Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

ตรวจหูดีอย่างไร อาการแบบไหนบ้างที่ควรตรวจหู?

พญ.วรรนธนี อภิวัฒนเสวี

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 30 พฤศจิกายน 2023
การตรวจหูและการได้ยิน

หูเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำให้เราได้ยินเสียง ทั้งเสียงสนทนา และเสียงของสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อการสื่อสาร การใช้ชีวิตประจำวัน และการเรียนรู้ การสูญเสียการได้ยินสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัย ดังนั้นการตรวจหูจึงเป็นการตรวจที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาได้อย่างเหมาะสม เพราะหากปล่อยให้เป็นโรคทางหูอย่างเรื้อรัง จนเกิดการสูญเสียการได้ยิน จะทำให้ไม่อาจฟื้นฟูให้กลับมาเป็นปกติดังเดิมได้

สารบัญ

  • หูสำคัญอย่างไร?
  • ตรวจหูดูอะไรบ้าง?
  • ใครบ้างควรตรวจหู?
  • อาการที่ควรไปตรวจหู
  • การตรวจการได้ยินคืออะไร?
  • ตรวจการได้ยินทำอย่างไร?
  • สรุป

หูสำคัญอย่างไร?

การได้ยินเป็นจุดเริ่มต้นของการสื่อสารกับผู้คนรอบตัว หูจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยหูเป็นจุดเริ่มต้นในกระบวนการทางประสาทของการรับเสียง การเดินทางของเสียงเริ่มตั้งแต่ภายนอกสู่ภายใน ตามลำดับ โดยเริ่มจาก

  • ใบหูและช่องหู ทำหน้าที่รับและนำส่งคลื่นเสียงให้ตกกระทบบนเยื่อแก้วหู 
  • เยื่อแก้วหู ทำหน้าที่เป็นเหมือนหนังกลอง ส่งต่อการสั่นสะเทือนที่เกิดจากการกระทบของเสียงเข้าสู่หูชั้นกลาง 
  • หูชั้นกลาง ประกอบไปด้วยกระดูกขนาดเล็กสามชิ้น ทำหน้าที่ปรับขนาดคลื่น และส่งต่อไปยังหูชั้นใน
  • หูชั้นใน จะเปลี่ยนคลื่นความสั่นสะเทือนไปเป็นสัญญาณประสาท เข้าสู่สมอง
  • สมอง จะทำหน้าที่แปลเสียงที่ได้ยินเป็นคำที่มีความหมาย หรือแปลเสียงสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่ได้ยินให้เราเข้าใจเสียงนั้น ๆ ว่าคือเสียงอะไร 

ดังนั้นความผิดปกติไม่ว่าในส่วนใด ๆ ของหูจึงมีผลกระทบต่อการเดินทางของเสียง และทำให้การได้ยินลดลงจนอาจถึงขั้นหูหนวกได้ ความผิดปกติที่พบได้ เช่น ขี้หูอุดตันในช่องหู เยื่อแก้วหูทะลุ หูน้ำหนวกเรื้อรังจนกระดูกในหูชั้นกลางผิดรูป การเสื่อมของเซลล์ขนในหูชั้นในของผู้สูงอายุ ความพิการแต่กำเนิด เป็นต้น 

นอกจากนี้ ในส่วนของหูชั้นในยังมีอวัยวะอีกส่วนที่หน้าที่รับรู้ตำแหน่งของศีรษะ เช่น ตั้งตรง เอนซ้ายขวา ก้มเงย เคลื่อนที่หรือหยุดนิ่ง ซึ่งมีความสำคัญมากในการควบคุมการทรงตัว ดังนั้นหากเกิดความผิดปกติของหูชั้นในจะทำให้เกิดอาการเวียนหัวบ้านหมุนทรงตัวลำบากตามมาได้

> กลับสู่สารบัญ

ตรวจหูดูอะไรบ้าง?

การตรวจหูโดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยการตรวจ 2 ส่วน ได้แก่ 

  1. ตรวจช่องหู เป็นการตรวจดูลักษณะทางกายภาพของหู ตั้งแต่ใบหู ช่องหู จนถึงเยื่อบุแก้วหู โดยใช้อุปกรณ์เฉพาะส่องเข้าไปดูในช่องหูเพื่อตรวจหาความผิดปกติ เช่น การอักเสบหรือติดเชื้อ เยื่อแก้วหูทะลุ ขี้หูอุดตัน แมลงหรือสิ่งแปลกปลอมในหู เป็นต้น นอกจากนี้ การตรวจหูด้วยอุปกรณ์ที่มีกล้องจุลทรรศน์ในการขยายภาพ ก็จะช่วยทำให้เห็นลักษณะทางกายภาพได้ชัดเจน และตรวจได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น
  2. ตรวจการได้ยิน เป็นการตรวจประเมินการทำงานด้านการรับเสียงของหู ซึ่งจะดำเนินการโดยนักโสตสัมผัสวิทยา (audiologist)

> กลับสู่สารบัญ

ใครบ้างควรตรวจหู?

โรคทางหูสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ทั้งวัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ และวัยสูงอายุ ทุกคนจึงควรเข้ารับการตรวจหูเพื่อประเมินสุขภาพของหูอย่างสม่ำเสมอ 

  • ทารกขวบปีแรก ซึ่งเป็นการตรวจเพื่อคัดกรองภาวะหูหนวกและหากพบความผิดปกติ จะทำให้สามารถวางแผนการรักษาเพื่อแก้ไขความพิการแต่กำเนิด 
  • เด็กปฐมวัย ที่มีความเสี่ยงโรคหูน้ำหนวกเฉียบพลันและเรื้อรัง แมลงหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดในหู การบาดเจ็บจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือการติดเชื้อที่ส่งผลให้หูหนวกตามมาได้ เช่น หัด คางทูม และไข้สมองอักเสบ เป็นต้น 
  • วัยผู้ใหญ่ ที่ต้องเจอมลภาวะทางเสียงติดต่อกันเป็นเวลานานจากการทำงาน หรือมีพฤติกรรมการบริโภคหมูดิบซึ่งเสี่ยงต่อโรคไข้หูดับ
  • ผู้สูงอายุ ที่เริ่มมีความเสื่อมทางการได้ยิน ทำให้มีอาการหูตึง

> กลับสู่สารบัญ

อาการที่ควรไปตรวจหู

อาการที่ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหู มีดังนี้

  • ปวดหู
  • มีของเหลว หนอง หรือเลือดไหลออกมาจากหู
  • ไม่ได้ยินเสียงจากหูข้างใดข้างหนึ่งอย่างเฉียบพลัน
  • หูอื้อ
  • มีเสียงดังในหู
  • เวียนหัวหรือบ้านหมุน
  • ฟังเสียงพูดไม่ออก
  • มีไข้ร่วมกับมีอาการปวดหูและไม่ได้ยินเสียงอย่างเฉียบพลัน

ในกรณีเด็กเล็ก ตัวเด็กเองมักไม่สามารถบอกได้ว่าการได้ยินลดลง ผู้ดูแลควรสังเกตพฤติกรรมการได้ยินที่ผิดปกติไป เช่น ไม่ตอบสนองต่อเสียงเรียก พูดตอบเสียงดังมาก ต้องปรับระดับเสียงให้ดังมากถึงจะได้ยิน เวลาคุยด้วยมักถูกขอให้พูดซ้ำ เป็นต้น

> กลับสู่สารบัญ

การตรวจการได้ยินคืออะไร?

การตรวจการได้ยินเป็นการประเมินการทำงานของหูด้านการรับเสียง ซึ่งเป็นการทดสอบการได้ยินเสียงโดยใช้ระดับความดังของเสียงในหน่วยเดซิเบล โดยผู้ทดสอบจะค่อย ๆ ปรับความดังของเสียงจนผู้ถูกทดสอบเริ่มได้ยินเสียง ซึ่งผู้ทดสอบจะบันทึกค่าระดับความดังแรกที่เริ่มได้ยิน ซึ่งค่าที่ได้นี้จะใช้ในการวินิจฉัยความผิดปกติของการได้ยิน และบ่งบอกระดับความรุนแรงของการสูญเสียการได้ยิน หากมีระดับสมรรถภาพการได้ยินเริ่มต้นที่ความดังเกินกว่า 25 เดซิเบล จะถือว่าเริ่มมีอาการหูตึงแล้ว

> กลับสู่สารบัญ

ตรวจการได้ยินทำอย่างไร?

โดยทั่วไป การตรวจการได้ยินมักจะประกอบไปด้วย 

  1. ตรวจสมรรถภาพการได้ยิน (audiometry) โดยการเปิดคลื่นเสียงในระดับความถี่และความดังที่ค่อย ๆ ไล่ระดับจากความถี่ต่ำไปความถี่สูง หรือความดังตั้งแต่ระดับน้อย ๆ ไปจนถึงระดับดังมาก ผู้รับการตรวจจะต้องกดปุ่มทุกครั้งที่ได้ยินเสียง ผลการตรวจจะออกมาเป็นกราฟออดิโอแกรม (audiogram) ที่แสดงระดับการได้ยินในคลื่นเสียงแต่ละความถี่ของหูแต่ละข้าง
  2. ตรวจหูชั้นกลาง (tympanometry) เป็นการตรวจจับการสั่นไหวของเยื่อแก้วหู ใช้ตรวจว่ามีของเหลวหรือหนองในหูชั้นกลางหรือไม่ 
  3. ตรวจการได้ยินบทสนทนา (speech perception test) เป็นการตรวจที่คล้ายกับการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน เพียงแต่เปลี่ยนจากคลื่นเสียง เป็นเสียงบทสนทนาพูดคุยที่พบได้ในชีวิตประจำวัน 

นอกจากนั้น ยังอาจมีการตรวจช่องหูด้วยกล้องจุลทรรศน์ และการให้บริการทำความสะอาดเพื่อสุขอนามัยที่ดีและปลอดภัยต่อเยื่อแก้วหู

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

หูเป็นอวัยวะสำคัญที่ไม่อาจมองข้าม เพราะมีส่วนในการสื่อสาร การเรียนรู้ การทำงาน รวมถึงการใช้ชีวิตการตรวจหูจะช่วยให้เราทราบถึงสุขภาพหู และหากพบความผิดปกติตั้งแต่ระยะแรก ๆ จะเป็นประโยชน์เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมและถูกต้อง เราทราบกันดีว่าการสูญเสียการได้ยินมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิต และยังส่งผลต่อสภาพจิตใจอีกด้วย เพราะการสูญเสียการได้ยินทำให้เราตัดขาดการสื่อสารกับคนรอบข้างซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจได้

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

สนใจนัดหมาย

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.วรรนธนี อภิวัฒนเสวี

พญ.วรรนธนี อภิวัฒนเสวี

ศูนย์หู คอ จมูก

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์หู คอ จมูก

ศูนย์หู คอ จมูก

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา