Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 29 เมษายน 2024
โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

Carpal Tunnel Syndrome หรือเรียกย่อ ๆ ว่า CTS เป็นโรคที่พบได้บ่อยในกลุ่มคนอายุประมาณ 30 ปีขึ้นไป มักพบในคนวัยทำงานที่ใช้มือในการทำงานมาก ๆ เช่น การขับรถนาน ๆ กวาดบ้าน ซักผ้า ใช้คอมพิวเตอร์ เล่นเกมส์ ใช้โทรศัพท์ ผู้ป่วยบางรายจะกังวลและมีความเข้าใจผิดว่าเป็นภาวะจากเส้นเลือดในสมองตีบ ทำให้มีคำถามตามมาอีกว่าอาการเหล่านี้เกิดจากอะไร มีผลกระทบร้ายแรงหรือไม่ หายขาดได้หรือไม่

อาการโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักมีอาการชาบริเวณปลายนิ้วมือ ส่วนใหญ่อาการมักจะเป็น ๆ หาย ๆ ที่ปลายนิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง โดยอาการมักจะเป็นหลังตื่นนอนหรือผู้ป่วยในบางรายอาจมีอาการปวดร่วมด้วย ในกรณีที่เป็นมากอาจจะมีอาการชามือทั้งวัน ชาทั้งมือ มีอาการอ่อนแรงของมือ หยิบจับของลำบาก กล้ามเนื้อในฝ่ามือลีบ อาการชาอาจจะเป็นทั้ง 2 ข้างหรือข้างเดียวก็ได้ และมักเด่นชัดในมือข้างที่ถนัด การใช้ข้อมือจะกระตุ้นอาการให้เป็นมากขึ้น เช่น งานที่ต้องใช้ข้อมือมาก ๆ งานที่ต้องค้างในท่าเหยียดข้อมือหรืองอข้อมือนาน ๆ ซึ่งมักจะพบบ่อยในหมู่แม่บ้านที่ต้องทำอาหาร กวาดบ้าน ซักผ้า บิดผ้า งานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์พิมพ์งาน พนักงานโรงแรม พนักงานขุดเจาะถนน กลุ่มคนไข้ที่ใช้มือในการโทรศัพท์ หรืออุปกรณ์สื่อสารนาน ๆ เช่น เล่นเกม เป็นต้น สภาวะหรือโรคประจำตัวที่ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเป็น Carpal Tunnel Syndrome ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ โรคข้อเสื่อม คนไข้ที่เคยมีอาการบาดเจ็บบริเวณข้อมือ คนอ้วน การตั้งครรภ์ และมักจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

พยาธิสภาพ

เกิดจากการกดทับของเส้นประสาทมีเดียน (median nerve) ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อแขนและมือ รวมทั้งการรับความรู้สึกของฝ่ามือ บริเวณนิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และครึ่งหนึ่งของนิ้วนาง เส้นประสาทนี้จะออกมาจากไขสันหลังมาถึงบริเวณต้นคอจนถึงปลายนิ้วมือ โดยในช่วงบริเวณข้อมือจะต้องลอดผ่านอุโมงค์ที่เรียกว่า Carpal Tunnel เมื่ออุโมงค์นี้แคบลงจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การอักเสบ การบวมน้ำ หรืออยู่พับข้อมือค้างในท่าเดิมนาน ๆ

การวินิจฉัยโรค

ผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการดังกล่าวข้างต้น ตรวจร่างกายมักจะพบอาการชา บริเวณนิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และครึ่งหนึ่งของนิ้วนางหรือนิ้วใดนิ้วหนึ่ง ถ้ามีอาการมาก มักจะพบอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่เลี้ยงโดยเส้นประสาทมีเดียนร่วมด้วย เช่น กล้ามเนื้อที่ช่วยการขยับนิ้วโป้ง และอาจจะพบว่ามีกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งมือทางด้านนิ้วโป้งฟีบลง ในบางรายถ้าใช้นิ้วมือหรืออุปกรณ์เคาะลงบนเส้นประสาท จะมีอาการชาหรือเหมือนไฟช็อตไปตามนิ้วมือ และการงอมือเข้ามาชนกัน จะมีอาการชามากขึ้นที่ปลายนิ้วมือ

การตรวจร่างกายจะต้องตรวจเพิ่มเติมในการตรวจกล้ามเนื้อแขนและกล้ามเนื้อมือ ทั้งข้างซ้ายและข้างขวา เพื่อวินิจฉัยแยกโรคอื่น ๆ ที่เป็นไปได้

การตรวจโดยไฟฟ้าวินิจฉัย (Electrodiagnosis)

ส่วนใหญ่การตรวจวินิจฉัยด้วยไฟฟ้ามักทำในผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาและทำกายภาพแล้วอาการไม่ดีขึ้นภายในเวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ หรือในผู้ป่วยที่มีการวางแผนการรักษาด้วยการผ่าตัด

การตรวจด้วยไฟฟ้าวินิจฉัยเป็นการตรวจที่สำคัญที่สุด สามารถยืนยันการวินิจฉัยและสามารถแยกโรคที่มีอาการคล้าย ๆ กันออกมาได้ เช่น โรคการกดเส้นประสาท การอักเสบของแผงประสาทแขน นอกจากนั้นยังสามารถบอกความรุนแรงของอาการเพื่อนำไปสู่การรักษาและยังสามารถใช้ในการติดตามการรักษาได้ด้วย

ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็น CTS

  • เพศหญิงมักจะเป็นมากกว่าเพศชาย
  • ผู้ที่มีข้อมือกลม
  • สตรีมีครรภ์
  • ผู้ที่ทำงานที่ต้องใช้ข้อมือมาก กระดกขึ้นลงบ่อย ๆ
  • ผู้ที่ทำงานที่มีการสั่นสะเทือนมือและแขนนานๆ
  • มักจะพบบ่อยในกลุ่มแม่บ้านที่ต้องทำอาหาร กวาดบ้าน ซักผ้า บิดผ้า
  • พนักงานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์พิมพ์งาน พนักงานโรงงาน พนักงานขุดเจาะถนน กลุ่มคนไข้ที่ใช้มือในการโทรศัพท์ หรืออุปกรณ์สื่อสารนาน ๆ เช่น เล่นเกม เป็นต้น

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์สมองและระบบประสาท

ศูนย์สมองและระบบประสาท

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา