Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

เบาหวาน รู้ไว้เบาใจกว่า

พญ.ณัฐกานต์ มยุระสาคร

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 6 กันยายน 2023
เบาหวาน รู้ไว้เบาใจกว่า

“เบาหวาน” โรคที่เราทุกคนเคยได้ยินชื่อและคุ้นเคยกับชื่อโรคนี้ดี จากข้อมูลของสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พบว่า ในปี 2564 ประเทศไทยมีผู้ป่วยเบาหวานมากกว่า 3.3 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 1.5 แสนคน คน จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่เราทุกคนก็อาจจะมีญาติหรือมีคนรู้จักที่กำลังเป็นโรคเบาหวาน

ข้อมูลสถิติที่น่าเป็นกังวล คือเมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี พ.ศ. 2560 ถึงปี 2564  พบว่า คนไทยป่วยเป็นเบาหวานมากขึ้น เฉลี่ยปีละ 300,000 คน และพบการป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นในทุกช่วงอายุ โดยจุดที่น่ากังวลคือ การเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยเบาหวานในวัยรุ่นและวัยทำงาน ซึ่งจะส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตและเพิ่มโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานตั้งแต่ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว

สนใจนัดหมายแพทย์

สารบัญ

  • โรคเบาหวานคืออะไร?
  • สาเหตุของโรคเบาหวาน
  • โรคเบาหวานมีกี่ชนิด?
  • ปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวาน
  • อาการของโรคเบาหวาน
  • การวินิจฉัยโรคเบาหวาน
  • การรักษาโรคเบาหวาน
  • ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
  • การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
  • อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
  • การป้องกันโรคเบาหวาน
  • สรุป

โรคเบาหวานคืออะไร?

เบาหวาน คือ โรคที่ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติอย่างต่อเนื่องเรื้อรัง ชื่อ “เบาหวาน” มาจากคำว่า “เบา” เป็นคำเก่าที่หมายถึง ปัสสาวะ รวมกับคำว่า “หวาน” เนื่องมาจากโรคนี้จะทำให้มีน้ำตาลรั่วออกมาในปัสสาวะ

> กลับสู่สารบัญ

สาเหตุของโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นโรคที่ร่างกายมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงอยู่เป็นเวลานานและต่อเนื่อง ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนที่หลั่งฮอร์โมน “อินซูลิน” ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หรือมีภาวะที่ร่างกายดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลินที่ตับ กล้ามเนื้อ และเซลล์ไขมัน ทำให้ฮอร์โมนอินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่ ทำให้ร่างกายมีปัญหาการเผาผลาญน้ำตาล

ฮอร์โมนอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่สำคัญ ทำหน้าที่กระตุ้นให้มีการนำน้ำตาลในกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์เนื้อเยื่อของร่างกาย เมื่อมีฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ หรือมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ก็จะทำให้ร่างกายไม่สามารถเก็บน้ำตาลออกจากเลือดเข้าสู่เนื้อเยื่อได้ ทำให้ระดับน้ำตาลค้างสูงอยู่ในเลือด

> กลับสู่สารบัญ

โรคเบาหวานมีกี่ชนิด?

โรคเบาหวานแบ่งตามสาเหตุการเกิดโรคได้เป็น  4 ชนิด คือ

  1. เบาหวานชนิดที่ 1: เกิดจากร่างกายขาดฮอร์โมนอินซูลิน เนื่องจากโรคแพ้ภูมิตนเอง ทำลายเบตาเซลล์ของตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลิน
  2. เบาหวานชนิดที่ 2: เป็นโรคเบาหวานที่ผู้ป่วยมีภาวะฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ รวมกับภาวะที่ร่างกายดื้อต่อฤทธิ์ของอินซูลิน ทำให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้น้อยลง ระดับน้ำตาลในเลือดจึงสูงขึ้น โดยผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดนี้มีมากกว่า 90% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด
  3. เบาหวานจากสาเหตุอื่น ๆ: เป็นโรคเบาหวานที่เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น เบาหวานชนิด MODY เบาหวานจากตับอ่อนอักเสบ เบาหวานที่เกิดจากยา เช่น สเตียรอยด์  เป็นต้น
  4. เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เป็นภาวะเบาหวานที่วินิจฉัยในไตรมาสที่สองและไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์

> กลับสู่สารบัญ

ปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวาน

เบาหวานทั้ง 4 ชนิดที่กล่าวไปข้างต้น มีกลไกการเกิดโรคที่แตกต่างกัน จึงทำให้มีปัจจัยเสี่ยงที่แตกต่างกันตามไปด้วย โดยในที่นี้จะกล่าวถึงปัจจัยเสี่ยงของเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ซึ่งพบได้บ่อย

ปัจจัยเสี่ยงของเบาหวานชนิดที่ 1

ปัจจัยเสี่ยงของเบาหวานชนิดที่ 1 ได้แก่    

  • พันธุกรรม
  • ความผิดปกติของยีนบางตัว
  • ประวัติภาวะแพ้ภูมิตนเอง
  • การติดเชื้อไวรัสบางชนิด

ปัจจัยเสี่ยงของเบาหวานชนิดที่ 2

ปัจจัยเสี่ยงของเบาหวานชนิดที่ 2 ได้แก่

  • ความอ้วน ไขมันพอกตับ
  • อายุที่มากขึ้นมาก
  • ประวัติเบาหวานในครอบครัว
  • ความดันเลือดสูง
  • มีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ดี เช่น ขาดการออกกำลังกาย ดื่มแอลกอฮอล์ ขาดการออกแรงขยับร่างกายในชีวิตประจำวัน หรือต้องทำงานมีลักษณะงานนั่งโต๊ะหรืองานที่ต้องนั่งหรือมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย

> กลับสู่สารบัญ

อาการของโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยเบาหวานในระยะแรกอาจไม่มีอาการที่แสดงให้เห็นชัดเจน อย่างไรก็ตามผู้ป่วยอาจมีอาการต่าง ๆ ดังนี้

  • ปัสสาวะบ่อย ต้องลุกมาปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยครั้ง
  • กระหายน้ำบ่อย แม้ว่าจะดื่มน้ำมากแล้วแต่ก็ยังรู้สึกหิวน้ำอยู่
  • หิวบ่อย เมื่อหิวแล้วจะรู้สึกหิวจัด
  • อ่อนเพลีย
  • น้ำหนักลดลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ
  • อาจวูบหมดสติจากภาวะน้ำตาลต่ำ หากไม่ได้รับประทานอาหาร
  • สายตาแย่ลง ตาพร่ามัว
  • ชาปลายมือปลายเท้า
  • เมื่อเป็นแผล แผลมักจะหายช้า
สนใจนัดหมายแพทย์

> กลับสู่สารบัญ

การวินิจฉัยโรคเบาหวาน

การวินิจฉัยโรคเบาหวานจะอาศัยผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นหลัก ประกอบกับการซักประวัติอาการของผู้ป่วย ซึ่งเกณฑ์การวินิจฉัยขึ้นกับวิธีการตรวจน้ำตาลในเลือดซึ่งมีอยู่หลายวิธี โดยการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานจะมีเกณฑ์ดังนี้

  1. ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง (fasting plasma glocose; FPG)
    – ค่าน้ำตาลปกติจะน้อยกว่า 100 มก./ดล.
    – ค่าน้ำตาลระหว่าง 100-125 มก./ดล. ถือเป็นภาวะที่มีความเสี่ยง หรือภาวะเบาหวานแฝง
    – ค่าน้ำตาลเกิน 126 มก./ดล. แสดงว่าเป็นโรคเบาหวาน
  1. ระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากทดสอบ oral glucose tolerance test; OGTT ทดสอบโดยให้ผู้ป่วยงดอาหารและเครื่องดื่มที่ให้พลังงานอย่างน้อย 8 ชั่วโมง แล้วให้ผู้ป่วยดื่มน้ำที่มีน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม แล้วตรวจค่าน้ำตาลหลังดื่มไปแล้ว 2 ชั่วโมง
    –
    ค่าน้ำตาลปกติจะต่ำกว่า 140 มก./ดล.
    – ค่าน้ำตาลระหว่าง 140-199 มก./ดล. จะอยู่ในเกณฑ์เสี่ยง หรือเรียกว่าเป็นเบาหวานแฝง
    – ค่าน้ำตาลเกิน 200 มก./ดล. ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน
  1. ระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c) เป็นค่าแสดงระดับน้ำตาลที่สะสมในเม็ดเลือดในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา โดยเป็นการวัดเปอร์เซ็นต์ของน้ำตาลที่จับกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง
    –
    ค่าน้ำตาลสะสมปกติจะน้อยกว่า 5.7%
    – ค่าน้ำตาลสะสมที่อยู่ระหว่าง 5.7-6.4% เป็นเบาหวานแฝงหรือมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานในโดยอนาคต ร้อยละ 10-25 ต่อปี
    – ถ้าค่าน้ำตาลสะสมมากกว่า 6.5% ขึ้นไปถือว่าเป็นโรคเบาหวาน
  1. การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ณ เวลาใดก็ได้ (random plasma glucose) โดยไม่ต้องมีการงดน้ำและอาหารก่อนตรวจ เพื่อวัดระดับน้ำตาลในเลือด และเพื่อนำค่าที่ได้ไปพิจารณาร่วมกับอาการของผู้ป่วย เช่น ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำบ่อย น้ำหนักลด โดยค่าน้ำตาลในเลือดที่มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 200 มก./ดล. บ่งชี้ว่าเป็นโรคเบาหวาน

ซึ่งการวินิจฉัยจะต้องทำโดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อผลการวินิจฉัยที่แม่นยำและถูกต้อง

> กลับสู่สารบัญ

การรักษาโรคเบาหวาน

เป้าหมายหลักของการรักษาเบาหวาน คือ การป้องกันภาวะแทรกซ้อน และฟื้นฟูกลไกการใช้น้ำตาลของร่างกาย

ซึ่งการรักษาประกอบด้วยการปรับพฤติกรรม (lifestyle modification) ได้แก่ การรับประทานอาหารที่เหมาะสม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ สามารถจัดการความเครียดได้

ยาเป็นตัวช่วยให้น้ำตาลลดลงสู่เป้าหมาย และช่วยลดโรคแทรกซ้อนได้ โดยยารักษาเบาหวานมีหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีการออกฤทธิ์ที่ต่างกัน เช่น เพิ่มการหลั่งอินซูลิน เพิ่มการตอบสนองต่ออินซูลินโดยไปลดภาวะดื้ออินซูลิน เป็นต้น ปัจจุบันมียากลุ่มใหม่ๆ ช่วยลดน้ำหนักตัว และภาวะแทรกซ้อนของเบาหวาน มีทั้งชนิดยากิน และยาฉีด แต่หากการการดำเนินของโรคแย่ลงมากจนร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ ก็จำเป็นที่จะต้องใช้ยาฉีดอินซูลินในการรักษา

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่มาช่วยผู้ป่วยเบาหวาน เช่น insulin pump เครื่องปล่อยอินซูลินเข้าสู่ร่างกาย และ CGM continuous glucose monitoring เครื่องตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่อง เพื่อติดตามระดับน้ำตาลอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาแบบเรียลไทม์ ทำให้ตัวผู้ป่วยสามารถทราบระดับน้ำตาลของตนเอง และทำให้แพทย์วางแผนการรักษาได้ดีขึ้นด้ว

ซึ่งการรักษาเบาหวานแพทย์จะพิจารณาการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อผลการรักษาที่ดีที่สุด

> กลับสู่สารบัญ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน

การปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน จะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย อาจทำให้พิการ หรือรุนแรงจนถึงเสียชีวิตได้ ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ได้แก่

  • โรคไตวายเรื้อรัง เบาหวานเป็นสาเหตุหลักของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่จำเป็นต้องบำบัดทดแทนไต หรือฟอกไต
  • ภาวะเบาหวานขึ้นตา (diabetic retinopathy) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการสูญเสียการมองเห็น
  • ภาวะปลายประสาทเสื่อม ทำให้รู้สึกชาที่ปลายมือปลายเท้า ไม่รู้สึกเจ็บที่เท้า หรือที่เรียกว่า เบาหวานลงเท้า อาการชาจะทำให้เกิดแผลได้โดยไม่รู้ตัว และแผลมักจะหายช้าและติดเชื้อได้ง่ายและมักลุกลามรุนแรง จนอาจต้องสญเสียขาหรือเท้า หรืออาการปวดแสบปวดร้อนเท้า ทำให้คุณภาพชีวิตลดลงมาก
  • การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันลดลง ทำให้เสี่ยงเกิดการติดเชื้อที่รุนแรงมากกว่าคนปกติ
  • ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ เช่น  ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำซึ่งจะทำให้หมดสติ หรือภาวะน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับเลือดเป็นกรด (diabetic ketoacidosis; DKA) หรือภาวะน้ำตาลสูงร่วมกับความเข้มข้นเลือดสูง ( Hyperosmolar coma ) ซึ่งอาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ โดยเฉพาะถ้ามีโรคร่วม ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ มีประวัติในครอบครัวโรคหลอดเลือดตีบ
  • โรคหลอดเลือดสมองหรืออัมพฤกษ์อัมพาต
  • โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน  ซึ่งเป็นสาเหตุที่แผลที่เท้าหายช้า และสูญเสียขาหรือเท้าได้

> กลับสู่สารบัญ

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

  • รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง
  • พบแพทย์ตามนัด เพื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ  เช่น ตรวจจอประสาทตา ตรวจปัสสาวะดูโปรตีนรั่ว (microalbumin ) ค่าเลือดการทำงานไต ตรวจการรับความรู้สึกเท้าด้วย monofilament และฉีดวัคซีนประจำปี เพื่อลดโอกาสเกิดการติดเชื้อที่รุนแรง
  • หากมีภาวะอ้วน ควรลดน้ำหนักตัวลงร้อยละ 5-10 ช่วยให้ระดับน้ำตาล และปัจจัยเสี่ยงต่างๆลดลง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอโดย ออกกำลังกายแบบแอโรบิกความแรงปานกลาง 150 นาทีค่อสัปดาห์ โดยแบ่ง 3-5 วัน เช่น เดิน วิ่ง ว่ายน้ำ  ปั่นจักรยาน โยคะ ไทเก๊ก  เป็นต้น และออกกำลังกายสร้างกล้ามเนื้อ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
  • ลดการนั่งนิ่ง ๆ นาน ๆ เช่น ลุกยืนขยับตัวบ้าง หมั่นเปลี่ยนอิริยาบถ อาจจะลุกเปลี่ยนอริยาบถทุก ๆ 30 นาที
  • รับประทานอาหารเหมาะสมทั้งชนิดและปริมาณ ไม่จำกัดแค่หมวดคาร์โบไฮเดรต หมายรวม โปรตีน ไขมัน ผัก ผลไม้ ที่เหมาะสม  อาหารที่มีไฟเบอร์สูง  
  • ลดการบริโภคน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว เช่น เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ข้าวขาว ข้าวเหนียว ขนมหวาน ไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เกลือ ผงชูรส อาหารแปรรูป อาหารหมักดอง เป็นต้น
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • งดสูบบุหรี่ รวมถึงบุหรี่ไฟฟ้า
  • ดูแลทำความสะอาดเท้า ทาโลชั่นให้ผิวหนังที่เท้าชุ่มชื้น ใส่ถุงเท้าและรองเท้าป้องกันอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เป็นแผลได้ง่าย ตัดเล็บอย่างระมัดระวัง และหากเป็นเล็บขบควรรับการรักษาที่โรงพยาบาล
  • รู้จักภาวะฉุกเฉินของโรคเบาหวาน อาการและวิธีแก้ไขเบื้องต้น เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และการดูแลตนเองยามเจ็บป่วยเฉียบพลัน (sick day rule) การปฏิบัติตัวในเวลาพิเศษ เช่น เดินทาง หรือถือศีลอด
  • หมั่นสังเกตและดูแลระดับน้ำตาลของตนเอง ซึ่งผู้ป่วยอาจต้องมีการวัดระดับน้ำตาลที่ปลายนิ้วเพื่อติดตามระดับน้ำตาลของตนเอง หรือบางคนอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่อง เพื่อติดตามระดับน้ำตาลอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาตามคำแนะนำของแพทย์
  • เข้าใจยาที่ใช้รักษา ผลข้างเคียง  ปฏิกริยาระหว่างยา (drug interaction) ไม่ควรปรับยาด้วยตนเอง
  • นอนหลับพักผ่อน 6-8 ชั่วโมงต่อวัน รู้วิธีผ่อนคลาย จัดการความเครียด หากสังเกตตนเองวิตกกังวล หรือหดหู่ผิดปกติควรปรึกษาคนใกล้ชิดหรือแพทย์

> กลับสู่สารบัญ

อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานจำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จึงต้องเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม โดยเป้าหมายของการควบคุมอาหารในผู้ป่วยเบาหวานคือ

  1. รักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติหรือใกล้เคียงปกติ
  2. รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม ลดภาวะอ้วน
  3. รักษาโรคร่วม เช่น ความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง ไขมันพอกตับ ตับอักเสบ โรคเก๊าท์ โรคไตวายเรื้อรัง ภาวะโปรตีนรั่วในปัสสาวะ เป็นต้น
  4. รับประทานอาหารให้มีคุณค่าสารอาหารครบถ้วน

โดยมีหลักการในการเลือกรับประทานอาหารคือ

  • เลือกรับประทานอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่มีเส้นใยสูง เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท
  • รับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง ได้แก่ ผัก และผลไม้ โดยเลือดชนิดผลไม้ที่ไม่หวานจัด และรับประทานในปริมาณพอเหมาะ
  • ลดอาหารน้ำตาลเชิงเดี่ยว เช่น เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล น้ำผลไม้ ขนมหวาน เป็นต้น
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันดี เช่น ปลาทะเล ถั่วเปลือกแข็ง อาโวคาโด น้ำมันมะกอก  งดไขมันทรานส์ เช่น ครีมเทียม มายองเนส เบเกอรี่ต่างๆ อาหารทอดกรอบ ลดไขมันอิ่มตัว เช่น ไขมันสัตว์ นมและผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันสูง น้ำมันปาล์ม และกะทิ  ควบคุมปริมาณอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น หอย ปลาหมึก กุ้ง ไข่แดง เป็นต้น
  • เลือกรับประทานอาหารที่รสไม่จัด ไม่ปรุงเค็ม ลดการบริโภคผงชูรส อาหารแปรรูป อาหารที่ใส่สารกันบูด

> กลับสู่สารบัญ

การป้องกันโรคเบาหวาน

  • รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง
  • รับประทานอาหารที่มีไขมันที่ดี เช่น ถั่วลิสง อัลมอนต์ ปลาแซลมอน ปลาทูน่า น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันมะกอก เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เช่น เค็มจัด หวานจัด
  • ออกกำลังสม่ำเสมอ
  • ควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้มีภาวะอ้วน
  • หลีกเลี่ยงความเครียด
  • นอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ไม่สูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮล์
  • ตรวจสุขภาพประจำปี
  • หากพบว่าเริ่มมีระดับน้ำตาลสูงแต่ยังไม่เป็นโรคเบาหวาน ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

เบาหวานเป็นโรคที่พบได้บ่อยซึ่งเกิดจากความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน หรือมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมออาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน หรือเกิดโรคอื่น ๆ ตามมาได้ ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เป็นโรคเบาหวานน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด แต่หากป่วยเป็นโรคเบาหวานแล้วก็ต้องปรับพฤติกรรม รวมถึงรับประทานอาหารให้เหมาะสม เพื่อรักษาระดับน้ำตาลและโรคร่วมให้ปกติ และเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดตามมาได้

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

สนใจนัดหมายแพทย์

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.ณัฐกานต์ มยุระสาคร

พญ.ณัฐกานต์ มยุระสาคร

ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิก

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิค_1-1

ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิก

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา