Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

ไข้เลือดออก…ภัยร้ายที่มากับหน้าฝน

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 29 กุมภาพันธ์ 2024
ไข้เลือดออก

เมื่อพูดถึง “ฝน” ทุกคนก็จะนึกถึงผลกระทบที่ตามมาอีกหลายอย่าง น้ำท่วมขัง เป็นแหล่งกำเนิดชั้นดีที่ก่อให้เกิด ยุง เพราะยุงเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออกซึ่งเป็นที่รู้จักกันมานาน สามารถทำให้เกิดโรคได้ในทุกเพศทุกวัยและพบได้บ่อยในเด็ก

โรคไข้เลือดออก มักมีการระบาดมากในช่วงฤดูฝน โดยในปี พ.ศ. 2566 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกในไทยเกือบ 40,000 ราย โดยพบในวัยทำงานมากที่สุด คือช่วงอายุ 25-34 ปี ซึ่งอาการเเรกเริ่มคล้ายกับโรคโควิด 19 เเละไข้หวัดใหญ่ ดังนั้นบางครั้งทำให้เกิดสับสนว่าอาการเป็นไข้นั้นใช่อาการของโรคไข้เลือดออกหรือไม่ และในปัจจุบันโรคไข้เลือดออกยังไม่มียารักษาเฉพาะ การรักษาเป็นการรักษาตามอาการเเละหากมีอาการรุนเเรงก็อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

สารบัญ

  • โรคไข้เลือดออก (dengue hemorrhagic fever)
  • สาเหตุของไข้เลือดออก
  • อาการของไข้เลือดออก
  • ไข้เลือดออกมีระยะฟักตัวกี่วัน
  • ไข้เลือดออกติดต่อได้หรือไม่?
  • โรคไข้เลือดออกวินิจฉัยอย่างไร?
  • โรคไข้เลือดออก มีเกล็ดเลือดเท่าไหร่ที่อยู่ในภาวะอันตราย
  • ไข้เลือดออกรักษาอย่างไร?
  • เป็นไข้เลือดออกกี่วันหาย?
  • การป้องกันโรคไข้เลือดออก
  • สรุป

โรคไข้เลือดออก (dengue hemorrhagic fever)

โรคไข้เลือดออก คือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี มียุงเป็นพาหะนำโรค โดยชื่อของโรคมาจากอาการหลังมีการติดเชื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการมีไข้สูง และทำให้ร่างกายมีภาวะเลือดออกง่าย เนื่องจากเชื้อไวรัสจะทำให้เกล็ดเลือดในร่างกายต่ำลง ทำให้เลือดออกได้ง่ายทั้งในอวัยวะภายใน ตามผิวหนัง ตามเหงือกและไรฟัน ซึ่งหากอาการรุนแรงจนมีเลือดออกมาก ผู้ป่วยอาจมีอาการช็อกและเสียชีวิตได้

> กลับสู่สารบัญ

สาเหตุของไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (dengue virus) ที่มีพาหะนำโรคคือ “ยุงลาย” นำเชื้อไวรัสจากคนไปสู่คน โดยเฉพาะยุงลายตัวเมียที่ชอบหากินในเวลากลางวัน โดยไข้เลือดออกมีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ คือ DENV-1, DENV-2, DENV-3 และ DENV-4 ซึ่งหากเคยได้รับการติดเชื้อในครั้งแรกแล้ว ร่างกายจะมีการจดจำเชื้อไวรัสเดงกีสายพันธุ์ที่เคยเป็นเอาไว้ เเละหากได้รับเชื้อคนละสายพันธุ์กับการเป็นไข้เลือดออกในครั้งที่สอง ร่างกายจะไม่สามารถทำลายเชื้อได้ทำให้เกิดอาการที่มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

> กลับสู่สารบัญ

อาการของไข้เลือดออก

โดยทั่วไปไข้เลือดออกจะมีอาการน้อยหรือแทบไม่มีอาการเลย โดยจะพบอาการเบื้องต้นดังนี้

  • มีไข้สูง อาจสูงได้ถึง 40 องศาเซลเซียส
  • ปวดศีรษะเเละปวดรอบดวงตา
  • ปวดตามข้อต่อเเละกล้ามเนื้อ ซึ่งมีอาการปวดรุนเเรงมากคล้ายกระดูกหัก
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ต่อมน้ำเหลืองโต
  • มีผื่นแดง เเละอาจมีอาการคัน

แต่ในผู้ป่วยบางรายที่อาการรุนแรงอาจพบอาการ เช่น 

  • ปวดท้องรุนเเรง
  • หายใจ หอบเหนื่อย
  • มีอาการอาเจียนต่อเนื่องรุนเเรง
  • อาเจียน หรือถ่ายเป็นเลือด
  • อ่อนเเรง มีอาการซีด มือเท้าเย็น
  • มีอาการกระหายน้ำอย่างมาก
  • ชีพจรเบาลง หรือมีอาการช็อก

หากมีอาการดังกล่าวควรรีบเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน

> กลับสู่สารบัญ

ไข้เลือดออกมีระยะฟักตัวกี่วัน

เชื้อไข้เลือดออกมีระยะฟักตัวในยุงประมาณ 8-12 วัน เเล้วหลังจากนั้นเมื่อยุงไปกัดคน เชื้อก็จะเข้าสู่กระแสเลือด ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการแสดง 4-10 วันภายหลังการรับเชื้อ หรืออาจเริ่มมีอาการรุนเเรงในช่วง 2-7 วันหลังไข้ลดลง ซึ่งในระยะอาการรุนแรงหลังจากที่ไข้ลดลงนี้ ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกง่าย ดังนั้นควรหมั่นสังเกตอาการ และหลีกเลี่ยงปัจจัยความเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกง่าย และหากอาการรุนแรงต้องนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที

> กลับสู่สารบัญ

ไข้เลือดออกติดต่อได้หรือไม่?

ไข้เลือดออกสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้โดยมียุงเป็นพาหะ คือ เมื่อยุงกัดผู้ที่มีเชื้อไข้เลือดออกก็จะรับเชื้อไข้เลือดออกมา เเล้วก็จะสามารถเเพร่เชื้อให้คนที่ยุงกัดต่อ ๆ ไปได้

> กลับสู่สารบัญ

โรคไข้เลือดออกวินิจฉัยอย่างไร?

  • ไข้เลือดออกสามารถตรวจวินิจฉัยด้วยการซักประวัติ การตรวจร่างกาย เเละอาการแสดงโดยเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 
  • ตรวจวินิจฉัยโดยการเจาะเลือด เพื่อดูปริมาณเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เเละเกล็ดเลือด ในกรณีที่ได้รับเชื้อไข้เลือดออกจะมีปริมาณเกล็ดเลือดลดต่ำลง
  • การวินิจฉัยโดยตรวจหาเชื้อไข้เลือดออก (NS-1 antigen) หรือการตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อไวรัสไข้เลือดออก(dDengue IgM)

> กลับสู่สารบัญ

โรคไข้เลือดออก มีเกล็ดเลือดเท่าไหร่ที่อยู่ในภาวะอันตราย

ไข้เลือดออกจะทำให้เกล็ดเลือดลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว หากลดลงต่ำกว่า 100,000 ตัว/ลบ.มม. ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกในอวัยวะภายใน เเละอาจมีอาการรุนเเรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

> กลับสู่สารบัญ

ไข้เลือดออกรักษาอย่างไร?

ไข้เลือดออกยังไม่มียารักษาเฉพาะ โดยทั่วไปจะรักษาตามอาการร่วมกับการให้ยาลดไข้เเละอาการปวด โดยใช้ยา พาราเซตามอล เเละหลีกเลี่ยงยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs เช่น ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) เเละ ยาเเอสไพริน (aspirin) เนื่องจากสามารถทำให้มีความเสี่ยงให้เลือดออกมากขึ้น เเละทำให้อาการแย่ลง ในเด็กเล็กผู้ปกครองควรเช็ดตัวลดไข้ร่วมด้วย เพื่อป้องกันการชักในเด็ก

หากสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก ควรรีบพบเเพทย์เพื่อตรวจร่างกาย เเละวินิจฉัยอย่างละเอียด โดยเเพทย์จะเจาะเลือดเพื่อติดตามดูปริมาณเกล็ดเลือดอย่างต่อเนื่อง เพราะหากเป็นไข้เลือดออกครั้งที่ 2 โดยติดเชื้อคนละสายพันธุ์กับครั้งเเรก อาการจะรุนเเรงเเละเกล็ดเลือดลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว ทำให้มีเลือดออกบริเวณอวัยวะภายใน และอาจรุนเเรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

> กลับสู่สารบัญ

เป็นไข้เลือดออกกี่วันหาย?

ไข้เลือดออกสามารถหายได้เองภายใน 7-14 วัน ในกรณีที่ไม่มีอาการรุนเเรงเเละเป็นการติดเชื้อครั้งเเรก

เเต่จำเป็นต้องสังเกตอาการอย่างละเอียดภายหลังไข้ลดลง เพราะอาจพบอาการรุนเเรงขึ้นได้

> กลับสู่สารบัญ

การป้องกันโรคไข้เลือดออก

  • การป้องกันที่ดีที่สุด คือป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด โดยต้องกำจัดพาหะนำโรคด้วยการคว่ำภาชนะหรือปิดฝาภาชนะต่าง ๆ จะช่วยป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่เเละเเพร่พันธุ์ได้
  • ป้องกันตนเองไม่ให้โดนยุงกัด ควรใส่เสื้อผ้าที่มิดชิด นอนกางมุ้ง หรือใช้ยาทากันยุง
  • การป้องกันโดยการฉีดวัคซีนไข้เลือดออก ซึ่งจะเหมาะกับผู้ที่เคยมีประวัติเป็นไข้เลือดออกมาเเล้ว เพราะจะช่วยป้องกันการติดเชื้อซ้ำ เเละช่วยลดอาการไม่ให้รุนเเรงหากติดเชื้อในครั้งที่สอง โดยสามารถฉีดได้ในผู้ที่อายุ 9-45 ปี  ซึ่งในเข้าการฉีดวัคซีนควรปรึกษาแพทย์เพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุดของวัคซีน

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

ไข้เลือดออกเป็นโรคที่มักพบการเเพร่ระบาดในฤดูฝน โดยปกติผู้ป่วยมักมีอาการไม่รุนเเรง เเต่จะมีอาการรุนเเรงในกรณีติดเชื้อครั้งที่สอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการติดเชื้อคนละสายพันธุ์กับครั้งเเรก 

การป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้ยุงกัด เเละการฉีดวัคซีนไข้เลือดออกซึ่งจะเหมาะสำหรับผู้ที่เคยมีประวัติเป็นไข้เลือดออกมาก่อน โดยวัคซีนจะช่วยลดการติดเชื้อซ้ำเเละลดอาการรุนเเรง

หากมีอาการที่เข้าได้ หรือสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออกควรรีบพบเเพทย์เพื่อตรวจรักษาอย่างละเอียด เนื่องจากอาจมีอาการรุนเเรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้

คลิกดูแพ็กเกจที่เกี่ยวข้องที่นี่

แพ็คเกจวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก 2 เข็ม (QDENGA VACCINE)

รายละเอียด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

สนใจนัดหมาย

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา