทย์ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยการลดอาหารเค็ม และรับประทานยาลดความดันอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรหยุดรับประทานยาลดความดันเอง โดยแพทย์ไม่ได้สั่งงด เนื่องจากโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่เป็นแล้วมักจะเป็นตลอดชีวิต และไม่ค่อยแสดงอาการ 2.) ตรวจร่างกายทางด้านหัวใจว่ามีความผิดปกติของการเต้นของหัวใจหรือไม่ 3.) หยุดสูบบุหรี่ 4.) ลดน้ำหนัก ในกรณีที่มีน้ำหนักเกิน 5.) ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง โดยการออกกำลังกายควรเป็นการออกกำลังกายที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นกว่าปกติ อย่างน้อย 10-20 ครั้ง ต่อนาที และ อย่างน้อยครั้งละครึ่งชั่่วโมง 6.) ตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี เพื่อตรวจวัดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด 7.) งดการดื่มสุรา                                            การป้องกันการเป็นซ้ำในกรณีที่เกิดภาวะโรคหลอดเลือดสมองแล้ว 1.) การรักษาจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนปัจจัยเสี่ยงมี่สามารถปรับได้ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว 2.) การป้องกันการเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองตีบโดยการให้ยาต้านเกร็ดเลือดหรือยาละลายลิ่มเลือด เกร็ดเลือดเป็นเซลล์ชนิดหนึ่งที่อยู่ในกระแสเลือด จะถูกกระตุ้นโดยการที่เกิดการฉีกขาด หรือการอักเสบของเส้นเลือด และสามารถ อุดหลอดเลือดได้ ทำให้เกิดเป็นตะกอนในเส้นเลือด ยาต้านเกร็ดเลือดจะทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้มีเกิดการจับกันของเกร็ดเลือด เพื่อไม่ให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือด ที่จะไปเลี้ยงสมอง ยาต้านเกร็ดเลือดในปัจจุบันมีหลายชนิดเช่น Aspirin, cilostazol,clopidogrel,triflusal, arpirin plus dipyridamole,Ticagilor ซึ่งยาต้านเกร็ดเลือดแต่ละตัวจะออกฤทธิ์ต้านเกร็ดเลือดด้วยกลไกที่ต่างกัน บางครั้งหากผู้ป่วยมีอาการเป็นซ้ำๆ จากการอุดตันของเส้นเลือดสมอง ผู้ป่วยอาจจะมีความจำป็นที่จะต้องรับประทานยาต้านเกร็ดเลือดหลายชนิดร่วมกัน แต่ก็จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดเลือดออกผิดปกติในบริเวณต่างๆมากขึ้น เช่นเลือดออกในทางเดินอาหาร หรือเลือดออกในสมอง

Read More »

โรคหลอดเลือดสมอง Stroke ตอนที่ 2

อาการที่น่าสงสัยว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง -ปากเบี้ยวหรือชาบริเวณใบหน้า -ปวดศีรษะอย่างรุนแรง -แขนขาอ่อนแรงหรือชาครึ่งซีก -วิงเวียนศีรษะประกอบกับเดินเซ -พูดไม่ชัด นึกคำพูดไม่ออก ฟังไม่รู้เรื่อง เมื่อสงสัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองต้องปฏิบัติอย่างไร โรคหลอดเลือดสมองถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ (Brain attack) ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถให้ประวัติเองได้ เแพทย์จำเป็นที่จะต้องทราบเวลาที่ญาติพบเห็นผู้ป่วยเป็นปกติครั้งสุดท้าย ถ้าผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลภายในเวลาสี่ชั่วโมงครึ่งหลังจากอาการเริ่มต้น แพทย์จะสามารถให้ยาละลายลิ่มเลือด(rt-PA) เพื่อละลายลิ่มเลือดในสมอง และทำให้สมองส่วนที่ขาดเลือดกลับมาเป็นปกติได้ หากไม่สามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดได้ แพทย์ก็ยังจำเป็นที่จะต้องรับผู้ป่วยไว้เป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลเพื่อสังเกตอาการ ในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดอาการภายใน 7 วัน หากสงสัยว่าผู้ป่วยมีอาการของโรคหลอดเลือดสมองให้ดำเนินการดังนี้ 1. โทรศัพท์แจ้งโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุด โรงพยาบาลพระรามเก้า 02-202-9999 และแจ้งอาการที่ผู้ป่วยเป็น เวลาที่ผู้ป่วยมีอาการ โดยทางโรงพยาบาลจะจัดส่งรถโรงพยาบาลไปรับตัวผู้ป่วยในทันที 2. นำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันทีที่มีอาการ ไม่ควรรอหรือให้ผู้ป่วยนอนพักสังเกตอาการเอง 3. หากผู้ป่วยมีโรคประจำตัวที่ต้องมียาที่รับประทานเป็นประจำ เช่นเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง ควรนำยามาโรงพยาบาลด้วย และไม่ควรให้ยาผู้ป่วยรับประทานก่อนที่จะมาถึงโรงพยาบาล โดยยาลดความดัน จะทำให้ผู้ป่วยมีความดันเลือดที่ต่ำลง และอาจจะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ หรือไม่ควรให้ผู้ป่วยรับประทานยาเบาหวาน 4. หากผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นเองก่อนถึงโรงพยาบาล ก็ยังจำเป็นที่จะต้องนำผู้ป่วยมาพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพราะอาจจะเป็นภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (TIA) ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง โดยผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดในโรงพยาบาล และต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติมในทันที และหากมีความผิดปกติเกิดขึ้นอีกแพทย์จะสามารถรักษาได้ทันท่วงที การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมองทำได้อย่างไรและต้องตรวจอะไรเพิ่มเติมบ้าง ประวัติ -แพทย์จำเป็นจะต้องซักประวัติอาการของผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาล เวลาที่ผู้ป่วยมีอาการ หรือเวลาที่เห็นผู้ป่วยเป็นปกติครั้งล่าสุดเช่นมีอาการหลังตื่นนอน โดยมีญาติเห็นผู้ป่วยเป็นปกติครั้งสุดท้ายตอนก่อนนอน โรคประจำตัว ยาที่ผู้ป่วยรับประทานเป็นประจำ ประวัติครอบครัว โดยหากผู้ป่วยไม่สามารถให้ประวัติเองได้ แพทย์จำเป็นที่จะต้องซักประวัติจากญาติหรือผู้ที่เห็นเหตุการณ์ ตรวจร่างกาย -แพทย์จะตรวจสัญญาณชีพ ( vital signs) วัดความดัน ชีพจร การหายใจ และอุณหภูมิของร่างกาย ตรวจหัวใจ ตรวจระบบประสาทโดยละเอียดได้แก่ การตรวจกำลังของกล้ามเนื้อ ความรู้สึกสัมผัสของร่างกาย การพูดและความเข้าใจ การฟังตามคำสั่ง การเดิน เป็นต้น การตรวจทางห้องปฏิบัติการ-การตรวจเพิ่มเติมในผู้ป่วยที่สงสัยภาวะหลอดเลือดสมองทำเพื่อที่จะแยกภาวะอื่น ที่ไม่ใช่โรคหลอดเลือดสมอง แยกภาวะเลือดออกในสมอง หรือเส้นเลือดในสมองแตก รวมถึงเป็นส่่วนหนึ่งในการหาสาเหตุของโรคหลอดเลือดในสมอง เพื่อการพิจารณาการให้ยาในการป้องกันการเป็นซ้ำในครั้งต่อไป 1. หากสงสัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมอง จะต้องแยกสาเหตุอื่่นๆที่ทำให้มีอาการคล้ายโรคหลอดเลือดสมองได้เช่น ภาวะน้ำตาลต่ำ ภาวะเกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ ภาวะการทำงานของตับหรือไตที่ผิดปกติ โดยจะต้องเจาะเลือดตรวจในข้ันต้น 2. เอกซเรย์ปอด เพื่อดูภาวะความผิดปกติของหัวใจและปอด 3. คลื่นไฟฟ้าหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองอาจจะพบร่วมกับภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบได้ และหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจจะทำให้เกิดลิ่มเลือดในหัวใจ และลิ่มเลือดจากหัวใจสามารถทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดได้ 4. เอกซเรย์สมอง ( CT Scan ) ข้อดีคือใช้เวลาน้อย สามารถดูโรคในกลุ่มเลือดออก และดูการแตกของกระโหลกศีรษะได้ดี แต่ความละเอียดของภาพในเนื้อสมอง เช่นสมองขาดเลือดในระยะเบื้องต้น จะน้อยกว่าการทำ MRI หรือการดูรายละเอียดของเส้นเลือดจะต้องฉีดสารทึบแสง ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยที่มีสภาวะไตเสื่อมเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ 5. การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (MRI scan) สามารถดูภาวะหลอดเลือดในสมองตีบในระยะเฉียบพลันได้ ภายใน 15 นาทีถึง 7 วัน และสามารถเห็นหลอดเลือดใหญ่ๆที่ตีบได้โดยไม่ต้องฉีดสี ข้อเสียคือระยะเวลาในการตรวจนาน และต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ป่วย เช่นในผู้ป่วยบางคนที่กลัวที่แคบ หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถนอนนิ่งได้นานๆ หรือในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ (pace maker ) ก็ไม่สามารถรับการตรวจด้วยวิธีนี้ได้ เนื่องจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะไปกวนการทำงานของเครื่องกระตุ้นหัวใจและทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้ 6. การฉีดสีดูหลอดเลือดสมอง (Cerebral angiography) เป็นการสวนเส้นเลือดจากขาหนีบเพื่อฉีดสีดูหลอดเลือด ซึ่งแพทย์มักจะส่งตรวจในกรณีที่สงสัยภาวะหลอดเลือดสมองโป่งพอง (cerebral aneurysm ) ที่ทำให้เกิดเลือดออกในชั้นเยื่อหุ้มสมอง ( Subarachnoid hemorrhage) 7. อัลตร้าซาวด์หลอดเลือด ( TCD transcranial doppler ,Carotid duplex) เป็นการตรวจโดยใช้เครื่องอัลตร้าซาวด์เพื่อดูความผิดปกติของหลอดเลือดในสมองและหลอดเลือดที่คอ เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดที่คอตีบ ว่าจำเป็นที่จะต้องผ่าตัดหลอดเลือดหรือไม่

Read More »

โรคหลอดเลือดสมอง Stroke ตอนที่ 1

ปัจจุบันโรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตและสาเหตุของความพิการในลำดับต้นๆของประชากรในประเทศไทย ทั้งๆที่เป็นโรคที่ป้องกันและรักษาได้หากผู้ป่วยมารับการรักษาภายในเวลาที่ทันท่วงที โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร (STROKE) คนไทยมักรู้จักโรคหลอดเลือดสมองกันว่าโรคอัมพาต หรืออัมพฤกษ์ ซึ่งเกิดได้จากสองสาเหตุคือ เส้นเลือดในสมองแตก และเส้นเลือดในสมองตีบ ทั้งสองกรณีนี้จะทำให้เนื้อเยื่อสมองที่โดนผลกระทบไม่ทำงาน เช่นถ้ามีอาการในบริเวณที่ควบคุมการขยับของแขนขาด้านใดด้านหนึ่ง ก็จะทำให้แขนขาด้านนั้นขยับไม่ได้ ถ้าเป็นถาวรก็จะเรียกว่าเป็นอัมพาต ถ้าเป็นชั่วคราวก็จะเรียกว่าอัมพฤกษ์นั้นเอง คล้ายๆอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (heart attack) แต่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง ( brain attack) แทน อาการของโรคหลอดเลือดสมองเป็นอย่างไรได้บ้าง ในปัจจุบันหากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบขาดเลือดมารับการรักษาภายในเวลา สี่ชั่วโมงครึ่ง สามารถที่จะให้ยาละลายลิ่มเลือดเพื่อที่จะช่วยให้สมองในบริเวณที่ขาดเลือดกลับมาทำงานได้ตามปกติ ดังนั้นอาการที่เป็นทันทีทันใดและควรสังเกตง่ายๆในเบื้องต้นจึงได้แก่ F.A.S.T. F-Face : ผู้ป่วยจะมีอาการหน้าเบี้ยวด้านใดด้านหนึ่ง หรือผู้ป่วยบางท่านอาจจะมีอาการระหว่างการรับประทานอาหารแล้วมีอาหารไหลออกจากปากหรือน้ำลายไหลออกจากมุมปากด้านใดด้านหนึ่ง ทดสอบง่ายๆได้โดยให้ผู้ป่วยลองยิ้มหรือยิงฟัน A-Arms : ผู้ป่วยจะขยับแขนขาด้านใดด้านหนึ่งไม่ได้ โดยอาจจะเป็นเฉพาะแขนหรือเฉพาะขา หรือเป็นทั้งแขนขาซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นด้านเดียวกัน ทดสอบง่ายๆโดยการให้ผู้ป่วยลองยกแขนขาทั้งสองข้างถ้าตกด้านใดด้านหนึ่งแสดงว่ามีความผิดปกติ S-Speech : ผู้ป่วยจะมีอาการพูดไม่ชัด พูดอ้อแอ้ เหมือนลิ้นคับปาก หรือบางคนมีอาการพูดไม่ออก หรือฟังคำสั่งไม่รู้เรื่อง ญาติบางคนจะคิดว่าผู้ป่วยสับสน ทดสอบได้ง่ายๆด้วยการให้ผู้ป่วยพูดตามในคำง่ายๆ เช่นกรุงเทพมหานคร หรือชี้ให้ดูปากกา นาฬิกา แล้วถามว่าของสิ่งนั้นเรียกว่าอะไร หรือให้ทำตามคำสั่งง่ายๆ เช่น ชูสองนิ้วเป็นต้น T-Time: เวลาเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้นำผู้ป่วยที่สงสัยภาวะโรคหลอดเลือดสมองไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับสมองที่มากขึ้นตามระยะเวลาที่มากขึ้น ในกรณีที่เป็นโรคหลอดเลือดในสมองตีบและมาถึงโรงพยาบาลภายในสี่ชั่วโมงครึ่ง จะสามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดในส่วนของเส้นเลือดที่อุดตันได้ และอาการของคนไข้จะสามารถกลับมาเป็นปกติได้ ถ้าให้ยาละลายลิ่มเลือดแล้ว สามารถละลายลิ่มเลือดที่อุดตันออกไปได้ อาการของผู้ป่วยหลอดเลือดสมองจะขึ้นกับบริเวณสมองที่ได้รับการกระทบกระเทือน และอาการมักเกิดขึ้นแบบฉับพลัน มักจะระบุเวลาที่เกิดอาการได้ หรือเป็นหลังจากตื่นนอน เช่นตอนก่อนนอนญาติยังพบว่าอาการปกติดี แต่ตอนเช้าไปปลุกพบว่าแขนขาอ่อนแรง เช่น มีอาการอ่อนแรงของแขนขาด้านใดด้านหนึ่ง หรือชาซีกใดซีกหนึ่ง ซึ่งมักจะเป็นด้านตรงข้ามกับบริเวณสมองที่ได้รับความกระทบกระเทือน พูดจาสับสนเหมือนฟังคำสั่งไม่รู้เรื่องหรือพูดไม่ออก พูดแล้วลิ้นคับปากอ้อแอ้ มีอาการเวียนศีรษะ อาจจะมีบ้านหมุนหรือไม่มีบ้านหมุนร่วมด้วย ไม่สัมพันธ์กับท่าทาง ปวดศีรษะรุนแรงทันที ด้านใดด้านหนึ่ง หรือปวดทั่วๆทั้งศีรษะ รวมทั้งมีอาการคลื่นไส้อาเจียน โรคหลอดเลือดสมองมีกี่ชนิด ? โรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกเป็นสองแบบคือ 1. สมองขาดเลือด (ischemic stroke) สาเหตุหลักคือเส้นเลือดในสมองอุดตัน ไม่ว่าจะเกิดจากลิ่มเลือดที่มาจากหัวใจลอยไปอุดหลอดเลือดในสมอง(embolus) หรือ เส้นเลือดตีบจากตะกอนในเส้นเลือด(Thrombosis) 2. เส้นเลือดในสมองแตก เกิดจากความเสื่อมของผนังเส้นเลือดตามอายุ ทำให้เกิด เลือดออกในเนื้อสมอง (intracranial hemorrhage) หรือเลือดออกในชั้นเยื่อหุ้มสมอง (subarachnoid hemorrhage) ซึ่งมักเกิดจากการที่มีเส้นเลือดโป่งพองผิดปกติในสมองอยู่เดิมแล้วเกิดการ แตกขึ้นมา สมองขาดเลือดชั่วคราวคืออะไร (TIA transient ischemic attack) สมองขาดเลือดชั่วคราวคือการที่ปริมาณเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนใดส่วนหนึ่งน้อยลงทันที และสามารถกลัับคืนสู่สภาพเดิมได้ในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้ไม่เกิดภาวะเนื้อสมองตายที่เกิดจากการขาดเลือด อาการจะเป็นเหมือนโรคหลอดเลือดในสมองตีบ แต่หายได้ภายในเวลา 24 ชั่วโมง โดยส่วนใหญ่จะเกิดเพียงระยะเวลาสั้นๆ เช่น 5-10 นาทีได้ โดยที่เมื่อผู้ป่วยมาทำ MRI (การ X-ray สมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) จะไม่พบความผิดปกติ โดยทั่วไปผู้ป่วยประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยสมองขาดเลือดชั่วคราวมักจะกลายไปเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(ischemic stroke)ภายใน 7วัน ดังนั้นการที่ผู้ป่วยมีอาการสมองขาดเลือดชั่วคราว มักจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยทุกรายที่มีอาการจึงควรมาพบแพทย์ทันทีที่มีความผิดปกติเกิดขึ้น

Read More »

คำถามจากกิจกรรมสัมมนา “100 เรื่องราวที่คุณแม่ตั้งครรภ์…ต้องรู้”

คำถามจากกิจกรรมสัมมนา “100 เรื่องราวที่คุณแม่ตั้งครรภ์…ต้องรู้” 1. ลูกดิ้นเยอะ เวลากลางวันหลายช่วง และกลางคืนช่วงตี2-ตี5 อยากทราบว่าเขาจะพักผ่อนพอไหม ตอบ. ลูกดิ้นเป็นเรื่องที่ไม่มีอะไรน่ากังวลเลยค่ะ และลูกมักจะดิ้นใกล้เวลารับประทานอาหาร และเวลาอิ่มแล้ว หรือเวลามีเสียงดังรอบตัว คุณแม่จึงควรรับประทานอาหารให้ตรงเวลา และหลีกเลี่ยงการได้ยินเสียงดังค่ะ 2. อาการเท้าบวม เดินแล้วเหมือนมีน้ำอยู่ในเท้า นอนพักเอาหมอนหนุนตอนกลางคืน ตื่นมายังบวมอยู่ อยากทราบว่าเกิดจากอะไร ผิดปกติหรือไม่ ตอบ. ถ้าเท้าบวมตอนเย็นเนื่องจากยืน เดิน ตลอดวัน และยุบตอนตื่นเช้า ถือว่าเป็นอาการปกติได้ค่ะ แต่ถ้าบวมเลยข้อเท้าขึ้นมาถึงหน้าแข้ง กดแล้วบุ๋ม และยังบวมตอนตื่นนอนตอนเช้า อาจมีภาวะครรภ์เป็นพิษ ควรไปพบแพทย์ก่อนนัดค่ะ 3. อายุครรภ์ 7- 9 เดือน เดินขึ้นสะพานลอยได้ไหม ตอบ. ควรเลี่ยงค่ะ เพราะน้ำหนักของครรภ์อาจทำให้เสียศูนย์ และเสียการทรงตัว หรือก้าวบันไดพลาดเกิดอันตรายได้ และยังอาจเกิดอาการหน้ามืดเพราะเลือดขึ้นไปเลี้ยงสมองไม่ทันค่ะ 4. ถ้าคุณแม่เป็นงูสวัดเดือนเมษายน เป็นประจำเดือนครั้งสุดท้ายเดือนมีนาคม ลูกในครรภ์มีอันตรายหรือไม่ ทั้งในเรื่องของเชื้อไวรัส และยาที่ทาน ตอบ. การติดเชื้อและการรับประทานยา จะไม่มีผลต่อลูกในครรภ์ในช่วง 2 สัปดาห์หลังปฏิสนธิ (ก่อนถึงวันที่ควรมีประจำเดือนค่ะ) สำหรับงูสวัด ถ้าเป็นคุณหมอสูติจัดยาให้และทราบว่าตั้งครรภ์ ก็ไม่เป็นอันตรายค่ะ 5. การบล็อคหลัง ได้ทราบข่าวมาว่าบางโรงพยาบาลไม่ทำการบล็อกหลังให้แล้ว เนื่องจากการฟ้องร้อง ไม่ทราบว่าเป็นอย่างไรบ้าง จริงหรือไม่ อย่างไร ตอบ. คงเป็นเฉพาะกรณี และเฉพาะบางโรงพยาบาลที่มีข้อจำกัดในการบล็อกหลังค่ะ แต่ในโรงพยาบาลใหญ่ที่มีวิสัญญีแพทย์ที่มีความชำนาญ ก็ยังมีการให้บริการอย่างปลอดภัยตามปกติค่ะ 6. อยากสอบถามว่าถ้าคุณแม่ไม่ค่อยทานเนื้อสัตว์ จะหันมาทานอาหารเสริม สารสกัดจากถั่วเหลืองของแอมเวย์ที่เสริมโปรตีน ได้หรือไม่ค่ะ และจะเป็นอันตรายหรือไม่ค่ะ ตอบ. อาหารเสริมหรือสารสกัด ไม่ได้เป็นผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ จึงต้องรับประทานตามความเชื่อค่ะ ถ้าไม่ทานเนื้อสัตว์ก็แนะนำให้ทานไข่ขาววันละ 3-4 ฟองค่ะ และถ้าทานปลาได้ ก็ควรให้ได้ทุกวันและเสริมวิตามิน B1-6-12 วันละ 1-2 เม็ด เพื่อชดเชยที่จะไม่ทานเนื้อหมูค่ะ 7. ถ้ามีปัญหาเคยปวดหลังจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว ควรจะคลอดเองหรือผ่าคลอดดีกว่า ตอบ. แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอกระดูก เพื่อประเมินว่ายังมีการกดทับหรือมีความเสี่ยงของการกดทับขณะครรภ์ใกล้กำหนดหรือเวลาเบ่งคลอดหรือไม่ ถ้ามีก็ควรจะผ่าตัดคลอดค่ะ 8. อัลตร้าซาวด์ สามารถตรวจความผิดปกติ ของอวัยวะภายในของทารกในครรภ์ได้หรือไม่ ตอบ.สามารถตรวจได้ แต่มีข้อจำกัดว่าอาจไม่สามารถตรวจพบความพิการได้ทั้งหมด ขึ้นกับว่าตรวจในขณะอายุครรภ์เท่าใด และทารกอยู่ในอิริยาบถที่เผยส่วนที่ต้องการตรวจได้ในจังหวะที่กำลังตรวจหรือไม่ 9. บริเวณผิวหนังใกล้ช่องคลอดอับชื้นกว่าปกติคิดว่าเนื่องจากต้องปัสสาวะบ่อยทำให้มีตุ่ม (ลักษณะเหมือนยุงกัด และรู้สึกคัน) สามารถใช้แป้งเด็กทาเพื่อลดอาการคันและอับชื้นได้หรือไม่ค่ะ ตอบ. การทาแป้งอาจเกิดการหมักหมม และเกิดการอักเสบเพิ่มเติม ควรเปลี่ยนวิธีการใช้กระดาษชำระ เพื่อกดกระดาษให้นิ่งและแน่นในบริเวณอับชื้น จนรู้สึกว่าแห้งแล้วก็เอากระดาษอออก พลิกกลับอีกด้านที่ยังแห้งกดซับนิ่งๆอีกครั้ง ไม่ควรเช็ดแบบเคลื่อนกระดาษ เพราะนอกจากไม่แห้งแล้ว อาจเกิดการแปดเปื้อนของแบคทีเรียและเชื้อรารอบทวารหนัก เข้าไปในช่องคลอด ทำให้เกิดการอักเสบและคันได้

Read More »

โรค มือ เท้า ปาก

Read More »

ไส้ติ่งอักเสบ

ไส้ติ่ง หรือ Appendix นี้มีรูปร่างเหมือนตัวหนอน ห้อยออกมาจากส่วนของลำไส้ใหญ่ที่เรียกว่า Cecum ไม่มีประโยชน์อะไรต่อการย่อยอาหาร แต่นานๆ ทีมันก็เกิดอักเสบขึ้นมา โรคไส้ติ่งอักเสบหรือไส้ตันนี้ ทุกคนควรรู้จักอาการเอาไว้ เพราะอาจเกิดขึ้นได้กะทันหัน โรคนี้เริ่มต้นด้วยอาการปวดท้อง ตอนแรกปวดตรงกลางสะดือ ไม่กี่ชั่วโมงต่อมา จุดปวดนี้ค่อยๆย้ายมาอยู่ที่ท้องน้อยด้านขวา ถ้าเราเอามือกดตรงส่วนนี้ของหน้าท้อง จะยิ่งรู้สึกเจ็บมากขึ้นจนแทบทนไม่ได้ ผู้เป็นมักจะมีไข้ขึ้นและอาเจียนติดๆกัน บางคนหยุดถ่าย แต่บางคนก็ท้องเดิน ถ้ามีอาการเช่นนี้ต้องรีบไปโรงพยาบาล ให้แพทย์เขาตรวจดูทันที เพราะถ้าไส้ติ่งอักเสบจริง จะต้องทำการผ่าตัดก่อนที่ไส้ติ่งจะทะลุแตกในท้อง และเป็นอันตรายต่อชีวิต การผ่าไส้ติ่งนี้ ไม่ใช่เรื่องยากหรืออันตราย เมื่อแพทย์เขาตัดตัวไส้ติ่งที่อักเสบนั้นทิ้งไป อาการปวดท้องและอาเจียนก็จะหยุดลง หลังจากนั้นประมาณ 2 อาทิตย์ สุขภาพของท่านก็จะดีตามเดิม ลักษณะทั่วไป ไส้ติ่งอักเสบ เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องรุนแรงที่ต้องผ่าตัด หากพบมีอาการเจ็บปวดตรงท้องน้อยข้างขวา ควรนึกถึงโรคนี้ไว้ก่อนเสมอ เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทุกวัย สาเหตุ เกิดจากกรอุดตันของไส้ติ่ง เช่น มีเศษอุจจาระตกลงไปในไส้ติ่ง ทำให้มีเชื่อแบคทีเรียเข้าไปทำให้เกิดการอักเสบ อาการ มักมีอาการปวดท้องมาก เริ่มแรกอาจปวดเป็นพักๆ รอบสะดือคล้ายโรคกระเพาะ หรือท้องเดิน อาจจะเข้าส้วมบ่อย แต่ถ่ายไม่ออก บางคนอาจสวนด้วยยาถ่าย แต่บางคนก็อาจมีอาการท้องเดินร่วมด้วย อาการปวดถึงแม้จะกินยาแก้ปวดอะไรก็ไม่หาย ต่อมาอีก 3-4 ชั่วโมง อาการปวดจะย้ายมาที่ท้องน้อยข้างขวา ลักษณะปวดเสียดตลอดเวลา ต้องนอนนิ่งๆ เคลื่อนไหวตัวจะทำให้ปวดมาก ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนและมีไข้ต่ำๆ บางคนถ้าเป็นมากต้องนอนงอขาตะแคงไปข้างหนึ่ง หรือเวลาเดินต้องเดินตัวงอจึงจะรู้สึกสบายขึ้น อาการจะเป็นอยู่นับชั่วโมงถึงหลายวัน บางคนอาจมีอาการปวดท้องน้อยด้านขวา โดยไม่มีอาการอื่นนำมาก่อนเลยก็ได้ ในเด็กประวัติอาการอาจไม่แน่นอน สิ่งที่ตรวจพบ ไข้ต่ำๆ (37.5 – 38 ํซ. มักไม่เกิน 38.5 ํซ.) บางคนอาจไม่มีไข้ ลิ้นเป็นฝ้าหนา กดเจ็บตรงท้องน้อยข้างขวา โดยเฉพาะตรงจุดไส้ติ่ง หรือจุดแม็กเบอร์เนย์ ถ้าใช้มือค่อยๆ กดตรงนั้นบริเวณลึกๆ แล้วปล่อยมือทันทีให้ผนังหน้าท้องกระเด้งกลับ ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บมาก เรียกว่า อาการกดปล่อยแล้วเจ็บ (Rebound Tenderness) ถ้าไส้ติ่งแตก จะมีอาการปวดเจ็บทั่วบริเวณท้องน้อย ท้องแข็ง อาจคลำได้ก้อน และไข้สูง ข้อแนะนำ 1. คนที่มีอาการปวดเหนือสะดือคล้ายโรคกระเพาะ ถ้ากินยาแล้วไม่ดีขึ้น อาจเป็นไส้ติ่งอักเสบระยะแรกได้ 2. คนที่มีไข้สูงนำมาก่อนหลายวันแล้วค่อยปวดท้องคล้ายไส้ติ่งอักเสบ อาจเป็นอาการของไข้ไทฟอยด์ได้ 3. อาการของไส้ติ่งอักเสบ อาจไม่มีไข้ หรืออาการอย่างอื่นนำมาก่อนก็ได้ 4. ในผู้หญิง ถ้ามีอาการปวดท้องน้อยข้างขวา และมีไข้สูงหนาวสั่นตั้งแต่ระยะเริ่มแรก อาจเป็นปีกมดลูกอักเสบ รายละเอียด ถ้ามีอาการปวดและกดเจ็บตรงท้องน้อยข้างขวา ควรนึกถึงโรคไส้ติ่งอักเสบไว้เสมอ ปวดท้องทั่วไปต่างจากโรคอื่นๆ มักปวดเป็นพักๆ ถ้าเป็นจากโรคแผลในกระเพาะ มักปวดใต้ลิ้นปี่ สัมพันธ์กับอาหาร โดยจะท้องอืด เหมือนอาหารไม่ย่อย หรือปวดจุกเสียดก็ได้ มักเป็นหลังอาหาร (คือทานอาหารแล้วแย่ลง) แต่ถ้าเป็นแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น อาจเป็นที่ใต้ลิ้นปี่หรือชายโครงขวา มักปวดจุกเสียดก่อนอาหาร พอทานอาหารแล้วจะดีขึ้น อาการปวดจากถุงน้ำดี มักเป็นที่ชายโครงขวา อาจมีร้าวไปบริเวณมุมล่างของสะบักขวา หรือบริเวณระหว่างสะบัก จะมีลักษณะที่สำคัญ คือ จะมีอาการแน่นหรืออืดหลังทานอาหารมันๆ (Fat Intolerance) หรือมีปวดท้องหลังอาหารเย็นเป็นพักๆที่ชายโครงขวา (Biliary Colic) ปวดจากนิ่วในท่อไต อาการปวดจะเป็นพักๆ มากบริเวณเอวด้านหลัง อาจร้าวมาขาหนีบ หรือบริเวณอัณฑะ ร่วมกับมีปัสสาวะเป็นเลือด หรือเป็นสีน้ำล้างเนื้อ ปวดจากปีกมดลูกหรือรังไข่ จะปวดบริเวณท้องน้อย ไม่สัมพันธ์กับอาหาร มักมีเลือดหรือตกขาวผิดปกติทางช่องคลอดร่วมด้วย จะสังเกตว่าอาการปวดท้อง ในระยะแรกไม่ว่าจะเป็นไส้ติ่งหรือโรคอื่นๆก็ตาม จะแยกกันยาก ต้องใช้การสังเกตอาการ ดังนั้น ในกรณีที่เริ่มปวดท้องที่ยังไม่ทราบว่าเป็นอะไร อย่าเพิ่งกินยาแก้ปวด คววรไปพบแพย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยก่อน เพราะการกินยาแก้ปวด จะทำให้แพทย์วินิจฉัยแยกโรคลำบาก เนื่องจากยาจะบดบังอาการปวด วินิจฉัย นอกจากอาการของผู้ป่วย และการตรวจร่างกายของแพทย์แล้ว ต้องเจาะเลือดดู CBC เพื่อตรวจนับดูจำนวนเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติหรือไม่ ตรวจปัสสาวะเพื่อแยกโรคนิ่วและการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ควรทำการตรวจอัลตราซาวน์ หรือทำ CT Scan ช่องท้องเพื่อความแม่นยำในการวินิจฉัย การรักษา ไม่ว่าจะแตกหรือไม่ ก็จะต้องทำการผ่าตัดก่อนที่ไส้ติ่งจะทะลุแตกในท้องและเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ การผ่าไส้ติ่งนี้ ไม่ใช่เรื่องยากหรืออันตราย เมื่อแพทย์เขาตัดตัวไส้ติ่งที่อักเสบนั้นทิ้งไป อาการปวดท้องและอาเจียนก็จะหยุดลง หลังจากนั้นประมาณ 2 อาทิตย์ สุขภาพของท่านก็จะดีตามเดิ

Read More »

วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

วัคซีนที่ใช้ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เนื่องจากในปัจจุบันเราใช้วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าชนิดที่ทำจากเซลล์เพาะเลี้ยง (ฉีด 5 ครั้งเท่านั้น) เพราะมีประสิทธิภาพสูงไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ต่อระบบประสาท และควรฉีดเซรุ่มร่วมด้วย ถ้าบาดแผลมีเลือดออก ถูกเลียที่ริมฝีปาก น้ำลายกระเด็นเข้าตา สถานเสาวภาใช้โปรกรมการฉีดวัคซีน 2 แบบ คือ แบบปกติฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และแบบประหยัดฉีดเข้าชั้นผิวหนัง แต่ละแบบจะได้รับการฉีดวัคซีนทั้งหมด 5 ครั้ง เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นอย่างไร เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นเซรุ่มส่วนของน้ำใสของเลือดที่ได้จากม้าหรือคนที่ได้รับการฉีดวัคซีน โรคพิษสุนัขบ้า ในเซรุ่มจะมีโปรตีนทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าในปริมาณที่มาก เซรุ่มจะไปทำลายเชื้อไวรัส ในร่างกายของผู้ที่ถูกสุนัขบ้ากัด โดยการฉีดรอบๆแผลก่อนที่จะก่อโรคและก่อนที่ภูมิต้านทานของร่างกายจะสร้างขึ้น ด้วยเหตุนี้การให้เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าร่วมกับการฉีดวัคซีนเข็มแรก จึงเป็นวิธีที่จะป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้ผลดีที่สุด แต่เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามีราคาแพงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ทำมาจากเลือดคน ประโยชน์ของการฉีดวัคซีนป้องกันล่วงหน้า – เมื่อถูกสัตว์กัด การฉีดวัคซีนกระตุ้นเพียง 1-2 เข็ม ร่างกายก็จะได้ภูมิต้านทานที่สูงพอจะป้องกันโรคอย่างได้ผล – ไม่เสี่ยงต่อการแพ้เซรุ่ม หรือเจ็บปวดจากการฉีดเซรุ่มรอบๆแผล ไม่ว่าจะสามารถเฝ้าดูอาการได้หรือไม่โดยเฉพาะสัตว์ที่ๆม่มีเจ้าของหรือกัดแล้วหนี ควรมาโรงพยาบาลทันที ไม่ควรและไม่จำเป็นที่จะต้องรอให้สุนัขมีอาการก่อน เพราะระยะฟักตัวทั้งในคนและสัตว์ไม่แน่นอน

Read More »

การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น

คือการส่องกล้องตรวจเยื่อบุคอ หลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น เป็นการใช้กล้องที่มีลักษณะเป็น Fiber Optic ทีปลายกล้องมีเลนส์ขยายภาพ อีกด้านหนึ่งเป็นส่วนควบคุมซึ่งต่อเข้ากับเครื่องกำเนิดแสง แล้วส่งภาพมาปรากฏบนจอโทรทัศน์ โดยสอดกล้องเข้าไปทางปาก ข้อบ่งชี้ในการส่องกล้อง เมื่อไหร่แพทย์จึงเลือกใช้วิธีนี้ อาเจียนเป็นเลือด อาการปวดท้อง เสียดแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ อาการกลืนลำบาก เบื่ออาหาร น้ำหนักลด มีกลิ่นปาก อาการเรอเปรี้ยว แน่นแสบหน้าอกกลางคืน คอแห้ง เสียงแหบ ไอเรื้อรัง ซึ่งเป็นอาการของโรคกรดไหลย้อน (GERD : Gastro Esophageal Reflux Disease) อาการซีด มีภาวะโลหิตจาง ถ่ายอุจจาระมีสีดำ ตรวจเพื่อยืนยันความผิดปกติที่พบจากการกลืนสารทึบแสง (กลืนแป้ง) เช่น พบแผลหรือเนื้องอก และสามารถตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อประเมินพยาธิสภาพจากการกลืนกรดหรือด่าง (Caustic Ingestion) เพื่อขยายการตีบแคบของทางเดินอาหาร และตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ เป็นการตรวจหามะเร็งขั้นต้นของหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น เพื่อช่วยในการทำหัตถการใส่สายให้อาหารทางกระเพาะ (PEG) ผ่านทางหน้าท้อง และลำไส้เล็ก (PEJ) ผ่านทางรูจมูก ประโยชน์ของการส่องกล้อง ตรวจหาความผิดปกติหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ตรวจหามะเร็งขั้นต้นของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น โดยตัดชิ้นเนื้อไปตรวจวิเคราะห์ ตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย H.Pylori (เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร) ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของมะเร็งกระเพาะอาหาร ติดตามผลการรักษาแผลในกระเพาะอาหารว่าเป็นเนื้อดีหรือเนื้อร้าย โดยการตัดชิ้นเนื้อซ้ำในตำแหน่งเดิม กรณีพบจุดเลือดออก สามารถฉีดยา ใช้กระแสไฟฟ้าจี้ หรือใช้ Hemoclip หนีบห้ามเลือด กรณีที่มีเส้นเลือดดำโป่งพองหรือแตกที่ส่วนปลายหลอดอาหาร ซึ่งพบในผู้ป่วยตับแข็ง สามารถห้ามเลือดโดยการรัดเส้นเลือดดำโป่งพองหรือแตกนี้ได้ ใช้คีบ ก้างปลา กระดูกเป็ด ไก่ หรือสิ่งแปลปลอมที่ติดค้างในคอและหลอดอาหารออก สามารถขยายตำแหน่งที่มีการตีบตันของทางเดินอาหาร เช่น การตีบตันเนื่องมาจากมะเร็งของหลอดอาหาร หรือผลข้างเคียงจากการกลืนกรดหรือด่าง การเตรียมตัวก่อนตรวจ ก่อนตรวจ 1 วัน ควรละเว้นอาหารที่ระคายเคืองกระเพาะ เช่น อาหารรสจัด สุรา กาแฟ งดอาหาร และเครื่องดื่มทุกชนิดก่อนตรวจ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง ภายหลังการตรวจ อาจมีการระคายเคืองและอาจมีเสมหะปนเลือดเล็กน้อย ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น กลืนไม่ลง ปวดบวมบริเวณลำคอ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก มีไข้สูง ควรรีบมาพบแพทย์

Read More »

แคลเซียมกับภาวะกระดูกพรุนในวัยทอง

แคลเซียมกับภาวะกระดูกพรุนในวัยทอง วัยทองนั้นเป็นช่วงเวลาที่ระบบฮอร์โมนเพศในร่างกายลดลงหรือหมดไป โดยผู้ชายในวัยทองระดับฮอร์โมนเพศชายจะมีระดับลดลงอย่างช้าๆ แต่ในฝ่ายหญิงแล้วเมื่อรังไข่หยุดทำงานระดับฮอร์โมนเพศหญิงจะลดลงอย่างรวดเร็วจนถึงระดับต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่จำเป็นในการมีสรีระวิทยาการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ ที่เป็นปกติ การเปลี่ยนแปลงในวัยนี้ที่สำคัญนั้นเกิดขึ้นได้ในทุกระบบของร่างกายทั้งคุณผู้ชายและคุณผู้หญิง แต่โดยทั่วๆ ไปแล้วทางฝ่ายหญิงจะได้รับผลกระทบจากการขาดฮอร์โมนเพศหญิงมากกว่า โดยเฉพาะเมื่อร่างกายขาดฮอร์โมนเพศไปเป็นเวลานานๆ แล้วสิ่งที่จะเกิดขึ้น ก็คือ ภาวะกระดูกพรุน ซึ่งบางคนอาจเรียกว่า โรคกระดูกบางก็ได้ การเปลี่ยนแปลงของกระดูกที่ทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนก็คือ เนื้อกระดูกจะบางลง การทำลายเซลล์กระดูกจะเพิ่มขึ้นในขณะที่การสร้างเซลล์กระดูกจะลดลง จากการศึกษาวิจัยพบว่ากระดูกจะเริ่มบางลงตั้งแต่อายุ 35 ปี โดยเมื่ออายุ 45 – 50 ปี กระดูกจะบางลงประมาณ 3 – 8% หลังจากเริ่มหมดประจำเดือนในระยะเวลา 5 ปีแรก กระดูกจะบางลงปีละ 5% จากนั้นในปีต่อๆไป กระดูกจะบางลง 1 – 2% ต่อปี ถ้าลองคำนวณดูจะพบว่า เมื่อผู้หญิงอายุประมาณ 55 ปี กระดูกจะบางลงไป 20 – 30% และเมื่ออายุถึง 65 – 70 ปี กระดูกอาจจะบางถึง 30 – 50% ซึ่งหมายความว่าอยู่ในระยะอันตรายที่จะทำให้กระดูกพรุน หรือ เกิดกระดูกหักได้ง่ายๆ ถ้าไม่มีการเตรียมตัวกันแต่เนิ่นๆ >> ปัจจัยเสี่ยง ทุกคนควรจะป้องกันตนเองจากการเกิดโรคหรือภาวะกระดูกพรุน และบางลงโดยการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องในแต่ละช่วงของชีวิต การลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ จะช่วยป้องกันภาวะกระดูกพรุนในวัยทองลงได้ ปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวได้แก่ กรรมพันธุ์ ตรวจดูว่ามีสมาชิกในครอบครัวที่เกิดมีกระดูกหักในวัยสูงอายุหรือ ไม่ มีรูปร่างผอมเล็ก กล้ามเนื้อน้อย และผิวหนังบางหรือไม่ การใช้ชีวิต ดื่มสุรา หรือ สูบบุหรี่จัดหรือไม่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากไหม พักผ่อนเพียงพอ และมีการออกกำลังกายพอเพียงหรือไม่ ฮอร์โมน การขาดฮอร์โมนเพศทั้งชายและหญิงมีผลกระทบทำให้เนื้อกระดูก บางลงจนเกิดภาวะกระดูกพรุนได้ ในผู้หญิงที่ได้รับการตัดรังไข่ออก สองข้างควรจะได้รับฮอร์โมนทดแทนทันที การขาดแคลเซียม ตรวจดูว่าดื่มนมมาตั้งแต่เด็กๆ หรือไม่ รับประทานอาหารที่ มีส่วนประกอบที่มีแคลเซียมเพียงพอหรือไม่ ถ้าคำถามต่างๆ ข้างต้นนั้นคุณตอบว่า ใช่ แล้วแสดงว่าคุณมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกระดูกพรุน การลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นนั้นสามารถทำได้ด้วยตนเองเพื่อป้องกันการเกิดภาวะกระดูกพรุน หากมีข้อสงสัยใดๆ การปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่จำเป็น การรับประทานฮอร์โมนทดแทนเพียงอย่างเดียวไม่เป็นการเพียงพอที่จะลดปัจจัยเสี่ยงจากการเกิดภาวะกระดูกพรุนได้ การรับประทานสารอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมพอเพียงร่วมกับการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยจะช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเกิดภาวะกระดูกพรุนในวัยทองลงได้ >> แคลเซียม แคลเซียมเป็นสารที่จำเป็นสำหรับกระดูก หากได้รับปริมาณของแคลเซียมมากพอเพียงในช่วงที่กระดูกยังสามารถเจริญเติบโตได้จะช่วยลดอัตราการเกิดภาวะกระดูกพรุนลงได้ นอกจากนี้ร่างกายยังต้องการแคลเซียมไปใช้ในการทำหน้าที่ของอวัยวะอื่นๆ ด้วย และหากร่างกายได้รับสารแคลเซียมไม่พอเพียงก็จะไปดึงออกมาจากกระดูกทำให้เนื้อกระดูกบางลง ปริมาณของแคลเซียมที่จำเป็นแต่ละวัน อายุ 11 – 24 ปี 1200 มก. 25 ปี – หมดประจำเดือน 1000 มก. ช่วงเริ่มหมดประจำเดือน 1200 มก. วัยหลังหมดประจำเดือน 1500 มก. โดยปกติแล้วอาหารนมจะเป็นแหล่งสำคัญของแคลเซียมในคนส่วนใหญ่ ในผู้ที่สูงวัย การรับประทานนมที่ไขมันต่ำยังคงได้ปริมาณแคลเซียมเท่าเดิม และปริมาณของไขมันจะน้อยลง นอกจากนี้เราควรที่จะเพิ่มปริมาณของแคลเซียมในอาหารที่รับประทานให้มากที่สุดโดยเฉพาะในคนที่ไม่สามารถดื่มนมได้ เนื่องจากคนไทยเรานั้นมีส่วนหนึ่งซึ่งไม่มีสารภายในระบบทางเดินอาหารที่จะช่วยย่อยนมทำให้เกิดอาการท้องอืดหลังดื่มนม กรณีนี้ควรจะต้องรับประทานแคลเซียมเสริมจากอาหารชนิดอื่น ซึ่งมีปริมาณของแคลเซียมมากน้อยต่างๆกันไป เช่น ปริมาณแคลเซียม (มก.) ปลาซาร์ดีนพร้อมกระดูก 370 ต่อ 3 ออนซ์ เต้าหู้ 280 ต่อ ถ้วย ผักใบเขียว 200 ต่อ ถ้วย บรอคคอลี่ 150 ต่อ หัวขนาดใหญ่ ส้ม 50 ต่อ ผลขนาดกลาง โยเกิตไร้ไขมัน 452 ต่อ ถ้วย เนยแข็ง 200 ต่อ ถ้วย ในกรณีที่ไม่สามารถจะดื่มนมหรือรับประทานอาหารเพื่อให้ได้สารอาหารที่พอเพียงกับปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายต้องการแล้ว การรับประทานแคลเซียมที่เป็นชนิดเม็ดในปริมาณที่เหมาะสมก็เป็นทางออกอีกทางหนึ่งที่ทำได้ >> วิตามินดี ร่างกายของเราจะไม่สามารถดูดซึมแคลเซียม และนำไปใช้ในการทำให้กระดูหนาตัวขึ้นได้เลย ถ้าปราศจากไวตามินดี โดยปกติแล้วร่างกายของเราต้องการไวตามินดีวันละ 400 หน่วยสากล ซึ่งสามารถที่จะได้รับจากการดื่มนมครึ่งลิตร หรือรับแสงแดดประมาณ 30 – 60 นาทีต่อสัปดาห์ >> การออกกำลังกาย แคลเซียมจะไม่มีประโยชน์มากพอเพียงเลยในการป้องกันภาวะกระดูกพรุน ถ้าไม่มีการออกกำลังกายที่เหมาะสมพอเพียง และถูกหลัก เพราะการออกกำลังกายจะเป็นการเพิ่มงานให้กับกระดูกปริมาณของงานที่กระดูกต้องทำมีผลต่อการเพิ่มหรือลดลงของเนื้อกระดูก เป็นที่ยอมรับกันว่า การออกกำลังกายที่รับน้ำหนัก ซึ่งรวมถึงการออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง และกระดูกท่อนยาวจะมีผลในการทำให้กระดูกหนาตัวขึ้น การออกกำลังกายดังกล่าวได้แก่ การวิ่ง การเดินเร็วๆ อย่างน้อย 20 นาทีต่อวัน โดยเฉพาะในช่วงที่มีแสงแดดอ่อนๆ เพื่อเพิ่มปริมาณไวตามินดีจากแสงแดด และไม่ได้รับผลกระทบจากรังสียูวี จะมีประโยชน์มาก การออกกำลังกายประเภทการเสริมกล้ามเนื้อต่างๆ ก็มีส่วนช่วยด้วยเช่นกัน สำหรับการออกกำลังกายหนักๆ นั้น ควรพิจารณาตามความเหมาะสมตามวัยและเป็นรายๆ ไป อย่างไรก็ตามควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนเริ่มโปรแกรมการออกกำลังกายใหม่ๆ >> คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ถ้าทุกคนที่อยู่ในวัยทองเข้าใจพื้นฐานการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น คือมีการเปลี่ยนแปลงจากวัยเจริญพันธุ์ (REPRODUCTIVE AGE) ไปเป็นวัยคุณภาพ (PRODUCTIVE AGE ) แล้วและดูแลสุขภาพของตนเองอย่างเหมาะสม วัยทองของเราจะเป็นวัยที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข แก่ชราช้า มีความสุขในชีวิตและทำประโยชน์ให้สังคมในส่วนรวมด้วย การดูแลสุขภาพของกล้ามเนื้อและกระดูก โดยการได้ปริมาณของแคลเซียมที่เหมาะสมในแต่ละวัย จะมีผลทำให้สุขภาพดีขึ้น ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติของขนมต่างๆ ขนม (กรัม) พลังงาน โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต ขนมชั้น 272

Read More »
Page1 Page2 Page3 Page4 Page5

คำถามจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมสัมมนา “เสริมสร้างอัจฉริยะภาพลูกรัก…ให้ห่างไกลโรคสมอง”

คำถามจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมสัมมนา “เสริมสร้างอัจฉริยะภาพลูกรัก…ให้ห่างไกลโรคสมอง” 1. EQ ช่วงอายุที่เด็กจะเรียนรู้และซึมซับได้ดี รวมทั้งแก้ไขเรื่องอารมณ์ร้อนเป็นช่วงอายุกี่ปี ถึงกี่ปี ตอบ EQ สามารถพัฒนาได้ตั้งแต่อายุ 2 ขวบ (ดีที่สุด 2-6 ขวบ) จะเป็นช่วงที่เด็กกำลังพัฒนาสมองทุกส่วน ดังนั้นช่วงนี้เหมาะจะเป็นช่วงพัฒนาอีคิวครับ แต่เด็กที่โตกว่านี้ก็สามารถพัฒนาได้ครับ แต่อาจไม่เท่าช่วงวัยนี้ครับ และเช่นเดียวกันครับ อีคิวเป็นตัวที่ช่วยให้การแสดงออกทางอารมณ์เหมาะสม บางคนอารมณ์ร้อน แต่ก็ไม่หนักถึงขนาดทำร้ายตนเองหรือผู้อื่นครับ 2. เรื่องการใช้มือซ้าย ปัจจุบันลูกใช้มือซ้ายทานอาหารบางครั้ง ที่บ้านมักจะบอกให้ใช้มือขวาทานถึงจะดี ที่ดีที่สุดควรปล่อยให้ใช้มือซ้ายไปเลยหรือไม่ ตอบ ความถนัดเรื่องซ้าย-ขวา จะเริ่มเมื่อเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป ปัจจุบันการใช้มือซ้าย-ขวา ไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสมอง แต่การปิดกั้นไม่ยอมให้ใช้ตามความถนัด อาจทำให้เกิดความเครียด เด็กต่อต้าน รบกวนต่อการเรียนรู้ได้ 3. พัฒนาการด้านความสัมพันธ์ ถ้าเด็กขี้อาย ไม่กล้ากับคนที่เพิ่งพบ แต่เมื่อคุ้นเคยแล้วจะเป็นคนนำในการเล่น ถือว่าต้องพัฒนาด้านความสัมพันธ์หรือไม่ อย่างไร ตอบ ถือว่าเป็นเรื่องปกติในเด็กเล็กในการเริ่มแรกของการสร้างความสัมพันธ์ เด็กอาจจะรอดูท่าที ประเมินคนที่เข้ามาคุย ถ้ารู้สึกว่าเป็นมิตรด้วยจะเริ่มมีความคุ้นเคย พ่อแม่สามารถพาไปสู่สังคมภายนอกพบคนหลากหลาย ทำให้เด็กกล้าเผชิญหน้าความขี้อายลดลง

Read More »

โรคหลอดเลือดสมอง Stroke ตอนที่ 3

เส้นเลือดในสมองเปรียบเสมือนท่อประปา ที่นำเลือดไปเลี้ยงสมอง โดยเส้นเลือดเป็นของคนคนเดียวกันทั้งร่างกาย ดังนั้นหากหลอดเลือดเสื่อมก็จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดในสมองได้ ดังนั้นปัจจัยเสี่ยงจึงมีทั้งที่แก้ไขได้และ แก้ไขไม่ได้ ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ได้แก่ อายุ เมื่ออายุมากขึ้นความเสื่อมของเส้นเลือดก็จะตามมาในแต่ละบุคคล ยิ่งอายุมากขึ้น หลอดเลือดในสมองก็จะเสื่อมมากขึ้น เหมือนท่อประปาในบ้านที่ใช้นานขึ้น ก็จะมีโอกาสที่จะมีตะกอนมาเกาะมากกว่าคนอายุน้อย เพศชาย มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เคยมีประวัติโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือโรคหลอดเลือดในสมองแตกมาก่อน ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถแก้ไขได้ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง เมื่อมีโรคความดันโลหิตสูงควรพบแพทย์เพื่อตรวจวัดความดันและรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะไม่มีอาการผิดปกติใดๆก็ตาม เนื่องจากความดันโลหิตที่สูงจะไปทำให้เส้นเลือดในสมองแตกได้ง่าย และทำให้เส้นเลือดในสมองมีความเปราะมากขึ้น โรคเบาหวาน ควรควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในระดับปกติ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หากผู้ป่วยมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Atrial fibrillation or atrial flutter) มักจะทำให้เกิดลิ่มเลือดในหัวใจและลิ่มเลือดในหัวใจอาจจะลอยไปอุดเส้นเลือดในสมองได้ การแก้ไขภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมักจะทำได้โดยการจี้ไฟฟ้าที่หัวใจ หรือหากไม่สามารถแก้ไขได้ ผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องได้รับยาละลายลิ่มเลือด อย่างต่อเนื่อง ไขมันในเลือดสูง ไขมันจะเป็นตัวเร่งให้หลอดเลือดมีการแข็งตัวและมักจะเกาะตัวกันเป็นตะกอนในหลอดเลือด และทำให้หลอดเลือดในสมองตีบได้ การสูบบุหรี่ บุหรี่จะเป็นปัจจัยเร่งที่สำคัญที่จะทำให้หลอดเลือดในสมองเปราะและเกิดมีตะกอนได้ง่าย ทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดในสมองตีบได้ง่่ายกว่าคนที่ไม่สูบ ทั้งนี้รวมถึงบุคคลที่ใกล้ชิดคคนที่สูบบุหรี่จัดและได้รับควันบุหรี่ตลอดเวลาด้วย ดื่มเหล้า เป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความดันโลหิตสูงและเส้นเลือดในสมองแตก ได้ง่ายกว่าคนทั่่วไป การใช้สารเสพติดบางชนิดได้แก่ แอมเฟตามีน โคเคน ผู้ที่ใช้สารเสพติดเหล่านี้มักจะเกิดเลือดออกในสมองง่ายกว่าคนทั่วไป เนื่องจากสารเสพติดเหล่านี้จะไปทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง หรือในผู้ป่วยบางรายอาจจะทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดอักเสบ โรคหลอดเลือดสมองตีบสามารถรักษาให้ผู้ป่วยหายเป็นปกติ โดยที่ผู้ป่วยไม่มีความพิการหลงเหลืออยู่ โดยผู้ป่วยจะต้องมาพบแพทย์หลังมีอาการภายในเวลา 4ชั่วโมงครึ่ง แพทย์จะสามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดเข้าทางหลอดเลือดดำ (IV – rtPA alteplase ) โดยยาจะสามารถไปละลายลิ่มเลือดที่ไปอุดตันสมองได้ 30-50% ของผู้ป่วย และทำให้ผู้ป่วยไม่มีความพิการหลงเหลืออยู่ หรือมีความพิการน้อยมาก หลังจากการให้ยา ผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก( ICU) หรือหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke unit ) เพื่อการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดโดยบุคลากรทางการแพทย์เป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่งโมง แต่ผู้ป่วยที่มีอาการมานานกว่า สี่ชั่วโมงครึ่งจะมีความเสี่ยงที่จะมีเลือดออกในสมองได้ถ้าให้ยา มากกว่าประโยชน์ที่จะได้รับจากการให้ยา โดยความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะมีเลือดออกในสมองในกรณีที่มาภายในเวลาสี่ชั่วโมงครึ่งและได้รับยาละลายลิ่มเลือดมี 6% จากกการทดลอง ปัจจุบันนี้ยังมีการรักษาโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันที่ยังอยู่ในการทดลองหลายแบบ เช่นการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดดำคู่กับการให้ยาทางหลอดเลือดแดง การใช้เครื่องมีอไปดึงหรือลากลิ่มเลือดที่อุดตันโดยตรง หรือการให้ยาชนิดอื่นได้แก่ยา Desmoteplase โรคหลอดเลือดในสมองแตก หรือเลือดออกในสมอง การรักษาภาวะเส้นเลือดในสมองแตกในระยะเฉียบพลัน ผู้ป่วยอาจจะจำเป็นที่จะต้องได้รับการผ่าตัดในทันทีหากผู้ป่วยมีเลือดออกในสมองมากจนกระทั่งมีภาวะความดันในกระโหลกสูง หรือถ้าผู้ป่วยมีเลือดออกในปริมาณน้อยอาจไม่จำเป็นที่จะต้องผ่าตัดเพียงแค่รักษาแบบประคับประคองได้ แต่ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแลเป็นผู้ป่วยในหอผู้ป่วยหนักเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ในกรณีที่มีเลือดออกในชั้นเยื่อหุ้มสมองจากหลอดเลือดสมองโป่งพอง ( Subarachnoid hemorrhage from rupture aneurysm ) ผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาในทันทีเพื่อลดการแตกซ้ำของหลอดเลือดสมองที่โป่งพอง การป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ 1 การป้องกันก่อนการเป็นโรค 2 การป้องกันการเป็นซ้ำในกรณที่เกิดภาวะโรคหลอดเลือดสมองแล้ว การป้องกันก่อนการเป็นโรค 1.) ตรวจวัดความดันโลหิต อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หากพบว่ามีความดันโลหิตที่มากกว่า 140/80 mmHg ควรพบแพทย์ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยการลดอาหารเค็ม และรับประทานยาลดความดันอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรหยุดรับประทานยาลดความดันเอง โดยแพทย์ไม่ได้สั่งงด เนื่องจากโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่เป็นแล้วมักจะเป็นตลอดชีวิต และไม่ค่อยแสดงอาการ 2.) ตรวจร่างกายทางด้านหัวใจว่ามีความผิดปกติของการเต้นของหัวใจหรือไม่ 3.) หยุดสูบบุหรี่ 4.) ลดน้ำหนัก ในกรณีที่มีน้ำหนักเกิน 5.) ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง โดยการออกกำลังกายควรเป็นการออกกำลังกายที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นกว่าปกติ อย่างน้อย 10-20 ครั้ง ต่อนาที และ อย่างน้อยครั้งละครึ่งชั่่วโมง 6.) ตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี เพื่อตรวจวัดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด 7.) งดการดื่มสุรา                                            การป้องกันการเป็นซ้ำในกรณีที่เกิดภาวะโรคหลอดเลือดสมองแล้ว 1.) การรักษาจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนปัจจัยเสี่ยงมี่สามารถปรับได้ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว 2.) การป้องกันการเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองตีบโดยการให้ยาต้านเกร็ดเลือดหรือยาละลายลิ่มเลือด เกร็ดเลือดเป็นเซลล์ชนิดหนึ่งที่อยู่ในกระแสเลือด จะถูกกระตุ้นโดยการที่เกิดการฉีกขาด หรือการอักเสบของเส้นเลือด และสามารถ อุดหลอดเลือดได้ ทำให้เกิดเป็นตะกอนในเส้นเลือด ยาต้านเกร็ดเลือดจะทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้มีเกิดการจับกันของเกร็ดเลือด เพื่อไม่ให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือด ที่จะไปเลี้ยงสมอง ยาต้านเกร็ดเลือดในปัจจุบันมีหลายชนิดเช่น Aspirin, cilostazol,clopidogrel,triflusal, arpirin plus dipyridamole,Ticagilor ซึ่งยาต้านเกร็ดเลือดแต่ละตัวจะออกฤทธิ์ต้านเกร็ดเลือดด้วยกลไกที่ต่างกัน บางครั้งหากผู้ป่วยมีอาการเป็นซ้ำๆ จากการอุดตันของเส้นเลือดสมอง ผู้ป่วยอาจจะมีความจำป็นที่จะต้องรับประทานยาต้านเกร็ดเลือดหลายชนิดร่วมกัน แต่ก็จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดเลือดออกผิดปกติในบริเวณต่างๆมากขึ้น เช่นเลือดออกในทางเดินอาหาร หรือเลือดออกในสมอง

Read More »

โรคหลอดเลือดสมอง Stroke ตอนที่ 2

อาการที่น่าสงสัยว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง -ปากเบี้ยวหรือชาบริเวณใบหน้า -ปวดศีรษะอย่างรุนแรง -แขนขาอ่อนแรงหรือชาครึ่งซีก -วิงเวียนศีรษะประกอบกับเดินเซ -พูดไม่ชัด นึกคำพูดไม่ออก ฟังไม่รู้เรื่อง เมื่อสงสัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองต้องปฏิบัติอย่างไร โรคหลอดเลือดสมองถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ (Brain attack) ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถให้ประวัติเองได้ เแพทย์จำเป็นที่จะต้องทราบเวลาที่ญาติพบเห็นผู้ป่วยเป็นปกติครั้งสุดท้าย ถ้าผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลภายในเวลาสี่ชั่วโมงครึ่งหลังจากอาการเริ่มต้น แพทย์จะสามารถให้ยาละลายลิ่มเลือด(rt-PA) เพื่อละลายลิ่มเลือดในสมอง และทำให้สมองส่วนที่ขาดเลือดกลับมาเป็นปกติได้ หากไม่สามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดได้ แพทย์ก็ยังจำเป็นที่จะต้องรับผู้ป่วยไว้เป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลเพื่อสังเกตอาการ ในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดอาการภายใน 7 วัน หากสงสัยว่าผู้ป่วยมีอาการของโรคหลอดเลือดสมองให้ดำเนินการดังนี้ 1. โทรศัพท์แจ้งโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุด โรงพยาบาลพระรามเก้า 02-202-9999 และแจ้งอาการที่ผู้ป่วยเป็น เวลาที่ผู้ป่วยมีอาการ โดยทางโรงพยาบาลจะจัดส่งรถโรงพยาบาลไปรับตัวผู้ป่วยในทันที 2. นำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันทีที่มีอาการ ไม่ควรรอหรือให้ผู้ป่วยนอนพักสังเกตอาการเอง 3. หากผู้ป่วยมีโรคประจำตัวที่ต้องมียาที่รับประทานเป็นประจำ เช่นเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง ควรนำยามาโรงพยาบาลด้วย และไม่ควรให้ยาผู้ป่วยรับประทานก่อนที่จะมาถึงโรงพยาบาล โดยยาลดความดัน จะทำให้ผู้ป่วยมีความดันเลือดที่ต่ำลง และอาจจะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ หรือไม่ควรให้ผู้ป่วยรับประทานยาเบาหวาน 4. หากผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นเองก่อนถึงโรงพยาบาล ก็ยังจำเป็นที่จะต้องนำผู้ป่วยมาพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพราะอาจจะเป็นภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (TIA) ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง โดยผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดในโรงพยาบาล และต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติมในทันที และหากมีความผิดปกติเกิดขึ้นอีกแพทย์จะสามารถรักษาได้ทันท่วงที การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมองทำได้อย่างไรและต้องตรวจอะไรเพิ่มเติมบ้าง ประวัติ -แพทย์จำเป็นจะต้องซักประวัติอาการของผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาล เวลาที่ผู้ป่วยมีอาการ หรือเวลาที่เห็นผู้ป่วยเป็นปกติครั้งล่าสุดเช่นมีอาการหลังตื่นนอน โดยมีญาติเห็นผู้ป่วยเป็นปกติครั้งสุดท้ายตอนก่อนนอน โรคประจำตัว ยาที่ผู้ป่วยรับประทานเป็นประจำ ประวัติครอบครัว โดยหากผู้ป่วยไม่สามารถให้ประวัติเองได้ แพทย์จำเป็นที่จะต้องซักประวัติจากญาติหรือผู้ที่เห็นเหตุการณ์ ตรวจร่างกาย -แพทย์จะตรวจสัญญาณชีพ ( vital signs) วัดความดัน ชีพจร การหายใจ และอุณหภูมิของร่างกาย ตรวจหัวใจ ตรวจระบบประสาทโดยละเอียดได้แก่ การตรวจกำลังของกล้ามเนื้อ ความรู้สึกสัมผัสของร่างกาย การพูดและความเข้าใจ การฟังตามคำสั่ง การเดิน เป็นต้น การตรวจทางห้องปฏิบัติการ-การตรวจเพิ่มเติมในผู้ป่วยที่สงสัยภาวะหลอดเลือดสมองทำเพื่อที่จะแยกภาวะอื่น ที่ไม่ใช่โรคหลอดเลือดสมอง แยกภาวะเลือดออกในสมอง หรือเส้นเลือดในสมองแตก รวมถึงเป็นส่่วนหนึ่งในการหาสาเหตุของโรคหลอดเลือดในสมอง เพื่อการพิจารณาการให้ยาในการป้องกันการเป็นซ้ำในครั้งต่อไป 1. หากสงสัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมอง จะต้องแยกสาเหตุอื่่นๆที่ทำให้มีอาการคล้ายโรคหลอดเลือดสมองได้เช่น ภาวะน้ำตาลต่ำ ภาวะเกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ ภาวะการทำงานของตับหรือไตที่ผิดปกติ โดยจะต้องเจาะเลือดตรวจในข้ันต้น 2. เอกซเรย์ปอด เพื่อดูภาวะความผิดปกติของหัวใจและปอด 3. คลื่นไฟฟ้าหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองอาจจะพบร่วมกับภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบได้ และหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจจะทำให้เกิดลิ่มเลือดในหัวใจ และลิ่มเลือดจากหัวใจสามารถทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดได้ 4. เอกซเรย์สมอง ( CT Scan ) ข้อดีคือใช้เวลาน้อย สามารถดูโรคในกลุ่มเลือดออก และดูการแตกของกระโหลกศีรษะได้ดี แต่ความละเอียดของภาพในเนื้อสมอง เช่นสมองขาดเลือดในระยะเบื้องต้น จะน้อยกว่าการทำ MRI หรือการดูรายละเอียดของเส้นเลือดจะต้องฉีดสารทึบแสง ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยที่มีสภาวะไตเสื่อมเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ 5. การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (MRI scan) สามารถดูภาวะหลอดเลือดในสมองตีบในระยะเฉียบพลันได้ ภายใน 15 นาทีถึง 7 วัน และสามารถเห็นหลอดเลือดใหญ่ๆที่ตีบได้โดยไม่ต้องฉีดสี ข้อเสียคือระยะเวลาในการตรวจนาน และต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ป่วย เช่นในผู้ป่วยบางคนที่กลัวที่แคบ หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถนอนนิ่งได้นานๆ หรือในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ (pace maker ) ก็ไม่สามารถรับการตรวจด้วยวิธีนี้ได้ เนื่องจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะไปกวนการทำงานของเครื่องกระตุ้นหัวใจและทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้ 6. การฉีดสีดูหลอดเลือดสมอง (Cerebral angiography) เป็นการสวนเส้นเลือดจากขาหนีบเพื่อฉีดสีดูหลอดเลือด ซึ่งแพทย์มักจะส่งตรวจในกรณีที่สงสัยภาวะหลอดเลือดสมองโป่งพอง (cerebral aneurysm ) ที่ทำให้เกิดเลือดออกในชั้นเยื่อหุ้มสมอง ( Subarachnoid hemorrhage) 7. อัลตร้าซาวด์หลอดเลือด ( TCD transcranial doppler ,Carotid duplex) เป็นการตรวจโดยใช้เครื่องอัลตร้าซาวด์เพื่อดูความผิดปกติของหลอดเลือดในสมองและหลอดเลือดที่คอ เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดที่คอตีบ ว่าจำเป็นที่จะต้องผ่าตัดหลอดเลือดหรือไม่

Read More »

โรคหลอดเลือดสมอง Stroke ตอนที่ 1

ปัจจุบันโรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตและสาเหตุของความพิการในลำดับต้นๆของประชากรในประเทศไทย ทั้งๆที่เป็นโรคที่ป้องกันและรักษาได้หากผู้ป่วยมารับการรักษาภายในเวลาที่ทันท่วงที โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร (STROKE) คนไทยมักรู้จักโรคหลอดเลือดสมองกันว่าโรคอัมพาต หรืออัมพฤกษ์ ซึ่งเกิดได้จากสองสาเหตุคือ เส้นเลือดในสมองแตก และเส้นเลือดในสมองตีบ ทั้งสองกรณีนี้จะทำให้เนื้อเยื่อสมองที่โดนผลกระทบไม่ทำงาน เช่นถ้ามีอาการในบริเวณที่ควบคุมการขยับของแขนขาด้านใดด้านหนึ่ง ก็จะทำให้แขนขาด้านนั้นขยับไม่ได้ ถ้าเป็นถาวรก็จะเรียกว่าเป็นอัมพาต ถ้าเป็นชั่วคราวก็จะเรียกว่าอัมพฤกษ์นั้นเอง คล้ายๆอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (heart attack) แต่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง ( brain attack) แทน อาการของโรคหลอดเลือดสมองเป็นอย่างไรได้บ้าง ในปัจจุบันหากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบขาดเลือดมารับการรักษาภายในเวลา สี่ชั่วโมงครึ่ง สามารถที่จะให้ยาละลายลิ่มเลือดเพื่อที่จะช่วยให้สมองในบริเวณที่ขาดเลือดกลับมาทำงานได้ตามปกติ ดังนั้นอาการที่เป็นทันทีทันใดและควรสังเกตง่ายๆในเบื้องต้นจึงได้แก่ F.A.S.T. F-Face : ผู้ป่วยจะมีอาการหน้าเบี้ยวด้านใดด้านหนึ่ง หรือผู้ป่วยบางท่านอาจจะมีอาการระหว่างการรับประทานอาหารแล้วมีอาหารไหลออกจากปากหรือน้ำลายไหลออกจากมุมปากด้านใดด้านหนึ่ง ทดสอบง่ายๆได้โดยให้ผู้ป่วยลองยิ้มหรือยิงฟัน A-Arms : ผู้ป่วยจะขยับแขนขาด้านใดด้านหนึ่งไม่ได้ โดยอาจจะเป็นเฉพาะแขนหรือเฉพาะขา หรือเป็นทั้งแขนขาซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นด้านเดียวกัน ทดสอบง่ายๆโดยการให้ผู้ป่วยลองยกแขนขาทั้งสองข้างถ้าตกด้านใดด้านหนึ่งแสดงว่ามีความผิดปกติ S-Speech : ผู้ป่วยจะมีอาการพูดไม่ชัด พูดอ้อแอ้ เหมือนลิ้นคับปาก หรือบางคนมีอาการพูดไม่ออก หรือฟังคำสั่งไม่รู้เรื่อง ญาติบางคนจะคิดว่าผู้ป่วยสับสน ทดสอบได้ง่ายๆด้วยการให้ผู้ป่วยพูดตามในคำง่ายๆ เช่นกรุงเทพมหานคร หรือชี้ให้ดูปากกา นาฬิกา แล้วถามว่าของสิ่งนั้นเรียกว่าอะไร หรือให้ทำตามคำสั่งง่ายๆ เช่น ชูสองนิ้วเป็นต้น T-Time: เวลาเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้นำผู้ป่วยที่สงสัยภาวะโรคหลอดเลือดสมองไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับสมองที่มากขึ้นตามระยะเวลาที่มากขึ้น ในกรณีที่เป็นโรคหลอดเลือดในสมองตีบและมาถึงโรงพยาบาลภายในสี่ชั่วโมงครึ่ง จะสามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดในส่วนของเส้นเลือดที่อุดตันได้ และอาการของคนไข้จะสามารถกลับมาเป็นปกติได้ ถ้าให้ยาละลายลิ่มเลือดแล้ว สามารถละลายลิ่มเลือดที่อุดตันออกไปได้ อาการของผู้ป่วยหลอดเลือดสมองจะขึ้นกับบริเวณสมองที่ได้รับการกระทบกระเทือน และอาการมักเกิดขึ้นแบบฉับพลัน มักจะระบุเวลาที่เกิดอาการได้ หรือเป็นหลังจากตื่นนอน เช่นตอนก่อนนอนญาติยังพบว่าอาการปกติดี แต่ตอนเช้าไปปลุกพบว่าแขนขาอ่อนแรง เช่น มีอาการอ่อนแรงของแขนขาด้านใดด้านหนึ่ง หรือชาซีกใดซีกหนึ่ง ซึ่งมักจะเป็นด้านตรงข้ามกับบริเวณสมองที่ได้รับความกระทบกระเทือน พูดจาสับสนเหมือนฟังคำสั่งไม่รู้เรื่องหรือพูดไม่ออก พูดแล้วลิ้นคับปากอ้อแอ้ มีอาการเวียนศีรษะ อาจจะมีบ้านหมุนหรือไม่มีบ้านหมุนร่วมด้วย ไม่สัมพันธ์กับท่าทาง ปวดศีรษะรุนแรงทันที ด้านใดด้านหนึ่ง หรือปวดทั่วๆทั้งศีรษะ รวมทั้งมีอาการคลื่นไส้อาเจียน โรคหลอดเลือดสมองมีกี่ชนิด ? โรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกเป็นสองแบบคือ 1. สมองขาดเลือด (ischemic stroke) สาเหตุหลักคือเส้นเลือดในสมองอุดตัน ไม่ว่าจะเกิดจากลิ่มเลือดที่มาจากหัวใจลอยไปอุดหลอดเลือดในสมอง(embolus) หรือ เส้นเลือดตีบจากตะกอนในเส้นเลือด(Thrombosis) 2. เส้นเลือดในสมองแตก เกิดจากความเสื่อมของผนังเส้นเลือดตามอายุ ทำให้เกิด เลือดออกในเนื้อสมอง (intracranial hemorrhage) หรือเลือดออกในชั้นเยื่อหุ้มสมอง (subarachnoid hemorrhage) ซึ่งมักเกิดจากการที่มีเส้นเลือดโป่งพองผิดปกติในสมองอยู่เดิมแล้วเกิดการ แตกขึ้นมา สมองขาดเลือดชั่วคราวคืออะไร (TIA transient ischemic attack) สมองขาดเลือดชั่วคราวคือการที่ปริมาณเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนใดส่วนหนึ่งน้อยลงทันที และสามารถกลัับคืนสู่สภาพเดิมได้ในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้ไม่เกิดภาวะเนื้อสมองตายที่เกิดจากการขาดเลือด อาการจะเป็นเหมือนโรคหลอดเลือดในสมองตีบ แต่หายได้ภายในเวลา 24 ชั่วโมง โดยส่วนใหญ่จะเกิดเพียงระยะเวลาสั้นๆ เช่น 5-10 นาทีได้ โดยที่เมื่อผู้ป่วยมาทำ MRI (การ X-ray สมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) จะไม่พบความผิดปกติ โดยทั่วไปผู้ป่วยประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยสมองขาดเลือดชั่วคราวมักจะกลายไปเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(ischemic stroke)ภายใน 7วัน ดังนั้นการที่ผู้ป่วยมีอาการสมองขาดเลือดชั่วคราว มักจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยทุกรายที่มีอาการจึงควรมาพบแพทย์ทันทีที่มีความผิดปกติเกิดขึ้น

Read More »

คำถามจากกิจกรรมสัมมนา “100 เรื่องราวที่คุณแม่ตั้งครรภ์…ต้องรู้”

คำถามจากกิจกรรมสัมมนา “100 เรื่องราวที่คุณแม่ตั้งครรภ์…ต้องรู้” 1. ลูกดิ้นเยอะ เวลากลางวันหลายช่วง และกลางคืนช่วงตี2-ตี5 อยากทราบว่าเขาจะพักผ่อนพอไหม ตอบ. ลูกดิ้นเป็นเรื่องที่ไม่มีอะไรน่ากังวลเลยค่ะ และลูกมักจะดิ้นใกล้เวลารับประทานอาหาร และเวลาอิ่มแล้ว หรือเวลามีเสียงดังรอบตัว คุณแม่จึงควรรับประทานอาหารให้ตรงเวลา และหลีกเลี่ยงการได้ยินเสียงดังค่ะ 2. อาการเท้าบวม เดินแล้วเหมือนมีน้ำอยู่ในเท้า นอนพักเอาหมอนหนุนตอนกลางคืน ตื่นมายังบวมอยู่ อยากทราบว่าเกิดจากอะไร ผิดปกติหรือไม่ ตอบ. ถ้าเท้าบวมตอนเย็นเนื่องจากยืน เดิน ตลอดวัน และยุบตอนตื่นเช้า ถือว่าเป็นอาการปกติได้ค่ะ แต่ถ้าบวมเลยข้อเท้าขึ้นมาถึงหน้าแข้ง กดแล้วบุ๋ม และยังบวมตอนตื่นนอนตอนเช้า อาจมีภาวะครรภ์เป็นพิษ ควรไปพบแพทย์ก่อนนัดค่ะ 3. อายุครรภ์ 7- 9 เดือน เดินขึ้นสะพานลอยได้ไหม ตอบ. ควรเลี่ยงค่ะ เพราะน้ำหนักของครรภ์อาจทำให้เสียศูนย์ และเสียการทรงตัว หรือก้าวบันไดพลาดเกิดอันตรายได้ และยังอาจเกิดอาการหน้ามืดเพราะเลือดขึ้นไปเลี้ยงสมองไม่ทันค่ะ 4. ถ้าคุณแม่เป็นงูสวัดเดือนเมษายน เป็นประจำเดือนครั้งสุดท้ายเดือนมีนาคม ลูกในครรภ์มีอันตรายหรือไม่ ทั้งในเรื่องของเชื้อไวรัส และยาที่ทาน ตอบ. การติดเชื้อและการรับประทานยา จะไม่มีผลต่อลูกในครรภ์ในช่วง 2 สัปดาห์หลังปฏิสนธิ (ก่อนถึงวันที่ควรมีประจำเดือนค่ะ) สำหรับงูสวัด ถ้าเป็นคุณหมอสูติจัดยาให้และทราบว่าตั้งครรภ์ ก็ไม่เป็นอันตรายค่ะ 5. การบล็อคหลัง ได้ทราบข่าวมาว่าบางโรงพยาบาลไม่ทำการบล็อกหลังให้แล้ว เนื่องจากการฟ้องร้อง ไม่ทราบว่าเป็นอย่างไรบ้าง จริงหรือไม่ อย่างไร ตอบ. คงเป็นเฉพาะกรณี และเฉพาะบางโรงพยาบาลที่มีข้อจำกัดในการบล็อกหลังค่ะ แต่ในโรงพยาบาลใหญ่ที่มีวิสัญญีแพทย์ที่มีความชำนาญ ก็ยังมีการให้บริการอย่างปลอดภัยตามปกติค่ะ 6. อยากสอบถามว่าถ้าคุณแม่ไม่ค่อยทานเนื้อสัตว์ จะหันมาทานอาหารเสริม สารสกัดจากถั่วเหลืองของแอมเวย์ที่เสริมโปรตีน ได้หรือไม่ค่ะ และจะเป็นอันตรายหรือไม่ค่ะ ตอบ. อาหารเสริมหรือสารสกัด ไม่ได้เป็นผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ จึงต้องรับประทานตามความเชื่อค่ะ ถ้าไม่ทานเนื้อสัตว์ก็แนะนำให้ทานไข่ขาววันละ 3-4 ฟองค่ะ และถ้าทานปลาได้ ก็ควรให้ได้ทุกวันและเสริมวิตามิน B1-6-12 วันละ 1-2 เม็ด เพื่อชดเชยที่จะไม่ทานเนื้อหมูค่ะ 7. ถ้ามีปัญหาเคยปวดหลังจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว ควรจะคลอดเองหรือผ่าคลอดดีกว่า ตอบ. แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอกระดูก เพื่อประเมินว่ายังมีการกดทับหรือมีความเสี่ยงของการกดทับขณะครรภ์ใกล้กำหนดหรือเวลาเบ่งคลอดหรือไม่ ถ้ามีก็ควรจะผ่าตัดคลอดค่ะ 8. อัลตร้าซาวด์ สามารถตรวจความผิดปกติ ของอวัยวะภายในของทารกในครรภ์ได้หรือไม่ ตอบ.สามารถตรวจได้ แต่มีข้อจำกัดว่าอาจไม่สามารถตรวจพบความพิการได้ทั้งหมด ขึ้นกับว่าตรวจในขณะอายุครรภ์เท่าใด และทารกอยู่ในอิริยาบถที่เผยส่วนที่ต้องการตรวจได้ในจังหวะที่กำลังตรวจหรือไม่ 9. บริเวณผิวหนังใกล้ช่องคลอดอับชื้นกว่าปกติคิดว่าเนื่องจากต้องปัสสาวะบ่อยทำให้มีตุ่ม (ลักษณะเหมือนยุงกัด และรู้สึกคัน) สามารถใช้แป้งเด็กทาเพื่อลดอาการคันและอับชื้นได้หรือไม่ค่ะ ตอบ. การทาแป้งอาจเกิดการหมักหมม และเกิดการอักเสบเพิ่มเติม ควรเปลี่ยนวิธีการใช้กระดาษชำระ เพื่อกดกระดาษให้นิ่งและแน่นในบริเวณอับชื้น จนรู้สึกว่าแห้งแล้วก็เอากระดาษอออก พลิกกลับอีกด้านที่ยังแห้งกดซับนิ่งๆอีกครั้ง ไม่ควรเช็ดแบบเคลื่อนกระดาษ เพราะนอกจากไม่แห้งแล้ว อาจเกิดการแปดเปื้อนของแบคทีเรียและเชื้อรารอบทวารหนัก เข้าไปในช่องคลอด ทำให้เกิดการอักเสบและคันได้

Read More »

โรค มือ เท้า ปาก

Read More »

ไส้ติ่งอักเสบ

ไส้ติ่ง หรือ Appendix นี้มีรูปร่างเหมือนตัวหนอน ห้อยออกมาจากส่วนของลำไส้ใหญ่ที่เรียกว่า Cecum ไม่มีประโยชน์อะไรต่อการย่อยอาหาร แต่นานๆ ทีมันก็เกิดอักเสบขึ้นมา โรคไส้ติ่งอักเสบหรือไส้ตันนี้ ทุกคนควรรู้จักอาการเอาไว้ เพราะอาจเกิดขึ้นได้กะทันหัน โรคนี้เริ่มต้นด้วยอาการปวดท้อง ตอนแรกปวดตรงกลางสะดือ ไม่กี่ชั่วโมงต่อมา จุดปวดนี้ค่อยๆย้ายมาอยู่ที่ท้องน้อยด้านขวา ถ้าเราเอามือกดตรงส่วนนี้ของหน้าท้อง จะยิ่งรู้สึกเจ็บมากขึ้นจนแทบทนไม่ได้ ผู้เป็นมักจะมีไข้ขึ้นและอาเจียนติดๆกัน บางคนหยุดถ่าย แต่บางคนก็ท้องเดิน ถ้ามีอาการเช่นนี้ต้องรีบไปโรงพยาบาล ให้แพทย์เขาตรวจดูทันที เพราะถ้าไส้ติ่งอักเสบจริง จะต้องทำการผ่าตัดก่อนที่ไส้ติ่งจะทะลุแตกในท้อง และเป็นอันตรายต่อชีวิต การผ่าไส้ติ่งนี้ ไม่ใช่เรื่องยากหรืออันตราย เมื่อแพทย์เขาตัดตัวไส้ติ่งที่อักเสบนั้นทิ้งไป อาการปวดท้องและอาเจียนก็จะหยุดลง หลังจากนั้นประมาณ 2 อาทิตย์ สุขภาพของท่านก็จะดีตามเดิม ลักษณะทั่วไป ไส้ติ่งอักเสบ เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องรุนแรงที่ต้องผ่าตัด หากพบมีอาการเจ็บปวดตรงท้องน้อยข้างขวา ควรนึกถึงโรคนี้ไว้ก่อนเสมอ เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทุกวัย สาเหตุ เกิดจากกรอุดตันของไส้ติ่ง เช่น มีเศษอุจจาระตกลงไปในไส้ติ่ง ทำให้มีเชื่อแบคทีเรียเข้าไปทำให้เกิดการอักเสบ อาการ มักมีอาการปวดท้องมาก เริ่มแรกอาจปวดเป็นพักๆ รอบสะดือคล้ายโรคกระเพาะ หรือท้องเดิน อาจจะเข้าส้วมบ่อย แต่ถ่ายไม่ออก บางคนอาจสวนด้วยยาถ่าย แต่บางคนก็อาจมีอาการท้องเดินร่วมด้วย อาการปวดถึงแม้จะกินยาแก้ปวดอะไรก็ไม่หาย ต่อมาอีก 3-4 ชั่วโมง อาการปวดจะย้ายมาที่ท้องน้อยข้างขวา ลักษณะปวดเสียดตลอดเวลา ต้องนอนนิ่งๆ เคลื่อนไหวตัวจะทำให้ปวดมาก ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนและมีไข้ต่ำๆ บางคนถ้าเป็นมากต้องนอนงอขาตะแคงไปข้างหนึ่ง หรือเวลาเดินต้องเดินตัวงอจึงจะรู้สึกสบายขึ้น อาการจะเป็นอยู่นับชั่วโมงถึงหลายวัน บางคนอาจมีอาการปวดท้องน้อยด้านขวา โดยไม่มีอาการอื่นนำมาก่อนเลยก็ได้ ในเด็กประวัติอาการอาจไม่แน่นอน สิ่งที่ตรวจพบ ไข้ต่ำๆ (37.5 – 38 ํซ. มักไม่เกิน 38.5 ํซ.) บางคนอาจไม่มีไข้ ลิ้นเป็นฝ้าหนา กดเจ็บตรงท้องน้อยข้างขวา โดยเฉพาะตรงจุดไส้ติ่ง หรือจุดแม็กเบอร์เนย์ ถ้าใช้มือค่อยๆ กดตรงนั้นบริเวณลึกๆ แล้วปล่อยมือทันทีให้ผนังหน้าท้องกระเด้งกลับ ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บมาก เรียกว่า อาการกดปล่อยแล้วเจ็บ (Rebound Tenderness) ถ้าไส้ติ่งแตก จะมีอาการปวดเจ็บทั่วบริเวณท้องน้อย ท้องแข็ง อาจคลำได้ก้อน และไข้สูง ข้อแนะนำ 1. คนที่มีอาการปวดเหนือสะดือคล้ายโรคกระเพาะ ถ้ากินยาแล้วไม่ดีขึ้น อาจเป็นไส้ติ่งอักเสบระยะแรกได้ 2. คนที่มีไข้สูงนำมาก่อนหลายวันแล้วค่อยปวดท้องคล้ายไส้ติ่งอักเสบ อาจเป็นอาการของไข้ไทฟอยด์ได้ 3. อาการของไส้ติ่งอักเสบ อาจไม่มีไข้ หรืออาการอย่างอื่นนำมาก่อนก็ได้ 4. ในผู้หญิง ถ้ามีอาการปวดท้องน้อยข้างขวา และมีไข้สูงหนาวสั่นตั้งแต่ระยะเริ่มแรก อาจเป็นปีกมดลูกอักเสบ รายละเอียด ถ้ามีอาการปวดและกดเจ็บตรงท้องน้อยข้างขวา ควรนึกถึงโรคไส้ติ่งอักเสบไว้เสมอ ปวดท้องทั่วไปต่างจากโรคอื่นๆ มักปวดเป็นพักๆ ถ้าเป็นจากโรคแผลในกระเพาะ มักปวดใต้ลิ้นปี่ สัมพันธ์กับอาหาร โดยจะท้องอืด เหมือนอาหารไม่ย่อย หรือปวดจุกเสียดก็ได้ มักเป็นหลังอาหาร (คือทานอาหารแล้วแย่ลง) แต่ถ้าเป็นแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น อาจเป็นที่ใต้ลิ้นปี่หรือชายโครงขวา มักปวดจุกเสียดก่อนอาหาร พอทานอาหารแล้วจะดีขึ้น อาการปวดจากถุงน้ำดี มักเป็นที่ชายโครงขวา อาจมีร้าวไปบริเวณมุมล่างของสะบักขวา หรือบริเวณระหว่างสะบัก จะมีลักษณะที่สำคัญ คือ จะมีอาการแน่นหรืออืดหลังทานอาหารมันๆ (Fat Intolerance) หรือมีปวดท้องหลังอาหารเย็นเป็นพักๆที่ชายโครงขวา (Biliary Colic) ปวดจากนิ่วในท่อไต อาการปวดจะเป็นพักๆ มากบริเวณเอวด้านหลัง อาจร้าวมาขาหนีบ หรือบริเวณอัณฑะ ร่วมกับมีปัสสาวะเป็นเลือด หรือเป็นสีน้ำล้างเนื้อ ปวดจากปีกมดลูกหรือรังไข่ จะปวดบริเวณท้องน้อย ไม่สัมพันธ์กับอาหาร มักมีเลือดหรือตกขาวผิดปกติทางช่องคลอดร่วมด้วย จะสังเกตว่าอาการปวดท้อง ในระยะแรกไม่ว่าจะเป็นไส้ติ่งหรือโรคอื่นๆก็ตาม จะแยกกันยาก ต้องใช้การสังเกตอาการ ดังนั้น ในกรณีที่เริ่มปวดท้องที่ยังไม่ทราบว่าเป็นอะไร อย่าเพิ่งกินยาแก้ปวด คววรไปพบแพย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยก่อน เพราะการกินยาแก้ปวด จะทำให้แพทย์วินิจฉัยแยกโรคลำบาก เนื่องจากยาจะบดบังอาการปวด วินิจฉัย นอกจากอาการของผู้ป่วย และการตรวจร่างกายของแพทย์แล้ว ต้องเจาะเลือดดู CBC เพื่อตรวจนับดูจำนวนเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติหรือไม่ ตรวจปัสสาวะเพื่อแยกโรคนิ่วและการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ควรทำการตรวจอัลตราซาวน์ หรือทำ CT Scan ช่องท้องเพื่อความแม่นยำในการวินิจฉัย การรักษา ไม่ว่าจะแตกหรือไม่ ก็จะต้องทำการผ่าตัดก่อนที่ไส้ติ่งจะทะลุแตกในท้องและเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ การผ่าไส้ติ่งนี้ ไม่ใช่เรื่องยากหรืออันตราย เมื่อแพทย์เขาตัดตัวไส้ติ่งที่อักเสบนั้นทิ้งไป อาการปวดท้องและอาเจียนก็จะหยุดลง หลังจากนั้นประมาณ 2 อาทิตย์ สุขภาพของท่านก็จะดีตามเดิ

Read More »

วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

วัคซีนที่ใช้ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เนื่องจากในปัจจุบันเราใช้วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าชนิดที่ทำจากเซลล์เพาะเลี้ยง (ฉีด 5 ครั้งเท่านั้น) เพราะมีประสิทธิภาพสูงไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ต่อระบบประสาท และควรฉีดเซรุ่มร่วมด้วย ถ้าบาดแผลมีเลือดออก ถูกเลียที่ริมฝีปาก น้ำลายกระเด็นเข้าตา สถานเสาวภาใช้โปรกรมการฉีดวัคซีน 2 แบบ คือ แบบปกติฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และแบบประหยัดฉีดเข้าชั้นผิวหนัง แต่ละแบบจะได้รับการฉีดวัคซีนทั้งหมด 5 ครั้ง เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นอย่างไร เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นเซรุ่มส่วนของน้ำใสของเลือดที่ได้จากม้าหรือคนที่ได้รับการฉีดวัคซีน โรคพิษสุนัขบ้า ในเซรุ่มจะมีโปรตีนทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าในปริมาณที่มาก เซรุ่มจะไปทำลายเชื้อไวรัส ในร่างกายของผู้ที่ถูกสุนัขบ้ากัด โดยการฉีดรอบๆแผลก่อนที่จะก่อโรคและก่อนที่ภูมิต้านทานของร่างกายจะสร้างขึ้น ด้วยเหตุนี้การให้เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าร่วมกับการฉีดวัคซีนเข็มแรก จึงเป็นวิธีที่จะป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้ผลดีที่สุด แต่เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามีราคาแพงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ทำมาจากเลือดคน ประโยชน์ของการฉีดวัคซีนป้องกันล่วงหน้า – เมื่อถูกสัตว์กัด การฉีดวัคซีนกระตุ้นเพียง 1-2 เข็ม ร่างกายก็จะได้ภูมิต้านทานที่สูงพอจะป้องกันโรคอย่างได้ผล – ไม่เสี่ยงต่อการแพ้เซรุ่ม หรือเจ็บปวดจากการฉีดเซรุ่มรอบๆแผล ไม่ว่าจะสามารถเฝ้าดูอาการได้หรือไม่โดยเฉพาะสัตว์ที่ๆม่มีเจ้าของหรือกัดแล้วหนี ควรมาโรงพยาบาลทันที ไม่ควรและไม่จำเป็นที่จะต้องรอให้สุนัขมีอาการก่อน เพราะระยะฟักตัวทั้งในคนและสัตว์ไม่แน่นอน

Read More »

การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น

คือการส่องกล้องตรวจเยื่อบุคอ หลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น เป็นการใช้กล้องที่มีลักษณะเป็น Fiber Optic ทีปลายกล้องมีเลนส์ขยายภาพ อีกด้านหนึ่งเป็นส่วนควบคุมซึ่งต่อเข้ากับเครื่องกำเนิดแสง แล้วส่งภาพมาปรากฏบนจอโทรทัศน์ โดยสอดกล้องเข้าไปทางปาก ข้อบ่งชี้ในการส่องกล้อง เมื่อไหร่แพทย์จึงเลือกใช้วิธีนี้ อาเจียนเป็นเลือด อาการปวดท้อง เสียดแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ อาการกลืนลำบาก เบื่ออาหาร น้ำหนักลด มีกลิ่นปาก อาการเรอเปรี้ยว แน่นแสบหน้าอกกลางคืน คอแห้ง เสียงแหบ ไอเรื้อรัง ซึ่งเป็นอาการของโรคกรดไหลย้อน (GERD : Gastro Esophageal Reflux Disease) อาการซีด มีภาวะโลหิตจาง ถ่ายอุจจาระมีสีดำ ตรวจเพื่อยืนยันความผิดปกติที่พบจากการกลืนสารทึบแสง (กลืนแป้ง) เช่น พบแผลหรือเนื้องอก และสามารถตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อประเมินพยาธิสภาพจากการกลืนกรดหรือด่าง (Caustic Ingestion) เพื่อขยายการตีบแคบของทางเดินอาหาร และตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ เป็นการตรวจหามะเร็งขั้นต้นของหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น เพื่อช่วยในการทำหัตถการใส่สายให้อาหารทางกระเพาะ (PEG) ผ่านทางหน้าท้อง และลำไส้เล็ก (PEJ) ผ่านทางรูจมูก ประโยชน์ของการส่องกล้อง ตรวจหาความผิดปกติหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ตรวจหามะเร็งขั้นต้นของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น โดยตัดชิ้นเนื้อไปตรวจวิเคราะห์ ตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย H.Pylori (เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร) ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของมะเร็งกระเพาะอาหาร ติดตามผลการรักษาแผลในกระเพาะอาหารว่าเป็นเนื้อดีหรือเนื้อร้าย โดยการตัดชิ้นเนื้อซ้ำในตำแหน่งเดิม กรณีพบจุดเลือดออก สามารถฉีดยา ใช้กระแสไฟฟ้าจี้ หรือใช้ Hemoclip หนีบห้ามเลือด กรณีที่มีเส้นเลือดดำโป่งพองหรือแตกที่ส่วนปลายหลอดอาหาร ซึ่งพบในผู้ป่วยตับแข็ง สามารถห้ามเลือดโดยการรัดเส้นเลือดดำโป่งพองหรือแตกนี้ได้ ใช้คีบ ก้างปลา กระดูกเป็ด ไก่ หรือสิ่งแปลปลอมที่ติดค้างในคอและหลอดอาหารออก สามารถขยายตำแหน่งที่มีการตีบตันของทางเดินอาหาร เช่น การตีบตันเนื่องมาจากมะเร็งของหลอดอาหาร หรือผลข้างเคียงจากการกลืนกรดหรือด่าง การเตรียมตัวก่อนตรวจ ก่อนตรวจ 1 วัน ควรละเว้นอาหารที่ระคายเคืองกระเพาะ เช่น อาหารรสจัด สุรา กาแฟ งดอาหาร และเครื่องดื่มทุกชนิดก่อนตรวจ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง ภายหลังการตรวจ อาจมีการระคายเคืองและอาจมีเสมหะปนเลือดเล็กน้อย ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น กลืนไม่ลง ปวดบวมบริเวณลำคอ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก มีไข้สูง ควรรีบมาพบแพทย์

Read More »

แคลเซียมกับภาวะกระดูกพรุนในวัยทอง

แคลเซียมกับภาวะกระดูกพรุนในวัยทอง วัยทองนั้นเป็นช่วงเวลาที่ระบบฮอร์โมนเพศในร่างกายลดลงหรือหมดไป โดยผู้ชายในวัยทองระดับฮอร์โมนเพศชายจะมีระดับลดลงอย่างช้าๆ แต่ในฝ่ายหญิงแล้วเมื่อรังไข่หยุดทำงานระดับฮอร์โมนเพศหญิงจะลดลงอย่างรวดเร็วจนถึงระดับต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่จำเป็นในการมีสรีระวิทยาการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ ที่เป็นปกติ การเปลี่ยนแปลงในวัยนี้ที่สำคัญนั้นเกิดขึ้นได้ในทุกระบบของร่างกายทั้งคุณผู้ชายและคุณผู้หญิง แต่โดยทั่วๆ ไปแล้วทางฝ่ายหญิงจะได้รับผลกระทบจากการขาดฮอร์โมนเพศหญิงมากกว่า โดยเฉพาะเมื่อร่างกายขาดฮอร์โมนเพศไปเป็นเวลานานๆ แล้วสิ่งที่จะเกิดขึ้น ก็คือ ภาวะกระดูกพรุน ซึ่งบางคนอาจเรียกว่า โรคกระดูกบางก็ได้ การเปลี่ยนแปลงของกระดูกที่ทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนก็คือ เนื้อกระดูกจะบางลง การทำลายเซลล์กระดูกจะเพิ่มขึ้นในขณะที่การสร้างเซลล์กระดูกจะลดลง จากการศึกษาวิจัยพบว่ากระดูกจะเริ่มบางลงตั้งแต่อายุ 35 ปี โดยเมื่ออายุ 45 – 50 ปี กระดูกจะบางลงประมาณ 3 – 8% หลังจากเริ่มหมดประจำเดือนในระยะเวลา 5 ปีแรก กระดูกจะบางลงปีละ 5% จากนั้นในปีต่อๆไป กระดูกจะบางลง 1 – 2% ต่อปี ถ้าลองคำนวณดูจะพบว่า เมื่อผู้หญิงอายุประมาณ 55 ปี กระดูกจะบางลงไป 20 – 30% และเมื่ออายุถึง 65 – 70 ปี กระดูกอาจจะบางถึง 30 – 50% ซึ่งหมายความว่าอยู่ในระยะอันตรายที่จะทำให้กระดูกพรุน หรือ เกิดกระดูกหักได้ง่ายๆ ถ้าไม่มีการเตรียมตัวกันแต่เนิ่นๆ >> ปัจจัยเสี่ยง ทุกคนควรจะป้องกันตนเองจากการเกิดโรคหรือภาวะกระดูกพรุน และบางลงโดยการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องในแต่ละช่วงของชีวิต การลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ จะช่วยป้องกันภาวะกระดูกพรุนในวัยทองลงได้ ปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวได้แก่ กรรมพันธุ์ ตรวจดูว่ามีสมาชิกในครอบครัวที่เกิดมีกระดูกหักในวัยสูงอายุหรือ ไม่ มีรูปร่างผอมเล็ก กล้ามเนื้อน้อย และผิวหนังบางหรือไม่ การใช้ชีวิต ดื่มสุรา หรือ สูบบุหรี่จัดหรือไม่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากไหม พักผ่อนเพียงพอ และมีการออกกำลังกายพอเพียงหรือไม่ ฮอร์โมน การขาดฮอร์โมนเพศทั้งชายและหญิงมีผลกระทบทำให้เนื้อกระดูก บางลงจนเกิดภาวะกระดูกพรุนได้ ในผู้หญิงที่ได้รับการตัดรังไข่ออก สองข้างควรจะได้รับฮอร์โมนทดแทนทันที การขาดแคลเซียม ตรวจดูว่าดื่มนมมาตั้งแต่เด็กๆ หรือไม่ รับประทานอาหารที่ มีส่วนประกอบที่มีแคลเซียมเพียงพอหรือไม่ ถ้าคำถามต่างๆ ข้างต้นนั้นคุณตอบว่า ใช่ แล้วแสดงว่าคุณมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกระดูกพรุน การลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นนั้นสามารถทำได้ด้วยตนเองเพื่อป้องกันการเกิดภาวะกระดูกพรุน หากมีข้อสงสัยใดๆ การปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่จำเป็น การรับประทานฮอร์โมนทดแทนเพียงอย่างเดียวไม่เป็นการเพียงพอที่จะลดปัจจัยเสี่ยงจากการเกิดภาวะกระดูกพรุนได้ การรับประทานสารอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมพอเพียงร่วมกับการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยจะช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเกิดภาวะกระดูกพรุนในวัยทองลงได้ >> แคลเซียม แคลเซียมเป็นสารที่จำเป็นสำหรับกระดูก หากได้รับปริมาณของแคลเซียมมากพอเพียงในช่วงที่กระดูกยังสามารถเจริญเติบโตได้จะช่วยลดอัตราการเกิดภาวะกระดูกพรุนลงได้ นอกจากนี้ร่างกายยังต้องการแคลเซียมไปใช้ในการทำหน้าที่ของอวัยวะอื่นๆ ด้วย และหากร่างกายได้รับสารแคลเซียมไม่พอเพียงก็จะไปดึงออกมาจากกระดูกทำให้เนื้อกระดูกบางลง ปริมาณของแคลเซียมที่จำเป็นแต่ละวัน อายุ 11 – 24 ปี 1200 มก. 25 ปี – หมดประจำเดือน 1000 มก. ช่วงเริ่มหมดประจำเดือน 1200 มก. วัยหลังหมดประจำเดือน 1500 มก. โดยปกติแล้วอาหารนมจะเป็นแหล่งสำคัญของแคลเซียมในคนส่วนใหญ่ ในผู้ที่สูงวัย การรับประทานนมที่ไขมันต่ำยังคงได้ปริมาณแคลเซียมเท่าเดิม และปริมาณของไขมันจะน้อยลง นอกจากนี้เราควรที่จะเพิ่มปริมาณของแคลเซียมในอาหารที่รับประทานให้มากที่สุดโดยเฉพาะในคนที่ไม่สามารถดื่มนมได้ เนื่องจากคนไทยเรานั้นมีส่วนหนึ่งซึ่งไม่มีสารภายในระบบทางเดินอาหารที่จะช่วยย่อยนมทำให้เกิดอาการท้องอืดหลังดื่มนม กรณีนี้ควรจะต้องรับประทานแคลเซียมเสริมจากอาหารชนิดอื่น ซึ่งมีปริมาณของแคลเซียมมากน้อยต่างๆกันไป เช่น ปริมาณแคลเซียม (มก.) ปลาซาร์ดีนพร้อมกระดูก 370 ต่อ 3 ออนซ์ เต้าหู้ 280 ต่อ ถ้วย ผักใบเขียว 200 ต่อ ถ้วย บรอคคอลี่ 150 ต่อ หัวขนาดใหญ่ ส้ม 50 ต่อ ผลขนาดกลาง โยเกิตไร้ไขมัน 452 ต่อ ถ้วย เนยแข็ง 200 ต่อ ถ้วย ในกรณีที่ไม่สามารถจะดื่มนมหรือรับประทานอาหารเพื่อให้ได้สารอาหารที่พอเพียงกับปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายต้องการแล้ว การรับประทานแคลเซียมที่เป็นชนิดเม็ดในปริมาณที่เหมาะสมก็เป็นทางออกอีกทางหนึ่งที่ทำได้ >> วิตามินดี ร่างกายของเราจะไม่สามารถดูดซึมแคลเซียม และนำไปใช้ในการทำให้กระดูหนาตัวขึ้นได้เลย ถ้าปราศจากไวตามินดี โดยปกติแล้วร่างกายของเราต้องการไวตามินดีวันละ 400 หน่วยสากล ซึ่งสามารถที่จะได้รับจากการดื่มนมครึ่งลิตร หรือรับแสงแดดประมาณ 30 – 60 นาทีต่อสัปดาห์ >> การออกกำลังกาย แคลเซียมจะไม่มีประโยชน์มากพอเพียงเลยในการป้องกันภาวะกระดูกพรุน ถ้าไม่มีการออกกำลังกายที่เหมาะสมพอเพียง และถูกหลัก เพราะการออกกำลังกายจะเป็นการเพิ่มงานให้กับกระดูกปริมาณของงานที่กระดูกต้องทำมีผลต่อการเพิ่มหรือลดลงของเนื้อกระดูก เป็นที่ยอมรับกันว่า การออกกำลังกายที่รับน้ำหนัก ซึ่งรวมถึงการออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง และกระดูกท่อนยาวจะมีผลในการทำให้กระดูกหนาตัวขึ้น การออกกำลังกายดังกล่าวได้แก่ การวิ่ง การเดินเร็วๆ อย่างน้อย 20 นาทีต่อวัน โดยเฉพาะในช่วงที่มีแสงแดดอ่อนๆ เพื่อเพิ่มปริมาณไวตามินดีจากแสงแดด และไม่ได้รับผลกระทบจากรังสียูวี จะมีประโยชน์มาก การออกกำลังกายประเภทการเสริมกล้ามเนื้อต่างๆ ก็มีส่วนช่วยด้วยเช่นกัน สำหรับการออกกำลังกายหนักๆ นั้น ควรพิจารณาตามความเหมาะสมตามวัยและเป็นรายๆ ไป อย่างไรก็ตามควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนเริ่มโปรแกรมการออกกำลังกายใหม่ๆ >> คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ถ้าทุกคนที่อยู่ในวัยทองเข้าใจพื้นฐานการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น คือมีการเปลี่ยนแปลงจากวัยเจริญพันธุ์ (REPRODUCTIVE AGE) ไปเป็นวัยคุณภาพ (PRODUCTIVE AGE ) แล้วและดูแลสุขภาพของตนเองอย่างเหมาะสม วัยทองของเราจะเป็นวัยที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข แก่ชราช้า มีความสุขในชีวิตและทำประโยชน์ให้สังคมในส่วนรวมด้วย การดูแลสุขภาพของกล้ามเนื้อและกระดูก โดยการได้ปริมาณของแคลเซียมที่เหมาะสมในแต่ละวัย จะมีผลทำให้สุขภาพดีขึ้น ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติของขนมต่างๆ ขนม (กรัม) พลังงาน โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต ขนมชั้น 272

Read More »
Page1 Page2 Page3 Page4 Page5
Facebook-f Youtube Instagram
  • 1270
  • About Us
  • Medical center
  • Doctors
  • Make an Appointment
  • Knowledge
  • Package
  • News & Events
  • Privacy Policy
  • Investor
  • Sustainability
  • Work with Us
  • Contact Us
  • Terms and Conditions

Copyright © 2025. All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • Medical Center
  • แพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
  • About Us
  • Medical Center
  • Doctors
  • Room
  • Health Guru
    • Knowledge
    • Doctor’s Health Insights
  • Package
  • Contact Us