Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

ปวดหลังแบบไหน ต้องรีบไปพบแพทย์ !

ผศ.นพ.ศุภกิจ พิมลธเรศ

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 1 มิถุนายน 2022

ปวดหลังแบบไหน ต้องรีบไปหาแพทย์ (ปวดหลัง อย่าปล่อยไว้อาจเป็นอันตรายกว่าที่คุณคิด)

เชื่อว่าเรา ๆ ท่าน ๆ คงเคยมีอาการ “ปวดหลัง” บางคนปวดมาก บางคนปวดน้อย อาจจะมีอาการเป็นวัน หรือบางคนอาจมีอาการเป็นเดือน เช่น ปวดจากการทำงานหนัก มีสาเหตุจากกล้ามเนื้อ มักเกิดจากการทำท่าทางซ้ำ ๆ ในท่าเดิม ๆ โดยทั่วไปเป็นอาการปวดหลังที่ไม่อันตราย ส่วนใหญ่จะดีขึ้นหลังพัก และไม่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แต่อาการปวดที่รุนแรง หรือมีอาการนานเป็นเดือน และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน มักจะมาจากสาเหตุที่อันตรายและรุนแรง การปวดหลังลักษณะนี้ต้องรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อรีบหาสาเหตุและรักษาอย่างถูกต้อง

ปรึกษาอาการเบื้องต้นได้เลย เพื่อสุขภาพของคุณ

สนใจนัดหมายแพทย์

สารบัญ

  • อาการปวดหลังมีกี่แบบ?
  • อาการปวดหลังส่วนบน
  • อาการปวดหลังช่วงเอว หรืออาการปวดหลังส่วนล่าง
  • อาการปวดหลังด้านซ้ายหรือด้านขวา
  • อาการปวดหลังแบบไหนที่ควรรีบไปพบแพทย์
  • โรคโพรงประสาทหลังตีบแคบ ที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ
  • สรุป

อาการปวดหลังมีกี่แบบ?

อาการปวดหลังแบ่งได้เป็น 3 แบบตามระยะเวลาคือ
  1. ปวดแบบเฉียบพลัน (acute) คือ มีอาการปวดต่อเนื่องน้อยกว่า 6 สัปดาห์
  2. ปวดแบบกึ่งเฉียบพลัน (subacute) คือ มีอาการปวดหลังต่อเนื่อง 6-12 สัปดาห์
  3. ปวดแบบเรื้อรัง (chronic) คือ มีอาการปวดหลังต่อเนื่องนานกว่า 12 สัปดาห์

> กลับสู่สารบัญ

อาการปวดหลังส่วนบน

อาการปวดหลังส่วนบนมักเกิดร่วมกับอาการปวดคอ ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการใช้ท่าทางที่ไม่เหมาะสมระหว่างวันเช่น การนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือการก้มเล่นมือถือนาน ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคออฟฟิต โดรม อาการปวดหลังส่วนบนนี้ อาจพบได้ในโรคของกล้ามเนื้อ หมอนรองกระดูกคอ หรือข้อต่อกระดูกสันหลังส่วนคอ ที่ทำให้เกิดอาการปวดคอร่วมกับอาการปวดหลังส่วนบน

อ่านเพิ่มเติม อาการออฟฟิศซินโดรม: https://www.praram9.com/officesyndrome/

> กลับสู่สารบัญ

อาการปวดหลังช่วงเอว หรืออาการปวดหลังส่วนล่าง

อาการปวดหลังระดับเอว หรืออาการปวดหลังส่วนล่าง (low back pain) เป็นอาการปวดที่พบบ่อยที่สุดของโรคทางออร์โธปิดิกส์หรือโรคทางกระดูกและข้อ

สาเหตุเกิดจาก 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ จากกล้ามเนื้อหลัง หมอนรองกระดูกสันหลัง และจากข้อต่อกระดูกสันหลัง โดยจะมีอาการปวดหลังบริเวณเอวต่ำกว่าขอบของซี่โครงซี่ล่างสุด จนถึงบริเวณสะโพกและก้น มีอาการมากขึ้นหรือลดลงสัมพันธ์กับท่าทางการเคลื่อนไหว หรือการทำงาน หรืออาจปวดตลอดเวลาโดยไม่สัมพันธ์กับท่าทาง บางรายอาจมีอาการปวดกลางคืนมากจนไม่สามารถนอนหลับได้ ทั้งนี้ขึ้นกับพยาธิสภาพของโรคนั้น ๆ

** เช็กให้ชัวร์ว่าปวดบริเวณไหน? >> แนะนำแพ็กเกจตรวจคัดกรองอาการปวด หลัง บ่า ไหล่

> กลับสู่สารบัญ

อาการปวดหลังด้านซ้ายหรือด้านขวา

อาการปวดหลังด้านซ้ายหรือปวดหลังด้านขวา มักมีสาเหตุจากกล้ามเนื้อหลังผิดปกติ ข้อต่อกระดูกส่วนอก หรือกระดูกซี่โครงอ่อนอักเสบ อุบัติเหตุ การกระแทก การเกร็งหรือยกของหนัก  และสาเหตุอื่น ๆ เช่น แน่นหน้าอกจากสาเหตุทางโรคหัวใจ หลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องอก กรดไหลย้อน เยื่อหุ้มปอดอักเสบ โรคไต นิ่วในไต หรือปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะ จึงแนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง

ปวดหลังบ่งบอกโรคอะไรบ้าง

> กลับสู่สารบัญ

อาการปวดหลังแบบไหนที่ควรรีบไปพบแพทย์

อาการปวดหลังที่ควรรีบปรึกษาแพทย์ ได้แก่อาการปวดหลังที่เป็นอยู่นาน และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งมักมีอาการดังต่อไปนี้

  • ปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังนานมากกว่า 3 เดือน (chronic low back pain)
  • มีอาการปวดรุนแรง พักหรือรับประทานยาแก้ปวดพื้นฐานแล้วไม่ดีขึ้น จนไม่สามารถทำงานหรือใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ
  • ปวดร้าวลงมาต้นขา ขาหรือ ลงไปปลายเท้า ข้างใดข้างนึงหรือทั้ง 2 ข้าง
  • มีความรู้สึกที่ผิดปกติเช่น ชาขา เท้าหรือมีอาการแสบร้อน มีการอ่อนแรงของขา
  • ไม่สามารถนั่งหรือยืนเดินนานได้ ร่วมกับปวดร้าวลงขา

อาการเหล่านี้ มักมีสาเหตุมาจาก หมอนรองกระดูกสันหลัง หรือข้อต่อกระดูกสันหลัง หรือโพรงประสาทหลัง ไปเบียดหรือกดทับรากประสาทที่ลงมาขา จึงควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยด่วน อีกหนึ่งอาการของโรคของกระดูกสันหลังที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุคือ โรคโพรงประสาทหลังตีบแคบ

สนใจนัดหมายแพทย์
ปวดหลังรุนแรง

> กลับสู่สารบัญ

โรคโพรงประสาทหลังตีบแคบ ที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ

โรคโพรงประสาทหลังตีบแคบ (spinal stenosis) เป็นโรคที่พบบ่อยในผู้ที่มีอายุมาก เกิดจากความเสื่อมของข้อต่อกระดูกสันหลัง (หมอนรองกระดูกเป็นส่วนหนึ่งของข้อต่อกระดูกสันหลัง) ทำให้โพรงประสาทแคบลงจนไปเบียดรากประสาทหรือเบียดไขสันหลังซึ่งพบบ่อยมากที่ข้อกระดูกสันหลังระดับเอว

โรคโพรงประสาทหลังตีบแคบ ปวดหลัง

อาการของโรคโพรงประสาทหลังตีบแคบ

ผู้ป่วยมักมีอาการปวดหลังส่วนล่างร้าวลงมาสะโพก มีอาการร้าวลงมาขาข้างนึงหรือสองข้าง บางครั้งมีอาการปวดร้าวลงไปปลายเท้า อาการจะเป็นมากขณะยืนหรือเดินเป็นเวลานาน บางครั้งมีอาการชาหรืออ่อนแรงขา ร่วมด้วย ต้องก้มตัว นั่งพัก บางคนต้องนั่งยอง ๆ เพื่อให้อาการดีขึ้นจนสามารถยืนและเดินต่อได้ อาการมักค่อยเป็นค่อยไป จนมากขึ้นจนทำให้ไม่สามารถยืนหรือเดินนานได้

ตรวจร่างกายมักจะพบ หลังช่วงเอวแอ่นน้อย ๆ หรือมีหลังค่อม ขยับหลังแล้วปวดร้าวลงขา ร่วมกับตรวจพบอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่เลี้ยงด้วยรากประสาทนั้น ๆ หรือความรู้สึกที่ผิดปกติ เช่น ชาหน้าแข้ง หรือหลังเท้า

การตรวจวินิจฉัยโรคโพรงประสาทหลังตีบแคบ

การวินิจฉัยมักใช้การถ่ายภาพรังสี จะพบความเสื่อมของหมอนรองกระดูกเอว ข้อต่อกระดูกสันหลัง บางครั้งพบความผิดรูปของข้อต่อ เช่น หลังคด (scoliosis) กระดูกเคลื่อน (spondylolisthesis) แพทย์อาจจะให้ผู้ป่วยขยับตัวขณะถ่ายภาพเอกซเรย์ (motion film) เพื่อประเมินความไม่มั่นคงของข้อต่อกระดูกสันหลัง

แพทย์อาจแนะนำการตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อประเมินตำแหน่งที่รากประสาทถูกกดทับ ความเสื่อมหมอนรองกระดูกตลอดจนระดับความรุนแรงของการตีบของโพรงประสาท

การรักษาโรคโพรงประสาทหลังตีบแคบ

เนื่องจากโรคนี้ส่วนใหญ่เกิดจากความเสื่อมตามอายุ หรือการใช้งานข้อต่อกระดูกสันหลังมากเป็นเวลานาน การลดการใช้งาน หลีกเลี่ยงท่าทางที่ไปกระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น งดการยืนเดินเป็นเวลานาน ทำการฟื้นฟู รวมทั้งกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวด ปรับท่าทางการใช้งานหลังให้ถูกต้อง และเสริมสร้างกล้ามเนื้อที่สำคัญ ร่วมกับการรับประทานยาบางชนิดเป็นระยะเวลาหนึ่งตามคำแนะนำของแพทย์ จะทำให้อาการหายไปได้

อย่างไรก็ตาม ถ้ามีอาการอ่อนแรงขามากจนเดินยืนไม่ได้ อาการปวดรุนแรงไม่ดีขึ้นจากการทานยา มีความไม่มั่นคงของข้อต่อหลัง หรือมีอาการผิดปกติของการขับถ่าย เช่น กลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ตลอดจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการรักษาด้วยการผ่าตัดต่อไป

ข้อมูลเพิ่มเติม: ศูนย์กระดูกสันหลัง (Advanced Spine Center) รพ.พระรามเก้า

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

เราทุกคนคงเคยปวดหลัง จึงอาจคิดว่าอาการปวดหลังเป็นเรื่องปกติที่เป็นกันได้ และหายเองได้ บางคนใช้วิธีหายาแก้ปวดมารับประทานเพื่อให้อาการดีขึ้น แต่หากมีอาการปวดหลังเรื้อรัง ปวดรุนแรง มีปวดร้าวไปที่ขาหรือเท้า มีอาการแสบร้อนหรือยืนหรือเดินไม่ได้ อาการเหล่านี้ คงไม่ใช่แค่อาการปวดหลังธรรมดา เพราะอาการปวดหลังนี้ อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติหรือโรคต่าง ๆ ดังนั้นจำเป็นต้องรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

สนใจนัดหมายแพทย์

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

ผศ.นพ.ศุภกิจ พิมลธเรศ

ผศ.นพ.ศุภกิจ พิมลธเรศ

ศูนย์กระดูกสันหลัง

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์กระดูกสันหลัง_1-1

ศูนย์กระดูกสันหลัง

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา