Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

โควิด-19 ในผู้ป่วยโรคไต อันตรายกว่าคนทั่วไป

พญ.ผ่องพรรณ ทานาค

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 21 กุมภาพันธ์ 2024
โควิด-19 ในผู้ป่วยโรคไต

ไวรัสโควิด-19 มีการระบาดมาตั้งแต่ปลายปี 2019 และยังคงมีการระบาดมาจนถึงปัจจุบัน โดยไวรัสโควิด-19 มีการพัฒนาและกลายพันธุ์ จนปัจจุบันเป็นสายพันธุ์โอมิครอนซึ่งสามารถติดต่อได้ง่ายขึ้น และอาการมักไม่รุนแรงในผู้ที่สุขภาพแข็งแรง แต่ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือกลุ่มที่เรียกว่า “กลุ่ม 608” ซึ่งหมายถึง กลุ่มผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคไตวายเรื้อรัง เป็นกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังเพราะหากเป็นโควิด อาจมีอาการรุนแรง ถึงขั้นเสียชีวิตได้ ทั้งนี้หากผู้ป่วยกลุ่มนี้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ที่มีความรุนแรงก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นไปอีก

ผู้ป่วยโรคไตเป็นผู้ป่วยที่จัดอยู่ในกลุ่ม 608 ที่ต้องเฝ้าระวังและป้องกันไม่ให้ติดเชื้อโควิด-19 เนื่องจากผู้ป่วยโรคไตจะมีการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่าคนทั่วไปอยู่แล้ว ดังนั้นหากติดเชื้อโควิด-19 จะทำให้มีอาการรุนแรง กระทั่งต้องรักษาตัวใน ICU และอาจรุนแรงจนเสียชีวิตได้

สารบัญ

  • ไวรัสโควิด-19 อันตรายต่อไตอย่างไร?
  • ผู้ป่วยโรคไตติดโควิด-19 มีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป
  • ภาวะ Long COVID ในผู้ป่วยโรคไต
  • คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคไตเมื่อมีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 
  • การป้องกันไวรัสโควิด-19
  • สรุป

ไวรัสโควิด-19 อันตรายต่อไตอย่างไร?

เชื้อโควิด-19 เมื่อเข้าไปในร่างกายจะเข้าไปโจมตีอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย รวมถึงไต ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่กรองของเสียออกจากร่างกาย เมื่อมีการติดเชื้อโควิด-19 เชื้อโควิดจะเข้าไปทำลายเซลล์ของไตโดยตรง ทำให้การทำงานของไตเสียไป อีกทั้งไวรัสจะไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของไต ยิ่งทำให้การทำงานของไตลดลงไปอีก จนอาจทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน (acute kidney injury; AKI) ขึ้นได้ นอกจากส่งผลเสียโดยตรงต่อปอดและไตแล้ว เชื้อโควิด-19 ยังอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของไตได้อีกด้วย ดังนั้นผู้ป่วยโควิดที่มีอาการปานกลางถึงรุนแรง ควรต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน

> กลับสู่สารบัญ

ผู้ป่วยโรคไตติดโควิด-19 มีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป

ผู้ป่วยโรคไตทั้งกลุ่มที่ยังไม่ต้องฟอกไต กลุ่มที่ต้องฟอกไต และกลุ่มที่มีการผ่าตัดปลูกถ่ายไต เป็นผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำ ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ได้ง่ายกว่าคนปกติ ยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตซึ่งต้องรับประทานยากดภูมิ ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 มากขึ้นไปอีก และหากติดเชื้อโควิด-19 เชื้อโควิด-19 สามารถเข้าไปทำลายเซลล์ของไตได้โดยตรงดังที่กล่าวไปข้างต้น และมีรายงานว่าผู้ป่วยโรคไตมักมีอาการรุนแรงและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากกว่าคนทั่วไปถึง 3 – 4 เท่า

> กลับสู่สารบัญ

ภาวะลองโควิด (Long COVID)ในผู้ป่วยโรคไต

เป็นที่ทราบกันว่าผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 หลังจากหายจากการติดเชื้อแล้ว มักมีอาการต่าง ๆ ที่หลงเหลืออยู่หลังหายจากโควิด-19 หรือที่เรียกว่า ภาวะลองโควิด (Long COVID) ผู้ป่วยโรคไตที่ต้องฟอกไต หรือผู้ที่เคยผ่าตัดปลูกถ่ายไต และโรคไตอื่น ๆ จะมีแนวโน้มที่จะมีภาวะลองโควิดได้มากกว่าผู้ไม่มีโรคประจำตัว ซึ่งอาการภาวะลองโควิดพบได้ในทุกระบบของร่างกาย โดยอาการที่พบได้บ่อยได้แก่ 

  • อ่อนเพลีย
  • หายใจไม่เต็มอิ่ม ทำกิจกรรมปกติได้ลดลง เหนื่อยง่ายขึ้น
  • ภาวะสมองล้าสมาธิสั้น ไม่สามารถจดจ่อในสิ่งที่จะทำ ความจำลดลง มีปัญหาการนอนหลับ ความสามารถในการควบคุมความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมลดลง
  • ปวดท้อง ท้องเสีย ไม่อยากอาหาร
  • อาจมีภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวล

ดังนั้นการป้องกันไม่ให้ติดโควิด-19 จึงเป็นการป้องกันที่ดีที่สุดที่จะไม่ให้เกิดอาการต่าง ๆ ข้างต้น และหากมีอาการของลองโควิด แนะนำให้พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจและวินิจฉัยเพิ่มเติม

> กลับสู่สารบัญ

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคไตในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19

  1. ลดการเดินทางออกไปในที่สาธารณะโดยไม่จำเป็น
  2. แจ้งโรงพยาบาลหรือผู้ดูแลทันที หากพบว่ามีความเสี่ยงสัมผัสเชื้อสูง หรือตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด-19
  3. ติดต่อกับทางโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลเพื่อขอรับยาทางไปรษณีย์ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการคงที่ และได้รับความเห็นชอบจากแพทย์เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อจากภายนอกบ้าน หากมีอาการเปลี่ยนแปลงแย่ลงให้รีบติดต่อโรงพยาบาล
  4. รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมโรคไม่ให้รุนแรงมากขึ้น
  5. ไม่ควรปรับยาหรือซื้อยากินเอง เพราะยาบางชนิดส่งผลเสียต่อไต 
  6. เมื่ออยู่บ้าน ควรหากิจกรรมทำ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ วันละ 30-60 นาที  สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง
  7. ควรหยุดออกกำลังกายเมื่อรู้สึกเหนื่อย หายใจไม่ทัน เจ็บหน้าอก รู้สึกหัวใจเต้นผิดจังหวะ แน่นท้อง ตะคริว เวียนศีรษะ จะเป็นลม และแจ้งแพทย์ที่ดูแล
  8. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีผลต่อไต และรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ
  9. หากมีอาการผิดปกติอื่น ๆ เพิ่มเติมควรรีบปรึกษาแพทย์

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ต้องรับการรักษาโดยการฟอกเลือดที่โรงพยาบาล

  1. ให้มารับบริการฟอกเลือดตามนัดหมาย 
  2. หากมีไข้ เจ็บคอ หรือเป็นหวัดให้ติดต่อกับทางโรงพยาบาลก่อนที่จะเข้ารับบริการ
  3. ต้องสวมหน้ากากอนามัยที่มีคุณภาพและกระชับกับใบหน้าตลอดเวลาเมื่อออกจากบ้าน และขณะทำการฟอกไต

> กลับสู่สารบัญ

การป้องกันไวรัสโควิด-19

การดูแลป้องกันตัวเองยังคงเป็นมาตรการที่ดีที่สุดสำหรับการป้องกันเชื้อโควิด-19 ในผู้ป่วยโรคไต เพื่อป้องไม่ให้เกิดความรุนแรงของโรคไตเพิ่มมากขึ้น และลดความเสี่ยงการเสียชีวิต โดยมีคำแนะนำดังนี้

  1. ผู้ป่วยโรคไตควรได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยเร็วที่สุด รวมถึงการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นตามคำแนะนำของแพทย์ 
  2. หากมีอาการสงสัยว่าติดเชื้อโควิด-19 เช่น ไข้ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ท้องเสีย ควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อทำการตรวจและรักษาโดยเร็ว 
  3. สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา โดยควรสวมให้กระชับและแนบกับใบหน้า
  4. รักษาระยะห่าง หรือ social distancing อย่างน้อย 1-2 เมตร
  5. ไม่ไปในสถานที่มีความเสี่ยง เช่น สถานที่แออัดหรืออากาศถ่ายเทไม่สะดวก  หรือสถานที่ที่มีการรวมกลุ่ม หรือปาร์ตี้กิน ดื่มฉลองร่วมกัน 
  6. เมื่อไปในที่สาธารณะ หลีกเลี่ยงการสัมผัสราวบันได หรือพื้นผิวอื่น ๆ ที่อาจเป็นแหล่งของเชื้อโควิด-19 
  7. หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

ผู้ป่วยโรคไตเป็นกลุ่มที่มีโอกาสติดเชื้อโควิด-19 ได้ง่ายและเมื่อติดเชื้อโควิด-19 แล้วมีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงและมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าคนทั่วไป การติดเชื้อโควิด-19 จะทำให้อาการของโรคไตที่เป็นอยู่แล้วรุนแรงมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อหายจากโควิดแล้ว ยังเสี่ยงต่ออาการของลองโควิดได้มากกว่าอีกด้วย 

ดังนั้นการป้องกันและรักษามาตรการ รวมถึงการฉีดวัคซีนโควิด-19 จึงเป็นวิธีที่จะป้องกันภาวะต่าง ๆ ข้างต้นได้ดีที่สุด ผู้ป่วยโรคไตควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมไม่ให้ความรุนแรงของโรคไตเพิ่มขึ้น และหากมีอาการที่ผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไตเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาโดยเร็ว

คลิกดูแพ็กเกจที่เกี่ยวข้องที่นี่

แพ็กเกจตรวจคัดกรองโรคไต

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจสมรรถภาพร่างกาย ระบบหัวใจ และปอด (9 Healthy Heart: VO2 MAX)

รายละเอียด

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.ผ่องพรรณ ทานาค

พญ.ผ่องพรรณ ทานาค

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์ตรวจสุขภาพ_1-1

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา