Skip to content
  • EN
    • TH
    • CN
    • AR
  • EN
    • TH
    • CN
    • AR
  • About Us
  • Medical Center
  • Doctors
  • Room
  • Health Guru
    • Knowledge
    • Doctor’s Health Insights
  • Package
  • Contact Us
Menu
  • About Us
  • Medical Center
  • Doctors
  • Room
  • Health Guru
    • Knowledge
    • Doctor’s Health Insights
  • Package
  • Contact Us

Day: May 11, 2019

คำถามจากงานสัมมนา

คำถามจากงานสัมมนา “The Whole9 months …ก้าวแรกสู่ครรภ์คุณภาพ” วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม 2556 1. คำถาม : ภรรยาต้องทาน Zinc เป็นประจำ (รักษาผมร่วง) เมื่อตั้งครรภ์แล้ว สามารถทานต่อได้หรือไม่ครับ มีผลต่อทารกอย่างไร คำตอบ : Zinc ในหญิงตั้งครรภ์ แนะนำให้ทานวันละประมาณ 12 mg แต่ในคนที่ขาดอาจทานได้มากขึ้น ประมาณ 25 – 30 mg ค่ะ เท่าที่หาข้อมูลมาการให้ Zinc รักษาผมร่วง ก็ใช้ปริมาณยาที่ใกล้เคียงกันค่ะ อาจจะต้องดูที่ปริมาณยาที่ทานในปัจจุบัน และปรึกษาร่วมกันกับแพทย์ที่ดูแลอีกครั้งค่ะ 2. คำถาม : ยาสมุนไพร เช่น ฟ้าทะลายโจร (ปกติทานเวลาไอ , เจ็บคอ , มีไข้ ) เมื่อตั้งครรภ์แล้วสามารถทานได้หรือไม่ ครอบครัว อยากให้ทานยาจีนระหว่างตั้งครรภ์ มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไรครับ คำตอบ : ในปัจจุบันข้อมูลทางด้านยาสมุนไพร และยาจีนต่างๆยังมีไม่มาก แต่ยานั้นมีมากมายหลายชนิดมากค่ะ โดยส่วนใหญ่แล้วจะแนะนำให้งดยาสมุนไพรทุกชนิดค่ะ เพราะไม่ทราบผลข้างเคียงที่แน่นอน อาจมีอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ค่ะ ยาและวิตามินบำรุงที่ต้องการระหว่างการตั้งครรภ์ คุณหมอส่วนใหญ่ให้ครบอยู่แล้วค่ะ การกินยาโดยที่ไม่จำเป็นและไม่ทราบผลที่เกิดขึ้นอาจเป็นอันตรายได้ทั้งต่อมารดาและทารกในครรภ์ค่ะ ให้ข้อมูลโดย พญ.ธิษณา อนันตวัฒน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูตินรีเวช รพ.พระรามเก้า

Read More »

คำถามจากงานเสวนา “360 องศา เตรียมพัฒนาการความคิดอย่างเป็นระบบ”

คำถามจากงานเสวนา “360 องศา เตรียมพัฒนาการความคิดอย่างเป็นระบบ” วันที่ 28 กย 2556 เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้องประชุม Praram9 Grand Hall ชั้น 5 รพ.พระรามเก้า คำถาม : ลูกชายเวลาอยู่กับคุณพ่อ มักจะเล่นจนไม่ยอมนอน พยายามจะฝืนความง่วง คำตอบ : เด็กควรเข้านอนไม่เกิน 3 ทุ่มค่ะ เพื่อให้ร่างกายพักผ่อนเต็มที่และสมองได้รับฮอร์โมนที่เร่งการเจริญเติบโต มีหลายครอบครัวค่ะ ที่ลูกชายรอเล่นกับคุณพ่อตอนคุณพ่อกลับบ้าน ถ้าเป็นไปได้คุณพ่อกลับบ้านเร็วขึ้น เพื่อมีเวลาเล่นกับลูก ก่อนได้เวลานอนหรือให้คุณแม่ หรือญาติคนอื่นพาลูกนอนก่อนถ้าคุณพ่อกลับบ้านดึก และให้คุณพ่อจัดเวลาเล่นกับลูกตอนเช้าก่อนไปทำงานแทน โดยตอนเย็นอาจโทรมาคุยกับลูกชายว่า ” พ่อยากให้ลูกนอนเร็วๆ จะได้เป็นคนฉลาด ร่างกายแข็งแรง แล้วเราจะมาเล่นกันตอนเช้า” ลูกชายจะได้ตื่นเช้าด้วยความสดชื่น ได้ความอบอุ่นและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อลูกอีกด้วยค่ะ พญ.กุสุมาวดี คำเกลี้ยง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเด็กและวัยรุ่น รพ.พระรามเก้า

Read More »

ความรู้เรื่องโรคอีโบลา

ความรู้เรื่อง | โรคติดเชื้ออีโบลา (โรค EVD)

Read More »

9ทันไต The Stories of Success

9 ทันไต | The Stories of Success เรื่องจริงของความสุขอันยิ่งใหญ่ ที่ชุบชีวิตใหม่ให้ผู้ป่วยโรคไต

Read More »
ความดันโลหิตสูงในคนอายุน้อย

ความดันโลหิตสูงในคนอายุน้อย

เวลามาใช้บริการโรงพยาบาล ไม่ว่าจะมาด้วยปวดหัว ตัวร้อย ปวดฟัน ตกบันได คลอดลูก นอนไม่หลับ ทุกครั้งทุกคนต้องได้รับการวัดความดันโลหิต บางครั้งค่าสูงกว่าปกติ (ความดันโลหิตตัวบนมากกว่า 140 มม.ปรอท และ/หรือ ความดันโลหิตตัวล่างมากกว่าเท่ากับ 90 มม.ปรอท)ก็มักมีเหตุผลให้ตนเองว่า อ้อ ไม่สบายอยู่ ต่อมาเมื่อมาตรวจร่างกายประจำปี สบายดี ตรวจแล้วความดันโลหิตสูงอีก ก็ อ้อ เพิ่งเดินมา คนเยอะ หิวข้าว หงุดหงิด แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นความดันโลหิตสูงจริงหรือไม่ คำแนะนำคือ ควรตรวจความดันโลหิตซ้ำ ห่างกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เมื่อร่างกายปกติหายจากเจ็บป่วย ไม่เครียดและนั่งพักอย่างน้อย 5 นาที วัดในสิ่งแวดล้อมที่สงบ แต่บางคนวัดที่โรงพยาบาลความดันโลหิตสูงตลอด แต่เมื่อวัดที่บ้านปกติ เรียกว่าเป็น White coat hypertension หมอชอบเรียกว่ายๆว่า โรคกลัวเสื้อกาวน์ กลุ่มนี้ก็คงต้องมีเครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้านว่ามากกว่าเท่ากับ 135/85 มม.ปรอท หรือไม่ (เนื่องจากความคลาดเคลื่อนของเครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติเกณฑ์จึงต่ำกว่า 5 มม.ปรอท) แล้วอายุเท่าไหร่จึงเริ่มเป็นความดันโลหิตสูง สมัยก่อนอาจแนะนำว่าตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป หลอดเลือดแดงขนาดเล็กเริ่มเสื่อม แต่ Lifestyle ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการทำงานนั่งโต๊ะ ไม่ต้องออกแรง แถมเครียด ไม่มีเวลาออกกำลังกาย กินอาหารเค็มมัน กินผักผลไม้น้อย น้ำหนักตัวมาก และดื่มเหล้า โดยเฉพาะมีประวัติความดันโลหิตสูงในครอบครัวอยู่แล้ว ความดันโลหิตสูงจึงพบบ่อยขึ้นในคนอายุน้อย สาเหตุของความดันโลหิตสูง เชื่อว่าเกิดจากหลายปัจจัย ทั้งพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมข้างต้น ผู้ป่วยส่วนน้อย 5-10% เกิดจากโรคที่มีสาเหตุ ซึ่งกลุ่มนี้เมื่อรักษาโรคที่เป็นสาเหตุแล้ว จะทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ และอาจไม่ต้องกินยาลดความดันอีก เรียกว่า Secondary hypertension ลักษณะที่ควรตรวจคือ อายุเริ่มเป็นน้อยกว่า 30 ปี โดยเฉพาะไม่มีประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิตสูง ระดับความดันโลหิตสูงมาก หรือสูงขึ้นเร็ว ความดันโลหิตควบคุมไม่ได้แม้ใช้ยาหลายชนิด เกิดภาวะแทรกซ้อนของความดันโลหิตสูงในอายุน้อย เช่น กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัว เลือดออกในสมอง โรคไต รวมทั้งมีอาการและอาการแสดงของโรคต่างๆ ในกลุ่มนี้ชวนให้สงสัย อันดับแรกต้องดูยาที่ใช้ ยาบางกลุ่มทำให้ความดันโลหิตสูงได้ เช่น ยาแก้ปวดแก้อักเสบ กลุ่ม NSAID เช่น arcoxia celebrex brufen เป็นต้น ยากลุ่มสเตียรอยด์ ซึ่งแพทย์สั่งหรือซื้อกินเอง ยาเสพติด เช่น โคเคน ยาบ้า ยาแก้หวัด (Psuedoephredine) และยาคุมกำเนิด โรคที่พบบ่อย คือ โรคไต อาจมีอาการปวดหลัง ร่วมกับปัสสาวะเป็นฟอง เป็นสีน้ำล้างเนื้อ ขาหรือเท้าหลังบวม สามารถตรวจเลือดและปัสสาวะวินิจฉัยได้ อีกโรคที่ไม่ควรมองข้าม คือ โรคทางเดินหายใจอุดกั้นเวลานอน (Obstuctive sleep apnea) อย่าคิดว่านอนกรนไม่อันตราย ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ คาร์บอนไดออกไซด์คั่งทำให้ร่างกายหลั่งสารต่างๆเพิ่มความดันโลหิต นานๆเข้าเป็นสาเหตุให้ความดันโลหิตสูง และกล้ามเนื้อหัวใจห้องขวาล่างหนาตัวได้ หากใครมีนอนกรน หยุดหายใจเป้นพักๆ ปวดศีรษะยามเช้า ง่วงนอนกลางวัน แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง หู คอ จมูก ความดันโลหิตสูงจากโรคกลุ่มฮอร์โมน เกิดจากฮอร์โมนหลายชนิดซึ่งมีผลต่อความดันโลหิต เมื่อปริมาณฮอร์โมนมากขึ้นผิดปกติ จึงเป็นเหตุให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ โรคกลุ่มนี้พบไม่บ่อย มักเกิดจากเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งผลิตฮอร์โมนมากขึ้น เช่น เนื้องอกต่อมหมวกไต เนื้องอกต่อมใต้สมอง หรือเนื้องอกปมประสาทของระบบประสาทอัตโนมัติ บางโรคสามารถรักษาโดยการผ่าตัดก้อนเนื้องอกออก ทำให้ความดันโลหิตลดลง สามารถลดหรือหยุดยาความดันโลหิตได้ โรคกลุ่มนี้ ได้แก่ ต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมน Aldoseterone เกิน ทำให้ไตเก็บเกลือโซเดียมและน้ำไว้ในร่างกายและขับเกลือแร่โปแตสเซียมไปทางปัสสาวะ บางรายจึงมีโปแตสเซียมในเลือดต่ำ มีอาการกล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงเป็นๆหายๆ ในคนที่ไม่มีอาการและไม่เคยตรวจระดับโปแตสเซียมในเลือดอาจไม่ได้รับการวินิจฉัย สามารถตรวจโดยวัดระดับฮอร์โมนในเลือด เนื้องอกของระบบประสาทอัตโนมัติหลั่งสารกลุ่ม Adrenaline หรือโรค Pheochrmocytoma นึกถึงเวลาตื่นเต้น ตกใจ กลัว เครียด แล้วมีอาการใจสั่น เหงื่อแตก หน้าซีด จะเป็นลม แต่ในโรคนี้อาการเป็นพร้อมๆกัน โดยไม่มีเหตุกระตุ้น ปวดศีรษะ ใจสั่น หน้าซีด เป็นพักๆ สามารถวินิจฉัยได้โดยตรวจสารในปัสสาวะ ซึ่งต้องใช้ปัสสาวะทั้งวัน ฮอร์โมนสเตียรอยด์เกิน หรือโรค Cushing’s Syndrome มีอาการน้ำหนักขึ้น อ้วนช่วงลำตัว แก้มป่อง แก้มแดง ผิวบางเป็นจ้ำง่าย ท้องแตกลายสีม่วงแดง กล้ามเนื้อต้นแขนต้นขาอ่อนแรง เป็นต้น สามารถตรวจเลือดหรือปัสสาวะวินิจฉัยได้ โรคไทรอยด์ ทั้งไทรอยด์เป็นพิษและไทรอยด์ต่ำ ทำให้คามดันโลหิตสูงได้ กลุ่มโรคสุดท้าย คือกลุ่มโรคหลอดเลือดแดง เช่น หลอดเลือดแดงไตตีบ หากเป็นข้างเดียว การทำงานไตยังปกติ ไม่มีอาการทางปัสสาวะ แต่ไตข้างที่เลือดไปเลี้ยงลดลง ปล่อยสาร renin ทำให้หลอดเลือดหดตัวและความดันโลหิตสูงได้ วินิจฉัยได้โดยการอัลตร้าซาวนด์หลอดเลือดแดงไต โรคหลอดเลือดแดงใหญ่แคบ (Coarctation of the aorta) ทำให้ความดันโลหิตที่แขนสูงกว่าความดันโลหิตที่ขา โรคหลอดเลือดแดงอักเสบ Takayasu’s arteritis ทำให้ความดันโลหิตที่แขนสองข้างต่างกันมาก หากสงสัยควรตรวจวัดความดันโลหิตที่แขน ขาทั้งสองข้าง การทำเอกซเรย์หลอดเลือดแดงเพิ่มเติมสามารถวินิจฉัยได้ อย่าลืมว่าคนอายุน้อยที่เป็นความดันโลหิตสูงกลุ่มใหญ่กว่า 90-95% ไม่พบโรคที่กล่าวมาข้างต้น แต่ก็ยังรักษาได้ โดยการลดน้ำหนักลง 5-10% ออกกำลังกายแอโรบิก 30 นาที อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์

Read More »

การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช

Read More »

Office Syndrome

Read More »

กินอย่างไรห่างไกลความเครียด

Read More »

คำถามจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมสัมมนา “ไวรัสตับอักเสบ B และ C โรคร้ายที่คุณไม่ควรมองข้าม”

คำถามจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมสัมมนา “ไวรัสตับอักเสบ B และ C โรคร้ายที่คุณไม่ควรมองข้าม” วันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2556 ณ ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ 1. ปริมาณยาที่ทานจำนวนเท่าใดถึงจะส่งผลต่อตับ ตอบ ขึ้นอยู่กับชนิดของยา แต่แนะนำให้ทานตามฉลากยาหรือคำแนะนำของแพทย์ 2. การรับประทานอาหารที่ทำจากตับสัตว์ จะมีโทษต่อร่างกายหรือไม่ โดยเฉพาะเด็กเล็กที่รับประทานตับสด ตอบ การทานตับไม่มีโทษต่อร่างกายแต่ควรปรุงให้สุกก่อนทานค่ะ เพื่อลดการปนเปื้อนเชื้อโรคต่างๆ 3. มีภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบ B จะเป็นไวรัสตับอักเสบ C ได้ด้วยหรือไม่ ตอบ การมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบ B ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ C ค่ะ การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ C คือ หลีกเลี่ยงการรับเชื้อ ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน การสักตามตัว ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น 4. ไวรัสตับอักเสบ B ทำให้เป็นตับแข็งได้ด้วยหรือไม่ และถ้าเป็นต้องตรวจด้วยวิธีใดจึงจะทราบได้ว่าเป็นจริงๆและการตรวจเลือดจะพบหรือไม่ ตอบ สามารถทำให้เป็นตับแข็งได้ ควรตรวจติดตามอย่างต่อเนื่องด้วยกรเจาะเลือดและอัลตร้าซาวน์ 5. ขอทราบวิธีการดูแลเบื้องต้นเมื่อทราบว่าเป็นไวรัสตับอักเสบ B และไวรัสตับอักเสบ C ตอบ การดูแลเบื้องต้น คือควรมาพบแพทย์เพราะโรคทั้งสองโรคมีรายละเอียดในการรักษาแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน ควรมาพบแพทย์เพื่อได้รับคำอธิบายดีกว่า 6. วิธีการรักษาไวรัสตับอักเสบ B หายขาดหรือไม่ ตอบ โอกาสหายขาดน้อยแต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลตรวจเบื้องต้นของผู้ป่วยแต่ละราย 7. การสร้างน้ำดีของตับสัมพันธ์กับถุงน้ำดีอย่างไร คล้ายกับถุงน้ำดีไม่ได้สร้างน้ำดีใช้หรือไม่ครับ ตอบ น้ำดีสร้างที่ดับและจะถูกส่งไปเก็บกักที่ถุงน้ำดี 8. เรามีโอกาสได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ A B C พร้อมกันหรือไม่ ตอบ ไม่ เพราะไวรัส A ติดทางการกิน ไวรัส B ติดจากแม่สู่ลูก , ทางเลือด และทางเพศสัมพันธ์ ไวรัส C ติดจากแม่สู่ลูก ทางเลือด และทางเพศสัมพันธ์ 9. ยาฉีด Peg Interforon ที่ใช้ในการรักษาไวรัสตับอักเสบ B และ C มีผลข้างเคียงเหมือนกันใช่ไหม ตอบ ใช่ค่ะ เป็นยาชนิดเดียวกัน ในการรักษาวรัสตับอักเสบ B และ C 10. ยาชนิดใดบ้างที่ผู้ป่วยกินตลอดแล้วมีผลต่อตับ ตอบ ยาทุกชนิดที่ทานล้วนแล้วแต่ต้องผ่านกระบวนการดูดซึมและสลายที่ตับเพราะฉะนั้น เราควรทานตามข้อบ่งชี้และทานในขนาดที่กำหนด 11. เคยฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ B แล้ว แต่ภูมิคุ้มกันไม่ขึ้น ควรทำอย่างไร เพื่อให้มีภูมิคุ้มกัน ตอบ ควรมาตรวจดูก่อนว่ามีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B แบบแฝง หรือไม่ 12. ภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบ B จะอยู่ในร่างกายกี่ปี ตอบ ตลอดชีวิต 13. ญาติเป็นไวรัสตับอักเสบ B ชนิดเป็นพาหะ สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ ถ้าหายขาดแล้วจะเป็นอีกได้หรือไม่ และคนรอบข้างสามารถติดได้หรือไม่ จะมีวิธีป้องกันอย่างไร ตอบ โอกาสหายขาดจากไวรัสตับอักเสบบีน้อย แต่ควบคุมได้ วิธีการติดต่อ 1.ทางเลือด 2. ทางเพศสัมพันธ์ 3.จากแม่สู่ลูก การป้องกัน 1. ไม่ควรใช้ของมีคมร่วมกัน 2. แนะนำสำหรับคู่สมรสให้ไปตรวจเช็คภูมิไวรัสตับอักเสบบีก่อน ถ้ายังไม่มีภูมิก็ให้ฉีดวัคซีน 3. ก่อนมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้งควรสวมถุงยางอนามัย 4. ห้ามบริจากเลือดให้ผู้อื่น

Read More »

ความสำคัญของไต โรคไตวายเรื้อรังและการรักษา

ความสำคัญของไต โรคไตวายเรื้อรังและการรักษา นพ.วิรุฬห์ มาวิจักขณ์ Diplomate, American Board of Internal Medicine and Nephrology คนเราเกิดมามีไตอยู่ 2 ข้าง หน้าที่สำคัญของไต คือ การขับของเสียต่างๆ ที่อยู่ในร่างกายออกทางปัสสาวะ ทำให้เลือดและร่างกายคนเราสะอาด, ของเสียที่ไตต้องขับออกส่วนหนึ่งมาจากการเผาผลาญอาหารในร่างกาย และอีกส่วนหนึ่งมาจากการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ถ้าคนเราไม่มีไต หรือไตวายหยุดทำงาน ของเสียเหล่านี้จะคั่งค้างอยู่ในกระแสเลือดและในร่างกาย ทำให้เลือดและร่างกายสกปรก ในที่สุดอวัยวะต่างๆ ในร่างกายก็จะเป็นพิษ หยุดทำงานและเสียชีวิต หน้าที่ของไต นอกจากหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกายแล้ว ไตยังทำหน้าที่สำคัญๆ อื่นๆ ได้แก่ ควบคุมความดันโลหิต (คนไข้ไตไม่ดีจะมีความดันโลหิตสูง) ผลิตฮอร์โมน Erythropoietin ที่กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง (คนไข้โรคไตวายจะมีเลือดจาง เลือดน้อย ) ควมคุมปริมาณน้ำและระดับเกลือแร่ในร่างกาย (คนไข้โรคไตจะมีอาการบวม, เกลือแร่ผิดปกติ, ถ้าเกลือ โปแตสเซียมผิดปรกติจะทำให้หัวใจเต้นผิดปรกติ , เป็นอันตรายต่อชีวิตได้) ควบคุมความเป็นกรดด่างในร่างกาย (คนไข้โรคไตวายจะมีสภาพความเป็นกรดสูงมาก ทำให้อวัยะวะต่างๆ ในร่างกายทำงานผิดปรกติและเสียชีวิตได้) ควบคุมการสร้างวิตามินดี แคลเซียมและฟอสฟอรัส (คนไข้โรคไตวาย ขาดวิตามินดีทำให้แคลเซียมต่ำ , กระดูกเปราะบางพรุน) ภาวะไตวา่ย ถ้าเกิดภาวะไตวาย, ไตหยุดทำงาน ของเสียจะคั่งค้างในเลือดและในร่างกายมากๆ ผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร, คลื่นไส้, อาเจียน, อ่อนเพลีย, ซีดโลหิตจาง, คันตามตัว, มีจ้ำตามตัว, อาเจียนเป็นเลือด, ท้องเดิน, ความดันโลหิตสูง, หัวใจล้มเหลว, หัวใจเต้นผิดปรกติ, หายใจลำบาก, ไอเป็นเลือด, น้ำท่วมปอด, กระดูกเปราะบางหักง่าย, ปวดกระดูก, ถ้าของเสียค้างในสมองมากๆ จะมีอาการชักและสมองหยุดทำงาน นอกจากนี้ผู้ป่วยจะเป็นหมัน และหมดสมรรถภาพทางเพศ ถ้าเกิดโรคไตวายในเด็ก เด็กจะแคระแกร็นหยุดเจริญเติบโต สาเหตุของโรคไต สาเหตุของโรคไตที่พบบ่อยๆ คือ ไตวายจากโรคเบาหวาน ไตวายจากโรคความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง ไตวายจากโรคเก๊าท์และนิ่วในไต ไตวายจากโรคเนื้อเยื่อไตอักเสบ (Glomerulonephritis), โรค SLE, โรคไตวายเรื้อรังจากโรคบางโรค สามารถป้องกันได้แต่เนิ่นๆ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเก๊าท์ โรคนิ่วในไต ถ้าผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาควบคุมให้ดีก็จะลดโอกาสการเป็นโรคไตวายเรื้อรังได้ อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ไตวายถาวรแล้วไม่ว่าด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม ปัจจุบันนี้วงการแพทย์เราก็มีวิธีรักษาผู้ป่วยไตวายให้มีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ วิธีรักษาโรคไต วิธีรักษาโรคไตวายเรื้อรังมี 3 วิธี วิธีแรก คือการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) เป็นการนำเลือดของผู้ป่วยซึ่งมีของเสียคั่งค้าง ผ่านเข้าไปในเครื่องกรองเลือด ซึ่งจะกรองของเสียจากเลือดและนำเลือดที่ถูกกรองจนสะอาดแล้วกลับเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ต้องทำเป็นเวลา 3-5 ชม. และต้องทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง หลังฟอกเลือดแล้วผู้ป่วยจะมีเลือดที่สะอาด ร่างกายจะสดชื่นแข็งแรงขึ้น สามารถดำรงชีวิตได้เกือบเหมือนปรกติ แต่ต้องมาฟอกเลือดเป็นประจำตลอดไป วิธีที่สอง คือวิธีล้างช่องท้องด้วยน้ำยา (CAPD) วิธีนี้ผู้ป่วยจะต้องใส่น้ำยาเข้าไปในช่องท้องตนเอง ครั้งละ 2 ลิตร วันละ 4 ครั้งๆ ละ 4-8 ชม. ทุกๆ วัน ขณะที่น้ำยาอยู่ในช่องท้อง ของเสียต่างๆ ที่เป็นพิษคั่งค้างอยู่ในร่างกายจะซึมจากกระแสเลือดเข้าสู่น้ำยาในช่องท้อง เลือดก็จะสอาด ผู้ป่วยก็จะมีสภาพร่างกายที่สดชื่นแข็งแรงขึ้น แต่ต้องล้างช่องท้องเป็นประจำตลอดไป วิธีที่สาม คือการเปลี่ยนไตหรือปลูกถ่ายไต (Kidney Transplantation) เป็นวิธีการรักษาโรคไตวายเรื้อรังที่ดีที่สุด ไตที่นำมาปลูกใส่ให้กับผู้ป่วยอาจจะมาจากญาติ คือ พ่อแม่ พี่น้อง ลูก หลาน, ลุง, ป้า, น้า, อา หรือในบางกรณีมาจากสามี ภรรยา ที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยผู้บริจาคจะบริจาคไต 1 ข้าง ให้กับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง คนเราปรกติมีไต 2 ข้าง สามารถบริจาคไตให้ญาติพี่น้องได้ 1 ข้าง เหลือเพียง 1 ข้าง ก็สามารถดำรงชีวิตได้เหมือนคนปรกติ, อายุยืนเหมือนคนปรกติ ในกรณีที่ไม่มีญาติพี่น้องบริจาคไตให้ ผู้ป่วยจะต้องรอรับไตบริจาคจากผู้ป่วยอื่นที่เสียชีวิตอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ ซึ่งในประเทศไทย สภากาชาดจะเป็นผู้รับบริจาคและเป็นผู้จัดสรรไตอุบัติเหตุนี้ให้แก่คนไข้ไตวาย ปัจจุบันแพทย์ไทยเรามีความรู้ความสามารถในการผ่าตัดเปลี่ยนไตประสบผลสำเร็จได้ดีทัดเทียมกับต่างประเทศ ผู้ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยนไตสำเร็จแล้ว จะสามารถมีชีวิตยืนยาวและดำรงชีวิตด้วยคุณภาพที่ดี ประกอบอาชีพได้ ปัจจุบันมีผู้ป่วยคนไทยที่ได้รับการเปลี่ยนไตไปแล้วหลายพันคน หลายๆ สาขาอาชีพ เช่น ทหาร, ตำรวจ, แพทย์, ทันตแพทย์, วิศวกร, ทนายความ, ดารา, นักการเมือง , นักธุรกิจ ฯลฯ หลังเปลี่ยนไตผู้ป่วยสามารถตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรได้ สามารถทำประโยชน์ต่างๆ ให้สังคมได้เหมือนคนปกติ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ สถาบันปลูกถ่ายไต โรงพยาบาลพระรามเก้า 02-202-9999 ต่อ 2460

Read More »
Page1 Page2 Page3 Page4 Page5

คำถามจากงานสัมมนา

คำถามจากงานสัมมนา “The Whole9 months …ก้าวแรกสู่ครรภ์คุณภาพ” วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม 2556 1. คำถาม : ภรรยาต้องทาน Zinc เป็นประจำ (รักษาผมร่วง) เมื่อตั้งครรภ์แล้ว สามารถทานต่อได้หรือไม่ครับ มีผลต่อทารกอย่างไร คำตอบ : Zinc ในหญิงตั้งครรภ์ แนะนำให้ทานวันละประมาณ 12 mg แต่ในคนที่ขาดอาจทานได้มากขึ้น ประมาณ 25 – 30 mg ค่ะ เท่าที่หาข้อมูลมาการให้ Zinc รักษาผมร่วง ก็ใช้ปริมาณยาที่ใกล้เคียงกันค่ะ อาจจะต้องดูที่ปริมาณยาที่ทานในปัจจุบัน และปรึกษาร่วมกันกับแพทย์ที่ดูแลอีกครั้งค่ะ 2. คำถาม : ยาสมุนไพร เช่น ฟ้าทะลายโจร (ปกติทานเวลาไอ , เจ็บคอ , มีไข้ ) เมื่อตั้งครรภ์แล้วสามารถทานได้หรือไม่ ครอบครัว อยากให้ทานยาจีนระหว่างตั้งครรภ์ มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไรครับ คำตอบ : ในปัจจุบันข้อมูลทางด้านยาสมุนไพร และยาจีนต่างๆยังมีไม่มาก แต่ยานั้นมีมากมายหลายชนิดมากค่ะ โดยส่วนใหญ่แล้วจะแนะนำให้งดยาสมุนไพรทุกชนิดค่ะ เพราะไม่ทราบผลข้างเคียงที่แน่นอน อาจมีอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ค่ะ ยาและวิตามินบำรุงที่ต้องการระหว่างการตั้งครรภ์ คุณหมอส่วนใหญ่ให้ครบอยู่แล้วค่ะ การกินยาโดยที่ไม่จำเป็นและไม่ทราบผลที่เกิดขึ้นอาจเป็นอันตรายได้ทั้งต่อมารดาและทารกในครรภ์ค่ะ ให้ข้อมูลโดย พญ.ธิษณา อนันตวัฒน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูตินรีเวช รพ.พระรามเก้า

Read More »

คำถามจากงานเสวนา “360 องศา เตรียมพัฒนาการความคิดอย่างเป็นระบบ”

คำถามจากงานเสวนา “360 องศา เตรียมพัฒนาการความคิดอย่างเป็นระบบ” วันที่ 28 กย 2556 เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้องประชุม Praram9 Grand Hall ชั้น 5 รพ.พระรามเก้า คำถาม : ลูกชายเวลาอยู่กับคุณพ่อ มักจะเล่นจนไม่ยอมนอน พยายามจะฝืนความง่วง คำตอบ : เด็กควรเข้านอนไม่เกิน 3 ทุ่มค่ะ เพื่อให้ร่างกายพักผ่อนเต็มที่และสมองได้รับฮอร์โมนที่เร่งการเจริญเติบโต มีหลายครอบครัวค่ะ ที่ลูกชายรอเล่นกับคุณพ่อตอนคุณพ่อกลับบ้าน ถ้าเป็นไปได้คุณพ่อกลับบ้านเร็วขึ้น เพื่อมีเวลาเล่นกับลูก ก่อนได้เวลานอนหรือให้คุณแม่ หรือญาติคนอื่นพาลูกนอนก่อนถ้าคุณพ่อกลับบ้านดึก และให้คุณพ่อจัดเวลาเล่นกับลูกตอนเช้าก่อนไปทำงานแทน โดยตอนเย็นอาจโทรมาคุยกับลูกชายว่า ” พ่อยากให้ลูกนอนเร็วๆ จะได้เป็นคนฉลาด ร่างกายแข็งแรง แล้วเราจะมาเล่นกันตอนเช้า” ลูกชายจะได้ตื่นเช้าด้วยความสดชื่น ได้ความอบอุ่นและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อลูกอีกด้วยค่ะ พญ.กุสุมาวดี คำเกลี้ยง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเด็กและวัยรุ่น รพ.พระรามเก้า

Read More »

ความรู้เรื่องโรคอีโบลา

ความรู้เรื่อง | โรคติดเชื้ออีโบลา (โรค EVD)

Read More »

9ทันไต The Stories of Success

9 ทันไต | The Stories of Success เรื่องจริงของความสุขอันยิ่งใหญ่ ที่ชุบชีวิตใหม่ให้ผู้ป่วยโรคไต

Read More »
ความดันโลหิตสูงในคนอายุน้อย

ความดันโลหิตสูงในคนอายุน้อย

เวลามาใช้บริการโรงพยาบาล ไม่ว่าจะมาด้วยปวดหัว ตัวร้อย ปวดฟัน ตกบันได คลอดลูก นอนไม่หลับ ทุกครั้งทุกคนต้องได้รับการวัดความดันโลหิต บางครั้งค่าสูงกว่าปกติ (ความดันโลหิตตัวบนมากกว่า 140 มม.ปรอท และ/หรือ ความดันโลหิตตัวล่างมากกว่าเท่ากับ 90 มม.ปรอท)ก็มักมีเหตุผลให้ตนเองว่า อ้อ ไม่สบายอยู่ ต่อมาเมื่อมาตรวจร่างกายประจำปี สบายดี ตรวจแล้วความดันโลหิตสูงอีก ก็ อ้อ เพิ่งเดินมา คนเยอะ หิวข้าว หงุดหงิด แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นความดันโลหิตสูงจริงหรือไม่ คำแนะนำคือ ควรตรวจความดันโลหิตซ้ำ ห่างกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เมื่อร่างกายปกติหายจากเจ็บป่วย ไม่เครียดและนั่งพักอย่างน้อย 5 นาที วัดในสิ่งแวดล้อมที่สงบ แต่บางคนวัดที่โรงพยาบาลความดันโลหิตสูงตลอด แต่เมื่อวัดที่บ้านปกติ เรียกว่าเป็น White coat hypertension หมอชอบเรียกว่ายๆว่า โรคกลัวเสื้อกาวน์ กลุ่มนี้ก็คงต้องมีเครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้านว่ามากกว่าเท่ากับ 135/85 มม.ปรอท หรือไม่ (เนื่องจากความคลาดเคลื่อนของเครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติเกณฑ์จึงต่ำกว่า 5 มม.ปรอท) แล้วอายุเท่าไหร่จึงเริ่มเป็นความดันโลหิตสูง สมัยก่อนอาจแนะนำว่าตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป หลอดเลือดแดงขนาดเล็กเริ่มเสื่อม แต่ Lifestyle ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการทำงานนั่งโต๊ะ ไม่ต้องออกแรง แถมเครียด ไม่มีเวลาออกกำลังกาย กินอาหารเค็มมัน กินผักผลไม้น้อย น้ำหนักตัวมาก และดื่มเหล้า โดยเฉพาะมีประวัติความดันโลหิตสูงในครอบครัวอยู่แล้ว ความดันโลหิตสูงจึงพบบ่อยขึ้นในคนอายุน้อย สาเหตุของความดันโลหิตสูง เชื่อว่าเกิดจากหลายปัจจัย ทั้งพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมข้างต้น ผู้ป่วยส่วนน้อย 5-10% เกิดจากโรคที่มีสาเหตุ ซึ่งกลุ่มนี้เมื่อรักษาโรคที่เป็นสาเหตุแล้ว จะทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ และอาจไม่ต้องกินยาลดความดันอีก เรียกว่า Secondary hypertension ลักษณะที่ควรตรวจคือ อายุเริ่มเป็นน้อยกว่า 30 ปี โดยเฉพาะไม่มีประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิตสูง ระดับความดันโลหิตสูงมาก หรือสูงขึ้นเร็ว ความดันโลหิตควบคุมไม่ได้แม้ใช้ยาหลายชนิด เกิดภาวะแทรกซ้อนของความดันโลหิตสูงในอายุน้อย เช่น กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัว เลือดออกในสมอง โรคไต รวมทั้งมีอาการและอาการแสดงของโรคต่างๆ ในกลุ่มนี้ชวนให้สงสัย อันดับแรกต้องดูยาที่ใช้ ยาบางกลุ่มทำให้ความดันโลหิตสูงได้ เช่น ยาแก้ปวดแก้อักเสบ กลุ่ม NSAID เช่น arcoxia celebrex brufen เป็นต้น ยากลุ่มสเตียรอยด์ ซึ่งแพทย์สั่งหรือซื้อกินเอง ยาเสพติด เช่น โคเคน ยาบ้า ยาแก้หวัด (Psuedoephredine) และยาคุมกำเนิด โรคที่พบบ่อย คือ โรคไต อาจมีอาการปวดหลัง ร่วมกับปัสสาวะเป็นฟอง เป็นสีน้ำล้างเนื้อ ขาหรือเท้าหลังบวม สามารถตรวจเลือดและปัสสาวะวินิจฉัยได้ อีกโรคที่ไม่ควรมองข้าม คือ โรคทางเดินหายใจอุดกั้นเวลานอน (Obstuctive sleep apnea) อย่าคิดว่านอนกรนไม่อันตราย ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ คาร์บอนไดออกไซด์คั่งทำให้ร่างกายหลั่งสารต่างๆเพิ่มความดันโลหิต นานๆเข้าเป็นสาเหตุให้ความดันโลหิตสูง และกล้ามเนื้อหัวใจห้องขวาล่างหนาตัวได้ หากใครมีนอนกรน หยุดหายใจเป้นพักๆ ปวดศีรษะยามเช้า ง่วงนอนกลางวัน แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง หู คอ จมูก ความดันโลหิตสูงจากโรคกลุ่มฮอร์โมน เกิดจากฮอร์โมนหลายชนิดซึ่งมีผลต่อความดันโลหิต เมื่อปริมาณฮอร์โมนมากขึ้นผิดปกติ จึงเป็นเหตุให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ โรคกลุ่มนี้พบไม่บ่อย มักเกิดจากเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งผลิตฮอร์โมนมากขึ้น เช่น เนื้องอกต่อมหมวกไต เนื้องอกต่อมใต้สมอง หรือเนื้องอกปมประสาทของระบบประสาทอัตโนมัติ บางโรคสามารถรักษาโดยการผ่าตัดก้อนเนื้องอกออก ทำให้ความดันโลหิตลดลง สามารถลดหรือหยุดยาความดันโลหิตได้ โรคกลุ่มนี้ ได้แก่ ต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมน Aldoseterone เกิน ทำให้ไตเก็บเกลือโซเดียมและน้ำไว้ในร่างกายและขับเกลือแร่โปแตสเซียมไปทางปัสสาวะ บางรายจึงมีโปแตสเซียมในเลือดต่ำ มีอาการกล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงเป็นๆหายๆ ในคนที่ไม่มีอาการและไม่เคยตรวจระดับโปแตสเซียมในเลือดอาจไม่ได้รับการวินิจฉัย สามารถตรวจโดยวัดระดับฮอร์โมนในเลือด เนื้องอกของระบบประสาทอัตโนมัติหลั่งสารกลุ่ม Adrenaline หรือโรค Pheochrmocytoma นึกถึงเวลาตื่นเต้น ตกใจ กลัว เครียด แล้วมีอาการใจสั่น เหงื่อแตก หน้าซีด จะเป็นลม แต่ในโรคนี้อาการเป็นพร้อมๆกัน โดยไม่มีเหตุกระตุ้น ปวดศีรษะ ใจสั่น หน้าซีด เป็นพักๆ สามารถวินิจฉัยได้โดยตรวจสารในปัสสาวะ ซึ่งต้องใช้ปัสสาวะทั้งวัน ฮอร์โมนสเตียรอยด์เกิน หรือโรค Cushing’s Syndrome มีอาการน้ำหนักขึ้น อ้วนช่วงลำตัว แก้มป่อง แก้มแดง ผิวบางเป็นจ้ำง่าย ท้องแตกลายสีม่วงแดง กล้ามเนื้อต้นแขนต้นขาอ่อนแรง เป็นต้น สามารถตรวจเลือดหรือปัสสาวะวินิจฉัยได้ โรคไทรอยด์ ทั้งไทรอยด์เป็นพิษและไทรอยด์ต่ำ ทำให้คามดันโลหิตสูงได้ กลุ่มโรคสุดท้าย คือกลุ่มโรคหลอดเลือดแดง เช่น หลอดเลือดแดงไตตีบ หากเป็นข้างเดียว การทำงานไตยังปกติ ไม่มีอาการทางปัสสาวะ แต่ไตข้างที่เลือดไปเลี้ยงลดลง ปล่อยสาร renin ทำให้หลอดเลือดหดตัวและความดันโลหิตสูงได้ วินิจฉัยได้โดยการอัลตร้าซาวนด์หลอดเลือดแดงไต โรคหลอดเลือดแดงใหญ่แคบ (Coarctation of the aorta) ทำให้ความดันโลหิตที่แขนสูงกว่าความดันโลหิตที่ขา โรคหลอดเลือดแดงอักเสบ Takayasu’s arteritis ทำให้ความดันโลหิตที่แขนสองข้างต่างกันมาก หากสงสัยควรตรวจวัดความดันโลหิตที่แขน ขาทั้งสองข้าง การทำเอกซเรย์หลอดเลือดแดงเพิ่มเติมสามารถวินิจฉัยได้ อย่าลืมว่าคนอายุน้อยที่เป็นความดันโลหิตสูงกลุ่มใหญ่กว่า 90-95% ไม่พบโรคที่กล่าวมาข้างต้น แต่ก็ยังรักษาได้ โดยการลดน้ำหนักลง 5-10% ออกกำลังกายแอโรบิก 30 นาที อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์

Read More »

การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช

Read More »

Office Syndrome

Read More »

กินอย่างไรห่างไกลความเครียด

Read More »

คำถามจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมสัมมนา “ไวรัสตับอักเสบ B และ C โรคร้ายที่คุณไม่ควรมองข้าม”

คำถามจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมสัมมนา “ไวรัสตับอักเสบ B และ C โรคร้ายที่คุณไม่ควรมองข้าม” วันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2556 ณ ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ 1. ปริมาณยาที่ทานจำนวนเท่าใดถึงจะส่งผลต่อตับ ตอบ ขึ้นอยู่กับชนิดของยา แต่แนะนำให้ทานตามฉลากยาหรือคำแนะนำของแพทย์ 2. การรับประทานอาหารที่ทำจากตับสัตว์ จะมีโทษต่อร่างกายหรือไม่ โดยเฉพาะเด็กเล็กที่รับประทานตับสด ตอบ การทานตับไม่มีโทษต่อร่างกายแต่ควรปรุงให้สุกก่อนทานค่ะ เพื่อลดการปนเปื้อนเชื้อโรคต่างๆ 3. มีภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบ B จะเป็นไวรัสตับอักเสบ C ได้ด้วยหรือไม่ ตอบ การมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบ B ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ C ค่ะ การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ C คือ หลีกเลี่ยงการรับเชื้อ ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน การสักตามตัว ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น 4. ไวรัสตับอักเสบ B ทำให้เป็นตับแข็งได้ด้วยหรือไม่ และถ้าเป็นต้องตรวจด้วยวิธีใดจึงจะทราบได้ว่าเป็นจริงๆและการตรวจเลือดจะพบหรือไม่ ตอบ สามารถทำให้เป็นตับแข็งได้ ควรตรวจติดตามอย่างต่อเนื่องด้วยกรเจาะเลือดและอัลตร้าซาวน์ 5. ขอทราบวิธีการดูแลเบื้องต้นเมื่อทราบว่าเป็นไวรัสตับอักเสบ B และไวรัสตับอักเสบ C ตอบ การดูแลเบื้องต้น คือควรมาพบแพทย์เพราะโรคทั้งสองโรคมีรายละเอียดในการรักษาแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน ควรมาพบแพทย์เพื่อได้รับคำอธิบายดีกว่า 6. วิธีการรักษาไวรัสตับอักเสบ B หายขาดหรือไม่ ตอบ โอกาสหายขาดน้อยแต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลตรวจเบื้องต้นของผู้ป่วยแต่ละราย 7. การสร้างน้ำดีของตับสัมพันธ์กับถุงน้ำดีอย่างไร คล้ายกับถุงน้ำดีไม่ได้สร้างน้ำดีใช้หรือไม่ครับ ตอบ น้ำดีสร้างที่ดับและจะถูกส่งไปเก็บกักที่ถุงน้ำดี 8. เรามีโอกาสได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ A B C พร้อมกันหรือไม่ ตอบ ไม่ เพราะไวรัส A ติดทางการกิน ไวรัส B ติดจากแม่สู่ลูก , ทางเลือด และทางเพศสัมพันธ์ ไวรัส C ติดจากแม่สู่ลูก ทางเลือด และทางเพศสัมพันธ์ 9. ยาฉีด Peg Interforon ที่ใช้ในการรักษาไวรัสตับอักเสบ B และ C มีผลข้างเคียงเหมือนกันใช่ไหม ตอบ ใช่ค่ะ เป็นยาชนิดเดียวกัน ในการรักษาวรัสตับอักเสบ B และ C 10. ยาชนิดใดบ้างที่ผู้ป่วยกินตลอดแล้วมีผลต่อตับ ตอบ ยาทุกชนิดที่ทานล้วนแล้วแต่ต้องผ่านกระบวนการดูดซึมและสลายที่ตับเพราะฉะนั้น เราควรทานตามข้อบ่งชี้และทานในขนาดที่กำหนด 11. เคยฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ B แล้ว แต่ภูมิคุ้มกันไม่ขึ้น ควรทำอย่างไร เพื่อให้มีภูมิคุ้มกัน ตอบ ควรมาตรวจดูก่อนว่ามีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B แบบแฝง หรือไม่ 12. ภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบ B จะอยู่ในร่างกายกี่ปี ตอบ ตลอดชีวิต 13. ญาติเป็นไวรัสตับอักเสบ B ชนิดเป็นพาหะ สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ ถ้าหายขาดแล้วจะเป็นอีกได้หรือไม่ และคนรอบข้างสามารถติดได้หรือไม่ จะมีวิธีป้องกันอย่างไร ตอบ โอกาสหายขาดจากไวรัสตับอักเสบบีน้อย แต่ควบคุมได้ วิธีการติดต่อ 1.ทางเลือด 2. ทางเพศสัมพันธ์ 3.จากแม่สู่ลูก การป้องกัน 1. ไม่ควรใช้ของมีคมร่วมกัน 2. แนะนำสำหรับคู่สมรสให้ไปตรวจเช็คภูมิไวรัสตับอักเสบบีก่อน ถ้ายังไม่มีภูมิก็ให้ฉีดวัคซีน 3. ก่อนมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้งควรสวมถุงยางอนามัย 4. ห้ามบริจากเลือดให้ผู้อื่น

Read More »

ความสำคัญของไต โรคไตวายเรื้อรังและการรักษา

ความสำคัญของไต โรคไตวายเรื้อรังและการรักษา นพ.วิรุฬห์ มาวิจักขณ์ Diplomate, American Board of Internal Medicine and Nephrology คนเราเกิดมามีไตอยู่ 2 ข้าง หน้าที่สำคัญของไต คือ การขับของเสียต่างๆ ที่อยู่ในร่างกายออกทางปัสสาวะ ทำให้เลือดและร่างกายคนเราสะอาด, ของเสียที่ไตต้องขับออกส่วนหนึ่งมาจากการเผาผลาญอาหารในร่างกาย และอีกส่วนหนึ่งมาจากการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ถ้าคนเราไม่มีไต หรือไตวายหยุดทำงาน ของเสียเหล่านี้จะคั่งค้างอยู่ในกระแสเลือดและในร่างกาย ทำให้เลือดและร่างกายสกปรก ในที่สุดอวัยวะต่างๆ ในร่างกายก็จะเป็นพิษ หยุดทำงานและเสียชีวิต หน้าที่ของไต นอกจากหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกายแล้ว ไตยังทำหน้าที่สำคัญๆ อื่นๆ ได้แก่ ควบคุมความดันโลหิต (คนไข้ไตไม่ดีจะมีความดันโลหิตสูง) ผลิตฮอร์โมน Erythropoietin ที่กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง (คนไข้โรคไตวายจะมีเลือดจาง เลือดน้อย ) ควมคุมปริมาณน้ำและระดับเกลือแร่ในร่างกาย (คนไข้โรคไตจะมีอาการบวม, เกลือแร่ผิดปกติ, ถ้าเกลือ โปแตสเซียมผิดปรกติจะทำให้หัวใจเต้นผิดปรกติ , เป็นอันตรายต่อชีวิตได้) ควบคุมความเป็นกรดด่างในร่างกาย (คนไข้โรคไตวายจะมีสภาพความเป็นกรดสูงมาก ทำให้อวัยะวะต่างๆ ในร่างกายทำงานผิดปรกติและเสียชีวิตได้) ควบคุมการสร้างวิตามินดี แคลเซียมและฟอสฟอรัส (คนไข้โรคไตวาย ขาดวิตามินดีทำให้แคลเซียมต่ำ , กระดูกเปราะบางพรุน) ภาวะไตวา่ย ถ้าเกิดภาวะไตวาย, ไตหยุดทำงาน ของเสียจะคั่งค้างในเลือดและในร่างกายมากๆ ผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร, คลื่นไส้, อาเจียน, อ่อนเพลีย, ซีดโลหิตจาง, คันตามตัว, มีจ้ำตามตัว, อาเจียนเป็นเลือด, ท้องเดิน, ความดันโลหิตสูง, หัวใจล้มเหลว, หัวใจเต้นผิดปรกติ, หายใจลำบาก, ไอเป็นเลือด, น้ำท่วมปอด, กระดูกเปราะบางหักง่าย, ปวดกระดูก, ถ้าของเสียค้างในสมองมากๆ จะมีอาการชักและสมองหยุดทำงาน นอกจากนี้ผู้ป่วยจะเป็นหมัน และหมดสมรรถภาพทางเพศ ถ้าเกิดโรคไตวายในเด็ก เด็กจะแคระแกร็นหยุดเจริญเติบโต สาเหตุของโรคไต สาเหตุของโรคไตที่พบบ่อยๆ คือ ไตวายจากโรคเบาหวาน ไตวายจากโรคความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง ไตวายจากโรคเก๊าท์และนิ่วในไต ไตวายจากโรคเนื้อเยื่อไตอักเสบ (Glomerulonephritis), โรค SLE, โรคไตวายเรื้อรังจากโรคบางโรค สามารถป้องกันได้แต่เนิ่นๆ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเก๊าท์ โรคนิ่วในไต ถ้าผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาควบคุมให้ดีก็จะลดโอกาสการเป็นโรคไตวายเรื้อรังได้ อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ไตวายถาวรแล้วไม่ว่าด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม ปัจจุบันนี้วงการแพทย์เราก็มีวิธีรักษาผู้ป่วยไตวายให้มีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ วิธีรักษาโรคไต วิธีรักษาโรคไตวายเรื้อรังมี 3 วิธี วิธีแรก คือการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) เป็นการนำเลือดของผู้ป่วยซึ่งมีของเสียคั่งค้าง ผ่านเข้าไปในเครื่องกรองเลือด ซึ่งจะกรองของเสียจากเลือดและนำเลือดที่ถูกกรองจนสะอาดแล้วกลับเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ต้องทำเป็นเวลา 3-5 ชม. และต้องทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง หลังฟอกเลือดแล้วผู้ป่วยจะมีเลือดที่สะอาด ร่างกายจะสดชื่นแข็งแรงขึ้น สามารถดำรงชีวิตได้เกือบเหมือนปรกติ แต่ต้องมาฟอกเลือดเป็นประจำตลอดไป วิธีที่สอง คือวิธีล้างช่องท้องด้วยน้ำยา (CAPD) วิธีนี้ผู้ป่วยจะต้องใส่น้ำยาเข้าไปในช่องท้องตนเอง ครั้งละ 2 ลิตร วันละ 4 ครั้งๆ ละ 4-8 ชม. ทุกๆ วัน ขณะที่น้ำยาอยู่ในช่องท้อง ของเสียต่างๆ ที่เป็นพิษคั่งค้างอยู่ในร่างกายจะซึมจากกระแสเลือดเข้าสู่น้ำยาในช่องท้อง เลือดก็จะสอาด ผู้ป่วยก็จะมีสภาพร่างกายที่สดชื่นแข็งแรงขึ้น แต่ต้องล้างช่องท้องเป็นประจำตลอดไป วิธีที่สาม คือการเปลี่ยนไตหรือปลูกถ่ายไต (Kidney Transplantation) เป็นวิธีการรักษาโรคไตวายเรื้อรังที่ดีที่สุด ไตที่นำมาปลูกใส่ให้กับผู้ป่วยอาจจะมาจากญาติ คือ พ่อแม่ พี่น้อง ลูก หลาน, ลุง, ป้า, น้า, อา หรือในบางกรณีมาจากสามี ภรรยา ที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยผู้บริจาคจะบริจาคไต 1 ข้าง ให้กับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง คนเราปรกติมีไต 2 ข้าง สามารถบริจาคไตให้ญาติพี่น้องได้ 1 ข้าง เหลือเพียง 1 ข้าง ก็สามารถดำรงชีวิตได้เหมือนคนปรกติ, อายุยืนเหมือนคนปรกติ ในกรณีที่ไม่มีญาติพี่น้องบริจาคไตให้ ผู้ป่วยจะต้องรอรับไตบริจาคจากผู้ป่วยอื่นที่เสียชีวิตอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ ซึ่งในประเทศไทย สภากาชาดจะเป็นผู้รับบริจาคและเป็นผู้จัดสรรไตอุบัติเหตุนี้ให้แก่คนไข้ไตวาย ปัจจุบันแพทย์ไทยเรามีความรู้ความสามารถในการผ่าตัดเปลี่ยนไตประสบผลสำเร็จได้ดีทัดเทียมกับต่างประเทศ ผู้ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยนไตสำเร็จแล้ว จะสามารถมีชีวิตยืนยาวและดำรงชีวิตด้วยคุณภาพที่ดี ประกอบอาชีพได้ ปัจจุบันมีผู้ป่วยคนไทยที่ได้รับการเปลี่ยนไตไปแล้วหลายพันคน หลายๆ สาขาอาชีพ เช่น ทหาร, ตำรวจ, แพทย์, ทันตแพทย์, วิศวกร, ทนายความ, ดารา, นักการเมือง , นักธุรกิจ ฯลฯ หลังเปลี่ยนไตผู้ป่วยสามารถตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรได้ สามารถทำประโยชน์ต่างๆ ให้สังคมได้เหมือนคนปกติ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ สถาบันปลูกถ่ายไต โรงพยาบาลพระรามเก้า 02-202-9999 ต่อ 2460

Read More »
Page1 Page2 Page3 Page4 Page5
Facebook-f Youtube Instagram
  • 1270
  • About Us
  • Medical center
  • Doctors
  • Make an Appointment
  • Knowledge
  • Package
  • News & Events
  • Privacy Policy
  • Investor
  • Sustainability
  • Work with Us
  • Contact Us
  • Terms and Conditions

Copyright © 2025. All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • Medical Center
  • แพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
  • About Us
  • Medical Center
  • Doctors
  • Room
  • Health Guru
    • Knowledge
    • Doctor’s Health Insights
  • Package
  • Contact Us