Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

การผ่าตัดประสาทหูเทียม (Cochlear Implant) สำหรับผู้สูญเสียการได้ยิน

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 25 มีนาคม 2024
การผ่าตัดประสาทหูเทียม (cochlear implant)

สำหรับผู้ที่สูญเสียการได้ยิน ไม่ว่าจะเป็นแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นในภายหลัง หากสามารถทำให้คนที่สูญเสียการได้ยินเหล่านี้กลับมาได้ยินเสียงอีกครั้ง อาจเรียกได้ว่าเป็นการเปลี่ยนชีวิตใหม่เลยทีเดียว 

การผ่าตัดประสาทหูเทียม (cochlear implant) เป็นทางเลือกการรักษาที่น่าสนใจในปัจจุบัน ยิ่งในเด็กเล็กที่หูหนวกแต่กำเนิดแล้ว การได้รับการผ่าตัดประสาทหูเทียมตั้งแต่เด็ก ๆ อาจเป็นทางเลือกที่ทำให้สามารถได้ยิน ได้เติบโต ได้เรียนรู้ เข้าสังคม พูดคุย และสื่อสารได้ไม่ต่างจากเด็กทั่วไป 

ปัจจุบันการผ่าตัดประสาทหูเทียมเป็นการผ่าตัดที่มีความปลอดภัยสูง ความเสี่ยงน้อย จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กวัยก่อนอนุบาล หากตรวจพบความผิดปกติทางการได้ยินได้แต่เนิ่น ๆ และเข้ารับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมได้ตั้งแต่อายุน้อย ๆ จะยิ่งเพิ่มโอกาสที่จะมีพัฒนาการการใช้ภาษาที่เทียบเท่าเด็กปกติ ยิ่งระยะเวลาที่หูหนวกสั้นลงเท่าใด ก็ยิ่งได้รับประโยชน์จากการรักษามากขึ้น

สารบัญ

  • ประสาทหูเทียม (cochlear implant) คืออะไร? 
  • ใครเหมาะกับการผ่าตัดประสาทหูเทียม?
  • จะทราบได้อย่างไรว่าบุตรหลานของท่านมีความบกพร่องทางการได้ยิน?
  • การผ่าตัดประสาทหูเทียม (cochlear implant surgery)
  • ผลการรักษาหลังผ่าตัดประสาทหูเทียม
  • หลังผ่าตัดประสาทหูเทียม ต้องดูแลและระมัดระวังอย่างไรบ้าง?
  • สรุป

ประสาทหูเทียม (cochlear implant) คืออะไร?

ประสาทหูเทียม (cochlear implant) เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่ช่วยให้การได้ยินดีขึ้นโดยทำหน้าที่ทดแทนหูชั้นใน (cochlear) บางคนอาจสับสนว่าประสาทหูเทียมคือเครื่องช่วยฟัง จริง ๆ แล้วประสาทหูเทียมไม่ใช่เครื่องช่วยฟัง เนื่องจากเครื่องช่วยฟังจะช่วยให้ได้ยินชัดเจนขึ้นโดยการขยายเสียงให้ดังขึ้นโดยไม่ได้ทำหน้าที่ทดแทนหูชั้นใน

ประสาทหูเทียม ช่วยให้ได้ยินได้อย่างไร?

ในผู้ที่สูญเสียการได้ยินอย่างรุนแรงจากสาเหตุของหูชั้นในไม่ทำงาน ประสาทหูเทียมจะทำหน้าที่ส่งสัญญาณแทนหูชั้นในที่เสียไป โดยการเปลี่ยนเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้าเข้าสู่เส้นประสาทการได้ยิน และส่งไปยังสมอง ทำให้เกิดการรับรู้เสียง

ส่วนประกอบของประสาทหูเทียม มีอะไรบ้าง?

ประสาทหูเทียมประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนภายนอก และ ส่วนภายใน

  1. ส่วนภายนอก เป็นส่วนที่เกี่ยวอยู่หลังหู ทำหน้าที่ประมวลเสียง เครื่องมือส่วนนี้จะมีไมโครโฟนรับคลื่นเสียง จากนั้นประมวลผลเป็นสัญญาณส่งเข้าส่วนภายใน
  2. ส่วนภายใน เป็นส่วนที่ฝังอยู่ใต้ผิวหนัง เครื่องมือส่วนนี้จะรับสัญญาณจากส่วนภายนอก และแปลงเป็นไฟฟ้าแล้วส่งผ่านสายอิเล็กโทรดเข้าสู่หูชั้นในเพื่อไปกระตุ้นเส้นประสาทรับการได้ยิน

> กลับสู่สารบัญ

ใครเหมาะกับการผ่าตัดประสาทหูเทียม?

  1. เด็กเล็กที่สูญเสียการได้ยินอย่างรุนแรงแต่กำเนิด ควรได้รับการผ่าตัดประสาทหูเทียมในช่วงวัยที่สมองกำลังเรียนรู้ภาษาแรก คือ ช่วงอายุ 1 ถึง 3 ขวบ จะได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด และมีพัฒนาการด้านภาษาและสื่อสารได้เทียบเท่าเด็กปกติ และเนื่องจากช่วงเวลาทองของการรักษาอยู่ใน 3 ปีแรกเท่านั้น ดังนั้นการประเมินการได้ยินในเด็กเล็กจึงควรเริ่มทำตั้งแต่เด็กอายุ 3 ถึง 4 เดือน 
  2. ผู้ใหญ่ที่สูญเสียการได้ยินอย่างรุนแรงที่หูชั้นในเสื่อมไม่ทำงานแล้ว และใช้เครื่องช่วยฟังแล้วยังไม่ได้ยิน
  3. ผู้ที่มีความพร้อมสำหรับการผ่าตัดประสาทหูเทียมและพร้อมเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินหลังการผ่าตัด

> กลับสู่สารบัญ

จะทราบได้อย่างไรว่าบุตรหลานของท่าน มีความบกพร่องทางการได้ยิน?

พ่อแม่หรือญาติผู้ดูแลสามารถเริ่มสังเกตพฤติกรรมการได้ยินของบุตรหลานได้ตั้งแต่ที่ยังเป็นทารก หากมีความบกพร่องทางการได้ยินจะมีลักษณะที่สังเกตได้ ดังต่อไปนี้

ในทารกวัยแบเบาะ มีลักษณะผิดปกติที่สังเกตเห็นได้ ได้แก่

  • ไม่สะดุ้งตกใจเวลาเกิดเสียงดังกะทันหัน
  • ไม่หันหาเสียงเรียก แม้ว่าอายุครบ 6 เดือนแล้ว
  • ไม่เรียก “แม่” “พ่อ” “ม้า” “ป๊า” หรือพูดคำโดดใด ๆ แม้จะอายุครบหนึ่งขวบแล้ว
  • เด็กจะหันหน้ามาหาเฉพาะเมื่อเด็กมองเห็นผู้เรียก แต่หากมองไม่เห็นผู้ถูกเรียกจะไม่หันมอง
  • เหมือนจะได้ยินเสียงเพียงบางเสียงเท่านั้น

ในเด็กเล็ก มีลักษณะผิดปกติที่สังเกตเห็นได้ ได้แก่

  • เริ่มพูดได้ช้า
  • พูดไม่ชัด
  • ไม่ทำตามคำสั่ง อาจดูเหมือนไม่สนใจหรือไม่มีสมาธิหรือทำหูทวนลม
  • พูดว่า “ฮะ?” หรือ “อะไรนะ?” บ่อย ๆ
  • เปิดเสียงทีวี ยูทูป หรือเกมดังมาก ๆ

หากพบว่ามีลักษณะผิดปกติเหล่านี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และเข้ารับการตรวจประเมินการได้ยินกับผู้เชี่ยวชาญ เพราะการได้รับการวินิฉัยที่รวดเร็ว จะนำไปสู่การรักษาและการฟื้นฟูการได้ยินที่ดีกว่า

> กลับสู่สารบัญ

การผ่าตัดประสาทหูเทียม (cochlear implant surgery)

บริเวณที่จะทำการผ่าตัดประสาทหูเทียม คือ บริเวณศีรษะส่วนหลังใบหู เนื่องจากประสาทหูเทียมมีทั้งส่วนภายนอกและส่วนภายใน จึงต้องมีการผ่าตัดเพื่อวางอุปกรณ์ส่วนภายในลงไปใต้ผิวหนังบนกระดูกมาสตอยด์ (กระดูกบริเวณหลังใบหู) และเจาะร้อยสายอิเล็กโทรดใส่เข้าไปในหูชั้นใน และเนื่องจากเป็นการผ่าตัดในอวัยวะที่สำคัญและละเอียดอ่อน ก่อนที่จะได้รับการผ่าตัดจึงจำเป็นที่จะต้องทำ CT scan ตรวจผลเลือด ตรวจร่างกาย ประเมินการได้ยิน และประเมินพัฒนาการและสติปัญญาในกรณีเด็กเล็ก

> กลับสู่สารบัญ

ผลการรักษาหลังผ่าตัดประสาทหูเทียม

หลังการผ่าตัดจะใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 3-4 สัปดาห์ จึงจะเริ่มเปิดการใช้งานประสาทหูเทียมได้เนื่องจากการได้ยินด้วยประสาทหูเทียมจะไม่เหมือนการได้ยินทั่วไป ผู้ได้รับการผ่าตัดประสาทหูเทียมจึงจำเป็นต้องมีการเรียนรู้และฝึกฝนเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยิน เพื่อให้สามารถฟังเข้าใจและสื่อสารได้ 

ผลการรักษาจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ซึ่งขึ้นกับปัจจัยที่ส่งผลหลาย ๆ อย่าง เช่น ในเด็กที่หูหนวกแต่กำเนิด ผลการรักษาจะได้ผลดีที่สุดเมื่อได้รับการผ่าตัดประสาทหูเทียมตั้งแต่อายุน้อย ๆ ส่วนในผู้ใหญ่ที่สูญเสียการได้ยิน ยิ่งมีระยะเวลาที่สูญเสียการได้ยินสั้น ยิ่งให้ผลการรักษาที่ดี นอกจากนี้การร่วมมือกันของบุคคลในครอบครัวในการฝึกฝนและฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินก็มีผลต่อการรักษาเป็นอย่างมาก

> กลับสู่สารบัญ

หลังผ่าตัดประสาทหูเทียม ต้องดูแลและระมัดระวังอย่างไรบ้าง?

ส่วนของประสาทหูเทียมที่ต้องได้รับการดูแล คือ ส่วนภายนอก อุปกรณ์ส่วนนี้ส่วนใหญ่จะไม่กันน้ำ จึงต้องระมัดระวังไม่ให้เปียกหรือชื้น การทำความสะอาดสามารถทำได้โดยการเช็ดด้วยผ้าแห้ง เพื่อกำจัดฝุ่นและเศษสิ่งสกปรก และขณะจัดแต่งทรงผมควรครอบอุปกรณ์เพื่อป้องกันไม่ให้อุปกรณ์โดนสเปรย์ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ทั้งนี้ผู้ใช้ควรใส่ประสาทหูเทียมตลอดเวลาที่ตื่นนอน เพื่อให้เกิดความคุ้นชินและสามารถรับรู้เสียงที่แตกต่างกันออกไปได้ และยังจะช่วยให้ผู้ใช้บอกได้ว่าเสียงที่ได้ยินเบาลงหรือมีคุณภาพเสียงแย่ลง ซึ่งจะทำให้ประเมินระยะเวลาการบำรุงรักษาได้อย่างเหมาะสม  

ในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น เหงื่อและความชื้นอาจทำให้ต้องเปลี่ยนตัวหุ้มไมโครโฟนบ่อยครั้ง เพื่อให้ประสาทหูเทียมยังคงคุณภาพเสียงที่ดี และในส่วนประมวลเสียงของอุปกรณ์อาจต้องมีการเปลี่ยนแบตเตอรี่เมื่อครบอายุการใช้งาน

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

ภาวะความบกพร่องทางการได้ยินในรายที่เป็นแต่กำเนิด หากพ่อแม่หรือผู้ปกครองสามารถสังเกตเห็นความผิดปกติได้เร็วและรีบเข้ารับการรักษา จะทำให้เด็กสามารถได้ยินเสียงและมีพัฒนาการการเรียนรู้และการสื่อสารที่ใกล้เคียงกับเด็กปกติ ดังนั้นพ่อแม่ผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตลักษณะผิดปกติที่สงสัยว่าเด็กจะมีปัญหาด้านการได้ยินตั้งแต่วัยแบเบาะ หากพบความผิดปกติ การเข้ารับการรักษาภายใน 3 ขวบปีแรก จะให้ผลลัพธ์การรักษาที่ดีที่สุด

ในวัยผู้ใหญ่ หากมีปัญหาการได้ยินแบบรุนแรง และใช้เครื่องช่วยฟังแล้วแต่ยังคงไม่ได้ยิน การรักษาโดยการฝังประสาทหูเทียมนับว่าเป็นทางเลือกหนึ่ง ซึ่งผลการรักษาขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่สูญเสียการได้ยิน ยิ่งระยะเวลาที่สูญเสียการได้ยินสั้นก็ยิ่งให้ผลการรักษาที่ดี

คลิกดูแพ็กเกจที่เกี่ยวข้องที่นี่

โปรแกรมตรวจสุขภาพเด็ก KIDDY HEALTHY

รายละเอียด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

สนใจนัดหมาย

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา