Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

เจ็บหน้าอกจากโรคหลอดเลือดหัวใจ รู้ได้อย่างไร ? คุณหมอมีคำตอบ

นพ.ณัฐพล เก้าเอี้ยน

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 2 ตุลาคม 2022
เจ็บหน้าอกจากโรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรังเป็นโรคที่พบบ่อยในยุคปัจจุบัน และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้อันตรายถึงเสียชีวิต หรืออาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายและนำไปสู่ภาวะหัวใจวายได้

เป็นที่ทราบกันดีว่าอาการของหลอดเลือดหัวใจตีบตันคืออาการเจ็บหน้าอก และหลาย ๆ ท่านน่าจะเคยรู้สึกเจ็บหน้าอก และทำให้กังวลจนต้องไปโรงพยาบาลเพื่อปรึกษาแพทย์ว่าท่านเป็นโรคหัวใจหรือไม่ 

บทความนี้ นพ.ณัฐพล เก้าเอี้ยน อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ ประจำสถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า จะมาให้ความรู้และอธิบายวิธีการตรวจเพื่อวินิจฉัยว่าอาการเจ็บหน้าอกนั้น ๆ ใช่โรคหัวใจหรือไม่ ?

New call-to-action

สารบัญ

  • อาการเจ็บหน้าอกที่ผู้ป่วยมักมาปรึกษาแพทย์โรคหัวใจ
  • การวินิจฉัยอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหลอดเลือดหัวใจ
    – การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiography; EKG)
    – การเดินสายพานตรวจสมรรถภาพหัวใจ (exercise stress test; EST)
    – การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ (coronary angiography; CAG)
  • สรุป

อาการเจ็บหน้าอกที่ผู้ป่วยมักมาปรึกษาแพทย์โรคหัวใจ

“คุณหมอครับ ผมมีอาการเจ็บหน้าอก มันเป็นอาการของโรคหัวใจรึเปล่าครับ ?” 

หลาย ๆ คนคงจะเคยมีอาการเจ็บหน้าอก ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บแบบแปล๊บ ๆ เจ็บแน่นอึดอัดเหมือนมีอะไรมาทับ เจ็บแสบ ๆ เสียด ๆ เจ็บตอนออกกำลังกาย หรือบางคนอาจมาด้วยอาการเจ็บหน้าอกร่วมกับอาการวูบหมดสติ แล้วเราจะทราบได้อย่างไร ว่าอาการไหน เป็นอาการของโรคหัวใจ

ในความเป็นจริง ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ จะมาพบแพทย์ด้วยอาการเจ็บหน้าอกที่หลากหลายดังที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งแม้แต่ตัวแพทย์เอง บางครั้งก็แยกอาการเจ็บเหล่านั้นได้ยาก ว่าอันไหนเป็นอาการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากโรคหัวใจจริง ๆ อันไหนเป็นอาการเจ็บจากอย่างอื่น เราจึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ช่วยตรวจสอบอาการเหล่านั้นครับ

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคหัวใจ

เจ็บหน้าอกที่มักมาพบแพทย์

> กลับสู่สารบัญ

การวินิจฉัยอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหลอดเลือดหัวใจ

โดยทั่วไปแล้ว แพทย์จะทำการซักประวัติสอบถามอาการและลักษณะของการเจ็บหน้าอกและแพทย์อาจจะแนะนำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อบอกว่าเป็นโรคหัวใจหรือไม่ ได้แก่ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ, การเดินสายพานตรวจสมรรถภาพหัวใจ หรือผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องฉีดสีหลอดเลือดหัวใจเพื่อเข้าไปตรวจดูหลอดเลือดหัวใจ

> กลับสู่สารบัญ

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiography; EKG)

เป็นการตรวจเพื่อดูสัญญาณไฟฟ้าของหัวใจซึ่งสามารถใช้คัดกรอง เพื่อวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ แต่แพทย์มักแนะนำให้ตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติม ทำให้หลาย ๆ คนก็อาจมีคำถามว่า “เราตรวจคลื่นไฟฟ้าอย่างเดียวไม่ได้เหรอครับ” คำตอบคือ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะพัก สามารถบอกได้ชัดเจนแค่ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน และมักใช้ควบคู่กับการประเมินค่าหัวใจขาดเลือด หรือที่เราเรียกว่า cardiac enzyme ก็จะได้ความแม่นยำที่มากขึ้น ดังนั้นในรายที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเรื้อรัง คลื่นไฟฟ้าหัวใจและค่าหัวใจขาดเลือด (cardiac enzyme) อาจอยู่ในเกณฑ์ปกติทั้งหมด ทำให้ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นโรคหัวใจหรือไม่ จึงจำเป็นต้องมีการตรวจเดินสายพานในลำดับต่อไป

> กลับสู่สารบัญ

การเดินสายพานตรวจสมรรถภาพหัวใจ (exercise stress test; EST)

การเดินสายพานตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นอีกหนึ่งวิธีการที่ง่ายและค่อนข้างสะดวก ในการตรวจผู้ป่วยที่มาด้วยอาการเจ็บหน้าอก ควบคู่กับการตรวจเลือดของผู้ป่วย เพื่อใช้แยกภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน กับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเรื้อรัง 

หากค่าหัวใจขาดเลือด (cardiac enzyme) ผิดปกติชัดเจน ก็จะเป็นการยืนยันว่าผู้ป่วยน่าจะมีภาวะหลอดเลือดตีบเฉียบพลัน ซึ่งผู้ป่วยก็จะได้ข้ามขั้นตอนการเดินสายพานไปสู่การสวนหัวใจ หรือที่เรียกว่าฉีดสีหัวใจเป็นลำดับต่อไปแทนครับ

สำหรับผู้ป่วยที่มาตรวจเดินสายพาน จะได้รับการติดตัววัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจไว้ที่บริเวณหน้าอก เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ขณะที่เรากำลังเดิน โดยเป้าหมายของการเดินสายพานคือ เราต้องการทำให้หัวใจผู้ป่วยเต้นเร็วขึ้น เพราะเมื่อหัวใจเต้นเร็วก็จะต้องการเลือดไปเลี้ยงหัวใจมากขึ้น ถ้าเรามีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบเรื้อรังซ่อนอยู่ เมื่อหัวใจเต้นเร็ว เลือดก็จะเริ่มไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ และมีสภาวะขาดเลือดเกิดขึ้น ซึ่งจะแสดงให้เห็นโดยผู้ป่วยจะรู้สึกแน่นหน้าอก เหนื่อย หรือมีคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อเราตรวจพบภาวะความผิดปกติจากการเดินสายพานแล้ว จะมีการยืนยันโดยการฉีดสีสวนหัวใจเป็นลำดับต่อไป

การเดินสายพานตรวจสมรรถภาพหัวใจ

> กลับสู่สารบัญ

การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ (coronary angiography; CAG)

การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ หรือ coronary angiography ย่อสั้น ๆ ว่า CAG ภาษาหมอ ๆ ก็จะพูดกันว่า    ”ไปทำแคท”  หรือบางคนอาจเรียกว่า “ฉีดสีหัวใจ” คือ การใส่สายสวนเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจผ่านทางขาหนีบหรือข้อมือ โดยแพทย์จะฉีดยาชาและใช้เข็มขนาดเล็กเจาะผ่านหลอดเลือดเข้าไป 

หลังจากที่แพทย์สอดสายสวนไปอยู่ที่บริเวณหลอดเลือดหัวใจแล้ว ก็จะฉีดสารทึบแสงเข้าไปในหลอดเลือด เพื่อตรวจสอบว่าหลอดเลือดหัวใจของเรามีการตีบตันหรือไม่ (โดยปกติหลอดเลือดหัวใจของคนเราจะมีทั้งหมด 3 เส้นหลัก ๆ เป็นหลอดเลือดด้านซ้าย 2 เส้น และด้านขวา 1 เส้น) เมื่อแพทย์ได้ข้อมูลว่ามีการตีบของหลอดเลือด ก็จะทำการวางแผนการรักษาต่อไปว่าจะให้การรักษาด้วยการรับประทานยา, ทำบอลลูนและใส่ขดลวด หรือส่งต่อผู้ป่วยให้กับทางแพทย์ศัลยกรรมทรวงอกเพื่อทำการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ (CABG) เป็นลำดับต่อไป

หากแพทย์ประเมินว่าสามารถทำบอลลูนได้ ก็จะดำเนินการซ่อมหลอดเลือดหัวใจต่อไป โดยทำผ่านสายสวนเส้นเดิม (ผู้ป่วยจึงไม่ต้องเจ็บตัวเพิ่มขึ้นจากการทำบอลลูน) หลังจากการทำบอลลูนเพื่อขยายหลอดเลือดแล้ว แพทย์ก็จะใส่ขดลวดค้ำยันชนิดเคลือบยาที่ป้องกันการตีบซ้ำ (drug eluting stent; DES) เพื่อค้ำยันไม่ให้หลอดเลือดกลับมาตีบซ้ำ เนื่องจากการทำบอลลูนเพียงอย่างเดียว จะมีโอกาสหลอดเลือดตีบตันซ้ำถึง 50% 

หลังจากซ่อมหลอดเลือดเลือดเรียบร้อย แพทย์จะเอาสายสวนออกจากบริเวณข้อมือหรือขาหนีบ โดยถ้าเป็นบริเวณข้อมือ จะมีที่รัดข้อมือใส่ไว้เพื่อห้ามเลือดประมาณ 4 ชม. ซึ่งผู้ป่วยสามารถลุกเดินไปไหนได้ตามปกติ ถ้าเป็นบริเวณขาหนีบ จะมีการกดห้ามเลือดประมาณ 15-30 นาที และมีการวางหมอนทราย แล้วให้ผู้ป่วยนอนราบต่อเป็นเวลาประมาณ 6 ชม. โดยหลังการทำบอลลูนผู้ป่วยจะย้ายไปที่หอผู้ป่วยโรคหัวใจ (cardiac care unit; CCU) และค้างคืนเป็นเวลา 1 วัน ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนก็สามารถกลับบ้านได้ในวันต่อมาครับ

New call-to-action
ฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้อันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นหากท่านมีอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย อย่าลืมมาตรวจอาการเพิ่มเติมที่โรงพยาบาลนะครับ เพื่อให้แน่ใจว่าอาการของเราใช่หรือไม่ใช่โรคหัวใจ ให้ถือคติว่า “มาแล้วไม่ใช่ ดีกว่าใช่แล้วไม่ได้มา อีกเลย”

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

New call-to-action

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

นพ.ณัฐพล เก้าเอี้ยน

นพ.ณัฐพล เก้าเอี้ยน

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

สถาบันหัวใจและหลอดเลือด_1-1

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา