Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Grafting; CABG)

นพ.วิสุทธิ์ เกตุแก้ว

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 11 เมษายน 2022
CABG

ทุกวันนี้โรคหัวใจกลายเป็นเรื่องใกล้ตัว เชื่อว่าเราคงเคยได้ยินข่าวของคนป่วยด้วยโรคหัวใจ หรือมีญาติพี่น้อง คนรู้จัก แม้กระทั่ง ดาราหรือคนมีชื่อเสียงที่เป็นโรคหัวใจ หรือบางคนโชคร้าย เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ 

การรักษาโรคหัวใจวิธีหนึ่งก็คือ การผ่าตัดหัวใจ และการผ่าตัดหัวใจที่หลายท่านอาจเคยได้ยินคือ “บายพาสหัวใจ” หรือ “CABG surgery” ซึ่งเราอาจจะยังไม่เข้าใจอย่างชัดเจนว่า การผ่าตัดบายพาสหรือ CABG คืออะไร? และมีขั้นตอนอย่างไร ?

บทความนี้ได้รับโอกาสที่ดีจาก นายแพทย์วิสุทธิ์ เกตุแก้ว แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรกรรมโรคหัวใจ สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า ซึ่งท่านมีความชำนาญในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ และดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจมานับไม่ถ้วน มาให้ความรู้เกี่ยวกับการผ่าตัดบายพาสหัวใจ การเตรียมตัว รวมไปถึงความกังวลต่าง ๆ ของผู้ป่วย คุณหมอได้กล่าวไว้ว่า “หนึ่งในการตัดสินใจที่สำคัญของผมในฐานะแพทย์ คือการตัดสินใจที่จะส่งผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดหัวใจ โดยเฉพาะการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ หรือที่ทางแพทย์ชอบเรียกชื่อย่อว่า CABG”

สารบัญ

  • การผ่าตัดบายพาส หรือ CABG คืออะไร ?
  • ประเมินอะไรบ้างก่อนทำ CABG ?
  • เทคนิคในการผ่าตัด CABG มีแบบไหนบ้าง ?
  • การผ่าตัด CABG ใช้ระยะเวลาผ่าตัด และพักฟื้นนานแค่ไหน ?

การผ่าตัดบายพาส หรือ CABG คืออะไร?

คำว่า CABG ถ้าเป็นแพทย์ไทย จะอ่านออกเสียงว่า ซี-เอ-บี-จี ตามตัวอักษรเป๊ะ ๆ แต่ถ้าเราดูหนังฝรั่งบ่อย ๆ หมอที่โน่นเค้าจะชอบเรียกว่า Cabbage ซึ่งเป็นการเล่นคำ ดังนั้นอย่างงนะครับว่าในซีรีย์หมอจะผ่ากะหล่ำปลีหรือเปล่า (ฮา)

คุณหมออธิบายต่อว่า Coronary Artery Bypass Grafting (CABG) คือ การนำหลอดเลือดส่วนอื่นมาเชื่อมต่อข้ามหลอดเลือดหัวใจเดิมที่ตีบ เพื่อให้เลือดสามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจส่วนปลายได้ (เปรียบเทียบเหมือนการตัดถนน bypass เลี่ยงเมืองที่รถติด เราก็จะไปถึงจุดหมายได้เร็วขึ้น)

cabg คืออะไร

> กลับสู่สารบัญ

ประเมินอะไรบ้างก่อนทำ CABG ?

ทีนี้ก่อนที่ผมจะส่งผู้ป่วยไปพบศัลยแพทย์ทรวงอกเพื่อทำ CABG ผมจะต้องมีการประเมินหลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่น

  • ผมจะต้องตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (echocardiography) หรือที่เรียกสั้นๆว่า Echo เพื่อที่จะดูว่าค่าการบีบตัวของหัวใจมีมากน้อยแค่ไหน และดูว่าลิ้นหัวใจมีความผิดปกติ จำเป็นต้องผ่าตัดเปลี่ยนหรือซ่อมลิ้นหัวใจร่วมด้วยหรือไม่
  • ผมจะต้องประเมินสภาพหลอดเลือดหัวใจ จากผลการฉีดสีสวนหัวใจ (coronary angiography) หรือที่เรียกว่า CAG เพื่อที่จะวางแผนเบื้องต้นว่าน่าจะต่อหลอดเลือดตรงไหนบ้าง ก่อนที่จะส่งไปพบศัลยแพทย์ทรวงอกเพื่อวางแผนการผ่าตัดขั้นสุดท้าย
  • ผมจะต้องประเมินสภาพร่างกายของคนไข้ว่าระบบอื่น ๆ เป็นอย่างไร เช่น คุมเบาหวานได้ดีหรือไม่ (ถ้าคุมน้ำตาลไม่ดี อาจจะมีผลเกี่ยวข้องกับแผลผ่าตัดและการติดเชื้อหลังผ่าตัด) หรือระบบการทำงานของไตเป็นอย่างไร รวมถึงอาจจะต้องมีการหยุดยาบางชนิด เช่น ยาละลายลิ่มเลือด และจะต้องมีการจองเลือดเพื่อที่จะให้ระหว่างผ่าตัดด้วย

อย่างไรก็ตามที่ผมเล่าขั้นตอนการประเมินให้ฟังนั้น ไม่ได้จะให้กังวลไปล่วงหน้า แต่อยากจะให้เห็นว่าต้องมีเตรียมความพร้อมอย่างละเอียดในการดูแลคนไข้ที่จะเข้ารับการผ่าตัด เพื่อที่จะให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดและต้องไม่ประมาทเท่านั้นเอง

ประเมินผู้ป่วยก่อนทำ bypass หัวใจ

> กลับสู่สารบัญ

เทคนิคในการผ่าตัด CABG มีแบบไหนบ้าง?

สำหรับรายละเอียดและวิธีการผ่าตัดนั้น มีหลากหลายเทคนิคมาก ตั้งแต่การผ่าตัดโดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม (off-pump CABG) รวมไปถึงการเลือกชนิดของหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดแดงเสริม (หลอดเลือดแดงบริเวณหน้าอก; LIMA หรือ หลอดเลือดแดงที่แขน; radial artery) และหลอดเลือดดำเสริม (หลอดเลือดดำที่ขา; saphenous vein) ซึ่งศัลยแพทย์ทรวงอกจะเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละท่าน

เทคนิคการทำ cabg

> กลับสู่สารบัญ

การผ่าตัด CABG ใช้ระยะเวลาผ่าตัด และพักฟื้นนานแค่ไหน?

การผ่าตัด CABG นั้นจะใช้ระยะเวลาในการผ่าตัดประมาณ 3-6 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความยากง่ายตอนผ่าตัด อาจจะต้องมีการให้เลือดหรือสารประกอบของเลือดด้วย หลังจากผ่าตัดเสร็จผู้ป่วยจะถูกย้ายมาที่หอผู้ป่วยวิกฤตหัวใจ (Cardiac Care Unit) หรือที่เรียกว่า CCU ต่ออีกประมาณ 3-5 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย โรคประจำตัว และการฟื้นตัวของผู้ป่วย โดยเฉลี่ยแล้วผู้ป่วยจะอยู่ที่ รพ.พระรามเก้าประมาณ 7-10 วันหลังผ่าตัด

อ่านเพิ่มเติมการเตรียมตัวก่อนผ่าตัดบายพาสหัวใจ: https://www.praram9.com/coronary-artery-bypass-grafting/

bypass หัวใจ พักฟื้นนานไหม

> กลับสู่สารบัญ

คำแนะนำจากนายแพทย์วิสุทธิ์ เกตุแก้ว

สิ่งที่ผมสังเกตเห็น คือคนไข้ส่วนมากจะกลัวเนื่องจากเป็นการผ่าตัดใหญ่ ซึ่งผมเองก็ยอมรับว่าการผ่าตัดทุกชนิดแม้เราจะวางแผนมาอย่างดีแค่ไหนก็ตาม ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุสุดวิสัยได้ 

แต่ที่โรงพยาบาลพระรามเก้า ทีมแพทย์เราได้ทำการผ่าตัด CABG มาแล้วเป็นเวลากว่า 25 ปี และเรามีประสบการณ์ในการดูแลเคสซับซ้อนที่มีโรคร่วมหลายอย่าง อาทิเช่น ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไต (DDKT) ก็เพิ่งเข้ารับการผ่าตัด CABG ไปเมื่อเดือนก่อนนี่เอง ส่วนตัวผมมั่นใจในทีมงานของเราทุกคน ว่าสามารถดูแลรักษาผู้ป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ ได้ตามมาตรฐานวิชาชีพแน่นอนครับ

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคหัวใจ

ท้ายนี้คุณหมอยังได้ฝากข้อความไว้ให้กับผู้อ่านทุกท่านไว้ว่า

“หัวใจไม่ดีให้เซต bypass แต่ถ้าอยากได้เธอมาเป็น my heart ต้องเซตอะไร” 

bypass หัวใจรพ.พระราม9

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

สนใจนัดหมาย

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

นพ.วิสุทธิ์ เกตุแก้ว

นพ.วิสุทธิ์ เกตุแก้ว

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

สถาบันหัวใจและหลอดเลือด_1-1

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา