Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

หัวใจเต้นผิดจังหวะ สัญญาณเตือนที่อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวาย

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 10 พฤษภาคม 2024
หัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญและทำงานหนักตลอดเวลา โดยเฉลี่ยแล้วหัวใจต้องเต้นเฉลี่ยวันละประมาณ 100,000 ครั้ง ปัจจุบันโรคหัวใจเป็นโรคที่ใกล้เราตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ เราคงเคยได้ยินข่าวการเสียชีวิตของคนใกล้ตัวหรือคนที่รู้จักด้วยสาเหตุจากโรคหัวใจ หรือกรณีการหมดสติของนักกีฬาในระหว่างการแข่งขัน ซึ่งมีสาเหตุจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (cardiac arrhythmia) ถือว่าเป็นโรคหัวใจแบบหนึ่ง ที่มีการกล่าวถึงอย่างมากในปัจจุบันภาวะหัวใจที่เต้นผิดจังหวะนั้น ส่งผลให้เกิดการบีบตัวของหัวใจที่ผิดปกติตามมา หากรุนแรงและปล่อยทิ้งไว้ อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวายได้ ดังนั้นการดูแลสุขภาพหัวใจจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลยเป็นอย่างยิ่ง

สารบัญ

  • โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ คืออะไร?
  • สาเหตุของหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีอาการอย่างไร?
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ อันตรายแค่ไหน?
  • การวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • การป้องกันโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • สรุป

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ คืออะไร?

ในขณะที่เรากำลังพัก หัวใจจะเต้น 60 – 100 ครั้ง/นาที และมีจังหวะสม่ำเสมอ โดยในภาวะปกติ หัวใจอาจเต้นเร็วกว่า 100 ครั้ง/นาทีได้ เช่น ตอนออกกำลังกาย ตอนตื่นเต้น ตกใจ และอาจเต้นช้ากว่า 60 ครั้ง/นาที ในขณะที่เรากำลังนอนหลับ นั่งสมาธิ เป็นต้น

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (cardiac arrhythmia) คือ ภาวะที่หัวใจเต้นผิดไปจากปกติ (ปกติคือ 60 – 100 ครั้ง/นาที) แบ่งได้เป็น

  • หัวใจเต้นผิดปกติแบบช้า คือ อัตราเต้นของหัวใจน้อยกว่า 60 ครั้ง/นาที
  • หัวใจเต้นผิดปกติแบบเร็ว คือ อัตราเต้นของหัวใจมากกว่า 100 ครั้ง/นาที
  • หัวใจเต้นผิดปกติแบบไม่สม่ำเสมอ คือจังหวะการเต้นไม่สม่ำเสมอ มีการหยุด สะดุด หรืออาจเต้นเร็วสลับช้า

> กลับสู่สารบัญ

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีอาการอย่างไร ?

  • ใจสั่น
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • อาจมีเจ็บแน่นหน้าอก
  • หอบ หายใจเร็ว
  • อาจมี วูบ หน้ามืด หมดสติ

> กลับสู่สารบัญ

สาเหตุของหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับโรคประจำตัว และความเสี่ยงของผู้ป่วยแต่ละคน สาเหตุสำคัญของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ได้แก่

  • โรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว
  • โรคไทรอยด์เป็นพิษ
  • ภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea; OSA) ภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย (electrolyte imbalance)
  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มชูกำลัง
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ยาบางชนิด เช่น ยาแก้หวัดที่มีส่วนผสมของซูโดอีเฟดรีน ยาลดน้ำหนักที่มีส่วนผสมของไซบูทรามีน
  • ยาเสพติดที่มีส่วนประกอบของแอมเฟตามีน
  • พันธุกรรม
  • ความเครียด

> กลับสู่สารบัญ

หัวใจเต้นผิดจังหวะ อันตรายแค่ไหน ?

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะมีทั้งแบบรุนแรง และแบบไม่รุนแรง

  • หัวใจเต้นผิดจังหวะแบบรุนแรง อาจทำให้เสียชีวิตแบบทันทีทันใดได้ โดยจะมักพบในผู้ป่วยที่มีโรคทางหัวใจอยู่เดิม ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะแบบไม่รุนแรง แบบนี้อาจจะไม่อันตรายถึงชีวิดแต่ก็จะมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น อาจมีใจสั่นหรือเป็นลมหมดสติในขณะทำงาน หรือในขณะขับรถ ซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ หรือในผู้ป่วยบางคนอาจมีลิ่มเลือดเกิดขึ้นในหัวใจซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคอัมพฤกษ์อัมพาต

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะนี้หากปล่อยไว้ ไม่รักษา จะทำให้เกิดภาวะหัวใจวายตามมาได้ ดังนั้นหากสงสัยว่ามีอาการของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

> กลับสู่สารบัญ

การวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

  • การซักประวัติ เช่น ประวัติโรคประจำตัว การดื่มแอลกอฮอล์ การใช้ยาเสพติด ยาลดน้ำหนัก การดื่มชา กาแฟ หรือน้ำอัดลม
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram; EKG) ขณะที่มีอาการ
  • การติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบต่อเนื่อง (holter monitoring) เพื่อบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจต่อเนื่องเป็นเวลา 1 – 2 วัน เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการบ่อย เกือบทุกวัน แต่ครั้งละสั้น ๆ
  • การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (exercise stress test; EST) เพื่อประเมินการเต้นผิดจังหวะของหัวใจขณะออกกำลังกาย
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (echocardiogram) เพื่อประเมินโครงสร้าง และการทำงานของหัวใจที่อาจสัมพันธ์กับการเต้นผิดจังหวะ
  • การตรวจระบบไฟฟ้าภายในหัวใจ (cardiac electrophysiology study) โดยแพทย์จะใส่สายตรวจสวนหัวใจเข้าไปตรวจเช็กวงจรไฟฟ้าที่ผิดปกติในหัวใจ ซึ่งจะทำในห้องตรวจสวนหัวใจ ซึ่งจะใช้ในกรณีที่ไม่สามารถตรวจพบภาวะหัวใจเต้นผิดปกติจากการตรวจที่กล่าวไปข้างต้น

> กลับสู่สารบัญ

การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

การรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะจะแตกต่างกันตามแต่ละประเภท และความรุนแรงของโรค  ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจ จะพิจารณาการรักษาที่เหมาะสมที่สุดให้ผู้ป่วย แนวทางการรักษา ได้แก่

  • การให้ยาควบคุมจังหวะของหัวใจ
  • การใช้ไฟฟ้ากระตุกหัวใจเพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นเป็นจังหวะปกติ
  • การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ (pacemaker) เพื่อกระตุ้นให้หัวใจทำงานตามจังหวะที่กำหนดไว้
  • การจี้ทำลายวงจรไฟฟ้าที่ผิดปกติด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (ablation therapy) โดยแพทย์จะใช้สายตรวจสวนหัวใจเข้าไปจี้ทำลายวงจรไฟฟ้าที่ผิดปกติ มักจะทำร่วมกับการตรวจระบบไฟฟ้าภายในหัวใจ (cardiac electrophysiology study) ที่กล่าวไปข้างต้น
  • การใส่เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (automated implantable cardioverter-defibrillator; AICD) เป็นอุปกรณ์ที่จะฝังไว้ใต้ผิวหนังบริเวณหน้าอก โดยเครื่องนี้จะตรวจจับสัญญาณไฟฟ้าหัวใจตลอดเวลา และจะปล่อยไฟฟ้ากระตุกหัวใจทันทีที่มีหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะชนิดอันตราย เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นในจังหวะปกติ และเครื่องนี้ยังสามารถทำงานกระตุ้นหัวใจ ในกรณีที่หัวใจเต้นช้ากว่าปกติได้ด้วย

> กลับสู่สารบัญ

การป้องกันโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

  • ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นหัวใจ เช่น ชา กาแฟ (ที่มากเกินไป) และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ สม่ำเสมอ
  • ลดปัจจัยเสี่ยงของโรคทางหัวใจและหลอดเลือด
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอ
  • หากมีโรคประจำตัว ควรติดตามการรักษากับแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

หัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นโรคหัวใจแบบหนึ่งซึ่งหากเป็นชนิดที่รุนแรงอาจทำให้เกิดการเสียชีวิตอย่างฉับพลันได้ และแม้ว่าชนิดแบบไม่รุนแรงอาจไม่ได้ทำให้เสียชีวิตแบบฉับพลัน แต่ก็มีผลกระทบต่อการทำงาน การใช้ชีวิตประจำวัน และเป็นสาเหตุของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

ดังนั้นหากสงสัยหรือมีอาการที่สงสัยว่าเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย เช่น ภาวะหัวใจวาย หรือหัวใจล้มเหลวตามมาภายหลัง

คลิกดูแพ็กเกจที่เกี่ยวข้องที่นี่



แพ็กเกจตรวจสมรรถภาพร่างกาย ระบบหัวใจ และปอด (9 Healthy Heart: VO2 MAX)

รายละเอียด



แพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจพร้อมตรวจหาคราบหินปูนที่หลอดเลือดแดงหัวใจ (9 Healthy Heart: CAC)

รายละเอียด



แพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจและทดสอบสมรรถภาพหัวใจโดยการวิ่งสายพาน (9 Healthy Heart: EST)

รายละเอียด



แพ็กเกจตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง

รายละเอียด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)


สนใจนัดหมาย

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา