Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

ภาวะเลือดเป็นกรด DKA ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

พญ.ณัฐกานต์ มยุระสาคร

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 14 พฤศจิกายน 2021

ภาวะ DKA (Diabetic Ketoacidosis) หรือภาวะน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับเลือดเป็นกรด เป็นภาวะฉุกเฉินที่พบได้ในผู้ป่วยเบาหวาน  แต่เดิมพบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน(เบาหวานชนิดที่หนึ่ง) ปัจจุบันพบได้บ่อยขึ้นในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สอง ซึ่งเป็นผู้ป่วยกลุ่มใหญ่ของโรคเบาหวาน  ภาวะ DKA เป็นภาวะฉุกเฉินที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน ดังนั้นผู้ป่วยและคนใกล้ชิดควรทำความเข้าใจถึงภาวะนี้ อาการ ปัจจัยเสี่ยงและทราบถึงอันตราย เพื่อเตรียมตัวรับมือและหาแนวทางป้องกันที่เหมาะสมได้

New call-to-action

สารบัญ

  • ภาวะ DKA ( Diabetic ketoacidosis )คืออะไร
  • อาการที่บ่งชี้ว่ากำลังเกิดภาวะ DKA
  • ปัจจัยเสี่ยงของภาวะ DKA
  • กลไกการเกิดภาวะ DKA ในผู้ป่วยเบาหวาน
  • การป้องกันการเกิดภาวะ DKA
  • การรักษาภาวะ DKA
  • สรุป

ภาวะ DKA (Diabetic Ketoacidosis) คืออะไร

ภาวะ DKA  คือภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับภาวะเลือดเป็นกรดจากการที่มีสารคีโตนสะสมในเลือด

DKA คือ

>กลับสู่สารบัญ

อาการที่บ่งชี้ว่ากำลังเกิดภาวะ DKA

ผู้ป่วยจะมีอาการของน้ำตาลในเลือดสูง เช่น ปัสสาวะบ่อย คอแห้ง กระหายน้ำ  รวมกับ อาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง อ่อนเพลียไม่มีแรง หอบเหนื่อย ลมหายใจมีกลิ่นผลไม้ ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ หากเป็นมากขึ้นจะมีอาการสับสน อาจเกิดภาวะช็อค หมดสติ  และตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 250 มก. ต่อดล.  ต้องระวังในผู้ป่วยที่กินยาเบาหวานบางกลุ่มอาจเกิดภาวะ DKA ได้ที่ระดับน้ำตาลต่ำกว่า 250 มก. ต่อดล.

DKA ภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน

>กลับสู่สารบัญ

ปัจจัยเสี่ยงของภาวะ DKA

ภาวะ DKA เกิดจากปัจจัย 3 อย่าง รวมกัน ได้แก่

  1. ภาวะขาดฮอร์โมนอินซูลิน เช่น ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่หนึ่ง ตับอ่อนไม่หลั่งอินซูลิน หรือในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองที่เป็นโรคมานาน  ตับอ่อนหลั่งอินซูลินลดลง จำเป็นต้องฉีดอินซูลินเป็นประจำ เมื่อผู้ป่วยหยุดฉีดอินซูลิน อาจทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ DKA ได้
  2. มีภาวะเจ็บป่วยเฉียบพลันเกิดขึ้น เช่น การติดเชื้อ การผ่าตัด อุบัติเหตุ โรคร้ายแรง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือได้รับยาบางชนิดที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เช่น ยาสเตียรอยด์
  3. ขาดอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต คือ การได้รับอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลไม่เพียงพอ ซึ่งอาจพบได้ในภาวะ อาเจียน เบื่ออาหาร หรืองดน้ำงดอาหารเพื่อเตรียมตัวผ่าตัด

หากมีปัจจัย 3 อย่างร่วมกัน ผู้ป่วยและคนดูแล ควรหมั่นสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด

>กลับสู่สารบัญ

กลไกการเกิดภาวะ DKA ในผู้ป่วยเบาหวาน

เมื่อเกิดภาวะเครียดของร่างกายดังกล่าวข้างต้น กลไกของร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีฤทธิ์ตรงข้ามกับอินซูลิน เรียกว่า Counter-regulatory hormone เช่น  คอร์ติซอล  อะดรีนาลิน และกลูคากอน ฮอร์โมนเหล่านี้ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น โดยการเปลี่ยนไขมันเป็นน้ำตาล ซึ่งมีข้อดีทำให้ร่างกายได้พลังงานเพิ่มขึ้น แต่การเปลี่ยนไขมันเป็นน้ำตาลนี้ได้ของแถมเป็นสารคีโตน ซึ่งเมื่อคีโตนสะสมมาก ๆ ทำให้เลือดเป็นกรด เมื่อคีโตนคั่งทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย และหอบเหนื่อยดังกล่าวข้างต้น

>กลับสู่สารบัญ

New call-to-action

การป้องกันภาวะ DKA ในผู้ป่วยเบาหวาน

ผู้ป่วยเบาหวานจะมีข้อปฏิบัติยามมีอาการเจ็บป่วยเฉียบพลัน ( sick-day rules) เช่น มีไข้ คลื่นไส้ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะ DKA ได้แก่

  “พยายามกินคาร์โบไฮเดรต – ดื่มน้ำเปล่ามากขึ้น – อย่าหยุดยาฉีดอินซูลินเอง –ตรวจน้ำตาลบ่อยขึ้น –และมาโรงพยาบาลเมื่อไม่ดีขึ้น”

  1. กินคาร์โบไฮเดรต คือ แนะนำให้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก น้ำข้าวผสมเกลือเล็กน้อย แครกเกอร์ หรือขนมปัง  ถ้าไม่สามารถกินอาหารอ่อนได้  แนะนำให้กินอาหารเหลวที่มีคาร์โบไฮเดรตอย่างน้อย 50 กรัม ทุก 3 – 4 ชม. เช่น น้ำผลไม้หรือ
    โยเกิร์ต  ซุปข้น  เป็นต้น
  2. ดื่มน้ำมากขึ้น คือ ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพออย่างน้อย 1 แก้วทุก 1 ชั่วโมง  (สำหรับผู้ที่มีปัญหาโรคหัวใจหรือโรคไต ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับปริมาณน้ำที่เหมาะสม)
  3. ห้ามหยุดฉีดยาอินซูลินเอง โดยเฉพาะ basal หรือ long-acting insulin
  4. หมั่นตรวจน้ำตาลในเลือดบ่อยขึ้น ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่หนึ่ง แนะนำตรวจทุก 4 ชั่วโมง และในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สอง แนะนำตรวจอย่างน้อย 4 ครั้งต่อวัน (เช่น 3 เวลาก่อนอาหารทุกมื้อและก่อนนอน)
  5. งดออกกำลังกายและพักผ่อนให้มาก
  6. มาโรงพยาบาลทันทีเมื่อมีอาการเหล่านี้ ได้แก่
    • อาการของโรคร้ายแรง เช่น อาการแน่นหน้าอก ปากเบี้ยว แขนขาอ่อนแรง เป็นต้น
    • มีอาการป่วยหรือมีไข้ 2 วัน แล้วยังไม่ทุเลา
    • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องร่วง ไม่สามารถกินอาหารได้นานเกิน 6 ชั่วโมง
    • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหาร แล้วพบว่าสูงกว่า 240 มก./ดล.
    • มีอาการของภาวะขาดน้ำ เช่น ริมฝีปากแห้งแตก กระหายน้ำ หรืออาการรุนแรงขึ้น เช่น อ่อนเพลีย หอบเหนื่อย แน่นหน้าอก หายใจมีกลิ่นผลไม้  เป็นต้น
  7. ในกรณีที่ผู้ป่วยเบาหวานเตรียมตัวผ่าตัดหรือทำหัตถการ  เมื่อมีการงดน้ำงดอาหารควรปรึกษาแพทย์ เพื่อปรับยารับประทานบางตัวและยาฉีดอินซูลิน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะ DKA  และภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำขณะหรือหลังการทำหัตถการ
ผู้ป่วยเบาหวาน ป้องกันภาวะ DKA

>กลับสู่สารบัญ

การรักษาภาวะ DKA

ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลซึ่งมักเป็นหอผู้ป่วยวิกฤต (ICU)  การรักษา ได้แก่

  • ให้สารน้ำทดแทนทางหลอดเลือด
  • ให้ฮอร์โมนอินซูลินเพื่อแก้ภาวะอินซูลินไม่เพียงพอ
  • ให้เกลือแร่ที่จำเป็น และติดตามระดับอย่างใกล้ชิด
  • รักษาภาวะเจ็บป่วยที่เกิดร่วมด้วย เช่นยาปฏิชีวนะกรณีมีภาวะติดเชื้อ หรือรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น

ในการรักษาอาจพบภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะเกลือแร่โปแตสเซียมต่ำ  ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำภาวะน้ำเกิน น้ำท่วมปอด  ซึ่งมักเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รักษาได้ และเมื่อผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษา อาการจะดีขึ้นใน 12-24 ชั่วโมง ระดับน้ำตาลในเลือด และความเป็นกรดด่างกลับสู่สภาวะปกติ  แต่ในบางครั้งก็อาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ป่วยหายจากภาวะ DKA แพทย์จะวางแผนการรักษา ปรับยาและพฤติกรรม เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะ DKA อีกในอนาคต

>กลับสู่สารบัญ

สรุป

Diabetic ketoacidosis (DKA) เป็นภาวะน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับเลือดเป็นกรดจากสารคีโตน มักพบในผู้ป่วยเบาหวานที่ฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ และมีภาวะเครียดของร่างกาย โดยหากมีอาการแนะนำให้รีบพาผู้ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาล ดังนั้นผู้ป่วยและคนใกล้ชิดควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะ DKA การปฏิบัติตัวยามเจ็บป่วย และสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

New call-to-action

>กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.ณัฐกานต์ มยุระสาคร

พญ.ณัฐกานต์ มยุระสาคร

ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิก

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิค_1-1

ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิก

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา