Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

เครื่องตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อผลการรักษาที่ดีขึ้น

พญ.ณัฐกานต์ มยุระสาคร

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 26 เมษายน 2022
เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดแบบต่อเนื่อง

เบาหวานเป็นโรคที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน ผู้ป่วยเบาหวานหลายท่านไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ มักมีค่าน้ำตาลในเลือดแกว่งขึ้นลง บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยเบาหวาน เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ มักมีอาการเป็นลม หมดสติ ซึ่งถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เสี่ยงต่อภาวะโรคหัวใจ

เครื่องตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่อง (continuous glucose monitoring; CGM) เป็นอุปกรณ์ที่สามารถตรวจวัดระดับน้ำตาลได้แบบต่อเนื่องตลอดเวลา และส่งข้อมูลไปยังโทรศัพท์มือถือได้แบบเรียลไทม์ มีระบบเตือนเมื่อระดับน้ำตาลตก ช่วยให้ผู้ป่วยดูแลตนเองได้ และส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต แพทย์ประจำตัวสามารถเข้าถึงผลน้ำตาลแบบเรียลไทม์ วางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

New call-to-action
@praram9hospital ใครรู้จักเครื่องนี้บ้าง 🙋🏻‍♀️ #CGM #เครื่องติดตามน้ำตาลต่อเนื่อง #เบาหวาน #Diabetes #Praram9Hospital #โรงพยาบาลพระรามเก้า ♬ หวานใจ speed - คุณ23

เครื่องตรวจน้ำตาลต่อเนื่องคืออะไร?

เครื่องตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่อง (continuous glucose monitoring; CGM) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้วัดระดับน้ำตาลทุก ๆ 3 นาทีตลอด 24 ชั่วโมง โดยผู้ป่วยจะติดเครื่องนี้เป็นเวลา 2 สัปดาห์

โดยเป็นเครื่องติดที่หน้าท้อง มีเซ็นเซอร์เป็นโลหะปลอดภัย ยาวประมาณ 7 มม. สอดเข้าชั้นไขมันใต้ผิวหนัง แล้วเครื่องดังกล่าวนี้ส่งสัญญาณข้อมูลผ่านบลูทูธเข้าแอพพลิเคชั่นในมือถือและเข้าสู่อินเตอร์เน็ต ซึ่งตัวผู้ป่วย แพทย์และทีมผู้ดูแลสามารถเข้าถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์

ใครบ้างที่ควรใช้เครื่องตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่อง?

  • ผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดแกว่งมาก ๆ ได้แก่ ช่วงที่น้ำตาลขึ้นสูงและช่วงที่น้ำตาลตก
  • ผู้ป่วยเบาหวานที่ฉีดยาอินซูลิน 3 ครั้งต่อวันขึ้นไป
  • ผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาน้ำตาลในเลือดต่ำบ่อย โดยเฉพาะในรายที่ไม่มีอาการเตือน หน้ามืด หมดสติ
  • ผู้ป่วยเบาหวานที่ระดับน้ำตาลสะสม (HbA1C) สูง แม้จะกินยาสม่ำเสมอ ควบคุมอาหารและออกกำลังกายแล้ว
  • ผู้ป่วยเบาหวานที่อยากเรียนรู้ระดับน้ำตาลของตนเอง
@praram9hospital จะติด #เครื่องติดตามน้ำตาลต่อเนื่อง ต้องดูเกณฑ์อะไรบ้างนะ 🤔❓#CGM #Diabetes #Praram9Hospital #โรงพยาบาลพระรามเก้า ♬ Fun / everyday / cute BGM(947218) - Shinnosuke Shibata
New call-to-action
เครื่องวัดระดับน้ำตาลต่อเนื่อง

ผู้ป่วยเบาหวานที่เจาะน้ำตาลปลายนิ้วอยู่แล้ว ทำไมยังต้องติดเครื่องตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่อง?

  • เครื่องตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่องสามารถบอกแนวโน้ม (trend arrow) การขึ้นลงของระดับน้ำตาลซึ่งไม่สามารถบอกได้โดยการเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว มีข้อดีคือช่วยในการปรับยา อาหารและการออกกำลังกายได้แบบเรียลไทม์
  • มีแอพพลิเคชั่นเตือน (alarm) ให้ดื่มน้ำหวานทันทีที่น้ำตาลเริ่มตก แม้ในขณะนอนหลับอยู่
  • มีระบบดูแลและเฝ้าระวัง (remote monitoring) จากทีมสหสาขา และใช้ข้อมูลที่ได้จากเครื่องวางแผนปรับพฤติกรรมแบบเรียลไทม์ เพื่อควบคุมค่าระดับน้ำตาลสะสม (estimated HbA1C หรือ glucose management indicator; GMI) ให้ดีขึ้นได้ใน 2 สัปดาห์

ข้อแนะนำสำหรับผู้ใช้เครื่องตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่อง

  • ผู้ป่วยต้องตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้ววันละ 1 – 2 ครั้ง เพื่อตั้งค่าของเครื่องให้ถูกต้อง
  • เนื่องจากการทำงานของเครื่องเป็นการวัดระดับน้ำตาลจากสารน้ำระหว่างเซลล์ที่ตำแหน่งติดอุปกรณ์ ซึ่งระดับน้ำตาลอาจมีค่าแตกต่างจากน้ำตาลปลายนิ้วได้ประมาณ 10 – 20% และอาจช้ากว่าอาการและระดับน้ำตาลในเลือดประมาณ 15 – 20 นาที ในกรณีอาการไม่สัมพันธ์กับค่าที่ได้จากเครื่อง แนะนำให้เจาะน้ำตาลปลายนิ้ว และรักษาตามระดับน้ำตาลปลายนิ้ว
  • อาจทำให้เกิดภูมิแพ้ผิวหนังได้สำหรับคนที่แพ้ง่าย 
  • อาจมีอาการรำคาญหรือเจ็บบริเวณที่ติดอุปกรณ์
  • อาจพบการติดเชื้อผิวหนังตำแหน่งติดได้บ้าง ไม่สามารถเข้าเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) และเครื่องเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ (MRI)
  • เครื่องกันน้ำ สามารถอาบน้ำสะดวก
  • อาจพบการติดเชื้อผิวหนังตำแหน่งติดอุปกรณ์ได้บ้าง

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

New call-to-action

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.ณัฐกานต์ มยุระสาคร

พญ.ณัฐกานต์ มยุระสาคร

ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิก

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิค_1-1

ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิก

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา