Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) หมดความสงสัย วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 4 พฤษภาคม 2025
การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง

หลายคนอาจยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง หรืออาจรู้สึกกังวลกับขั้นตอนที่ดูจะน่ากลัวนี้ แต่รู้หรือไม่ว่าการตรวจชิ้นเนื้อเป็นวิธีที่มีความสำคัญมากในการวินิจฉัยมะเร็งซึ่งจะสามารถให้ข้อมูลได้อย่างแม่นยำและรวดเร็วได้อย่างดี บทความนี้ขอชวนทุกคนมาร่วมทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการนี้ให้ชัดเจนขึ้น เพื่อให้สามารถตัดสินใจได้อย่างสบายใจ

Key Takeaways

  • การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือวิธีที่ใช้ในการวินิจฉัยมะเร็งอย่างแม่นยำ ในขณะที่การใช้เลือดหรือการถ่ายภาพส่วนใหญ่ใช้ในการติดตามอาการหรือเพื่อสังเกตความเสี่ยงมากกว่า
  • ผลการตรวจชิ้นเนื้อจะทราบภายในเวลา 7-14 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดของการทดสอบ
  • การตัดชิ้นเนื้อสามารถช่วยประเมินได้หลายด้าน เช่น การยืนยันว่าเป็นหรือไม่ ระบุชนิด ประเมินระยะของโรค หรือช่วยในการประเมินความรุนแรงได้

สารบัญบทความ

  • การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็งคืออะไร จะรู้ผลเมื่อไหร่?
  • ทำไมต้องตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง ตรวจแบบอื่นได้ไหม?
  • การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็งช่วยให้รู้ว่าเป็นมะเร็งได้อย่างไร?
  • การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็งมีกระบวนการอย่างไรบ้าง ตั้งแต่ต้นจนจบ
  • การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็งมีความแม่นยำมากแค่ไหน?
  • การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็งมีข้อดีอย่างไรบ้าง?
  • การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง เส้นทางวินิจฉัยมะเร็งได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
  • คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็งคืออะไร จะรู้ผลเมื่อไหร่?

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือกระบวนการที่แพทย์จะนำชิ้นเนื้อไปส่องภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นมะเร็งหรือไม่และระบุชนิด รวมถึงการประเมินระยะและความรุนแรงของโรคเพื่อวางแผนการรักษาต่อไป

โดยแพทย์จะพิจารณาความจำเป็นในการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง หลังจากทดสอบลักษณะชิ้นเนื้อมะเร็งเบื้องต้นผ่านการวิธีทางการแพทย์ เช่น การคลำก้อนเนื้อใต้ผิวหนังว่าเคลื่อนไปกับหนังเมื่อขยับหรือไม่ หรือการสแกนด้วยเครื่องมือพิเศษอย่าง CT scan และ MRI โดยหากพบความผิดปกติ หรือการทดสอบเบื้องต้นไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจน การเก็บชิ้นเนื้อจะเป็นขั้นตอนต่อไปเพื่อยืนยันการวินิจฉัย

ผลการทดสอบชิ้นเนื้อมักใช้เวลาประมาณ 7-14 วัน โดยจะขึ้นอยู่กับวิธีและเทคนิคที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งเมื่อรู้ผลแล้วแพทย์ก็จะนำผลการมาแจ้งกับผู้ป่วยและแนะนำการรักษาต่อไป

ทำไมต้องตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง ตรวจแบบอื่นได้ไหม?

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็งเป็นวิธีที่แม่นยำที่สุดในการวินิจฉัย เพราะสามารถบอกลักษณะของเซลล์ในเนื้อเยื่อได้โดยตรง เมื่อเทียบกับการทดสอบด้วยวิธีอื่น ๆ วิธีนี้ก็จะสามารถยืนยันได้ว่าก้อนเนื้อหรือร่องรอยโรคเป็นมะเร็งจริงหรือไม่ และสามารถระบุชนิดได้อย่างชัดเจน รวมถึงประเมินระยะความรุนแรงของโรคได้ดีกว่า ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีความสำคัญในการวางแผนการรักษา ถึงอย่างนั้นวิธีอื่น ๆ ก็ยังมีอยู่ และมักจะมีการทำหลายวิธีร่วมกันในการรักษา เช่น

  • การตรวจเลือด (Blood Test) : สามารถวัดสารบ่งชี้มะเร็ง (Tumor Markers) แต่ไม่สามารถยืนยันได้อย่างแน่นอน
  • Imaging Tests : เช่น X-ray, CT Scan, MRI และ Ultrasound ซึ่งสามารถช่วยให้แพทย์เห็นขนาดและตำแหน่งของก้อนเนื้อ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นเนื้อร้ายหรือไม่ เหมาะกับการวินิจฉัยมะเร็งที่อยู่ลึกหรืออยู่ที่อวัยวะสำคัญ เช่น มะเร็งตับอ่อน
  • PET Scan และ Endoscopy : ช่วยในการประเมินลักษณะของก้อนเนื้อหรือการลุกลาม แต่ไม่สามารถให้คำตอบที่แน่ชัด
  • การย้อมสีด้วยแอนติบอดี (Immunohistochemistry – IHC) : ใช้แอนติบอดีเฉพาะทางที่จับกับโปรตีนในเซลล์มะเร็ง เพื่อบ่งชี้ชนิดของมะเร็งอย่างแม่นยำ เหมาะสำหรับการวินิจฉัยมะเร็งที่มีโปรตีนเฉพาะ เช่น HER2 ในมะเร็งเต้านม
  • การตรวจวิเคราะห์ระดับโมเลกุล (Molecular Diagnostics) : ใช้เทคโนโลยีระดับโมเลกุลเพื่อวิเคราะห์พันธุกรรมของเซลล์มะเร็ง โดยวิธีที่ใช้บ่อยก็ได้แก่
    • การตรวจยีน (Gene Testing) : ค้นหาการกลายพันธุ์ของยีนที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง เช่น EGFR ในมะเร็งปอด เพื่อช่วยวางแผนการรักษา
    • Polymerase Chain Reaction (PCR) : เป็นเทคนิคที่เร่งการเพิ่มจำนวนดีเอ็นเอเพื่อค้นหาความผิดปกติของยีนในระดับที่แม่นยำ เหมาะสำหรับมะเร็งที่มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมเฉพาะ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็งช่วยให้รู้ว่าเป็นมะเร็งได้อย่างไร?

Biopsy คืออะไร

ชิ้นเนื้อจะถูกนำมาตรวจผ่านกล้องจุลทรรศน์เพื่อดูลักษณะต่างๆ ของเซลล์ เช่น รูปร่าง ขนาด และลักษณะของเซลล์ โดยหากพบว่าเซลล์มีลักษณะผิดปกติ เช่น เซลล์มีขนาดใหญ่ผิดปกติ (Enlarged Cells) รูปร่างผิดสัดส่วน (Pleomorphism) หรือมีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วผิดปกติ (Rapid Proliferation/Hyperplasia) 

หากพบลักษณะดังกล่าวนักพยาธิวิทยา (Pathologist) ที่ตรวจก็อาจวินิจฉัยว่ามีคามเสี่ยงที่จะเป็นเนื้อร้าย โดยอาจจะใช้เทคนิคอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำขึ้น เช่น การย้อมสีเฉพาะ หรือการตรวจวิเคราะห์ระดับโมเลกุล

โดยการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็งจะช่วยระบุได้ชัดเจนว่าความเสี่ยงของโรค ช่วยแยกแยะประเภท บ่งบอกระยะ (Cancer Staging) และช่วยในการประเมินความรุนแรง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยในการวางแผนการรักษาทั้งสิ้น

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็งมีกระบวนการอย่างไรบ้าง ตั้งแต่ต้นจนจบ

ขั้นตอนการตรวจชิ้นเนื้อมะเร็งเป็นกระบวนการที่ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ โดยมีขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนได้ผลการตรวจ ดังนี้

  • พูดคุยปรึกษากับแพทย์ : แพทย์จะบอกขั้นตอนและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นให้ผู้ป่วยได้ทราบและเข้าใจ รวมถึงเงื่อนไขและการเตรียมตัวของแต่ละคน เช่น การอดน้ำอดอาหาร งดยาบางชนิด หรือปรับพฤติกรรมก่อนเข้ารับการตรวจ
  • ลงยาชา : แพทย์จะให้ยาชากับผู้ป่วยในจุดที่จะมีการเก็บชิ้นเนื้อไปตรวจ เพื่อให้รู้สึกสบายขึ้น 
  • ตัดชิ้นเนื้อ : วิธีที่จะใช้ทำก็จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับบริเวณและขนาดชิ้นเนื้อที่ต้องการ โดยวิธีการที่พบได้ทั่วไป เช่น
    • การผ่าตัดแบบแผลเล็ก หรือ MIS : MIS (Minimally Invasive Surgery) เป็นเทคนิคที่ใช้เก็บชิ้นเนื้อผ่านรอยแผลขนาดเล็กเพียง 1-2 เซนติเมตร ทำให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อน้อยลง ลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน และช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ปัจจุบัน MIS ถือเป็นวิธีหลักในการตัดชิ้นเนื้อ เนื่องจากให้ผลที่แม่นยำ ลดความเจ็บปวดหลังผ่าตัด และลดระยะเวลานอนพักฟื้นในโรงพยาบาลได้มากกว่าวิธีอื่น
    • การเจาะด้วยเข็ม (Needle Biopsy) : ใช้เข็มชนิดพิเศษเจาะเพื่อเก็บชิ้นเนื้อ เหมาะสำหรับก้อนเนื้อขนาดเล็กหรืออยู่ในตำแหน่งที่เข้าถึงได้ง่าย
    • การผ่าตัดเล็ก (Surgical Biopsy) : เป็นวิธีที่ใช้การผ่าตัดเพื่อเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อ เหมาะสำหรับก้อนเนื้อขนาดใหญ่หรือตำแหน่งที่เข้าถึงยาก
  • ส่งชิ้นเนื้อไปตรวจที่แล็บ : ชิ้นเนื้อที่ถูกตัดจะถูกส่งไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ รวมถึงการใช้เทคนิคเพิ่มเติมต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ระบุประเภทและความรุนแรงได้อย่างชัดเจน

เมื่อจบขั้นตอนเหล่านี้แล้วแพทย์จะแจ้งผลการตรวจให้กับผู้ป่วยได้ทราบ และหากพบก็จะเริ่มวางแผนการรักษาต่อไป

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็งมีความแม่นยำมากแค่ไหน?

ลักษณะชิ้นเนื้อมะเร็ง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็งเป็นวิธีการวินิจฉัยที่มีความแม่นยำสูงมากที่สุด แต่ความถูกต้องอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ เช่น ตรงตำแหน่งกับจุดที่เป็น ประสบการณ์ของแพทย์และความพร้อมของห้องปฏิบัติการ ดังนั้นการเลือกสถานพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญจึงสำคัญต่อการได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำและรวดเร็ว

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็งมีข้อดีอย่างไรบ้าง?

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง ข้อดี

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็งเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการวินิจฉัยโรค และเป็นวิธีที่มีข้อดีอยู่หลายอย่าง เช่น

  • มีความแม่นยำสูง : ตรวจสอบเซลล์หรือเนื้อเยื่อ ช่วยวินิจฉัยได้อย่างชัดเจน
  • ระบุชนิดมะเร็งได้อย่างแม่นยำ : ช่วยแยกแยะชนิดและลักษณะของเซลล์ได้อย่างละเอียด 
  • ช่วยในการวางแผนการรักษา : ผลตรวจช่วยให้แพทย์กำหนดแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ทำให้การเลือกใช้การรักษาทำได้เร็วและตรงต่อปัญหามากขึ้น
  • ลดความกังวล : ช่วยยืนยันหรือตัดข้อสงสัยได้อย่างแน่ชัด 
  • ใช้เวลาไม่นาน : เป็นขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อนและใช้เวลาประมาณ 7-14 วันในการทราบผล

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง เส้นทางวินิจฉัยมะเร็งได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็งเป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้แพทย์ตรวจคัดกรองมะเร็งได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำที่สุด ข้อมูลที่ได้จากการตรวจนี้ไม่เพียงช่วยยืนยันว่ามีความผิดปกติหรือไม่ แต่ยังช่วยระบุชนิด ระยะ และความรุนแรงของโรค ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการวางแผนการรักษาที่เหมาะสม การเก็บชิ้นเนื้ออาจดูน่ากังวลในความคิดของหลายคน แต่เมื่อเข้าใจกระบวนการและประโยชน์ที่ได้รับแล้ว จะเห็นได้ว่ามันคือก้าวสำคัญสู่การดูแลสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งที่โรงพยาบาลพระราม 9 ก็จะมีศูนย์ผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery; MIS) ที่ให้บริการตรวจและตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งโดยใช้เทคนิคผ่าตัดแบบแผลเล็ก ซึ่งเป็นวิธีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูง ช่วยให้การตรวจคัดรองมะเร็งเป็นไปได้อย่างราบรื่นและสะดวกต่อผู้รับบริการเป็นอย่างดี

มะเร็งเป็นปัญหาที่หากสังเกตตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะรักษาได้สำเร็จให้สูงขึ้นเป็นอย่างดี การตรวจร่างกายประจำปี จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย ซึ่งที่โรงพยาบาลพระรามเก้าก็จะมีบริการตรวจสุขภาพประจำปีที่พร้อมจะให้บริการอย่างรอบด้าน และพร้อมตอบทุกความสงสัยในทุก ๆ ด้าน หากสนใจก็สามารถติดต่อสอบถามที่โรงพยาบาลเพิ่มเติมได้เป็นต้น ได้ตามช่องทางด้านล่างนี้

  • Facebook: Praram 9 hospital
  • Line @Praram9Hospital
  • โทร. 1270

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็งมักเป็นกระบวนการที่หลายคนยังมีข้อสงสัย และอาจมีคำถามมากมายเกี่ยวกับขั้นตอนนี้ ต่อไปนี้ก็จะเป็นคำตอบที่ชัดเจนและข้อมูลที่สำคัญที่รวมมาไว้ในบทความนี้ เพื่อช่วยให้เข้าใจและตัดสินใจได้อย่างมั่นใจมากขึ้น

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง ต่างจากการตรวจเลือดอย่างไร?

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง เป็นการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อเพื่อตรวจสอบโครงสร้างและเซลล์ที่ผิดปกติ ซึ่งให้ผลที่เฉพาะเจาะจงกว่าการตรวจเลือด (Blood Test) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ส่วนประกอบของเลือด เช่น สารบ่งชี้มะเร็ง (Tumor Markers) แต่ไม่สามารถยืนยันชนิดได้ดีเท่ากับการตรวจเนื้อเยื่อ จึงทำให้ส่วนใหญ่การตรวจเลือดจะใช้ในการติดตามอาการในผู้ที่กำลังรักษามากกว่า

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง เจ็บไหม?

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็งมักจะไม่เจ็บมาก เนื่องจากแพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่เพื่อลดความรู้สึกบริเวณที่เก็บชิ้นเนื้อ โดยอาจรู้สึกตึงหรืออึดอัดเล็กน้อยในระหว่างขั้นตอน ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ตัดและวิธีการที่ใช้ในการเก็บชิ้นเนื้อ

References

Krans, B. (2018, September 29). Biopsy. Medically reviewed by Graham Rogers, M.D. Healthline. https://www.healthline.com/health/biopsy

RadiologyInfo.org. (2024, April 1). General biopsy. https://www.radiologyinfo.org/en/info/biopgen

The American Cancer Society medical and editorial content team. (2023, August 1). How is a biopsy done? American Cancer Society. https://www.cancer.org/cancer/diagnosis-staging/tests/biopsy-and-cytology-tests/biopsy-types.html

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

doc-logo

สถาบันหัวใจและหลอดเลือด แผลเล็ก (MIS)

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา